Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เมืองขึ้น, เมือง, ขึ้น , then ขน, ขึ้น, มอง, เมือง, เมืองขึ้น .

Budhism Thai-Thai Dict : เมืองขึ้น, 432 found, display 251-300
  1. โศกาลัย : ความเศร้าเหี่ยวแห้งใจและความห่วงใย, ทั้งโศกเศร้าทั้งอาลัยหรือโศกเศร้าด้วยอาลัย, ร้องไห้สะอึกสะอื้น (เป็นคำกวีไทยผูกขึ้น)
  2. สงกรานต์ : การย้าย คือ ดวงอาทิตย์ย้ายราศี ในที่นี้หมายถึงมหาสงกรานต์ คือพระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ราศีเมษ นับเป็นเวลาขึ้นปีใหม่อย่างเก่า จัดเป็นนักขัตฤกษ์ ซึ่งตามสุริยคติตกวันที่ ๑๓, ๑๔, ๑๕ เมษายน ตามปกติ (ส.สงฺกฺรานฺติ)
  3. สงฆ์ : หมู่, ชุมนุม ๑.หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ใน โสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒), ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์ ๒.ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง
  4. สงฆ์จตุรวรรค : สงฆ์พวก ๔ คือ มีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไปจึงจะครบองค์กำหนด, สงฆ์จตุวรรค ก็เขียน ดู วรรค
  5. สงฆ์ทสวรรค : สงฆ์พวก ๑๐ คือ มีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด ดู วรรค
  6. สงฆ์ปัญจวรรค : สงฆ์พวก ๕ คือ มีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด ดู วรรค
  7. สงฆ์วีสติวรรค : สงฆ์พวก ๒๐ คือ มีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด ดู วรรค
  8. สจิตตกะ : มีเจตนา, เป็นไปโดยตั้งใจ, เป็นชื่อของอาบัติพวกหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยสมุฏฐานมีเจตนา คือ ต้องจงใจทำจึงจะต้องอาบัตินั้น เช่น ภิกษุหลอนภิกษุให้กลัวผี ต้องปาจิตตีย์ ข้อนี้เป็นสจิตตกะ คือ ตั้งใจหลอกจึงต้องปาจิตตีย์ แต่ถ้าไม่ได้ตั้งใจจะหลอก ไม่ต้องอาบัติ
  9. สติวินัย : ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลักได้แก่กิริยาที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ ว่าเป็นผู้มีสติเต็มที่ เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ ที่มีผู้โจทท่านด้วยศีลวิบัติ หมายความว่าจำเลยเป็นพระอรหันต์ สงฆ์เห็นว่าไม่เป็นฐานะที่จำเลยจะทำการล่วงละเมิดดังโจทก์กล่าวหา จึงสวดกรรมวาจาประกาศความข้อนี้ไว้ เรียกว่าให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสียภายหลังจำเลยจะถูกผู้อื่นโจทด้วยอาบัติอย่างนั้นอีก ก็ไม่ต้องพิจารณา ให้อธิกรณ์ระงับด้วยสติวินัย
  10. สถาปนา : ก่อสร้าง, ยกย่องโดยแต่งตั้งให้สูงขึ้น
  11. สนฺนิปาติกา อาพาธา : ความเจ็บไข้เกิดจากสันนิบาต (คือประชุมกันแห่งสมุฏฐานทั้ง ๓), ไข้สันนิบาต คือความเจ็บไข้ที่เกิดขึ้นแต่ดี เสมหะ และลม ทั้ง ๓ เจือกัน
  12. สมันตปาสาทิกา : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐ โดยปรึกษาอรรถกถาภาษาสิงหฬที่มีอยู่ก่อน ชื่อ มหาปัจจริย และกุรุนที
  13. สมาทานวัตร : ดู ขึ้นวัตร
  14. สมานลาภสีมา : แดนมีลาภเสมอกัน ได้แก่เขตที่สงฆ์ตั้งแต่ ๒ อาวาสขึ้นไปทำกติกากันไว้ว่า ลาภเกิดขึ้นในอาวาสหนึ่ง สงฆ์อีกอาวาสหนึ่งมีส่วนได้รับแจกด้วย; ดู กติกา ด้วย
  15. สมาโนทก : ผู้ร่วมน้ำ, ตามธรรมเนียมพราหมณ์ หมายถึง บุรพบิดรพ้นจากทวดขึ้นไปก็ดี ญาติผู้มิได้สืบสายตรงก็ดี ซึ่งเป็นผู้จะพึงได้รับน้ำกรวด (คู่กับ สปิณฑะ)
