Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เผชิญหน้า, เผชิญ, หน้า , then เผชิญ, เผชิญหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เผชิญหน้า, 1624 found, display 851-900
  1. บุรพบท : [บุระพะบด, บุบพะบด] น. บุพบท, คําชนิดหนึ่งใน ไวยากรณ์ ทําหน้าที่เชื่อมคําต่อคํา อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือ กริยา มีคําว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือ ของฉัน กินเพื่ออยู่.
  2. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี : [บุระพะ-, บุบพะ-, ปุระพะ-, ปุบ พะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปแรดตัวผู้หรือ เพดานตอนหน้า, ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก.
  3. บุรพภัทรบท, ปุพพะภัททะ : [บุระพะพัดทฺระบด, บุบพะพัดทฺระบด, ปุบพะพัดทะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๕ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวผู้ หรือเพดานตอนหน้า, ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย ก็เรียก.
  4. บุรัตถิมทิศ : [-ถิมะทิด] น. ทิศตั้งอยู่เบื้องหน้า, ทิศตะวันออก. (ป. ปุรตฺถิมทิส).
  5. บู่ : น. ชื่อปลาจําพวกหนึ่งในหลายสกุลและหลายวงศ์ มีตั้งแต่ขนาด เล็กจนถึงขนาดใหญ่ ครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบอก รูปร่าง ลักษณะ สีสัน ถิ่นอาศัย พฤติกรรมและขนาดแตกต่างกัน มีทั้งใน ทะเล นํ้ากร่อยและนํ้าจืด เช่น บู่จาก หรือ บู่ทราย (Oxyeleotris marmorata) ในวงศ์ Eleotridae ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย คือมีขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร, บู่ทอง บู่หิน บู่ทราย หรือ บู่ลูกทราย (Glossogobius spp.) ในวงศ์ Gobiidae, บู่รําไพ (Vaimosa rambaiae) และ บู่ทะเล หรือ บู่ขาว (Acentrogobius caninus).
  6. บูด : ว. มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแสดงว่าเสีย (ใช้แก่อาหาร) เช่น ข้าวบูด แกงบูด; ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เรียกว่า ทํา หน้าบูด.
  7. บูดบึ้ง : ว. ทําหน้าบึ้งแสดงอาการไม่พอใจ.
  8. บูดเบี้ยว : ว. ทําหน้านิ่วแสดงอาการเจ็บปวดหรือไม่พอใจ.
  9. บูรพา : [-ระพา] ว. ตะวันออก; เบื้องหน้า. (ส.).
  10. เบ้ : ว. บิด, ไม่ตรง, เช่น ทําปากเบ้; ทําหน้าแสดงอาการผิดหวัง ไม่เห็น ด้วย ไม่พอใจ หรือเจ็บปวด เป็นต้น.
  11. เบ่ง : ก. ตะเบ็ง เช่น เบ่งเสียง, พยายามขับดันสิ่งเช่นอุจจาระปัสสาวะ เป็นต้นให้ออกมา เช่น เบ่งอุจจาระเบ่งปัสสาวะ เบ่งลูก, ทําให้ พองตัวขึ้นหรือขยายตัวออก เช่น อึ่งอ่างเบ่ง เบ่งกล้าม; (ปาก) เร่ง เช่น เบ่งรถให้ขึ้นหน้า; อวดว่ามีอํานาจ, อวดทําเป็นใหญ่.
  12. เบญจ-, เบญจะ : [เบนจะ-] ว. ห้า, ลําดับที่ ๕ เช่น นาเบญจะ หัวเมืองเบญจะ มาตรา ... เบญจะ. (ป. ปญฺจ; ส. ปญฺจนฺ), มักใช้เป็นส่วนหน้า สมาส.
  13. เบญจางค-, เบญจางค์ : [เบนจางคะ-, เบนจาง] น. อวัยวะทั้ง ๕ คือ หน้าผาก ๑ มือ ๒ เข่า ๒; ส่วนทั้ง ๕ คือ ราก เปลือก ใบ ดอก ผล.
  14. เบญจางคประดิษฐ์ : น. การกราบโดยให้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผาก จดลงกับพื้น.
  15. เบอะ ๒ : ว. ซึมเซ่อ เช่น หน้าเบอะ.
  16. เบะ : ว. ทําหน้าเหมือนจะร้องไห้; มักใช้ประกอบคํา เหลือ เป็น เหลือเบะ คือ เหลือมาก เช่นในกรณีที่เตรียมของไว้มาก แต่คนมาน้อย.
