Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ล่า , then ล่ะ, ลา, ล่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ล่า, 226 found, display 51-100
  1. หมาไล่เนื้อ : (สำ) น. คนที่รับใช้ผู้อื่นเมื่อเวลายังทำประโยชน์ให้ได้ ผู้เป็น นายก็เมตตาเลี้ยงดู แต่เมื่อทำประโยชน์ไม่ได้แล้ว ผู้เป็นนายก็ทอดทิ้งไม่ ไยดีหรือหาเรื่องลงโทษขับไล่ไสส่งเป็นต้น เปรียบเสมือนหมาไล่เนื้อ เมื่อแก่สิ้นเขี้ยวสิ้นเล็บ ใช้ไล่ล่าสัตว์ไม่ได้ เจ้าของก็ไม่เมตตาเลี้ยงดู อีกต่อไป.
  2. เหยี่ยว : น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ปากงุ้มและคม ขาและนิ้วตีนแข็งแรงมาก เล็บยาวแหลม ปีกแข็งแรง บินร่อนได้นาน ๆ ส่วนใหญ่ล่าสัตว์กินเป็น อาหาร มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวขาว หรือ เหยี่ยวปักหลัก (Elanus caeruleus) เหยี่ยวแดง (Haliastur indus) เหยี่ยวรุ้ง (Spilornis cheela).
  3. เหล่า : [เหฺล่า] น. พวก, ก๊ก, เช่น เหล่ามนุษย์ เหล่าสัตว์ เหล่าอันธพาล, กําลังพล ของทหารซึ่งประกอบกับคําอื่นมีลักษณะเฉพาะของงาน เช่น เหล่าทหาร ปืนใหญ่ เหล่าทหารราบ; (ถิ่น-อีสาน) ที่ซึ่งเคยเพาะปลูกแล้วทิ้งให้ร้าง, (ถิ่น-พายัพ) ป่าละเมาะ. ว. ใช้ประกอบกับคำนามแสดงว่ามีจำนวนมาก เช่น คนเหล่านี้ ของเหล่านั้น.
  4. อาทิตย, อาทิตย์ : [ทิดตะยะ, ทิด] น. ''เชื้ออทิติ'' คือ เทวดาพวกหนึ่งซึ่งเป็นลูกนาง อทิติผู้เป็นชายาพระกัศยปประชาบดี เทวดาพวกนี้มีจํานวนกล่าวไว้ ต่างกัน บ้างว่ามี ๕ องค์ บ้างว่ามี ๗ องค์ บ้างว่ามี ๑๒ องค์ ได้แก่ อินทราทิตย์ (พระอินทร์) วรุณาทิตย์ (พระพิรุณ) ฯลฯ สูรยาทิตย์ (พระอาทิตย์ที่ส่องโลก); ชื่อเทวดาพระเคราะห์ คือ สูรยาทิตย์; ดวงตะวัน (ชื่อเทวดาองค์หนึ่งในนิยาย), ในตํารานพเคราะห์นับ เอาเป็นดาวพระเคราะห์ที่ ๑; ชื่อวันที่ ๑ ของสัปดาห์; รอบ ๗ วัน เช่น ไม่ว่างตลอดอาทิตย์. (ส.; ป. อาทิจฺจ).
  5. อุลปนะ : [อุนละปะ] น. การกล่าวอ้าง, การเรียกร้อง. (ป. อุลฺลปน).
  6. ลา ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Equus asinus ในวงศ์ Equidae ซึ่ง เป็นวงศ์เดียวกับม้า รูปร่างคล้ายม้าแต่ตัวเล็กกว่า หูยาว ปลายหาง เป็นพู่ ขนแผงคอสั้นตั้งตรง มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา.
  7. ร่ำลา : ก. อำลา, ลา, ล่ำลา ก็ว่า.
  8. ลาบวช : ก. นำดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมาผู้ใหญ่ที่นับถือเพื่อลา ไปบวช.
  9. ลาสิกขา : ก. ลาสึก, ลาจากเพศสมณะ.
  10. ลาออก : ก. ขออนุญาตให้พ้นจากสภาพที่ดำรงอยู่ เช่น ลาออกจาก การเป็นกรรมการ นักเรียนลาออกจากโรงเรียน.
  11. ลาข้าวพระ : ก. ทําพิธีอย่างหนึ่งเมื่อถอนสํารับพระพุทธ โดยยกมือ ประนมกล่าวคําว่า เสสํ มงฺคลํ ยาจามิ แล้วยกสํารับออกมา.
  12. ลาพรรษา : (ปาก) ก. ออกพรรษา.
  13. ลาลด : ก. ลาลส.
  14. ลาลับ : ก. จากไปโดยไม่กลับมาอีก.
  15. ล่า : ก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คําใช้ประกอบ ข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.
  16. กระลาพิม : น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาพิม พระมาศ กูเออย. (กำสรวล).
  17. ตะยองสะลา : น. งูบ้องตะลา.
  18. บรรพตกีลา : (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. ปรฺวต + กีลา).
  19. บ้องตะลา : น. งูชนิดหนึ่ง, ตะยองสะลา ก็ว่า. (พจน. ๒๔๙๓).
  20. มัย ๑ : น. ม้า, ลา, อูฐ. (ป., ส. มย).
  21. ลพุช, ลาพุช : [ละพุด, ลาพุด] น. มะหาด. (ป.).
