Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เมืองขึ้น, เมือง, ขึ้น , then ขน, ขึ้น, มอง, เมือง, เมืองขึ้น .

Budhism Thai-Thai Dict : เมืองขึ้น, 432 found, display 151-200
  1. ปาฐา : ชื่อเมืองหนึ่งในมัธยมประเทศ ครั้งพุทธกาล ภิกษุชาวเมืองนี้คณะหนึ่ง เป็นเหตุปรารภให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการกรานกฐิน; พระไตรปิฎกบางฉบับเขียนเป็น ปาวา
  2. ปาตลีบุตร : ชื่อเมืองหลวงของพระเจ้าอโศกมหาราช; เขียน ปาฏลีบุตร ก็มี
  3. ปาริเลยยกะ : ชื่อแดนบ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองโกสัมพีที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่ารักขิตวันด้วยทรงปลีกพระองค์ จากพระสงฆ์ผู้แตกกันในกรุงโกสัมพี; ช้างที่ปฏิบัติพระพุทธเจ้าที่ป่านั้น ก็ชื่อ ปาริเลยยกะ; เราเรียกกันในภาษาไทยว่า ปาเลไลยก์ก็มี ป่าเลไลยก์ ก็มี ควรเขียน ปาริไลยก์ หรือปาเรไลยก์
  4. ปาวาลเจดีย์ : ชื่อเจดียสถานอยู่ที่เมืองเวสาลี พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาส ครั้งสุดท้ายและทรงปลงพระชนมายุสังขาร ณ เจดีย์นี้ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน
  5. ปิลินทวัจฉะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่งเกิดในตระกูลพราหมณ์วัจฉโคตร ในเมืองสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า มีศรัทธาเลื่อมใสออกบวชในพระพุทธศาสนา เจริญวิปัสสนาแล้วได้บรรลุอรหัตตผล ต่อมาได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นที่รักของพวกเทวดา
  6. ปุณณชิ : บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี เป็นสหายของยสกุลบุตร ได้ทราบข่าวยสกุลบุตรออกบวช จึงได้บวชตาม พร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือวิมละ สุพาหุ และควัมปติ ได้เป็นองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก
  7. ปุณณมันตานีบุตร : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะเดิมชื่อปุณณะ เป็นบุตรของนางมันตานี ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุ ไม่ไกลจากเมืองกบิลพัสดุ์ เป็นหลานของพระอัญญาโกณทัญญะ ได้บรรพชาเมื่อพระเถระผู้เป็นลุงเดินทางมายังเมืองกบิลพัสดุ์ บวชแล้วไม่นานก็บรรลุอรหัตตผล เป็นผู้ปฏิบัติตนตามหลักกถาวัตถุ ๑๐ และสอนศิษย์ของตนให้ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาพระธรรมกถึก หลักธรรมเรื่องวิสุทธิ ๗ ก็เป็นภาษิตของท่าน
  8. ปุณณสุนาปรันตะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ในจำนวนอสีติมหาสาวก ชื่อเดิมว่า ปุณณะ เกิดที่เมืองท่าชื่อ สุปปารกะ ในแคว้นสุนาปรันตะ
  9. ปุรณมี : วันเพ็ญ, วันพระจันทร์เต็มดวง, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ
  10. ปุริมกาล : เรื่องราวในพุทธประวัติที่มีขึ้นในกาลก่อนแต่บำเพ็ญพุทธกิจ
  11. ปุริมพรรษา : พรรษาต้น เริ่มแต่วันแรมค่ำหนึ่งเดือนแปด ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป เป็นเวลา ๓ เดือน คือ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑
  12. ปุริสเมธ : ความฉลาดในารบำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ เป็นสังคหวัตถุประการหนึ่ง ของผู้ปกครองบ้านเมือง
  13. ผรณาปีติ : ความอิ่มใจซาบซ่าน เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกซาบซ่านทั่วสารพางค์ (ข้อ ๕ ในปีติ ๕)
  14. ผลญาณ : ญาณในอริยผล, ญาณที่เกิดขึ้นในลำดับ ต่อจากมัคคญาณ และเป็นผลแห่งมัคคญาณนั้น ซึ่งผู้บรรลุแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ มีโสดาบัน เป็นต้น; ดู ญาณ