  17. เบิ่ง : ก. จ้องดู, แหงนหน้าดู, เช่น ควายเบิ่ง.
  18. เบื้องหลัง : ว. ข้างหลัง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ไม่เปิดเผยหรือแอบ แฝงอยู่, เบื้องหน้าเบื้องหลัง ก็ว่า.
  19. เบือน : ก. หันหน้าหนี ในคําว่า เบือนหน้า.
  20. ใบเบิกร่อง : (กฎ) น. เอกสารที่กรมศุลกากรออกให้แก่เรือที่มีระวาง จดทะเบียนตํ่ากว่า ๒๐๐ ตัน ที่ออกจากท่าเรือกรุงเทพฯ เพื่อส่งมอบ ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อนําเรือผ่านด่านศุลกากรที่ปากนํ้า สมุทรปราการ.
  21. ใบโพ ๒ : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Drepane วงศ์ Drepanidae ลําตัวสีเงิน สั้น กว้าง และแบนข้างมาก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของ หัว ครีบสีเหลืองอ่อน ครีบอกยาวเรียว ครีบท้องอยู่ในแนวหน้า ครีบอก ครีบหางมีปลายเป็นเหลี่ยมมุมป้าน ชนิด D. punctata มีจุดดําที่ข้างตัวเรียงในแนวตั้งหลายแนว แต่ชนิด D. longimana มีแถบสีเทาเรียงในลักษณะเดียวกัน, ทั้ง ๒ ชนิดอาศัยอยู่ตามพื้น ท้องนํ้าที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, แมลงปอ ก็เรียก.
  22. ใบระกา : น. ชื่อไม้สลักหรือปูนปั้นรูปเป็นครีบ ๆ หรือลวดลายต่าง ๆ ติดกับ ตัวลํายองระหว่างช่อฟ้ากับหางหงส์ ประกอบ ๒ ข้างหน้าบันโบสถ์ วิหาร และปราสาท เป็นต้น.
  23. ใบหน้า : น. เค้าหน้า, ดวงหน้า, รูปลักษณะของหน้า.
  24. ปกิณกะ : [ปะกินนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน, (มักใช้ประกอบหน้าศัพท์) เช่น ปกิณกคดี. (ป. ปกิณฺณก; ส. ปฺรกีรฺณก).
  25. ปฏิ- : คําอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).
  26. ปโย- : น. นํ้านม, นํ้า. (ป., ส. ปย), ที่เป็น ปโย เพราะเข้าสมาสกับศัพท์ที่มี พยัญชนะตัวหน้าเป็นอักษรตํ่าหรือตัว ห ดังตัวอย่างต่อไปนี้
  27. ปร- : [ปะระ-, ปอระ-] ว. อื่น, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น ปรปักษ์ ปรโลก. (ป.).
  28. ปรก ๑ : [ปฺรก] น. ซุ้มเล็ก ๆ ที่พระสงฆ์อาศัยในเวลาอยู่ปริวาส. ก. ปก, ปิด, คลุม, เช่น พระนาคปรก ผมปรกหน้า.
  29. ปรบไก่ : น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่ง ใช้ตบมือเป็นจังหวะ และว่า แก้กันอย่างเพลงฉ่อย, ชื่อหน้าทับประกอบเพลงดนตรีแบบหนึ่ง.
  30. ปรม- : [ปะระมะ-, ปอระมะ-] ว. อย่างยิ่ง (ใช้นําหน้าคําอื่นโดยมาก). (ป.).
  31. ปรโลก : [ปะระ-, ปอระ-] น. โลกหน้า.
  32. ปรอด : [ปะหฺรอด] น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Pycnonotidae สีเหลืองหม่น กินผลไม้และแมลง มีหลายชนิด เช่น ปรอดสวน (Pycnonotus blanfordi) ปรอดหน้านวล (P. goiavier), กรอด ก็เรียก, บางทีเขียน เป็น กระหรอด หรือ กะหรอด.
  33. ประ- ๑ : [ปฺระ] ใช้เติมหน้าคําอื่นเพื่อให้คําหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง; คําที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม.
  34. ประโคน ๒ : น. สายรัดจากใต้สัปคับไปที่อกช้าง หลังขาหน้า แล้วลอดมาบรรจบ กันโยงใต้ท้องช้างและหน้าขาหน้าไปจากสายชนักที่คอช้าง, (กลอน) กระคน ก็ว่า.
