Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ใกล้ , then กล, ใกล้ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ใกล้, 385 found, display 51-100
  1. คลุกคลีตีโมง : ก. มั่วสุมหรืออยู่ร่วมคลุกคลีพัวพันกันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา.
  2. ค่องอ้อย : น. ชื่อการพนันด้วยการทายความสั้นยาวของท่อนอ้อย โดยเอามีดสับ คาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อย แล้วตั้งพิงไว้ให้ผู้เล่นทายว่าส่วนของ ท่อนอ้อยด้านบนกับด้านล่างของมีดยาวเท่ากันหรือสั้นยาวกว่ากันเท่าใด ผู้ใดทายได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุดเป็นผู้ชนะ.
  3. คันหามเสือ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็ก ๒ ชนิดในวงศ์ Araliaceae คือ ชนิด Trevesia valida Craib ขึ้นตามหินใกล้ลําธารในป่า ลําต้นมีหนามห่าง ๆ และ ชนิด Aralia montana Blume ลําต้นและใบมีหนาม ใบเป็นใบประกอบ ยาวประมาณ ๑ เมตร.
  4. คำพ้องความ : น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือ ใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า.
  5. เคราะห์ ๒ : [เคฺราะ] (ดารา) น. เรียกดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับ แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ ว่า ดาวเคราะห์ มี ๙ ดวง เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ออกไป คือ พุธ (Mercury) ศุกร์ (Venus) โลก (Earth) อังคาร (Mars) พฤหัสบดี (Jupiter) เสาร์ (Saturn) มฤตยู (Uranus) สมุทร (Neptune) ยม (Pluto).
  6. เคียง : ว. ชิดกันโดยเรียงข้าง เช่น เดินเคียง นั่งเคียง, ใกล้กัน เช่น บ้านใกล้เรือนเคียง.
  7. งาบ ๆ : ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการ ของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), พะงาบ พะงาบ ๆ ปะงาบ หรือ ปะงาบ ๆ ก็ว่า. [ไทยขาว งาบ ว่า อ้า, งาบสบ ว่า อ้าปาก (เพื่อหายใจ)].
  8. ง่าม ๒ : น. ชื่อมดขนาดเล็กชนิด Phidologeton diversus ในวงศ์ Formicidae สีนํ้าตาลแก่จนเกือบดําตลอดตัว อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ในฝูงจะพบ พวกที่ทําหน้าที่เฝ้ารังขนาดใหญ่กว่าตัวธรรมดา ๒-๓ เท่าปะปนอยู่ มีขากรรไกรหน้าเห็นเป็นง่ามใหญ่ อาศัยอยู่ตามพื้นดิน ใกล้บ้านเรือน เดินกันเป็นทาง ขนเศษอาหารหรืออาจพบในแปลงปลูกพืช.
  9. จระคล้าย : [จะระคฺล้าย] (กลอน) ก. ใกล้กราย, อยู่ใกล้, โบราณเขียนเป็น จรคล้าย ก็มี, เช่น โหยบเหนสายใจ จรคล้าย. (กำสรวล).
  10. จวด : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Sciaenidae มีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ปลายหัวอาจทู่หรือแหลม ปากเชิดมากน้อยหรืองุ้มตํ่า บ้าง มีฟันแหลมคมหรือละเอียด หางเป็นรูปตัดมน หรือ กลม จนแม้กระทั่งแหลม โดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับชนิดหรือขนาด ลําตัวมักมีสีเงินหรือเทา บ้างมีจุดประ บนลําตัวและครีบ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ฝั่ง หรือบริเวณนํ้ากร่อยปากแม่นํ้า ทําเสียงได้.
  11. จ่อ ๑ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปใกล้หรือเกือบจดสิ่งอื่น เช่น เอายาดมจ่อจมูก; มุ่งอยู่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักใช้เข้าคู่กับคำ จด เป็น จดจ่อ เช่น เขามี ใจจดจ่อกับงาน.