  16. สมุจเฉทวิมุตติ : หลุดพ้นด้วยตัดขาด ได้แก่ พ้นจากกิเลสด้วยอริมรรค กิเลสเหล่านั้นขาดเด็ดไป ไม่กลับเกิดขึ้นอีก เป็นโลกุตตรวิมุตติ (ข้อ ๓ ในวิมุตติ ๕)
  17. สสังขาริก : “เป็นไปกับด้วยการชักนำ”, มีการชักนำ ใช้แก่จิตที่คิดดีหรือชั่ว โดยถูกกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก มิใช่เริ่มขึ้นเอง และมีกำลังอ่อน ตรงข้ามกับ อสังขาริก ซึ่งแปลว่า ไม่มีการชักนำ คือ จิตคิดดีหรือชั่ว โดยเริ่มขึ้นเอง มิใช่ถูกกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก จึงมีกำลังมาก
  18. สังขตธรรม : ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ตรงกับสังขารในคำว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น; ตรงข้ามกับ อสังขตธรรม
  19. สังขตลักษณะ : ลักษณะแห่งสังขตธรรม, ลักษณะของปรุงแต่ง มี ๓ อย่าง ๑.ความเกิดขึ้น ปรากฏ ๒.ความดับสลาย ปรากฏ ๓.เมื่อตั้งอยู่ ความแปร ปรากฏ
  20. สังขตะ : สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยแต่งขึ้น ได้แก่สภาพที่เกิดเหตุปัจจัยแต่งขึ้น ได้แก่สภาพที่เกิดแต่เหตุทั้งปวง, สังขตธรรม; ตรงข้ามกับ อสังขตะ
  21. สังขาร : ๑.สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ๒.สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลาง ๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น; อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา ๓.จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา ๓.สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร ๓.จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา
  22. สังขารทุกข์ : ทุกข์เพราะเป็นสังขาร คือเพราะเป็นสภาพอันถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น จึงต้องผันแปรไปตามเหตุปัจจัยเป็นสภาพอันปัจจัยบีบคั้นขัดแย้ง คงทนอยู่มิได้
  23. สังฆการี : เจ้าหน้าที่ผู้ทำการสงฆ์, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับสงฆ์ในงานหลวง, เจ้าหน้าที่ผู้เป็นพนักงานในการพิธีสงฆ์ มีมาแต่โบราณสมัยอยุธยาสังกัดในกรมสังฆการี ซึ่งรวมอยู่ด้วยกันกับกรมธรรมการเรียกรวมว่ากรมธรรมการสังฆการี เดิมเรียกว่า สังกะรีหรือสังการี เปลี่ยนเรียกสังฆการีในรัชกาลที่ ๔ ต่อมาเมื่อตั้งกระทรวงธรรมการใน พ.ศ.๒๔๓๒ กรมธรรมการสังฆการีเป็นกรมหนึ่งในสังกัดของกระทรวงนั้น จนถึง พ.ศ.๒๔๕๔ กรมสังฆการีจึงแยกเป็นกรมต่างหากกันกับกรมธรรมการ ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๗๖ กรมสังฆการีถูกยุบลงเป็นกองสังกัดในกรมธรรมการกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาอีกใน พ.ศ.๒๔๘๔ กรมธรรมการเปลี่ยนชื่อเป็นกรมศาสนา และในคราวท้ายสุด พ.ศ.๒๕๑๕ กองสังฆการีได้ถูกยุบเลิกไป และมีกองศาสนูปถัมภ์ขึ้นมาแทน ปัจจุบันจึงไม่มีสังฆการี; บางสมัยสังฆการีมีอำนาจหน้าที่กว้างขวาง มิใช่เป็นเพียงเจ้าพนักงานในราชพิธีเท่านั้น แต่ทำหน้าที่ชำระอธิกรณ์พิจารณาโทษแก่พระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดสิกขาบทประพฤติผิดธรรมวินัยด้วย