  35. ประจำการ : ว. อยู่ในตําแหน่งหน้าที่ประจํา, ยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติ หน้าที่, เช่น ทหารประจําการ.
  36. ประจิ้มประเจ๋อ : ว. พูดจาและแสดงกิริยาเสนอหน้าอย่างเด็ก.
  37. ประเชิญ : ก. ชนกัน, ปะทะกัน, เจอหน้ากัน; เอาผ้านุ่ง ผ้าขาวม้าเป็นต้นที่ขาด กลางผืนมาตัดตรงขาดออก แล้วเอาชายมาต่อกันเข้าใหม่ เรียกว่า ประเชิญผ้า.
  38. ประดา ๑ : ว. บรรดา, ทั้งหมด, ถ้าใช้เข้าคู่กับคํา เต็ม เป็น เต็มประดา หมายความว่า เต็มที. ก. เรียงหน้ากันเข้าไป.
  39. ประดาทัพ : ก. ตั้งกองทัพเรียงหน้ากระดานเข้าไป.
  40. ประดาพล : ก. ยกพลเรียงหน้าเข้าไป.
  41. ประดิ- : ศัพท์นี้ใช้แทนคําว่า ปฏิ หรือ ประติ. (ดูคําที่มี ปฏิ หรือ ประติ นําหน้า).
  42. ประติ- : เป็นคําสันสกฤตใช้เหมือน ปฏิ. (ดูคําที่มี ปฏิ หรือ ประติ นําหน้า).
  43. ประเท้า : ก. กิริยาที่ผู้รำใช้ส่วนหน้าของฝ่าเท้าแตะพื้นและยกขึ้นทันที, เป็นท่ารำท่าหนึ่ง.
  44. ประแป้ง : ก. แตะหน้าหรือตัวให้เป็นจุด ๆ ด้วยแป้งนวลผสมนํ้า.
  45. ประสาท ๑, ประสาท- ๑ : [ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ส่วนของร่างกาย มีลักษณะคล้าย เส้นใย มีหน้าที่นําคําสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมอง หรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย, โดยปริยายหมายความว่า จิตใจ, ความรู้สึก. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).
  46. ปริ- ๑ : [ปะริ-] เป็นอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต, ใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า รอบ เช่น ปริมณฑล.
  47. ปรุ : [ปฺรุ] ก. ทําให้เป็นรู ๆ, สลักให้เป็นรู ๆ มีลวดลายต่าง ๆ. ว. เป็นรูเล็ก ๆ เช่น หน้าปรุ; ทะลุ, ตลอด, เช่น เที่ยวเสียปรุ.
  48. ปลิ้น : [ปฺลิ้น] ก. กลับข้างในบางส่วนให้โผล่ออกมา เช่น ปลิ้นตา, โผล่ยื่น หรือทําให้โผล่ยื่นออกมาจากสิ่งที่มีอะไรห่อหุ้มอยู่ เช่น พุงปลิ้น ตาปลิ้น; (ปาก) ลักลอบหรือหลอกลวงเอาไปซึ่งหน้า เช่น ปลิ้นเอาเงินไป.
  49. ป่อง ๑ : น. ชื่อแมงหลายชนิดและหลายวงศ์ในอันดับ Scorpionida หัวติด กับอกเป็นส่วนเดียวกัน รูปร่างค่อนไปทางสี่เหลี่ยมยาว ส่วนท้อง เป็นปล้อง ๆ ขนาดไล่เลี่ยกับอก ๗-๘ ปล้อง ส่วนที่เหลือเล็กลงต่อ กันยาวคล้ายหาง ที่ปลายมีเหล็กในสามารถต่อยให้เจ็บปวดได้ มีขา ๔ คู่ ด้านหน้ามีส่วนของปากขยายใหญ่โตกว่าขา ลักษณะเหมือน ก้ามปูใช้สําหรับจับเหยื่อ.
  50. ปะ : ก. มาเจอกัน, มาประเชิญหน้ากัน; เอาวัตถุเช่นผ้าหรือไม้เป็นต้นปิดทับ ส่วนที่ชํารุดเป็นช่องเป็นรู เช่น ปะผ้า ปะว่าว, ปิดทับ เช่น ปะหน้า. ปะว่า สัน. ถ้าว่าเจอ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | [851-900] | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1624

(0.1147 sec)