Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรื่อง , then รอง, เรื่อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรื่อง, 764 found, display 251-300
  1. บรรณานุกรม : [บันนานุกฺรม] น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบ การค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใด ยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือ บทวิจารณ์สั้น ๆ ประกอบ.
  2. บรรยาย : [บันยาย, บันระยาย] ก. ชี้แจงหรืออธิบายเรื่องให้ฟังเป็นต้น, เล่าเรื่อง เช่น ภาพยนตร์มีอักษรไทยบรรยายกํากับไว้. (ส.).
  3. บริยาย : [บอริยาย] ก. บรรยาย, สอน, แสดง, เล่าเรื่อง.
  4. บ่อนแตก : ก. ก่อเรื่องทําให้คนที่มาชุมนุมกันต้องเลิกไปกลางคัน.
  5. บัญหา : น. ข้อที่ต้องคิดต้องแก้, เรื่องที่ต้องปรึกษาหารือ. (ป. ปญฺห).
  6. บัดนี้ : ว. ขณะนี้, เดี๋ยวนี้, เช่น บัดนี้ได้เสนอเรื่องมาให้พิจารณาแล้ว.
  7. บันทึก : ก. จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, จดหรือ ถ่ายทําไว้เพื่อช่วยความจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, เช่น บันทึกรายงาน การประชุม บันทึกภาพ บันทึกเสียง, จดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; ย่นย่อ, ทําให้สั้น, เช่น บันทึกมรรคา. น. ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วย ความทรงจํา; หรือเพื่อเป็นหลักฐาน, ข้อความที่นํามาจดย่อ ๆ ไว้ เพื่อให้รู้เรื่องเดิม(กฎ) หนังสือที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ จดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึก คําร้องทุกข์และคํากล่าวโทษด้วย.
  8. บันเทิงคดี : น. เรื่องที่เขียนหรือแต่งขึ้นโดยมุ่งให้ความบันเทิงแก่ ผู้อ่าน.
  9. บันเบา : ว. น้อย (โดยมากมักใช้ในทางปฏิเสธหรือเป็นเชิงคําถาม) เช่น ไม่บันเบา เรื่องนี้น่าสนใจบันเบาไปหรือ.
  10. บ้าง : ว. ใช้ประกอบคําอื่นหมายความว่า บางจํานวนหรือบางส่วนของสิ่งที่ กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง, บางส่วนของ จํานวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้าง เท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้าง ขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทําก็ทําบ้าง. ส. คําใช้แทน ผู้หรือสิ่งที่พูดถึงในกรณีที่แยก กล่าวโดยเฉพาะ เช่น บ้างก็กิน บ้างก็เล่น, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  11. บานปลาย : (สํา) ก. ขยายออกไปมากกว่าที่ตั้งใจไว้เดิม, ขยายเรื่อง เล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่โตออกไป; ใช้เงินเกินกว่าที่ ประมาณ หรือกำหนดไว้.
  12. บานแผนก : [-ผะแหฺนก] น. บัญชีเรื่อง, สารบาญ.
  13. บำเพ็ญ : ก. ทําให้เต็มบริบูรณ์, เพิ่มพูน, (มักใช้ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา) เช่น บําเพ็ญบุญ บําเพ็ญบารมี; ประพฤติ, ปฏิบัติ, เช่น บําเพ็ญตนให้เป็น ประโยชน์ บําเพ็ญพรต.
  14. บิณฑบาต : น. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานํามาใส่บาตร, โดยปริยาย หมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า ก้อนข้าวที่ตก).
  15. เบ็ดเตล็ด : [เบ็ดตะเหฺล็ด] ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ หลาย ๆ อย่างรวมกัน เช่น ของ เบ็ดเตล็ด, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สู้จะสําคัญอะไรนัก เช่น เรื่องเบ็ดเตล็ด.
  16. เบิกโรง : ก. แสดงก่อนดําเนินเรื่อง, แสดงออกโรงครั้งแรก.
  17. ปฐพีวิทยา : [ปะถะพีวิดทะยา, ปัดถะพีวิดทะยา] น. วิทยาศาสตร์ แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดิน. (อ. pedology).
  18. ปรมัตถ์ : [ปะระมัด, ปอระมัด] น. ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความ อย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก. ว. ลึกซึ้ง ยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. (ป.). ปรมาจารย์ [ปะระมาจาน, ปอระมาจาน] น. อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือ ยอดเยี่ยมในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง.
  19. ประจักษ์พยาน : (กฎ) น. พยานบุคคลที่เป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบ ข้อความเกี่ยวในเรื่องที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง.
  20. ประชามติ : น. มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออก ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง. (อ. plebiscite); มติของประชาชน ที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสําคัญที่ได้ผ่าน สภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสําคัญในการบริหาร ประเทศ. (อ. referendum).
  21. ประเด็น : น. ข้อความสําคัญของเรื่องที่แยกหยิบยกขึ้นพิจารณา; (กฎ) ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันเป็นสาระสําคัญที่คู่ความยกขึ้น เป็นข้ออ้างในคดี.
  22. ประนอมหนี้ : (กฎ) ก. การที่ลูกหนี้ขอทําความตกลงในเรื่องหนี้สิน โดยวิธีขอชําระหนี้แต่เพียงบางส่วน หรือโดยวิธีอื่น.
  23. ประโลมโลก : ว. เกี่ยวกับเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ เช่น หนังสือประโลมโลก นิยายประโลมโลก.
  24. ประวัติการ : [ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน] น. เรื่องราวที่เป็นมา แล้วแต่ก่อนตามลําดับสมัย.
