Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เวลา , then เพลา, วลา, เวล, เวลา, เวฬา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เวลา, 862 found, display 51-100
  1. กร่ำ ๑ : [กฺร่ำ] น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่น้ำ เป็นรูปกลมบ้าง รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อให้ปลาเข้าอาศัย เมื่อเวลาจะจับก็เอาเฝือกหรืออวนล้อม แล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, เขียนเป็น กล่ำ ก็มี.
  2. กรุ่ม : [กฺรุ่ม] ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดาเวลากรุ่มกําลังที่ตั้งขึ้น ตามฤดู. (ม. ร. ๔ วนปเวสน์); โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน. (นิ. เดือน); รุ่มร้อน, ระอุ, เช่น นรกเท่ากรุ่ม เปลวร้อนเหมือนไฟ. (สุบิน).
  3. กลม ๑ : [กฺลม] น. ชื่อเพลงไทยของเก่าที่ใช้เครื่องปี่พาทย์ ทําตอนตัวละครรำออกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยตัวคนเดียว จะเหาะหรือเดินก็ได้, และใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์สักบรรพ ในเวลามีเทศน์มหาชาติ.
  4. กลเม็ด ๒ : [กนละ-] น. ชื่อเทียนชนิดหนึ่ง ซึ่งตามประเพณีเดิมจุด ตั้งแต่วันเกิดมาและเลี้ยงไฟต่อกันไว้จนถึงวันตาย เมื่อถึงวันเผาก็ใช้ไฟนั้นเผา เรียกว่า เทียนกลเม็ด, เทียนจุดคู่ชีพเวลาจะสิ้นใจ.
  5. กลอง ๑ : [กฺลอง] น. เครื่องตีทําด้วยไม้เป็นต้น มีลักษณะกลม กลวง ขึงด้วยหนัง มีหลายชนิด, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมาก ใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่า กลองยาว หรือ เถิดเทิง, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปกลมแบนและตื้น เรียกว่า กลองรํามะนา, ถ้าขึ้นหนังทั้ง ๒ หน้า ร้อยโยงเข้าด้วยกันด้วยหนังเรียด เรียกว่า กลองมลายู, ถ้าร้อยโยงด้วยหวาย เรียกว่า กลองแขก กลองชนะ, ถ้าขึ้นหนังตรึงแน่นทั้ง ๒ หน้า เรียกว่า กลองทัด.
  6. กลองเพล : [-เพน] น. กลองทัดขนาดใหญ่ใช้ตีเป็นสัญญาณ บอกเวลา ๑๑ นาฬิกา เพื่อภิกษุสามเณรจะได้ฉันเพล.
  7. กลาง : [กฺลาง] น. ส่วนที่ไม่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายความว่า ในที่หรือเวลาระหว่าง เช่น กลางฝน; ที่รวม, ที่รวมกิจการงานที่มีสาขาย่อยออกไป, เช่น สํานักงานกลาง ไปรษณีย์กลาง.
  8. กลางค่ำ : (โบ; กลอน) น. เวลากลางคืน, ใช้เข้าคู่กับคํา กลางคืน เป็น กลางค่ากลางคืน. (ดู ค่า).
  9. กลางคืน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง, (กฎ) เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกกับพระอาทิตย์ขึ้น.
  10. กลางดึก : น. เวลากลางคืนตอนดึก ประมาณตั้งแต่เที่ยงคืนไป.
  11. กลางวัน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลาราว ๆ เที่ยง, เรียกอาหารระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเย็นว่า อาหารกลางวัน.
  12. กลียุค : [กะลี-] น. ชื่อยุคที่ ๔ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๑ ใน ๔ ส่วน เมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค และอายุของมนุษย์ก็สั้นลง โดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน. (ป., ส. กลิยุค). (ดู จตุรยุค).
  13. กอดแข้งกอดขา, กอดมือกอดตีน : ก. ประจบประแจง. ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน. น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).
  14. ก่อน : ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน.
  15. กะ ๑ : น. เครื่องหมายบอกทํานองสวด เช่น กะมหาชาติคําหลวง, ทํานองสวด เช่น สวดกะ; รอบการเข้าเวร, ระยะเวลาที่ ผลัดเปลี่ยนกันทํางาน, เช่น กะแรก กะที่ ๒. ก. กําหนด, หมาย, คะเน, ประมาณ.
  16. กะแท่ง : น. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Amorphophallus วงศ์ Araceae ต้นเล็กราวเท่านิ้วมือ เวลาออกดอกไม่มีใบ ก้านช่อดอกอ่อน ๆ ใช้แกงได้, พายัพเรียก ดอกก้าน.