  24. สังฆอุโบสถ : อุโบสถของสงฆ์ คือ การทำอุโบสถของสงฆ์ที่ครบองค์กำหนด คือมีภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป สวดปาฏิโมกข์ได้ตามปกติ (ถ้ามีภิกษุอยู่ ๒-๓ รูป ต้องทำ คณอุโบสถ คือ อุโบสถของคณะ ซึ่งเป็น ปาริสุทธิอุโบสถ คือ อุโบสถที่ทำโดยบอกความบริสุทธิ์ของกันและกัน ถ้ามีภิกษุรูปเดียว ต้องทำ บุคคลอุโบสถ คือ อุโบสถของบุคคลซึ่งเป็น อธิษฐานอุโบสถ คือ อุโบสถที่ทำโดยการอธิษฐานกำหนดใจว่าวันนั้นเป็นวันอุโบสถ) ดู อุโบสถ
  25. สังวรปธาน : เพียรระวัง คือ เพียรระวังบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น (ข้อ ๑ ในปธาน ๔)
  26. สัญชัย : ชื่อปริพาชกผู้เป็นอาจารย์ใหญ่คนหนึ่ง ในพุทธกาล ตั้งสำนักสอนลัทธิอยู่ในกรุงราชคฤห์ มีศิษย์มาก พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเคยบวชอยู่ในสำนักนี้ ภายหลัง เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะพร้อมด้วยศิษย์ ๒๕๐ คนพากันไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า สัญชัยเสียใจเป็นลมและอาเจียนเป็นโลหิต; นิยมเรียกว่า สญชัยปริพาชก เป็นคนเดียวกับ สัญชัยเวลัฏฐบุตร คนหนึ่งใน ติตถกร หรือครูทั้ง ๖
  27. สัญญมะ : การยับยั้ง, การงดเว้น (จากบาป หรือจากการเบียดเบียน), การบังคับควบคุมตน; ท่านมักอธิบายว่า สัญญมะ ได้แก่ ศีล, บางทีแปลว่า สำรวม เหมือนอย่าง “สังวร”; เพื่อความเข้าใจชัดเจนในเบื้องต้น พึงเทียบความหมายระหว่างข้อธรรม ๓ อย่าง คือ สังวร เน้นความระวังในการรับเข้า คือปิดกั้นสิ่งเสียหายที่จะเข้ามาจากภายนอก สัญญมะ ควบคุมตนในการแสดงออก มิให้เป็นไปเพื่อการเบียดเบียน เป็นต้น ทมะ ฝึกฝนแก้ไขปรับปรุงตน ข่มกำจัดส่วนร้ายและเสริมส่วนที่ดีงามให้ยิ่งขึ้นไป; สังยมะ ก็เขียน
  28. สัตตัพพภันตรสีมา : อพัทธสีมาชนิดที่กำหนดเขตแห่งสามัคคีขึ้นในป่า อันหาคนตั้งบ้านเรือนมิได้ โดยวัดจากที่สุดแนวแห่งสงฆ์ออกไปด้านละ ๗ อัพภันดรโดยรอบ
  29. สัทธาวิมุต : “ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา”, พระอริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรคที่มีสัทธินทรีย์แรงกล้า (ถ้าบรรลุอรหัตตผลกลายเป็น ปัญญาวิมุต) ดู อริยบุคคล
  30. สันนิธิ : การสั่งสม, ของที่สั่งสมไว้ หมายถึงของเคี้ยวของฉันที่รับประเคนแล้วเก็บไว้ค้างคืนเพื่อจะฉันในวันรุ่งขึ้นภิกษุฉันของนั้น เป็นปาจิตตีย์ทุกคำกลืน (สิกขาบทที่ ๘ แห่งโภชนวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)
  31. สัมปรายิกัตถะ : ประโยชน์ภายหน้า, ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป อันได้แก่ความมีจิตใจเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมความดี ทำให้ชีวิตนี้มีค่าและเป็นหลักประกันชีวิตในภพหน้า ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ๑.สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒.สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ๓.จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ๔.ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา ธรรม ๔ อย่างนี้เรียกเต็มว่า สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม
  32. สัมมุขาวินัย : ระเบียบอันพึงทำในที่พร้อมหน้า, วิธีระงับต่อหน้า ได้แก่การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ (สังฆสัมมุขตา คือภิกษุเข้าประชุมครบองค์สงฆ์), ในที่พร้อมหน้าบุคคล ( ปุคคลสัมมุขตา คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้ากัน), ในที่พร้อมหน้าวัตถุ ( วัตถุสัมมุขตา คือยกเรื่องที่เกิดนั้นขึ้นวินิจฉัย), ในที่พร้อมหน้าธรรมวินัย ( ธัมมสัมมุขตา และ วินยสัมมุขตา คือนำเอาหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามพระธรรมวินัยมาใช้ปฏิบัติ ได้แก่วินิจฉันถูกธรรม ถูกวินัย); สัมมุขาวินัย ใช้เป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ได้ทุกอย่าง
  33. สาคละ : ชื่อนครหลวงของแคว้น มัททะ และต่อมาภายหลังพุทธกาลได้เป็นราชธานีของพระเจ้ามิลินท์กษัตริย์นักปราชญ์ที่ได้โต้วาทะกับพระนาคเสน, ปัจจุบัน อยู่ในแคว้นปัญจาบ; แคว้นมัททะนั้นบางคราวถูกเข้าใจสับสนกับแคว้น มัจจะ ทำให้สาคละพลอยถูกเรียกเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัจฉะไปก็มี
  34. สามัคคีอุโบสถ : อุโบสถที่ทำขึ้นเป็นกรณีพิเศษเมื่อสงฆ์ ๒ ฝ่ายซึ่งแตกกันกลับมาปรองดองสมานกันเข้าได้สามัคคีอุโบสถไม่กำหนดด้วยวันที่ตายตัว สงฆ์พร้อมเพรียงกันเมื่อใด ก็ทำเมื่อนั้น เรียกวันนั้นว่า วันสามัคคี
  35. สามิษ : เจือด้วยอามิสคือ เครื่องล่อ, ต้องขึ้นต่อวัตถุหรืออารมณ์ภายนอก
  36. สามิส : เจือด้วยอามิสคือ เครื่องล่อ, ต้องขึ้นต่อวัตถุหรืออารมณ์ภายนอก
  37. สามุกกังสิกา : แปลตามอรรถกถาว่า พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นถือเอาเอง คือ ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ (ตรัสรู้เอง) ได้แก่อริยสัจจเทศนา, ตามแบบเรียน แปลว่า ธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง คือไม่ต้องปรารภคำถามเป็นต้นของผู้ฟัง ได้แก่เทศนาเรื่องอริยสัจ
  38. สารันทเจดีย์ : เจดียสถานแห่งหนึ่งที่เมืองเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตตโอภาสแก่พระอานนท์ บาลีเป็น สารันททเจดีย์
  39. สารีบุตร : พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เกิดที่หมู่บ้านนาลกะ (บางแห่งเรียกนาลันทะ) ไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ เป็นบุตรแห่งตระกูลหัวหน้าหมู่บ้านนั้น บิดาชื่อวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อ สารี จึงได้นามว่าสารีบุตร แต่เมื่อยังเยาว์เรียกว่า อุปติสสะ มีเพื่อนสนิทชื่อ โกลิตะ ซึ่งต่อมาคือ พระมหาโมคคัลลานะ มีน้องชาย ๓ คนชื่อ จุนทะ อุปเสนะ และเรวตะ น้องหญิง ๓ คน ชื่อจาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา ซึ่งต่อมาได้บวชในพระธรรมวินัยทั้งหมด เมื่ออุปติสสะและโกลิตะจะบวชนั้น ทั้ง ๒ คนไปเที่ยวดูมหรสพที่ยอดเขาด้วยกัน คราวหนึ่งไปดูแล้วเกิดความสลดใจ คิดออกแสวงหาโมกขธรรม และต่อมาได้บวชอยู่ในสำนักของสัญชัยปริพาชกแต่ก็ไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย จนวันหนึ่งอุปติสสปริพาชก พบพระอัสสชิเถระขณะท่านบิณฑบาต เกิดความเลื่อมใสติดตามไปสนทนาขอถามหลักคำสอนได้ฟังความย่อเพียงคาถาเดียวก็ได้ดวงตาเห็นธรรม กลับไปบอกข่าวแก่โกลิตะแล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า มีปริพาชกที่เป็นศิษย์ตามไปด้วยถึง ๒๕๐ คน ได้รับเอหิภิกขุอุปสมบททั้งหมดที่เวฬุวัน เมื่อบวชแล้วได้ ๑๕ วัน พระสารีบุตรได้ฟังพระธรรมเทศนาเวทนาปริคคหสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ทีฆนขปริพาชก ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องเป็น เอตทัคคะ ในทางมีปัญญามาก และเป็น พระอัครสาวกฝ่ายขวา ท่านได้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธเจ้าในการประกาศพระศาสนา และได้รับยกย่องเป็น พระธรรมเสนาบดี คำสอนของท่านปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกเป็นอันมาก เช่น สังคีติสูตร และทสุตตรสูตร ที่เป็นแบบอย่างแห่งการสังคายนา เป็นต้น ท่านปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้าไม่กี่เดือนเมื่อจวนจะปรินิพพาน ท่านเดินทางไปโปรดมารดาของท่านซึ่งยังเป็นมิจฉาทิฐิให้มารดาได้เป็นพระโสดาบันแล้ว ปรินิพพานที่บ้านเกิด ด้วยปักขันทิกาพาธ หลังจากปลงศพแล้วพระจุนทะน้องชายของท่านนำอัฐิธาตุไปถวายพระบรมศาสดา พระองค์ตรัสว่าให้ก่อสถูปบรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้ ณ พระเชตวัน เมืองสาวัตถี (อรรถกถาว่าท่านปรินิพพานในวันเพ็ญเดือน ๑๒ จึงเท่ากับ ๖ เดือนก่อนพุทธปรินิพพาน)
  40. สีหไสยา : นอนอย่างราชสีห์ คือนอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ กำหนดใจถึงการลุกขึ้นไว้ (มีคำอธิบายเพิ่มอีกว่า มือซ้ายพาดไปตามลำตัว มือขวาซ้อนศีรษะ ไม่พลิกกลับไปมา)
  41. สุพาหุ : บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี เป็นสหายของยสกุลบุตร ได้ทราบข่าวยสกุลบุตรออกบวช จึงได้บวชตามพร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือ วิมละ ปุณณชิ และควัมปติ ได้เป็นสาวกรุ่นแรกที่พระพุทธเจ้าส่งไปประกาศพระศาสนา
  42. สุภัททะ : ปัจฉิมสิกขิสาวก (สาวกผู้ทันเห็นองค์สุดท้าย) ของพระพุทธเจ้า เรียกสั้นๆ ว่า ปัจฉิมสาวก เดิมเป็นพราหมณ์ตระกูลใหญ่ ต่อมาออกบวชเป็นปริพาชก อยู่ในเมืองกุสินารา ในวันที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน สุภัททปริพาชกได้ยินข่าวแล้วคิดว่าตนมีข้อสงสัยอยู่อย่างหนึ่ง อยากจะขอให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อแก้ข้อสงสัยนั้นเสียก่อนที่จะปรินิพพาน จึงเดินทางไปยังสาลวัน ตรงไปหาพระอานนท์ แจ้งความประสงค์ขอเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระอานนท์ได้ห้ามไว้ เพราะเกรงว่าพระองค์เหน็ดเหนื่อยอยู่แล้ว จะเป็นการรบกวนให้ทรงลำบาก สุภัททปริพาชกก็คะยั้นคะยอจะขอเข้าเฝ้าให้ได้ พระอานนท์ก็ยืนกรานห้ามอยู่ถึง ๓ วาระ จนพระผู้มีพระภาคทรงได้ยินเสียงโต้ตอบกันนั้น จึงตรัสสั่งพระอานนท์ว่าสุภัททะมุ่งหาความรู้ มิใช่ประสงค์จะเบียดเบียนพระองค์ ขอให้ปล่อยให้เขาเข้าเฝ้าเถิด สุภัททปริพาชกเข้าเฝ้าแล้ว ทูลถามว่า สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย คือ เหล่าครูทั้ง ๖ นั้น ล้วนได้ตรัสรู้จริงทั้งหมดตามที่ตนปฏิญญา หรือได้ตรัสรู้เพียงบางท่านหรือไม่มีใครตรัสรู้จริงเลย พระพุทธเจ้าทรงห้ามเสียและตรัสว่าจะทรงแสดงธรรม คือ หลักการหรือหลักความจริงให้ฟัง แล้วตรัสว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ หาไม่ได้ในธรรมวินัยใด สมณะ (คืออริยบุคคลทั้ง ๔) ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยใด สมณะก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณะทั้ง ๔ จึงมีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะ และตรัสสรุปว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายเป็นอยู่โดยชอบ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อจบพระธรรมเทศนา สุภัททปริพาชกเลื่อมใสทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธเจ้าตรัสสั่งพระอานนท์ให้บวชสุภัททะในสำนักของพระองค์ โดยประทานพุทธานุญาตพิเศษให้ยกเว้นไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส ท่านสุภัททะบวชแล้วไม่นาน (อรรถกถาว่าในวันนั้นเอง) ก็ได้บรรลุอรหัตตผล นับเป็นพุทธปัจฉิมสักขิสาวก
  43. สุมังคลวิลาสินี : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในทีฆนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น โดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐
  44. สุรสิงหนาท : การเปล่งเสียงพูดอย่างองอาจกล้าหาญ หรือพระดำรัสที่เร้าใจปลุกให้ตื่นฟื้นสติขึ้น เหมือนดั่งเสียงบันลือของราชสีห์ เช่นที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “กิจอย่างใด อันพระศาสดาผู้เอ็นดู แสวงประโยชน์ เพื่อสาวกทั้งหลายจะพึงทำ กิจนั้นอันเราทำแล้วแก่พวกเธอทุกอย่าง”
  45. สุวรรณภูมิ : “แผ่นดินทอง”, “แหลมทอง”, ดินแดนที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระโสณะและพระอุตตระ หัวหน้าพระศาสนทูตสายที่ ๘ (ใน ๙ สาย) ไปประกาศพระศาสนา ปราชญ์หลายท่านสันนิษฐานว่าได้แก่ดินแดนบริเวณจังหวัดนครปฐม (พม่าว่าได้แก่เมืองสะเทิมในประเทศพม่า)
  46. โสณกุฏิกัณณะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรของอุบาสิกาชื่อกาฬี ซึ่งเป็นพระโสดาบัน เกิดที่บ้านเดิมของมารดาในเมืองราชคฤห์ แล้วกลับไปอยู่ในตระกูลบิดาที่แคว้นอวันตี ทักขิณาบถ พระมหากัจจายนะให้บรรพชาเป็นสามเณรแล้วรอต่อมาอีก ๓ ปี เมื่อท่านหาภิกษุได้ครบ ๑๐ รูปแล้วจึงให้อุปสมบทเป็นภิกษุ บวชแล้วไม่นานก็สำเร็จพระอรหัต ต่อมาท่านได้เดินทางมาเฝ้าพระศาสดาที่เมืองสาวัตถี พร้อมทั้งนำความที่พระอุปัชฌาย์สั่งมากราบทูลขอพระพุทธานุญาตพิเศษสำหรับปัจจันตชนบท เช่น ให้สงฆ์มีภิกษุ ๕ รูปให้อุปสมบทได้ ให้ใช้รองเท้าหนาหลายชั้นได้ ให้อาบน้ำได้ตลอดทุกเวลา เป็นต้น ท่านแสดงธรรมมีเสียงไพเราะแจ่มใสชัดเจนจึงได้รับย่องย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในทางกล่าวกัลยาณพจน์
  47. โสตวิญญาณ : ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะเสียงกระทบหู, เสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้น, การได้ยิน
  48. โสตสัมผัสสชาเวทนา : เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่หู เสียง และโสตวิญญาณกระทบกัน
  49. หิรัญญวดี : แม่น้ำสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าเสด็จข้าม เมื่อเสด็จไปเมืองกุสินารา ในวันที่จะปรินิพพาน สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน อยู่ริมฝั่งแม่น้ำนี้, ปัจจุบันเรียกแม่น้ำคัณฑักน้อย (Little Gandak) อยู่ห่างจากแม่น้ำคัณฑักใหญ่ไปทางตะวันตกประมาณ ๑๓ กิโลเมตร และไหลลงไปบรรจบแม่น้ำสรภู ซึ่งปัจจุบันเรียก Gogra
  50. ให้กล่าวธรรมโดยบท : สอนธรรมโดยให้ว่าพร้อมกันกับตน คือ ว่าขึ้นพร้อมกัน จบลงพร้อมกัน (สิกขาบทที่ ๓ แห่งมุสาวาทวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-432

(0.0597 sec)