  12. จ๊อก : ว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสํานวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใด ร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ๆ ก็ว่า.
  13. จ่อคิว : (ปาก) ว. ใกล้ถึงลำดับที่จะได้หรือจะเป็น เช่น เขาจ่อคิวขึ้น (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่างกระด้ง มีไส้สานเป็น
  14. จักจั่น ๑ : น. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Cicadidae มีหลายขนาด ลําตัวยาวตั้งแต่ ๒-๑๐ เซนติเมตร และเรียวลงไปทางหาง หัวและอกกว้าง ปีกมี ๒ คู่ เนื้อปีกเหมือนกันตลอด ปีกเมื่อพับจะเป็นรูปหลังคาคลุมตัว มีปากชนิด เจาะดูดโผล่จากหัวทางด้านล่างที่บริเวณใกล้กับอก ตาโตเห็นได้ชัดอยู่ ตรงมุม ๒ ข้างของหัว ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสําหรับทําเสียงได้ยินไปไกล ระดับเสียงค่อนข้างสมํ่าเสมอ ไร้กังวาน ส่วนใหญ่สีเขียว ที่พบบ่อยเป็น ชนิด Dundubia intermerata.
  15. จับเข่าคุยกัน, จับหัวเข่าพูด : (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.
  16. จับหัวเข่าพูด, จับเข่าคุยกัน : (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.
  17. จาด ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tor stracheyi ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็ก ลําตัวยาว เกล็ดใหญ่ คล้ายปลาเวียนในสกุลเดียวกัน แต่ส่วนกลางของ ริมฝีปากบนไม่มีแผ่นเนื้อ ลําตัวสีเงิน ด้านหลังสีเขียวเข้ม อาศัยอยู่ใน แหล่งนํ้าสะอาดใกล้ต้นนํ้า เป็นปลาขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๑ เมตร, โพ ก็เรียก.
  18. จามจุรี ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Albizia lebbeck Benth. ในวงศ์ Leguminosae ดอก (เกสร) อ่อนมีสีเขียวและขาว เมื่อดอก (เกสร) แก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมแสด ฝักแบนยาวกว้าง ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีนํ้าตาลอ่อน ไม่มีรส, พฤกษ์ ซึก หรือ ซิก ก็เรียก, มักเรียกต้น ก้ามปู หรือต้นจามจุรีแดง [Samanea saman (Jacq.) F. Muell.] ซึ่ง เป็นไม้ต่างชนิดกันว่า ต้นจามจุรี.
  19. เฉาฮื้อ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Ctenopharyngodon idellus ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ที่สําคัญคือ ลําตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่เรียบ ลําตัวสีเงินอาศัยหากินพืชน้ำอยู่ใกล้ผิวน้า มีถิ่นเดิมอยู่ใน ประเทศจีน นําเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.
  20. ช่วงบาท : น. ผู้อยู่ในระยะเท้า ''คือ ใกล้เท้า หมายความ ว่า ผู้รับใช้''.
  21. ชะคราม : [คฺราม] น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Suaeda maritima (L.) Dumort. ในวงศ์ Chenopodiaceae ขึ้นตามเลนใกล้ทะเล กิ่งก้านและใบพองกลมปลายแหลมสีเขียว เขียวอมม่วง ชมพู มีนวล กินได้, ชักคราม ก็เรียก.
  22. ชะมด ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็น วงศ์เดียวกับอีเห็นและพังพอนหน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดําตามยาวทั่วตัว หางและ ขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้เครื่องเพศ มักออกหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด (Viverricula malaccensis) เป็นชนิดที่ใช้ นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทําเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง (Viverra zibetha), ชะมดแผงสันหางดํา(V. megaspila), อีสานเรียก เห็นอ้ม.
  23. ช้างชนะงา : น. ช้างที่โรยเชือกผ่อนให้เข้าไปใกล้ช้าง อีกตัวหนึ่งจนประงาหรือเอางากระทบและเป็นฝ่ายชนะ.
