Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สมัย , then สมย, สมัย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สมัย, 174 found, display 51-100
  1. จตุสดมภ์ : น. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดย ตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
  2. จังหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับ หลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, ค่ายผนบ บ้านหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก. (ลำดับสกุลเก่า; ลัทธิ). (จ. จั้ง ว่า กีด, ขวาง; โหล่ว ว่า ถนน).
  3. จัตุสดมภ์ : [จัดตุสะดม] น. จตุสดมภ์, วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัย โบราณ โดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จัตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
  4. จั่น ๓ : น. ชื่อเบี้ยชนิด Cypraea moneta ในวงศ์ Cypraeidae หลังนูน ท้องเป็นร่อง ๆ เปลือกแข็งเรียกว่า เบี้ยจั่น ในสมัยโบราณใช้ต่างเงิน, เบี้ยจักจั่น ก็เรียก.
  5. จั้นหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสา ทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, ค่ายผนบ บ้านหล่อ จังหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
  6. จาร ๑ : [จาน] ก. ใช้เหล็กแหลมเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นให้เป็นตัวหนังสือ เช่น จึงจารจารึกอันนี้ไว้อีกโสด. (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ). (จารึกสมัยสุโขทัย). น. เรียกเหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นว่า เหล็กจาร. (ข.).
  7. จำหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสา ทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, ค่ายผนบบ้านหล่อ จั้นหล่อ หรือ จังหล่อ ก็เรียก.
  8. จินดามณี : น. แก้วอันให้ผลแก่เจ้าของตามใจนึก, แก้วสารพัดนึก; ชื่อตำรา แบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. (ป., ส.).
  9. จุลจอมเกล้า : [จุนละ-] น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรกใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  10. จุลวงศ์ : [จุนละ-] น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีต่อจากมหาวงศ์ ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าสิริเมฆวรรณจนถึงลังกาถูกอังกฤษยึดครอง.
  11. ฉลอม : [ฉะหฺลอม] น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือกระแชง หัวท้ายงอนเรียว กลาง ป่องตัวเรือเป็นเหลี่ยม กระดานข้างเรือเป็นทับเกล็ด นิยมใช้ตามหัวเมืองชาย ทะเลแถบปากอ่าวสำหรับบรรทุกสินค้าหรือหาปลา สมัยโบราณเวลาเกิดศึก สงครามก็จะถูกเกณฑ์ไปใช้ในราชการทัพด้วย อาจติดใบหรือไม่ก็ได้.
  12. ช้างเผือก ๒ : น. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  13. เชย : ก. สัมผัสเบา ๆ หรือช้อนขึ้นเบา ๆ ด้วยความเอ็นดูหรือรักใคร่ เช่น เชยแก้ม เชยคาง; โปรยปรายลงมา ในคําว่า ฝนเชย; พัดมา เฉื่อย ๆ (ใช้แก่ลม); สกัดงาเอานํ้ามันเรียกว่า เชยนํ้ามันงา; (ปาก) ว. ไม่ทันสมัย, เปิ่น.
  14. โซงโขดง : [–ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้า ไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โองโขดง ก็ว่า. (สิบสองเดือน).
  15. ดินหู : น. ดินปืนอย่างแรง ใช้โรยที่รางชนวนในการยิงปืนคาบศิลาสมัย โบราณ.
  16. ดิเรกคุณาภรณ์ : น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช.
  17. เดียรถีย์ : [-ระถี] น. นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยพุทธกาล. (ส. ตีรฺถิย; ป. ติตฺถิย).
  18. ตราแดง : (โบ) น. หนังสือสําคัญซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่นา ใช้ในบางจังหวัด แทนตราจอง แต่ไม่กําหนดเวลา ๓ ปี ออกให้ในสมัยหนึ่งแล้ว งดไม่ออกอีก เพื่อเก็บอากรค่านาเป็นนาคู่โค แทนที่เคยเป็นนาฟางลอย.
  19. ตะพานช้าง : น. สะพานที่ทําแข็งแรงสําหรับให้ช้างข้ามในสมัยโบราณ.
  20. ตะพุ่นหญ้าช้าง : (โบ) น. โทษอาญาหลวงสมัยโบราณ; คนที่ถูกลงโทษให้เกี่ยวหญ้า เลี้ยงช้าง.
  21. ตะแลงแกง : น. ทางสี่แพร่ง, ต่อมาเลือนไปหมายถึงที่สําหรับฆ่านักโทษในสมัยโบราณ.
  22. ทวาบรยุค : [ทะวาบอระ-] น. ชื่อยุคที่ ๓ ของจตุรยุคตามคติของ พราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะและอายุของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๒ ใน ๔ ส่วนเมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค. (ดู จตุรยุค).
  23. ทศ ๑, ทศ- : [ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่า เท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ. ว. สิบ, มักใช้เป็น ส่วนหน้าสมาส.
  24. ทองทศ : น. ค่ากําหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ใน สมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท.
  25. ทองพัดดึงส์ : น. ค่ากําหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๓๒ ของชั่ง = ๒.๕๐ บาท.
  26. ทองพิศ : น. ค่ากําหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ใน สมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๒๐ ของชั่ง = ๔ บาท.
  27. ทะแย : น. ชื่อเพลงไทยโบราณทํานองหนึ่ง มีมาแต่สมัยอยุธยา มีอัตรา ๒ ชั้น ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๒ มี ๖ จังหวะ.
  28. เทศกาล : น. คราวสมัยที่กําหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทําบุญและ การรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท; คราว เช่น ชาวนาไม่ได้ทํานาสิ้นสองเทศกาลมาแล้ว. (พงศ. เลขา).
