Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรื่อง , then รอง, เรื่อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรื่อง, 764 found, display 601-650
  1. อรรถคดี : [อัดถะคะดี] (กฎ) น. เรื่องที่ฟ้องร้องกันในศาล.
  2. อรรถบท : [อัดถะบด] น. แก่นเรื่อง, เนื้อความ, หัวข้อ, สาระ.
  3. อวดรู้ : ก. แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนรู้ เช่น เขาชอบอวดรู้ทุกเรื่อง.
  4. อสัญแดหวา : [อะสันยะแดหฺวา] น. เทวดาต้นตระกูลของกษัตริย์ ๔ นครในบท ละครเรื่องอิเหนา คือ องค์ปะตาระกาหลา, ชื่อวงศ์กษัตริย์ผู้ครอง ๔ นครในบทละครเรื่องอิเหนา ได้แก่ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และ สิงหัดส่าหรี. (ช.).
  5. ออกแขก : ก. ต้อนรับแขก; แสดงต่อหน้าแขก, แสดงตัวในสังคม; อาการที่ลิเกตัวแขกออกมาบอกเรื่องที่จะแสดง. น. การแสดงลิเก ตอนที่มีตัวแขกออกมาบอกเรื่องที่จะแสดง.
  6. อังก์ : น. องก์, ตอนหนึ่งของเรื่องละคร. (ป.).
  7. อัพภาน : [อับพาน] น. การชักกลับมา, ในวินัยหมายถึง การรับภิกษุผู้ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส และได้ถูกทําโทษคือ อยู่ปริวาสแล้วให้กลับคืน เป็นผู้บริสุทธิ์, การสวดประกาศเรื่องนี้ เรียกว่า สวดอัพภาน. (ป.).
  8. อัศวโกวิท : น. ผู้มีความชํานาญในเรื่องม้า. (ส. อศฺว + โกวิท).
  9. อัศวโกศล : ว. ผู้มีความชำนาญในเรื่องม้า. (ส. อศฺว + โกศล).
  10. อัศวิน : [อัดสะวิน] น. นักรบขี่ม้า, นักรบที่กล้าหาญ, ผู้ที่ได้รับยกย่อง ว่าเป็นคนเก่ง; ชื่อเทวดาคู่หนึ่งซึ่งทรงรถนําหน้ารถพระอาทิตย์มาก่อน เวลารุ่งสาง เป็นบิดาของนกุลและสหเทพในมหากาพย์เรื่องมหาภารตะ. (ส.).
  11. อ้าขาผวาปีก, อ้าขาพวาปีก : (สำ) ก. หาเรื่องมาเป็นภาระของตนโดย ไม่จำเป็น เช่น เขามีฐานะยากจนอยู่แล้วยังจะอ้าขาผวาปีกไปขอเด็ก มาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมอีก งานก็มากอยู่แล้ว ทำไมจะต้องอ้าขาพวาปีก ไปรับงานอื่นมาอีก.
  12. อาจ : ว. กล้า ในคำว่า อาจหาญ; สามารถ เช่น เรื่องยาก ๆ อย่างนี้เขาทำได้ ผมไม่อาจทำได้อย่างเขา; เป็นคําช่วยกริยาบอกความคาดคะเน เช่น พรุ่งนี้เขาอาจมาประชุมได้ หรือใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่งใช้แทนอีก สิ่งหนึ่งได้ เช่น เมื่อไม่มีกะทิก็อาจใช้นมสดได้.
  13. อารมณ์ : น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริง เป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่ง มักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มี อัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคน อารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).
  14. อารมณ์ขัน : น. ลักษณะนิสัยที่มักเห็นเรื่องต่าง ๆ เป็นเรื่องชวนขัน.
  15. อีโหน่อีเหน่ : น. เรื่องราวที่เกิดขึ้น ใช้ในทางปฏิเสธในสำนวนว่า ไม่รู้ อีโหน่อีเหน่.
  16. อุตุนิยมวิทยา : น. วิชาว่าด้วยเรื่องราวของบรรยากาศ.
  17. อุทาหรณ์ : [หอน] น. ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาอ้างให้เห็น, สิ่งหรือเรื่องที่ยกขึ้นมา เทียบเคียงเป็นตัวอย่าง. (ป., ส.).
