Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เผชิญหน้า, เผชิญ, หน้า , then เผชิญ, เผชิญหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เผชิญหน้า, 1624 found, display 451-500
  1. ข้าวเหนียว : น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ด ขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวดํา, ข้าวเหนียวที่เอามากวนกับกะทิ และนํ้าตาลทราย เรียกว่า ข้าวเหนียวแก้ว, ถ้าเอามากวนกับกะทิและ นํ้าตาลหม้อมีสีแดงเป็นสีนํ้าตาลไหม้ เรียกว่า ข้าวเหนียวแดง, ถ้าเอา มานึ่งใส่หน้ากะทิตัดเป็นชิ้น ๆ เรียกว่า ข้าวเหนียวตัด, ถ้าเอามาห่อ แล้วนึ่งใส่หน้ากะทิ เรียกว่า ข้าวเหนียวห่อ; เรียกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม และเหนียวอย่างข้าวเหนียว เช่น สาเกข้าวเหนียว มะตาดข้าวเหนียว.
  2. ขาหนีบ : น. บริเวณโคนขาด้านหน้าตรงส่วนที่ต่อกับลำตัว.
  3. ขี้ : ก. กิริยาที่ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก. น. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออก ทางทวารหนัก, อุจจาระ, สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่น ขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู ขี้ตา, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว, เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย. ว. ใช้ ประกอบหน้าคําที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น ขี้เกียจ ขี้เหนียว, หรือมักเป็นเช่นนั้น เช่น ขี้หัวเราะ ขี้ขอ.
  4. ขีดคร่อม : (กฎ) ก. ขีดเส้นขนานคู่ขวางไว้ข้างด้านหน้าเช็ค. (ดู เช็คขีดคร่อม).
  5. ขี้ยอก : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Mystacoleucus marginatus ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างทั่วไปคล้ายปลาตะเพียน เว้นแต่มีหนามแข็งยื่นจากต้นครีบหลัง ออกไปข้างหน้า, ชื่อนี้เรียกกันเฉพาะในเขตแม่นํ้าปิงเท่านั้น ในเขต แม่นํ้าน่านเรียก หนามไผ่, ปักษ์ใต้เรียก หญ้า.
  6. ขึง : ก. ทําให้ตึง เช่น ขึงเชือก ขึงจอภาพยนตร์, ผูกสิ่งเป็นเส้นให้ยาวเหยียด ออกไปเป็นราว เช่น ขึงราว, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หน้าขึง.
  7. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  8. ขึ้นชื่อว่า : ใช้เป็นคําประกอบหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้น ข้อความ เช่น ขึ้นชื่อว่าคนพาลละก็ต้องหลีกให้ห่างไกล.
  9. ขึ้นไม้ขึ้นมือ : ก. ชี้หน้าในเวลาโกรธ เช่น มาขึ้นไม้ขึ้นมืออยู่หรบหรบ. (ขุนช้างขุนแผน).
  10. ขื่อ : น. ชื่อไม้เครื่องบนสําหรับยึดหัวเสาด้านขวาง; เครื่องจองจํานักโทษ ทําด้วยไม้มีช่องสําหรับสอดมือหรือเท้าแล้วมีลิ่มตอกกำกับกันขื่อหลุด; เรียกกระดูกเชิงกรานที่ขวางอยู่ด้านหน้า.
  11. ขื่อกะละปังหา : น. ขื่อด้านสกัดหัวท้ายสําหรับรับหน้าจั่วและ ติดกลอนปีกนก.
  12. เขม่น : [ขะเหฺม่น] ก. อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อ โบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้, กระเหม่น ก็ว่า; (ปาก) รู้สึกไม่ชอบหน้า หรือไม่พอใจ.
  13. เขม้นขะมัก : [ขะเม่น-] ก. ตั้งใจทําอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้วเสร็จไป, ก้มหน้าก้มตาทํา, ขะมักเขม้น ก็ว่า.
  14. เข้าเค้า : ก. เหมาะกับรูปร่าง เค้าหน้า หรือ กิริยาท่าทาง, เหมาะกับ เรื่องราวหรือเหตุผล.
  15. เข้าเล่ม : ก. เรียงหน้าหนังสือให้เป็นลําดับเพื่อเย็บเป็นเล่ม เรียกว่า เข้าเล่มหนังสือ.
  16. เข้าหา : ก. ไปให้เห็นหน้า, ไปอ่อนน้อม เช่น เรื่องนี้ต้องเข้าหาผู้ใหญ่; ลอบเข้าห้องหญิงเพื่อการชู้สาว.