  25. ประวัติ, ประวัติ- : [ปฺระหฺวัด, ปฺระหฺวัดติ-] น. เรื่องราวว่าด้วยความเป็นไปของคน สถานที่ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ประวัติศรีปราชญ์ ประวัติ วัดมหาธาตุ. (ป. ปวตฺติ).
  26. ประวัติศาสตร์ : [ปฺระหฺวัดติสาด, ปฺระหฺวัดสาด] น. วิชาว่าด้วย เหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้นตามที่ บันทึกไว้เป็นหลักฐาน.
  27. ประวิง : ก. หน่วงไว้ให้เนิ่นช้า, ถ่วงเวลา, เช่น ประวิงเวลา ประวิงเรื่อง.
  28. ประสีประสา : น. วิสัย, เรื่องราว, ความเป็นไป, ความหมาย, (มักใช้ในประโยค ปฏิเสธ) เช่น ไม่รู้ประสีประสา.
  29. ปริทัศน์ : [ปะริทัด] น. การวิจารณ์; หนังสือประเภทวารสารที่วิจารณ์ข่าว หรือเรื่องราวต่าง ๆ. (ส. ปริ + ทรฺศน).
  30. ปริยาย : [ปะริ-] น. อย่าง, ทาง, หนทาง; การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม, ตรงข้ามกับ นิปริยาย คือ อย่างตรง; การสอน, การเล่าเรื่อง. ว. อ้อม; (กฎ) หมายความถึงกรณีที่เจตนาในการกระทำมิได้แสดงออก อย่างชัดแจ้ง เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าชัดแจ้ง. (ป.).
  31. ปลงสังเวช : ก. พิจารณาเห็นเป็นเรื่องน่าสลดใจหรือน่าสมเพช.
  32. ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง : (สํา) ก. พยายามทําให้มีเรื่องมีราวขึ้นมา.
  33. ปลุกผี : ก. นั่งบริกรรมคาถาจนกระทั่งผีลุกขึ้นมาหรือปรากฏกาย เพื่อใช้ให้ไปทําประโยชน์ตามที่ตนปรารถนา หรือเพื่อลนเอานํ้ามัน จากคางผีตายทั้งกลม ที่เรียกกันว่า น้ำมันพราย สำหรับดีดให้หญิง หลงรัก; รื้อฟื้นเรื่องที่ยุติไปแล้วขึ้นมาใหม่ เช่น ปลุกผีคอมมิวนิสต์.
  34. ปวดเศียรเวียนเกล้า : (สํา) ก. เดือดร้อนรําคาญใจเพราะมีเรื่อง ยุ่งยากมากจนแก้ไม่ทัน.
  35. ปวุติ : [ปะวุดติ] น. ความเป็นไป, เรื่องราว. (ป. ปวุตฺติ).
  36. ปั้น ๑ : ก. เอาสิ่งอ่อน ๆ เช่นขี้ผึ้งดินเหนียวเป็นต้นมาทําให้เป็นรูปตาม ที่ต้องการ เช่น ปั้นข้าวเหนียว ปั้นตุ๊กตา; สร้างขึ้น, เสกสรรขึ้น, เช่น ปั้นพยาน ปั้นเรื่อง; ชุบเลี้ยงและอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี เช่น ฉันปั้นเขามาจนได้ดี. น. ลักษณนามเรียกสิ่งที่ปั้นเป็นก้อน ๆ เช่น ข้าวเหนียว ๓ ปั้น.
  37. ปั้นน้ำเป็นตัว : ก. สร้างเรื่องเท็จให้เห็นเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา.
  38. ปากคอเราะราย : ว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, ปากเปราะ เราะราย ก็ว่า.
  39. ปากเปราะเราะราย : ว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, ปากคอเราะราย ก็ว่า.
  40. ปากพล่อย : ก. พูดโดยไม่คำนึงว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง.
  41. ปากมาก : ว. ชอบพูดว่าคนอื่นซํ้า ๆ ซาก ๆ, พูดมาก, (ในทางช่างว่า ช่างติ), พูดขยายเรื่องเล็กน้อยให้มากออกไป.
  42. ปากลำโพง : ว. ชอบโพนทะนาหรือเปิดเผยเรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนรู้มา.
  43. ปากสว่าง : ว. ชอบเปิดเผยเรื่องของผู้อื่น.
  44. ปาฐกถา : [-ถะกะถา] น. ถ้อยคําหรือเรื่องราวที่บรรยายในที่ชุมนุมชน เป็นต้น. ก. บรรยายเรื่องราวในที่ชุมนุมชนเป็นต้น. (ป.).
  45. ปาฐ-, ปาฐะ : [-ถะ] (แบบ) น. เรื่องราว, บาลี, คัมภีร์, วิธีสาธยายคัมภีร์พระเวท. (ป., ส.).
  46. ปิดกล้อง : (ปาก) ก. เสร็จการถ่ายภาพยนตร์ครั้งสุดท้ายของแต่ละเรื่อง.
  47. ปิดควันไฟไม่มิด : (สํา) ก. ปิดเรื่องที่อื้อฉาวไปทั่วแล้วไม่สําเร็จ.
  48. ปิดฉาก : (ปาก) ก. เลิก, หยุด, ยุติ, เช่น เรื่องนี้ปิดฉากแล้ว.
  49. เป็นคุ้งเป็นแคว : ว. อาการที่เล่าเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวติดต่อกัน เหมือนกับรู้เห็นมาด้วยตนเอง.
  50. เป็นชิ้นเป็นอัน : ว. เป็นสาระ, เป็นเรื่องเป็นราว, มักใช้ในความ ปฏิเสธว่า ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-764

(0.0901 sec)