  15. ผ้าอาบน้ำฝน : ผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบนำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน ซึ่งพระภิกษุจะแสวงหาได้ในระยะเวลา ๑ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ และให้ทำนุ่งได้ในเวลากึ่งเดือน ตั้งแต่ขึ้น ๑ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปัจจุบันมีประเพณีทายกทายิกาทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝนตามวัดต่างๆ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘; เรียกเป็นคำศัพท์ว่า วัสสิกสาฏิกา หรือ วัสสิกสาฏก; คำถวายผ้าอาบน้ำฝนเหมือนคำถวายผ้าป่า เปลี่ยนแต่ ปํสุกูลจีวรานิ เป็น วสฺสิกสาฏิกานิ และผ้าบังสุกุลจีวร เป็นผ้าอาบน้ำฝน
  16. พรหมไทย : ของอันพรหมประทาน, ของให้ที่ประเสริฐสุด หมายถึง ที่ดิน หรือบ้านเมืองที่พระราชทานเป็นบำเหน็จ เช่น เมืองอุกกุฏฐะที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานแก่โปกขรสาติพราหมณ์ และนครจัมปาที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้โสณทัณฑพราหมณ์ปกครอง
  17. พร้อมหน้าวัตถุ : ยกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นพิจารณาวินิจฉัย เช่น คำกล่าวโจทเพื่อเริ่มเรื่อง และข้อวิวาทที่ยกขึ้นแถลง เป็นต้น (วัตถุสัมมุขตา)
  18. พหุปุตตเจดีย์ : เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์
  19. พหุปุตตนิโครธ : ต้นไทรอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา ปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าและขอบวชที่ต้นไทรนี้
  20. พหุพจน์ : คำที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง คือตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไป, เป็นคำที่ใช้ในไวยากรณ์บาลีและไทย คู่กับเอกพจน์ ซึ่งกล่าวถึงสิ่งเดียว; แต่ในไวยากรณ์สันสกฤต จำนวน ๒ เป็นทวิพจน์หรือทวีวจนะ จำนวน ๓ ขึ้นไปจึงจะเป็นพหุพจน์
  21. พหูพจน์ : คำที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง คือตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไป, เป็นคำที่ใช้ในไวยากรณ์บาลีและไทย คู่กับเอกพจน์ ซึ่งกล่าวถึงสิ่งเดียว; แต่ในไวยากรณ์สันสกฤต จำนวน ๒ เป็นทวิพจน์หรือทวีวจนะ จำนวน ๓ ขึ้นไปจึงจะเป็นพหุพจน์
  22. พัทธสีมา : แดนผูก ได้แก่ เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นมาเอง โดยจัดตั้งนิมิตคือสิ่งที่เป็นเครื่องหมายกำหนดเอาไว้ ดู สีมา
  23. พากุละ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองโกสัมพี มีเรื่องเล่าว่า เมื่อยังเป็นทารก ขณะที่พี่เลี้ยงนำไปอาบ***เล่นที่แม่*** ท่านถูกปลาใหญ่กลืนลงไปอยู่ในท้อง ต่อมาปลานั้นถูกจับได้ที่เมืองพาราณสี และถูกขายให้แก่ภรรยาเศรษฐีเมืองพาราณสี ภรรยาเศรษฐีผ่าท้องปลาพบเด็กแล้วเลี้ยงไว้เป็นบุตร ฝ่ายมารดาเดิมทราบข่าว จึงขอบุตรคืน ตกลงกันไม่ได้ จนพระราชาทรงตัดสินให้เด็กเป็นทายาทของทั้ง ๒ ตระกูล ท่านจึงได้ชื่อว่า "พากุละ" แปลว่า คน ๒ ตระกูล หรือผู้ที่ ๒ ตระกูลเลี้ยง ท่านอยู่ครองเรือนมาจนอายุ ๘๐ ปี จึงได้ฟังพระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา มีความเลื่อมใสขอบวชแล้วบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้มีอาพาธน้อย คือสุขภาพดี; พักกุละ ก็เรียก
  24. พาราณสี : ชื่อเมืองหลวงของแคว้นกาสี อยู่ริมแม่น้ำคงคา ปัจจุบันเรียก พานาราส หรือ เบนาเรส (Banaras, Benares) ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ อยู่ห่างจากตัวเมืองพาราณสีปัจจุบันประมาณ ๖ ไมล์
  25. พุทธบาท : รอยเท้าของพระพุทธเจ้า อรรถกถาว่าทรงประทับแห่งแรกที่บนหาดทรายฝั่งแม่น้ำนันมทา แห่งที่สองที่ภูเขาสัจจพันธคีรี นอกจากนี้ ตำนานสมัยต่อๆ มาว่ามีที่ภูเขาสุมนกูฏ (ลังกาทวีป) และเมืองโยนก รวมเป็น ๕ สถาน
  26. พุทธัตถจริยา : ทรงประพฤติเป็นพระโยชน์แก่สัตว์โลก โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า เช่น ทรงแสดงธรรมแก่เวไนยสัตว์และบัญญัติวินัยขึ้นบริหารหมู่คณะ ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนมาตราบเท่าทุกวันนี้
  27. พุทธุปบาทกาล : กาลเป็นที่อุบัติของพระพุทธเจ้า, เวลาที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก
  28. เพ็ญ : เต็ม หมายถึง พระจันทร์เต็มดวง คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
  29. โพธิ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
  30. โพธิพฤกษ์ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
  31. ภวังคจิต : จิตที่เป็นองค์แห่งภพ, ตามหลักอภิธรรมว่า จิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิและจุติ คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ในเวลาที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ก็เกิดเป็นวิถีจิตแทนภวังคจิต เมื่อวิถีจิตดับหมดไป ก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นอย่างเดิม
  32. ภังคานุปัสสนาญาณ : ญาณตามเห็นความสลาย, ปรีชาหยั่งเห็นเฉพาะความดับของสังขารเด่นชัดขึ้นมาว่า สังขารทั้งปวงล้วนจะต้องแตกสลายไปทั้งหมด (ข้อ ๒ ในวิปัสสนาญาณ ๙)
  33. ภัทเทกรัตตสูตร : ชื่อสูตรหนึ่งในมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงเรื่องบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ คือ คนที่เวลาวันคืนหนึ่งๆ มีแต่ความดีงามความเจริญก้าวหน้า ได้แก่ ผู้ที่ไม่มัวครุ่นคำนึงอดีต ไม่เพ้อหวังอนาคต ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นแจ้งประจักษ์สิ่งที่เป็นปัจจุบัน ทำความดีเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยไป มีความเพียรพยายาม ทำกิจที่ควรทำเสียแต่วันนี้ ไม่รอวันพรุ่ง
  34. ภาวนา : การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ 1.การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง คือ ๑.สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ ๒.วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง, อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ ๑.จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ ๒.ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์ 2.การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ ๑.บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือเกิดอุปจารสมาธิ ๓.อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือเกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน 3.ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็น การท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆ ให้ขลัง ก็มี
  35. ภาวนาปธาน : เพียรเจริญ, เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่มียังไม่เกิด ให้เกิด ให้มีขึ้น (ข้อ ๓ ในปธาน ๔)
  36. ภิกษุณีสงฆ์ : หมู่แห่งภิกษุณี, ประดาภิกษุณีทั้งหมดกล่าวโดยส่วนรวมหรือโดยฐานเป็นชุมนุมหนึ่ง, ภิกษุณีตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ประชุมกันเนื่องในกิจพิธี
  37. มณฑารพ : ดอกไม้ทิพย์ คือ ดอกไม้ในเมืองสวรรค์ที่ตกลงมาบูชาพระพุทธเจ้า ในวันปรินิพพาน ดาดาษทั่วเมืองกุสินารา และพระมหากัสสป ได้เห็นอาชีวกคนหนึ่งถืออยู่ขณะเดินทางระหว่างเมืองกุสินารา กับ เมืองปาวา จึงได้ถามข่าวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า และทราบการปรินิพพานจากอาชีวกนั้น เมื่อ ๗ วันหลังพุทธปรินิพพาน
  38. มโนวิญญาณ : ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะธรรมารมณ์เกิดกับใจ, ธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น, ความรู้อารมณ์ทางใจ ดู วิญญาณ
  39. มโนสัมผัสสชาเวทนา : เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ใจ ธรรมารมณ์และมโนวิญญาณประจวบกัน ดู เวทนา