  29. เทศาภิบาล : (เลิก) น. ตําแหน่งผู้สําเร็จราชการมณฑลในสมัยหนึ่ง ต่อมาเปลี่ยนเรียกว่า สมุหเทศาภิบาล.
  30. นครบาล : [นะคอนบาน] น. (เลิก) ผู้มีหน้าที่ในการปกครองนครหลวง; ชื่อทบวงการเมืองระดับกระทรวงในสมัยก่อน คือ กระทรวงนครบาล ซึ่งมีหน้าที่ปกครองเขตนครหลวง; เรียกตำรวจที่มีหน้าที่ระวังและระงับ เหตุการณ์ทางอาญาในกรุงเทพมหานครว่า ตำรวจนครบาล.
  31. นาย : น. (กฎ) คํานําหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชํานาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นําหน้ายศทหารตํารวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้า ตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคํานําราชทินนามเป็นบรรดาศักดิ์ของ ข้าราชการในราชสํานักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คําใช้แทนผู้ที่เรา พูดด้วย ใช้สําหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไป ด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  32. นำสมัย : ว. มีความคิดริเริ่มในการแต่งกายเป็นต้นก่อนสมัยนิยม.
  33. บังคับ : น. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อํานาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ใน ฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้ อํานาจสั่งให้ทําหรือให้ปฏิบัติ; ให้จําต้องทํา เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.
  34. บีบขมับ : ก. เอาไม้คาบเข้าที่ขมับทั้ง ๒ ข้าง แล้วผูกรวบรัดหัวท้าย ไม้คาบนั้นเข้าด้วยกัน เป็นวิธีลงโทษในสมัยโบราณ แบบหนึ่ง.
  35. โบราณ, โบราณ- : [โบราน, โบรานนะ-] ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษร โบราณหนังสือเก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ; (ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ. (ป. โปราณ; ส. เปาราณ).
  36. ประคด : น. เครื่องคาดเอวหรืออกของพระภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นสายถักเป็น แผ่นสําหรับคาดเอว เรียกว่า ประคดเอว, ถ้าเป็นผืนผ้าสําหรับคาด อก เรียกว่า ประคดอก, รัดประคด ก็เรียก; ผ้าสําหรับคาดเอวทับ เครื่องแบบขุนนางสมัยโบราณ.
  37. ประวัติการ : [ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน] น. เรื่องราวที่เป็นมา แล้วแต่ก่อนตามลําดับสมัย.
  38. ประวัติกาล : [ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน] น. สมัยที่มีบันทึกเหตุการณ์.
  39. ปรากฤต : [ปฺรากฺริด] น. ภาษาพื้นเมืองในอินเดียสมัยโบราณซึ่งสืบเนื่อง มาจากภาษาตระกูลอริยกะ. (ส.).
  40. ปัจจุบัน : น. เวลาเดี๋ยวนี้, ทันที, เวลาไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต เช่น เวลาปัจจุบัน, สมัยใหม่ เช่น แพทย์แผนปัจจุบัน; เรียกโรคภัยที่เกิดขึ้นในทันที ทันใดว่า โรคปัจจุบัน เช่น โรคลมปัจจุบัน. (ป. ปจฺจุปฺปนฺน).
  41. ปัตตาเวีย ๑ : น. ชื่อเมืองในเกาะชวาสมัยโบราณ เดิมเรียกว่าเมืองกะหลาป๋า ปัจจุบัน คือ จาการ์ตา.
  42. ปุนภพ : [ปุนะพบ] น. ภพใหม่, การเกิดใหม่. (ป. ปุนพฺภว); สมัยเกิดใหม่ ได้แก่ตอนเริ่มต้นยุคปัจจุบันหลังยุคกลาง.
  43. เปรี้ยว : [เปฺรี้ยว] ว. มีรสอย่างหนึ่งอย่างรสมะนาวเป็นต้น, มีกลิ่นหรือรส ออย่างาหารบูดหรืออาหารเสีย; (ปาก) มีลักษณะปราดเปรียว ทันสมัย อิสระ มั่นใจ ชอบการคบหาสมาคม (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น ผู้หญิงคนนี้เปรี้ยว, เรียกลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงที่แต่งตัว สีฉูดฉาด รัดรูป เป็นต้นว่า แต่งตัวเปรี้ยว.
  44. ผ้าเกี้ยว : น. ผ้าลายหรือผ้าปูมสมัยเก่าสำหรับขุนนางนุ่งหรือ ห่อคัมภีร์เป็นต้น, สมปัก ก็เรียก.
  45. พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
  46. พระสนมเอก : น. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่ม จากหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี ในสมัยโบราณมี ๔ ตำแหน่ง คือท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าว ศรีจุฬาลักษณ์.
  47. พริ้ง : [พฺริ้ง] ว. งามงอน, สะสวยมาก, ชอบแต่งตัวให้งดงามและทันสมัย อยู่เสมอ, เช่น สวยพริ้ง แต่งตัวงามพริ้ง.
  48. พ่อขุน : (โบ) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในสมัยสุโขทัย.
  49. พัดงาสาน : (โบ) น. พัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสี, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จ พระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า ''คามวาสี อรัญวาสี'' มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่าย อรัญวาสี.
  50. พัน ๑ : ว. เรียกจํานวน ๑๐ ร้อย. น. ตําแหน่งหัวหน้าทหารสมัยโบราณสูง กว่าหัวปาก, บรรดาศักดิ์ชั้นประทวนตํ่ากว่าหมื่น, ชื่อตําแหน่ง หัวหน้านายเวรในกระทรวงมหาดไทยและกลาโหม, ยศทหารชั้น สัญญาบัตรรองจากนายพล.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-174

(0.0498 sec)