  18. อุบ ๒ : ก. นิ่งไว้ไม่เปิดเผย เช่น เรื่องนี้อุบไว้ก่อน; ถือเอา, ริบเอา, เช่น อุบเอามาเป็นของตน, ไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลง เช่น ที่รับปาก ไว้แล้ว อุบละนะ. ว. อาการที่พูดหรือบ่นเบา ๆ เป็นต้น เช่น ด่าอุบ บ่นอุบ, อุบอิบ อุบอิบ ๆ หรือ อุบ ๆ อิบ ๆ ก็ว่า.
  19. อุปมา : [อุปะ, อุบปะ] น. สิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบ, มักใช้เข้าคู่กับ อุปไมย ในประโยคเช่น เรื่องนี้มีอุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น. ก. เปรียบเทียบ. (ป., ส.).
  20. อุปมาโวหาร : น. สํานวนเขียนที่กล่าวถึงเรื่องราวโดยยกสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเปรียบเทียบประกอบ.
  21. อุปรากร : [อุปะรากอน, อุบปะรากอน] น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็น ส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์. (อ. opera).
  22. เออ : อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อบอกรับหรืออนุญาต, มักเป็นคําที่ผู้ใหญ่ ใช้กับผู้น้อย หรือระหว่างเพื่อนที่สนิทสนมกัน, คําที่เปล่งออกมา แสดงว่านึกเรื่องที่จะถามหรือจะพูดขึ้นได้.
  23. เออ ๆ คะ ๆ : ก. รับฟังโดยไม่ขัดคอ, รับฟังไปตามเรื่องตามราว โดยไม่แสดงความคิดเห็น, เช่น ฉันก็เออ ๆ คะ ๆ ไปอย่างนั้นแหละ.
  24. เอาเป็นธุระ : ว. ถือเป็นเรื่องที่ตนควรทําให้, เป็นธุระ ก็ว่า.
  25. เอาเป็นเอาตาย : ว. ตั้งใจทําอย่างจริงจังโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย หรือความยากลําบาก เช่น ทำงานอย่างเอาเป็นเอาตาย; เอาจริงเอาจัง อย่างรุนแรง เช่น เรื่องเล็ก ๆ แค่นี้ เถียงกันเอาเป็นเอาตายไปได้.
  26. เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน : (สํา) ก. แสดงความรู้หรืออวดรู้กับผู้ที่ รู้เรื่องดีกว่า.
  27. เอามือซุกหีบ : (สํา) ก. หาเรื่องเดือดร้อนหรือความลําบากใส่ตัว โดยใช่ที่.
  28. เอาอยู่ : ว. เอาการ, เอาเรื่อง, เช่น ระยะทางไกลเอาอยู่, ถ้าใช้ใน ลักษณะปรารภเชิงขอความเห็นหรือแสดงความหนักใจเป็นต้น มักใช้ว่า เอาอยู่นะ เช่น ปัญหานี้ยากเอาอยู่นะ. ก. ปกครองได้, ควบคุมได้, เช่น เด็กคนนี้เกเรมาก คิดว่าจะเอาอยู่ไหม.
  29. เอี่ยว : ว. หนึ่ง, แต้ม ๑ ของลูกเต๋า, เรียกลําดับชุดที่ ๑ ของไพ่ตองว่า เอี่ยว เช่น เอี่ยวเกือก เอี่ยวชี เอี่ยวยาว. (ปาก) น. หุ้น, ส่วนร่วม. ก. มี ส่วนร่วม เช่น เรื่องนี้ขอเอี่ยวด้วยคน.
  30. รองพื้น ๑ : ดูใน รอง.
  31. รองจ่าย : (ปาก) ก. ทดรองจ่ายเป็นค่าใช้สอยปลีกย่อย, เรียกเงินที่ใช้เช่น นั้นว่า เงินรองจ่าย.
  32. รองบ่อน : ว. ประจําบ่อน, ที่ยืนโรงไว้เผื่อเหลือเผื่อขาด เช่น ไก่รองบ่อน.