  40. มหากัจจายนะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในกัจจายนโคตรที่พระนครอุชเชนี เป็นบุตรปุโรหิตของพระราชาแห่งแคว้นอวันตี เรียนจบไตรเพทแล้ว ต่อมาได้เป็นปุโรหิตแทนบิดา พระเจ้าจัณฑปัชโชตตรัสสั่งให้หาทางนำพระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่กรุงอุชเชนี กัจจายนปุโรหิตจึงเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วบรรลุอรหัตตผล อุปสมบทแล้ว แสดงความประสงค์ที่จะอัญเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าสู่แคว้นอวันตี พระพุทธองค์ตรัสสั่งให้ท่านเดินทางไปเอง ท่านเดินทางไปยังกรุงอุชเชนี ประกาศธรรม ยังพระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวเมืองทั้งหมดให้เลื่อมใสในพระศาสนาแล้ว จึงกลับมาเฝ้าพระบรมศาสดา ต่อมาได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางขยายความคำย่อให้พิสดาร มีเรื่องเล่าเป็นเกร็ดว่าท่านมีรูปร่างสวยงาม ผิวพรรณดังทองคำ บุตรเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อโสเรยยะเห็นแล้วเกิดมีอกุศลจิตต่อท่านว่าให้ได้อย่างท่านเป็นภรรยาตนหรือให้ภรรยาตนมีผิวพรรณงามอย่างท่าน เพราะอกุศลจิตนั้น เพศของโสเรยยะกลายเป็นหญิงไป นางสาวโสเรยยะแต่งงานมีครอบครัว มีบุตรแล้ว ต่อมาได้พบและขอขมาต่อท่านเพศก็กลับเป็นชายตามเดิม โสเรยยะขอบวชในสำนักของท่าน และได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
  41. มหากัสสปะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อมหาติตถะในแคว้นมคธ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ มีชื่อเดิมว่าปิปผลิมาณพ เมื่ออายุ ๒๐ ปี ได้สมรสกับนางภัททกาปิลานี ตามความประสงค์ของมารดาบิดาแต่ไม่มีความยินดีในชีวิตครองเรือน ต่อมาทั้งสามีภรรยาได้สละเรือน นุ่งห่มผ้ากาสาวะออกบวชกันเอง เดินทางออกจากบ้านแล้วแยกกันที่ทาง ๒ แพร่ง ปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าที่พหุปุตตกนิโครธระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา ได้อุปสมบทด้วยโอวาท ๓ ข้อ และได้ถวายผ้าสังฆาฏิของตนแลกกับจีวรเก่าของพระพุทธเจ้า แล้วสมาทานธุดงค์ ครั้นบวชล่วงไปแล้ว ๗ วัน ก็ได้บรรลุพระอรหัต เป็นผู้มีปฏิปทามักน้อย สันโดษ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ในทางถือธุดงค์ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านได้เป็นผู้ริเริ่มและเป็นประธานในปฐมสังคายนา ท่านดำรงชีวิตสืบมาจนอายุ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพาน
  42. มหาโกฏฐิตะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลพราหมณ์ในเมืองสาวัตถี บิดาเป็นมหาพราหมณ์ชื่ออัสสลายนะ มารดาชื่อจันทวดี ท่านเรียนจบไตรเพท ได้ฟังเทศนาของพระศาสดามีความเลื่อมใส บวชแล้ว เจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔
  43. มหาโมคคัลลานะ : ชื่อพระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า เกิดที่หมู่บ้านโกลิตคาม ไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ เป็นบุตรของพราหมณ์นายบ้านแห่งนั้น มารดาชื่อนางโมคคัลลีพราหมณี เดิมเรียกชื่อว่าโกลิตะ ตามชื่อหมู่บ้านซึ่งบิดาของตนเป็นใหญ่ ต่อมาเรียก โมคคัลลานะ เพราะเป็นบุตรของนางพราหมณีโมคคัลลี หรือโมคคัลลานีนั้น ได้เป็นสหายกับอุปติสสะ (คือพระสารีบุตร) มาแต่เด็กต่อมาทั้ง ๒ ได้ออกบวชเป็นปริพาชก อยู่ในสำนักของสญชัยปริพาชกจนกระทั่งอุปติสสะได้พบพระอัสสชิสหายทั้ง ๒ จึงได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า บวชในพระธรรมวินัย เมื่อบวชแล้ว ถึงวันที่ ๗ โกลิตะ ซึ่งบัดนี้เรียกว่า มหาโมคคัลลานะก็ได้ บรรลุอรหัตตผลท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีฤทธิ์มาก ในตอนปลายพุทธกาลท่านถูกพวกโจรซึ่งได้รับจ้างจากพวกเดียรถีย์ ลอบสังหารด้วยการทุบตีจนร่างแหลก พระพุทธเจ้าโปรดให้ก่อสถูปบรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้ใกล้ซุ้มประตูวัดเวฬุวัน ในเขตเมืองราชคฤห์, ชื่อของท่านนิยมเรียกกันง่ายๆ ว่า พระโมคคัลลาน์
  44. มหาวงส์ : ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา เรื่องใหญ่ แต่งขึ้นในสมัยอรรถกถาพรรณนาความเป็นมาของพระพุทธศาสนาและชาติลังกา ตั้งแต่เริ่มตั้งวงศ์กษัตริย์สิงหล ในตอนพุทธปรินิพพาน จนถึงประมาณ พ.ศ.๙๐๔ ประวัติต่อจากนั้นมีคัมภีร์ชื่อ จูฬวงส์ พรรณนาต่อไป