  17. เข้าให้ : ว. เน้นความเพื่อแสดงกริยาข้างหน้าให้มีนํ้าหนักขึ้นและเฉพาะ เจาะจง เช่น ด่าเข้าให้ ชกเข้าให้.
  18. เขิน ๓, เขิน ๆ : ว. วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย; เข้ากันไม่สนิท เช่น ข้อความ ตอนนี้ฟังเขิน ๆ อยู่.
  19. เขี้ยว : น. ฟันแหลมคมสําหรับฉีกเนื้อและอาหาร อยู่ระหว่างฟันหน้ากับกราม, ราชาศัพท์ว่า พระทาฐะ หรือ พระทาฒะ, (ถิ่น-พายัพ) ฟัน.
  20. เขียว ๒ : ว. มีสีอย่างสีใบไม้สด, บางทีหมายถึงเขียวครามด้วย เช่น สุดหล้าฟ้าเขียว โกรธจนหน้าเขียว;กลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นใบไม้สดบางชนิด เรียกว่า เหม็นเขียว.
  21. เขี้ยวแก้ว : น. เขี้ยวของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว; เขี้ยวของงูพิษ อยู่บริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบน มีขนาดใหญ่และยาว เช่น งูจงอาง งูเห่า งูเขียวหางไหม้, ถ้าอยู่บริเวณท้ายขากรรไกรบน เรียกว่า เขี้ยวแก้วใน หรือ เขี้ยวแก้วใต้ตา เช่น งูปล้องทอง งูเขียวหัวจิ้งจก; เขี้ยวที่งอกอยู่กลาง เพดานปากของหนุมาน.
  22. เขื่อนเพชร : น. ตึกแถวมีผนังหลังตันหันออกมาข้างนอกในพระราชฐาน เฉพาะตรงที่แบ่งข้างหน้ากับข้างในต่อกัน.
  23. แขกเต้า : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดํา ลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียง อื่น ๆ บางอย่างได้.
  24. แข่ง : ก. ชิงเอาชนะกัน, ชิงดี, ชิงขึ้นหน้า.
  25. แข้ง : น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, หน้าแข้งก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์.
  26. แข้งสิงห์ : น. ส่วนหน้าของขาสิงห์ตรงที่เป็นสัน; เรียกการพันกระดาษ ซึ่งซอยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่ด้ามธงว่า พันแข้งสิงห์.
  27. แขนะ : [ขะแหฺนะ] (โบ) ก. แกะ, สลัก, เจาะ. น. กรรมวิธีในการสร้างงาน ประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดย ใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า.
  28. โขก : ก. ควํ่าภาชนะเป็นต้นแล้วเคาะลงที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง, กิริยาที่ควํ่าหน้า ลงแล้วเอาหน้าผากกระแทกพื้นเป็นต้น เช่น เอาหน้าผากโขกพื้น.
  29. โขมด ๑ : [ขะโหฺมด] น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสง เรืองวาวในเวลากลางคืน ทําให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์ อธิบายว่า ได้แก่ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้ว ติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. (ข. โขฺมจ ว่า ผี).
  30. ไขมัน : น. สารประกอบอินทรีย์จำพวกหนึ่งมีทั้งในสัตว์และพืช ไม่ ละลายน้ำ, ถ้าเป็นของเหลวในอุณหภูมิปรกติเรียก น้ำมัน, ถ้าเป็น ของแข็งในอุณหภูมิปรกติเรียก ไข. (อ. fat); (ปาก) เรียกเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ชนิดหนึ่งในคนและสัตว์บางชนิดซึ่งสะสมสารประกอบอินทรีย์ดังกล่าว ไว้มากโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องหรือในผนังหน้าท้อง มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ, มัน ก็ว่า.
  31. ไข่แมงดา : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งลักษณะอย่างทองหยอดเม็ดเล็ก ๆ ใช้ โรยหน้าข้าวเหนียวกระทงหรือข้าวเหนียวตัด.
  32. ไขรา : น. ส่วนของหลังคาอาคารสถาปัตยกรรมไทย เฉพาะตอนที่ยื่นพ้นผนัง อาคารออกไปยังขอบหลังคา, ถ้าส่วนที่ยื่นนั้นอยู่ตรงหน้าจั่ว เรียก ไขราหน้าจั่ว, ถ้าอยู่ปลายหน้าบัน เรียก ไขราหน้าบัน, ถ้าเป็นหลังคาปีกนก เรียก ไขราปีกนก, ถ้าเป็นหลังคาบังสาดตามขนาดยาวของเต้า เรียก ไขราจันทันเต้า หรือ ไขราเต้า.
  33. ไข้สันนิบาต : (โบ) น. ไข้ที่มีอาการสั่นเทิ้มชักกระตุกและเพ้อ เช่น ไข้สันนิบาตลูกนก ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง.