  17. กะบัง ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้าย และทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้าง อย่างเดียวกับจิบ แต่ระหว่างกลางทําร้านซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ตลอดเป็น ทางเพื่อให้ปลาเสือกตัวขึ้นแล้วเลื่อนตกลงไปในถุงอวนหรือตาข่าย ที่ดักไว้ปลายทาง ต้องจับในเวลาที่น้ำไหลเชี่ยว, กะบังรังเฝือก ก็ว่า.
  18. กะลอจี๊ : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวทอดไฟอ่อน ๆ เวลากินคลุกงาผสมน้ำตาลทรายขาว.
  19. กะหลาป๋า ๑ : น. ชื่อเมืองในเกาะชวาสมัยโบราณ ต่อมาเรียก ปัตตาเวีย, ปัจจุบันชื่อ จาการ์ตา; เรียกหมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่ อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไปว่า หมวกกะหลาป๋า; เรียกขวดแก้วสำหรับใช้ใส่น้ำอบ ทรงกระบอกแปดเหลี่ยม มีสีต่าง ๆ มีจุกแก้ว เถาหนึ่งมี ๓ ใบ ว่า ขวดกะหลาป๋า.
  20. กัดฟัน : ก. เอาฟันต่อฟันกดกันไว้แน่น เป็นอาการแสดงถึง ความอดกลั้น, โดยปริยายหมายความว่า มานะ; ขบฟันใน เวลานอนหลับ.
  21. กันดาร : [-ดาน] ว. อัตคัด, ฝืดเคือง, เช่น กันดารข้าว กันดารน้ำ, ลําบาก, แห้งแล้ง, คํานี้มักใช้แก่เวลา ท้องที่ หรือถิ่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น คราวกันดาร ทางกันดาร ที่กันดาร. น. ป่าดง, ทางลําบาก. (ป. กนฺตาร).
  22. กัป : [กับ] น. อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จ จนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัลป์ เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ป. กปฺป; ส. กลฺป). (ดู กัลป-, กัลป์).
  23. กัลป-, กัลป์ : [กันละปะ-, กัน] น. กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จ จนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์ล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลากลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑,๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะ ไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ส.; ป. กปฺป).
  24. กัลปาวสาน : [กันละปาวะสาน] น. ที่สุดแห่งระยะเวลากัลป์หนึ่ง คือ ช่วงเวลา ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์. (ส. กลฺป + อวสาน).
  25. กาล ๑, กาล- : [กาน, กาละ-] น. เวลา, คราว, ครั้ง, หน. (ป., ส.).
  26. กาลจักร : [กาละ-] น. ชื่อพิธีกรรมในลัทธิตันตระ ซึ่งมีข้อปฏิบัติเบื้องต้น ๕ อย่าง คือ ดื่มน้ำเมา กินเนื้อสัตว์ พร่ามนตร์ แสดงท่ายั่วยวน และ เสพเมถุน ซึ่งปฏิบัติในเวลากลางคืนหรือที่มืด, กาฬจักร ก็ว่า. (ส.).
  27. กาลเทศะ : [กาละ-] น. เวลาและสถานที่; ความควรไม่ควร. (ส.).
  28. กาลสมุตถาน : [กาละสะหฺมุด-] น. กองโรคที่เกิดขึ้นเพราะ ธาตุไม่เป็นไปตามเวลาปรกติ. (แพทย์).
  29. กาลิก : น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ตามเวลาที่กําหนดให้ มี ๓ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ข้าวปลาอาหาร ๒. ยามกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่น้ำอัฐบาน ๓. สัตตาหกาลิก- ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕. (ป.).
  30. กำพวด ๑ : น. ส่วนประกอบของปี่ซึ่งทําให้เกิดเสียงเวลาเป่า สอดติดอยู่กับเลาปี่.
  31. กำลัง ๒ : น. (คณิต) เลขชี้กําลังที่เขียนลงบนจํานวนจริง เช่น ๕๒ อ่านว่า ๕ ยกกําลัง ๒ ๗ อ่านว่า ๗ ยกกําลัง ; (ฟิสิกส์) จํานวนงาน ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งกระทําได้โดยสม่ำเสมอในหนึ่งหน่วยเวลา เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ คือ กําลัง = อัตราของการทํางาน ก็เรียก; ขนาดของของกลมที่วัดโดยรอบ เช่น ช้างมีกําลัง (วัดรอบอก) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว, ไม้มีกําลัง (วัดรอบลําต้น) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว.