  45. มหาวรรค : ชื่อคัมภีร์อันเป็นหมวดที่ ๓ ใน ๕ หมวด แห่งพระวินัยปิฎก คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร, มหาวรรค มี ๑๐ ขันธกะ (หมวด ตอน หรือบท) คือ ๑.มหาขันธกะ (ว่าด้วยการบรรพชาอปสมบท เริ่มแต่เหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ๆ และการประดิษฐานพระศาสนา) ๒.อุโปสถขันธกะ (ว่าด้วยอุโบสถและสีมา) ๓.วัสสูปนายิกขันธกะ (ว่าด้วยการเข้าพรรษา) ๔.ปวารณาขันธกะ (ว่าด้วยปวาณา) ๕.จัมมขันธกะ (ว่าด้วยเครื่องหนัง เช่น รองเท้าและเครื่องลาด) ๖.เภสัชชขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องยาตลอดจนเรื่องกัปปิยะ อกัปปิยะ และกาลิกทั้ง ๔) ๗.กฐินขันธกะ (ว่าด้วยกฐิน) ๘.จีวรขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องจีวร) ๙.จัมเปยยขันธกะ (ว่าด้วยข้อควรทราบบางอย่างเกี่ยวกับนิคคหกรรมต่างๆ) ๑๐.โกสัมพิกขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี วิวาทกันและสังฆสามัคคี) ดู ไตรปิฎก
  46. มหาวิโลกนะ : “การตรวจดูอันยิ่งใหญ่”, ขอตรวจสอบพิจารณาที่สำคัญ หมายถึง สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาตรวจดู ก่อนจะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มี๕อย่าง (นิยมเรียกว่า ปัญจมหาวิโลกนะ) คือ ๑.กาล คืออายุกาลของมนุษย์จะต้องอยู่ระหว่าง ๑๐๐ ถึง ๑ แสนปี (ไม่สั้นกว่าร้อยปี ไม่ยาวเกินแสนปี) ๒.ทีปะ คือทวีป จะอุบัติแต่ในชมพูทวีป ๓.เทสะ คือประเทศ หมายถึงดินแดนจะอุบัติในมัธยมประเทศ และทรงกำหนดเมืองกบิลพัสดุ์เป็นที่พึงบังเกิด ๔.กุละ คือ ตระกูล จะอุบัติเฉพาะในขัตติยสกุลหรือในพราหมณสกุล และทรงกำหนดว่าเวลานั้นโลกสมมติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์ จึงจะอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยทรงเลือกพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา ๕.ชเนตติอายุปริจเฉท คือมารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัลป์ ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่เกิน ๑๐ เดือนไปได้ ๗ วัน (สรุปตามแนวอรรถกถาชาดก)
  47. มหาสุทัศน์ : พระเจ้าจักรพรรดิผู้ครองราชสมบัติอยู่ที่กุสาวดีราชธานีในอดีตกาล ก่อนพุทธกาลช้านาน เมืองกุสาวดีนี้ในสมัยพุทธกาลมีชื่อว่าเมืองกุสินารา, เรื่องมาในมหาสุทัสสนสูตร แห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย มหาวรรค พระสุตตันตปิฎก
  48. มหาอุทายี : พระเถระผู้ใหญ่องค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในเมืองกบิลพัสดุ์ เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเมื่อคราวที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระญาติ จึงออกบวชและได้สำเร็จอรหัตตผล ท่านเป็นพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง มีเรื่องเกี่ยวกับการที่ท่านแสดงธรรมบ้าง สนทนาธรรมบ้าง ปรากฏในพระไตรปิฎกหลายแห่ง คราวหนึ่งพระอานนท์เห็นท่านนั่งแสดงธรรมอยู่ มีคฤหัสถ์ล้อมฟังอยู่เป็นชุมนุมใหญ่ จึงได้กราบทูลเล่าถวายพระพุทธเจ้า เป็นข้อปรารภให้พระองค์ทรงแสดง ธรรมเทศกธรรม หรือหรือองค์คุณของธรรมกถึก ๕ ประการ คือ ๑.แสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ ๒.อ้างเหตุผลให้ผู้ฟังเข้าใจ ๓.มีจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง ๔.ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ ๕.ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น
  49. มัจฉะ : ชื่อแคว้นหนึ่งใน ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล อยู่ทิศใต้ของแคว้นสุรเสนะ นครหลวงชื่อ วิราฏ (บางแห่งว่าสาคละ แต่ความจริงสาคละเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัททะ)
  50. มัชฌิมะ : ภิกษุผู้มีพรรษาครบ ๕ แล้ว แต่ยังไม่ถึง ๑๐ พรรษา (ต่ำกว่า ๕ เป็นนวกะ, ๑๐ พรรษาขึ้นไปเป็นเถระ)
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-432

(0.0432 sec)