  22. ลาช, ลาชะ, ลาชา : [ลาด, ลาชะ] น. ข้าวตอก เช่น อนนเรืองรองด้วยจตุรพรรณมาลา ลาชาชาติห้าสิ่ง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
  23. ล่ำลา : ก. อําลา, ลา, ร่ำลา ก็ว่า.
  24. เลี้ยงลา : ก. เลี้ยงอาหารเป็นการอำลาของผู้ที่จะจากไป เช่น นายแดง เลี้ยงลาเพื่อน ๆ ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น.
  25. สั่งลา : ก. บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น เขาสั่งลาลูกเมียก่อน เดินทางไปต่างประเทศ เขาตายโดยไม่ได้สั่งลา.
  26. สัมผัปลาป, สัมผัปลาปะ : [สําผับปะลาบ, ปะลาปะ] น. คําพูดเพ้อเจ้อ. (ป. สมฺผปฺปลาป; ส. สมฺปฺรลาป).
  27. สัมพหุลา : (ปาก) ว. รวมปะปนกันหลาย ๆ อย่าง เช่น งานสัมพหุลาเต็มไปหมด ทำไม่ไหวหรอก, สรรพหุลา ก็ว่า. (ป.).
  28. ไหน ๒, ไหนล่ะ, ไหนว่า, ไหนว่าจะ : ว. เป็นคำถามเชิงตัดพ้อต่อว่า ทวงถาม หรือสงสัย เป็นต้น เช่น ไหน พระผ่านฟ้าสัญญาน้อง จะปกป้องครองความพิสมัย. (อิเหนา), ไหนล่ะ รางวัล ไหนว่าไม่ลืม ไหนว่าจะพาไปเที่ยว.
  29. กมลาสน์ : [กะมะลาด] (แบบ) น. ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง คือ พระพรหม. (ป., ส. กมล = บัว + อาสน = ที่นั่ง).
  30. ตระลาการ : [ตฺระ-] (โบ) น. ตําแหน่งพนักงานศาลผู้มีหน้าที่ชําระเอาความเท็จจริง.
  31. ทุตวิลัมพิตมาลา : [ทุตะวิลำพิตะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น ภ ภ ร (ตามแบบว่า ทุตวิลมฺพิตมาห นภา ภรา) ตัวอย่างว่า ชินกถาคณนา วนิดาประมาณ พฤศติเพธพิสดาร อดิเรกภิปราย.
  32. ประกันเชิงลา : (โบ) ก. ประกันตัวออกมาจากที่คุมขังได้เป็นคราว ๆ คราวละ ๓ วัน หรือ ๗ วัน.
  33. เปิดหมวกลา : ก. เลิกรา, ไม่ทําต่อไปอีกแล้ว.
  34. พาล ๒, พาลา : (กลอน) ว. อ่อน, เด็ก, รุ่น. (ส., ป.); ชั่วร้าย, เกเร, เกะกะ, เช่น คนพาล. ก. หาเรื่องทำให้วุ่นวาย, หาเรื่องทำให้เดือดร้อน, เช่น พาลหาเรื่อง พาลหาเหตุ. น. คนชั่วร้าย, คนเกเร, เช่น คบคนพาล พาลพาไปหาผิด. (ป.).
  35. มิน่า, มิน่าล่ะ, มิน่าเล่า : คําแสดงว่า รู้สาเหตุ.
  36. ลาเพ, ลาเพา : (กลอน) ก. เล้าโลม, โลม.
  37. ลินลา, ลิ้นลา : ก. ไปอย่างนวยนาด. (เพี้ยนมาจาก ป., ส. ลีลา).
  38. ลุกลา : ม ก. แผ่กว้างออกไปโดยเร็ว เช่น ไฟลุกลามไปอย่างรวดเร็ว.
  39. เหลาหลก : [เหฺลาหฺลก] น. ชื่อหมากชนิดหนึ่งเปลือกอ่อน. (พจน. ๒๔๙๓).
  40. เอลา : [ลา] ดู กระวาน๑(๑).
  41. เหลา ๑ : [เห-ลา] น. ความหมิ่น; ความสนุก; การเล่น, การกีฬา; การหยอกเอิน; ความสะดวกสบาย. (ส.).
  42. : พยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคําไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้ แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ใน ภาษาไทยแต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.
  43. โกวิฬาร : [-ลาระ] (แบบ) น. ไม้ทองหลาง. (ป.).
  44. พิลาลส : [ลาลด] ก. อยาก, กระหาย, เร่าร้อน; เศร้าโศก, เสียใจ; เขียนว่า พิลาลด หรือ พิลาลศ ก็มี. (ส. วิ + ลาลส).
  45. ลาป– ๑ : [ลาปะ–, ลาบ–] น. นกมูลไถ. (ป.).
  46. ลาป– ๒ : [ลาปะ–, ลาบ–] น. การพูด, การออกเสียง. (ป., ส.).
  47. ลาลนะ : [ลาละ–] น. การเคล้าคลึง, การยั่วเย้า, การเล้าโลม. (ส.).
  48. ลาลศ : [ลาลด] ก. ลาลส.
  49. ลาลส : [ลาลด] ก. อยาก, กระหาย; เศร้าโศก, เสียใจ, เขียนว่า ลาลด หรือ ลาลศ ก็มี. (ป., ส. ลาลสา).
  50. ลาสนะ : [ลาสะ–] น. การฟ้อนรํา, การเต้นรํา. (ป., ส.).
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-226

(0.0434 sec)