  24. ชิงชี่ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Capparis micracantha DC. ในวงศ์ Capparidaceae สูง ๒๔ เมตร มีหนามเล็กสั้น ๆ ขนาบ โคนก้านใบข้างละอัน ดอกขาว โคนกลีบดอกสีเหลือง ใกล้โรยกลายเป็นสีม่วงแก่ ออกเป็นตับตามลํากิ่งเหนือ ง่ามใบตับละ ๒๗ ดอก ผลกลม ๆ หรือรูปไข่ เมื่อสุกสีแดง ก้านผลยาว, กระโรกใหญ่ หรือ แส้ม้าทะลาย ก็เรียก.
  25. ชิด ๒ : ก. ใกล้จวนติดหรือใกล้จนติดกัน เช่น นั่งชิดกัน ชิด เข้าไปอีกหน่อย.
  26. ชิมแปนซี : น. ชื่อลิงไม่มีหางในวงศ์ Pongidae ขนสีดําหรือน้ำตาลดำ บริเวณใกล้ ๆ ก้นมีขนสีขาว หน้าไม่มีขน แขนและขา ยาวเกือบเท่ากัน มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Pan troglodytes และ ชิมแปนซีแคระ (P. paniscus) ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา อยู่รวมกันเป็นฝูง ลักษณะคล้ายคน มีเชาวน์ปัญญาสูง สามารถ นํามาฝึกหัดให้เลียนท่าทางของคนได้. (อ. chimpanzee).
  27. ชื่อเล่น : น. ชื่อที่ตั้งตั้งแต่เด็ก เป็นที่รู้กันในหมู่ญาติ หรือผู้ใกล้ชิด.
  28. ชุ่ง : (โบ) สัน. จึ่ง, จวน, เช่น ครั้นชุ่งจะใกล้อ้า ค่อยผ้าย โชยชาย. (ลอ).
  29. ซิว : น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ปากเล็กเชิดขึ้น ตาโต เกล็ดโต อาศัยใกล้ผิวนํ้า ที่รู้จักกันทั่วไปและ พบทั่วประเทศ ได้แก่ ซิวหนวดยาว (Esomus metallicus) ซิวอ้าว อ้ายอ้าว อ้าว หรือ ซิวควาย ในสกุล Luciosoma, ซิวใบไผ่ ในสกุล Danio, ซิวหัวตะกั่ว ในสกุล Chela และ ซิว ในสกุล Rasbora; เรียกหางปลาที่มีลักษณะตีบเหมือนปลาซิวว่า หางปลาซิว; เรียกคน ที่ใจเสาะ ไม่สู้หรือไม่อดทนว่า ใจปลาซิว.
  30. ไซโคลน : [–โคฺลน] น. ชื่อพายุหมุนที่มีกําลังแรงจัด ทําให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. (อ. cyclone).
  31. ญาติสนิท : [ยาดสะหฺนิด] น. ญาติที่ใกล้ชิดกันมาก.
  32. ดนุช : น. ผู้บังเกิดแต่ตน, ลูกชาย, เช่น ใกล้หัตถ์ดลดนุช. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป., ส.).
  33. ดาบเงิน : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Trichiuridae ได้แก่ ชนิด Trichiurus lepturus ซึ่งชุกชุมที่สุด ชนิด Tentoriceps cristatus, Eupleurogrammus muticus และLepturacanthus savala ทุกชนิดมีลักษณะคล้ายกันมาก คือ มีหัวแหลมลาดตํ่าไปข้างหน้า ปากล่างยื่นฟันคมแข็งแรง ตัวยาวมาก แบนข้าง เรียวแหลมเป็นเส้นไปทางหาง แต่ไม่มีครีบหาง ครีบหลังยาว เกือบตลอดแนวสันหลังยกเว้นใกล้หัว ครีบก้นเป็นเพียงแถวของหนาม แข็งขนาดเล็กโผล่จากสันท้องไม่มี ครีบท้องหรือมีแต่เล็กมาก ไม่มีเกล็ด ผิวหนังสีเงินหรือเทา, ดาบ ก็เรียก.