  32. กิน : ก. เคี้ยว เช่น กินหมาก, เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ดื่ม เช่น กินน้ำ, ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ; โดยปริยายหมายความว่าเปลือง เช่น กินเงิน กินเวลา, ทําให้หมดเปลือง เช่น รถกินน้ำมัน หลอดไฟชนิดนี้กินไฟมาก; รับเอา เช่น กินสินบน, หารายได้ โดยไม่สุจริต เช่น กินจอบกินเสียม; ชนะในการพนันบางอย่าง.
  33. กินบวช : ก. กินเครื่องกระยาบวชในลัทธิพิธี เช่นพิธีตรุษ, ใช้เข้าคู่กับคํา ถือศีล เป็น ถือศีลกินบวช, กินในเวลาตามกําหนด ของการถือพรตในลัทธิศาสนา.
  34. กี้, กี๊ : น. เวลาที่ล่วงไปหยก ๆ, มักใช้ประกอบกับคํา เมื่อ เมื่อแต่ หรือ เมื่อตะ เป็น เมื่อกี้ เมื่อแต่กี้ เมื่อตะกี้ หรือ เมื่อกี๊ เมื่อแต่กี๊ เมื่อตะกี๊.
  35. กุญแจ : น. เครื่องสําหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือ สลักไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออก มีเสียงลั่นดังกริ๊ก มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก. (ป., ส. กุ?ฺจิกา ว่า ลูกดาล, เทียบมลายู กุญจี).
  36. เกษียณอายุ : [กะเสียน-] ก. ครบกําหนดอายุรับราชการ, สิ้นกําหนดเวลารับราชการหรือการทํางาน, พูดสั้น ๆ ว่า เกษียณ ก็มี.
  37. เกิน : ว. พ้น, เลย, คํานี้ใช้แก่ลักษณะที่มีมากกว่าหรือยิ่งกว่ากําหนด เช่น เกินขนาด เกินฐานะ เกินเวลา เกินสมควร.
  38. เกี่ยวข้าว : น. เรียกเพลงร้องแก้กันในเวลาเกี่ยวข้าวทํานองเพลงเรือว่า เพลงเกี่ยวข้าว.
  39. แกร่ว : [แกฺร่ว] ว. ทนรอหรือทนอยู่กับที่เป็นเวลานาน.
  40. โกลน : [โกฺลน] น. ห่วงที่ห้อยลงมาจากอานม้า ๒ ข้างสําหรับสอดเท้ายัน ในเวลาขึ้นหรือขี่; ไม้ท่อนกลม ๆ ที่วางเป็นระยะ ๆ เพื่อลากของที่หนัก มาบนนั้น. ก. เกลาไว้, ทําเป็นรูปเลา ๆ ไว้, เช่น โกลนไม้ โกลนเรือ; เรียกเรือที่ทําจากซุงเพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้ายเป็นเลา ๆ พอให้มี ลักษณะคล้ายเรือ แต่ยังไม่ได้ขุด ว่า เรือโกลน. (รูปภาพ โกลน)
  41. ไก่โห่ : (ปาก) น. เวลารุ่งสาง, ก่อนเวลา, เช่นพูดว่า มาตั้งแต่ไก่โห่.
  42. ขบเผาะ : ว. เรียกผลมะม่วงอ่อน ๆ ขนาดหัวแม่มือว่า มะม่วงขบเผาะ หมายเอาเสียงเวลาเอาฟันขบดังเผาะ; โดยปริยายเรียกวัยของเด็กหญิง ที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาวว่า วัยขบเผาะ.
  43. ขวบ : น. ปี, รอบปี, ลักษณนามใช้แก่อายุของเด็กประมาณ ๑๒ ปีลงมา เช่น เด็กอายุ ๕ ขวบ, เวลาที่นับมาบรรจบรอบ เช่น ชนขวบ.
  44. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  45. ขวานฟ้า : น. ขวานที่ทําด้วยหินในยุคหิน เชื่อกันว่าตกลงมาจากฟ้า เมื่อเวลาฟ้าผ่า.
  46. ขษณะ : [ขะสะหฺนะ] (โบ) น. ครู่, ครั้ง, คราว, เช่น ขษณะอัฒรติเวลา. (สมุทรโฆษ). (ส. กฺษณ; ป. ขณ).
  47. ของกอง : (โบ) น. ของแห้งและผลไม้ที่ทายกวัดหามาไว้สมทบถวายพระ ในเวลาทอดกฐินหรือเทศน์มหาชาติ.
  48. ของขวัญ : น. สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว; สิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เช่น ของขวัญปีใหม่ ของขวัญวันเกิด.
  49. ของว่าง : น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย, อาหารว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า เครื่องว่าง.
  50. ขอฉาย : น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว, กระดองหาย คันฉาย ดอง ดองฉาย หรือ ดองหาย ก็เรียก. (ข. ฉาย ว่า สง).
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-862

(0.0936 sec)