  33. รองพื้น ๑ : ก. อาการที่ทาสีชั้นต้นให้พื้นเรียบเสมอกันเพื่อรองรับสีที่จะ ระบายหรือทาทับลงไป, เรียกสีที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า สีรองพื้น; อาการที่เอาครีมหรือแป้ง; ป็นต้นทาหน้าเพื่อให้ผิวหน้าเรียบก่อนแต่งหน้า, เรียกครีมหรือแป้งเป็นต้นที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวว่า ครีมรองพื้น แป้งรองพื้น.
  34. รองท้อง : ก. กินพอกันหิวไปก่อน.
  35. รองพื้น ๒ : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งเป็นตามฝ่าเท้าทําให้พื้นเท้าเป็นรูพรุน.
  36. ไก่รองบ่อน : (สํา) น. ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสํารอง ซึ่งจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้.
  37. ฉลอง ๓ : [ฉะหฺลอง] ก. จำลอง, รอง, แทน, ช่วย.
  38. บรรทัดรองมือ : น. อุปกรณ์อย่างหนึ่งสำหรับจิตรกรใช้รองมือเขียน ภาพ เป็นไม้แบน ๆ ยาว ๑-๒ ฟุต กว้างประมาณ ๑ นิ้ว หุ้มปลาย ข้างหนึ่งด้วยสำลีพันกระดาษฟางหรือผ้าเนื้อนุ่ม.
  39. ใบรับรอง : น. เอกสารที่แสดงการรับรอง เช่น ใบรับรองแพทย์.
  40. มือรอง : น. ผู้มีความสำคัญเป็นคนที่ ๒ รองจากมือแรก, คนที่ลงมือทำเป็นคนที่ ๒ รองจากมือต้น.
  41. เรืองรอง : ว. สุกปลั่ง เช่น พระพุทธรูปมีแสงเรืองรอง.
  42. อุปะ : [อุปะ, อุบปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและ สันสกฤต แปลว่า เข้าไป, ใกล้, รอง, เช่น อุปราช อุปนายก. (ป., ส.).
  43. โอร : [ระ] ว. ตํ่า, ใต้; รอง; หลัง; ฝั่งนี้. (ป.; ส. อวร).
  44. ชื่อรอง : (กฎ) น. ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว.
  45. เป็นรอง : ก. เสียเปรียบ, ถ้าได้เปรียบใช้ว่า เป็นต่อ.
  46. ผู้รับรอง : น. ผู้รับประกัน; ผู้ต้อนรับ.
  47. รถพระที่นั่งรอง : น. รถยนต์ที่เตรียมสำรองไว้ใช้แทนรถพระที่นั่งใน กระบวนเสด็จพระราชดำเนินเป็นทางการ.
  48. ร่อง : น. รอยลึกเป็นช่องทางไปตามยาว, สันดินระหว่างท้องร่องสําหรับเพาะ ปลูก เช่น ร่องผัก ร่องมัน.
  49. เรือพระที่นั่งรอง : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปใน กระบวนเสด็จทางชลมารค เช่น เรืออนงคนิกร เรืออัปสรสุรางค์.
  50. เถา : น. เครือไม้, ลําต้นของไม้เลื้อย; ภาชนะที่จัดเข้าเป็นชุดเดียวกันอย่าง ปิ่นโต, ภาชนะหรือสิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียง ไปตามลําดับอย่างตะลุ่มมุกหรือหม้อ, ลักษณนามเรียกภาชนะที่จัดเข้า เป็นชุดเดียวกัน เช่น ปิ่นโตเถาหนึ่ง ปิ่นโต ๒ เถา หรือเรียกภาชนะหรือ สิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียงไปตามลําดับ เช่น ตะลุ่มมุกเถาหนึ่ง หม้อ ๒ เถา; เพลงมโหรีปี่พาทย์ซึ่งเป็นเพลงเดียวกัน แต่มีอัตราลดหลั่นกันลงไปเป็นลําดับไม่ตํ่ากว่า ๓ ขั้น และบรรเลง ติดต่อกันไปไม่ขาดระยะจนจบ เรียกว่า เพลงเถา เช่น เพลงแขกมอญเถา เพลงราตรีประดับดาวเถา.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-764

(0.0398 sec)