  34. คนจร : น. คนแปลกหน้า, คนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง.
  35. คระ ๑ : [คฺระ] คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี คร- เป็นพยัญชนะต้น ในบทกลอน มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำคำ หรือเป็นพหูพจน์ เช่น คระคราง (หมายความว่า ครางคราง) คระครึ้ม (หมาย ความว่า ครึ้มครึ้ม) คระโครม (หมายความว่า โครมโครม).
  36. คระ ๒ : [คฺระ] ใช้แทน กระ ที่เป็นพยางค์หน้า เช่น คระหน คระหาย คระโหย.
  37. คร้าน : [คฺร้าน] ว. มีความรู้สึกไม่อยากจะทําหรือคิดหรือไม่อยากแสดงอาการใด ๆ, ตามปรกติเมื่อใช้พูดมักมีคํา ขี้ ประกอบหน้า เช่น ขี้คร้าน และมักใช้เข้าคู่ กับคํา เกียจ เป็น เกียจคร้าน ขี้เกียจขี้คร้าน หมายความว่า ไม่อยากทํางาน.
  38. คราว ๑ : [คฺราว] น. ครั้ง, หน, เช่น คราวหน้า คราวหลัง, รุ่น เช่น เด็ก ๒ คนนี้ อายุคราวเดียวกัน, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น สินค้าชนิดนี้ส่งเข้ามา ๓ คราว.
  39. ครีม : [คฺรีม] น. หัวนํ้านมส่วนที่ลอยขึ้นมา; อาหารที่ผสมด้วยครีมหรือมีลักษณะ คล้ายครีม เช่น ครีมหน้าขนมเค้ก; สิ่งที่มีนํ้ามันผสมอยู่และมีลักษณะ เหนียวข้นคล้ายครีม จะมีครีมผสมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม เช่น ครีมทาหน้า ครีมใส่ผม. ว. สีอย่างสีขาวออกเหลือง. (อ. cream).
  40. ครีษมายัน : [คฺรีดสะ-] (ดารา) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราว วันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันยาวที่สุด เรียกว่า ครีษมายัน (summer solstice), คู่กับ เหมายัน, อุตตรายัน ก็เรียก. (ส. คฺรีษฺม + อายน).
  41. คล้ำ : [คฺลํ้า] ว. ค่อนข้างดํา, ไม่ผ่องใส, หม่นหมอง, เช่น ผิวคลํ้า หน้าคลํ้า.
  42. ควักค้อน : [คฺวัก-] (กลอน) ก. ค้อนจนหน้าควํ่า เช่น ขืนจะมาควักค้อนค่อนว่า เงาะของข้าเคยใส่ทำไมสิ. (สังข์ทอง), ค้อนควัก ก็ว่า.
  43. ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
  44. คว่ำ : [คฺวํ่า] ก. พลิกเอาด้านบนลงล่าง เช่น รถคว่ำ เรือคว่ำ; กิริยาที่เอาด้าน หน้าลง เช่น นอนคว่ำ, กิริยาที่เอาด้านบนลงล่าง เช่น คว่ำชาม, ตรงข้าม กับ หงาย; เรียกใบหน้าที่แสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้า ขึ้นมองดูว่า หน้าคว่ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง พ่ายแพ้ เช่น คว่ำคู่ต่อสู้.
  45. คห- : [คะหะ-] (แบบ) น. เรือน, ใช้เป็นคําหน้าสมาส เช่น คหกรรม. (ป.).
  46. คอกระเช้า : น. เรียกเสื้อคอกลมคว้านกว้างลึกทั้งข้างหน้าและข้างหลัง มีจีบรูดตรงคอ ตัวหลวม ว่า เสื้อคอกระเช้า, ใช้เป็นเสื้อชั้นในแบบเก่า. ของผู้หญิง.
  47. คอกะลาสี : น. ปกเสื้อแบบกะลาสี ด้านหน้ารูปแหลมแบะออก ด้านหลัง เป็นแผ่นรูปสี่เหลี่ยม.
  48. คอตั้งบ่า : ว. อาการที่แหงนหน้าขึ้นสูง ๆ.
  49. ค้อนควัก : ก. ค้อนจนหน้าควํ่า, ควักค้อน ก็ว่า.
  50. ค่อย ๓ : ว. คํานําหน้าความข้างท้ายให้ติดต่อกับความข้างหน้า แสดงกิริยาที่ กระทําภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วค่อยไป, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ค่อย หมายความว่า น้อย, บ้าง, (ตามส่วนของสิ่งที่พูดถึง) เช่น ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยพูด, ไม่ใคร่ ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1624

(0.1284 sec)