Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อายุ , then อาย, อายุ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อายุ, 165 found, display 101-150
  1. อาย ๑ : ก. รู้สึกกระดาก, รู้สึกขายหน้า.
  2. อายเหนียม : [เหฺนียม] ก. กระดากอาย.
  3. อายตะ : [ยะตะ] ว. ยืด, แผ่ออกไป, กว้างขวาง, ยาว. (ป., ส.).
  4. กลิ่นอาย : น. กลิ่น. (เป็นคําที่มีความหมายซ้า อาย ก็ว่า กลิ่น).
  5. เก้อ : ว. แสดงสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป เช่น ทําหน้าเก้อ, รู้สึกผิดคาดผิดหวัง เช่น ไปเก้อ คอยเก้อ, ผิดแผกไปจากผู้อื่นเขาหรือแต่งตัวรอจะไปงานแล้วไม่ได้ไป เช่น แต่งตัวเก้อ; กระดาก, อาย, เช่น ทําแก้เก้อ; ขัดเขินหรือค้างอยู่ เพราะไม่เข้ากัน ไม่รับกัน เช่น รําเก้อ เรือนหลังนี้ทําไม่ได้ส่วนดูเก้อ ข้อความที่เขียนไว้เก้อไม่รับกัน.
  6. ขวย : ก. กระดาก, อาย, เช่น แก้ขวย ขวยใจ.
  7. สะเทิ้น, สะเทิ้นอาย : ก. แสดงกิริยาวาจาอย่างขัด ๆ เขิน ๆ เพราะรู้สึกขวยอาย (มักใช้แก่ หญิงสาว) เช่น หญิงสาวพอมีผู้ชายชมว่าสวยก็รู้สึกสะเทิ้น หญิงสาว พอมีชายหนุ่มมาจ้องมองก็สะเทิ้นอาย.
  8. ล้างอาย : ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการแก้หน้า.
  9. หน้าไม่อาย : ว. ที่ไม่รู้สึกกระดากหรือขวยใจ.
  10. เอียงอาย : ว. แสดงท่าขวยเขินโดยก้มหน้าน้อย ๆ.
  11. แกล้ง : [แกฺล้ง] ก. ทําให้เดือดร้อนรําคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทําเป็นปวดฟัน, จงใจทํา พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  12. ขนาง : [ขะหฺนาง] ก. กระดาก, อาย.
  13. กระมิดกระเมี้ยน : ก. แสดงอาการซ่อนอายลับ ๆ ล่อ ๆ, มิดเมี้ยน ก็ว่า.
  14. กษัตริยชาติ : [กะสัดตฺริยะชาด] น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็น กษัตริยชาติ. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). [กะสัดตฺรีสูน] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส. กฺษตฺร + อีศฺวร). [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).
  15. กษัตรี : [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา).
  16. กินนรรำ : น. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์); ชื่อกลบทชนิดหนึ่งตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย.
  17. เก้อเขิน : ว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย.
  18. แก้ขวย, แก้เขิน : ก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อบรรเทาความกระดากอาย.
  19. แก้หน้า : ก. ทําให้พ้นอาย.
  20. ขวยเขิน : ก. กระดากอาย, สะเทิ้นอาย.
  21. ขวิด ๑ : [ขฺวิด] ก. กิริยาของหมูป่าหรือสัตว์ที่ใช้เขาหรือนอทําร้าย, เสี่ยว, ชน. ว. อาการที่เดินสะดุดขาตัวเองเพราะอายหรือรีบร้อน เรียกว่า เดินขาขวิด.
  22. ขอดค่อน : ก. ค่อนว่า, พูดแคะไค้ในเรื่องที่ไม่ดี, พูดให้เขาอายหรือ เจ็บใจ, ค่อนขอด ก็ว่า.
  23. ขัดเขิน : ก. กระดากอาย.
  24. ขาขวิด : ว. อาการที่เดินสะดุดขาตัวเองเพราะอายหรือรีบร้อน เรียกว่า เดินขาขวิด.
  25. ขายหูขายตา : (แบบ) ก. ได้ยินได้เห็นแล้วรู้สึกอายไม่อยากฟัง ไม่อยากเห็น เช่น ดอกขายหูขายตา ดอกบนำพารู้. (ลอ), ใช้ว่า ไขหูไขตา ก็มี.
  26. เขิน ๓, เขิน ๆ : ว. วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย; เข้ากันไม่สนิท เช่น ข้อความ ตอนนี้ฟังเขิน ๆ อยู่.
  27. ไข้ป่า : น. ไข้ที่รับจากป่าหรือดงดิบ เกิดเพราะถูกอายพิษดิน พิษแร่ หรือ ว่านยาหรือเชื้อไข้มาลาเรีย. (อ. jungle fever).
  28. ไขหูไขตา : ก. ได้ยินได้เห็นแล้วรู้สึกอายไม่อยากฟังไม่อยากเห็น, ขายหูขายตา ก็ว่า.
  29. คลา : [คฺลา] (กลอน) ก. เดิน, เคลื่อน, เช่น พาชีขี่คล่องคล้อย ควรคลา. (โลกนิติ); คลาด เช่น อายแก่ราชาคลา ยศแท้. (โลกนิติ).
  30. ค่อนขอด : ก. ค่อนว่า, พูดแคะไค้ในเรื่องที่ไม่ดี, พูดให้เขาอายหรือเจ็บใจ, ยกความชั่วขึ้นมาว่าให้เจ็บใจ, ขอดค่อน ก็ว่า.
  31. งุด, งุด ๆ : ว. อาการก้มหน้าลงเพราะกลัวหรืออายเป็นต้น เช่น ก้มหน้างุด, อาการ ที่เดินก้มหัวหรือก้มหน้าไปโดยเร็ว, อาการที่ก้มหน้าก้มตาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นั่งทำงานงุด ๆ ทั้งวัน.
  32. จั๊กเดียม : [จั๊กกะ-] ก. กระดาก, เขินอาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ จั๊กจี้ เป็น จั๊กจี้จั๊กเดียม.
  33. เจื่อน : ก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจื่อนไป, เจิ่น ก็ว่า; วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้เป็นต้น เช่น หน้า เขาเจื่อนไป, เรียกหน้าที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า หน้าเจื่อน.
  34. ชมดชม้อย : [ชะมดชะม้อย] ก. อายเหนียมอย่างชดช้อย.
  35. ชาปีไหน : น. ชื่อนกชนิด Caloenas nicobarica ในวงศ์ Columbidae ลําตัวสีเขียวเหลือบเทา ขนหางสีขาว มีสร้อยคอสีเขียวเห็น ได้ชัด ขี้อายมักเกาะหลบตามกิ่งไม้หนาทึบ พบตามหมู่เกาะ ทางภาคใต้ของประเทศไทยเช่น หมู่เกาะอ่างทอง สุราษฎร์ธานี, กะดง ก็เรียก.
  36. ด้าน ๒ : ว. กระด้าง, ไม่นิ่ม, เช่น มือด้าน ข้อศอกด้าน; ไม่เป็นมัน, ไม่เป็นเงา, เช่น สีด้าน กระดาษด้าน; จุดไม่ติดหรือไม่ระเบิด เช่น ประทัดด้าน ชนวนด้าน ลูกระเบิดด้าน; โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้สึกเจ็บ, ไม่รู้สึกอาย, เช่น หน้าด้าน.
  37. ด้านหน้า : ก. ดื้อเข้าไปหาโดยไม่รู้สึกอาย.
  38. ตะขิดตะขวง : ก. อาการที่ทําโดยไม่สนิทใจหรือไม่สะดวกใจเพราะกระดากอายเป็นต้น.
  39. บาง ๑ : น. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า ลําคลอง หรือทะเล; ตําบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือใน บริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน, โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่ เช่น ฆ่าล้างบาง ย้ายล้างบาง. ว. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย, เช่น มีดบาง ผ้าบาง, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น เรียกว่า ผสมแต่บาง ๆ, แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป, เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติว่า ผมบาง, เรียกผู้ ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอายว่า หน้าบาง, ตรงข้าม กับ หน้าหนา, เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะองว่า เอวเล็ก เอวบาง หรือเอวบางร่างน้อย, เรียกคนอ่อนแอทนความลําบากไม่ได้ เพราะไม่เคยชินว่า คนผิวบาง.
  40. ม้วนต้วน : ว. อาการที่แสดงท่าทางเอียงอาย. ก. กลิ้งหมุนไปรอบตัว.
  41. ม้วนหน้า : ก. ก้มหน้าเพราะความอาย.
  42. ม้าน : ก. เหี่ยวแห้ง; เผือดเพราะความอาย. น. เรียกข้าวที่ยืนต้นแห้งตาย เพราะขาดน้ำเนื่องจากฝนแล้งว่า ข้าวม้าน; เรียกหน้าที่เผือดด้วย ความละอายจนไม่กล้าสบตาคนว่า หน้าม้าน.
  43. มิดเมี้ยน : ว. ลับจนมองไม่เห็น; แสดงอาการซ่อนอายลับ ๆ ล่อ ๆ, กระมิดกระเมี้ยน ก็ว่า.
  44. มีหน้า : ว. ไม่รู้สึกอาย (ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น), มักใช้กับคํา ยัง เช่น โกรธกันแล้วยังมีหน้ามาพูด เก่าไม่ใช้ ยังมีหน้ามายืมใหม่อีก.
  45. ยิ้มแหย : [แหฺย] ก. ยิ้มอย่างเก้ออาย.
  46. เย้ย : ก. พูดหรือกระทําให้ได้อาย ให้เจ็บใจ ให้โกรธ.
  47. เย้ยหยัน : ก. พูดหรือแสดงกิริยาดูถูกเยาะเย้ยให้ได้อาย ให้เจ็บใจ ให้โกรธ.
  48. เยาะเย้ย : ก. ค่อนว่าหรือแสดงกิริยาซ้ำเติมให้ได้อาย ให้ช้ำใจเจ็บใจ ให้โกรธ.
  49. ไยไพ : ก. เยาะเย้ย, พูดให้เขาอาย.
  50. ล้อ ๒ : ก. แสดงกิริยาวาจาหยอกเย้า เย้าแหย่ให้เขาเกิดรําคาญให้อายหรือ ให้โกรธเป็นต้น; ทำให้คล้ายคลึงแบบ เช่น เขียนข้อความให้ล้อกัน.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-165

(0.0424 sec)