  34. ดาวเหนือ : น. ดาวฤกษ์สุกใสดวงหนึ่งที่อยู่ใกล้ที่สุดกับขั้วท้องฟ้าเหนือ.
  35. ดิ่งพสุธา : น. เรียกการกระโดดร่มจากที่สูงโดยให้ตัวลอยอยู่ในอากาศก่อน เมื่อใกล้พื้นดินประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร จึงกระตุกสายร่มให้กางออก ว่า กระโดดร่มแบบดิ่งพสุธา.
  36. ดีเปรสชัน : น. ชื่อพายุหมุนที่มีกําลังอ่อน ทําให้มีฝนตกปานกลางถึงตกหนัก เกิดขึ้น ในละติจูดกลางหรือละติจูดสูง มีความเร็วลมสูงสุดใกล้บริเวณศูนย์กลาง ไม่เกิน ๓๓ นอต หรือ ๖๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง. (อ. depression).
  37. ตรีทูต : น. ผู้แทนคนที่ ๓; ลักษณะบอกอาการของคนเจ็บหนักใกล้จะตาย.
  38. ตอม : ก. กิริยาที่แมลงตัวเล็ก ๆ เช่นแมลงวันเป็นต้นมาเกาะหรือจับหรือบินวนเวียน อยู่ใกล้ ๆ, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผู้ชาย ตอมผู้หญิง.
  39. ตะพัด ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Scleropages formosus ในวงศ์ Osteoglossidae หรือชนิดอื่นในสกุลเดียวกันที่พบในประเทศข้างเคียง เป็นปลาโบราณที่ยังมี พืชพันธุ์สืบมาจนถึงปัจจุบัน ลําตัวยาว แบนข้างตลอด แนวด้านข้างของสันหลัง ตรงโดยตลอดแนวสันท้องโค้ง ปากเชิดขึ้น ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหาง มาก ขอบหางกลมเกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวอยู่ใกล้แนวสันท้อง พื้นลําตัวเป็นสีเงิน อมเทาหรือสีฟ้า พบเฉพาะบริเวณแหล่งนํ้าเขตภูเขาในจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง รวมทั้งบางจังหวัดในเขตภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร.
  40. ถึงลูกถึงคน : ว. รุนแรง (ใช้แก่การเล่นกีฬาประเภทลูกบอลเช่นฟุตบอล); ติดตามอย่างจริงจังใกล้ชิด เช่น เขาทำงานอย่างถึงลูกถึงคน.
  41. ทรงบาดาล : [ซง-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Senna surattensis (Burm.f.) Irwin et Barneby ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบใกล้ยอด ใบอ่อนกินได้ เปลือกและใบใช้ทํายา.
  42. ทุกที : ว. อาการที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลงทุกขณะ เช่น ห่างออกไป ทุกที ใกล้เข้ามาทุกที.
  43. ทู ๒ : (๑) ชื่อปลาทะเลชนิด Rastrelliger brachysoma ในวงศ์ Scombridae ตัวยาวเรียว แบนข้างเป็นรูปกระสวย คอดหางแคบ ปากกว้างเอียงขึ้นเล็กน้อย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ อยู่ตรงข้าม กับครีบก้น โดยต่างก็มีครีบย่อย ๕ อัน เรียงต่ออยู่ข้างท้าย เกล็ดเล็ก บาง ข้างหลังสีนํ้าเงิน ชิดโคนครีบหลังตอนแรกมีจุดสีดํา ๓-๖ จุด เรียงอยู่ ๑ แถว ข้างท้องสีขาวเงิน อาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้า. (๒) ดู ลัง.
  44. เทียบ : ก. เอามาให้ติด เช่น จอดเรือเทียบท่า เทียบรถ, เอามาให้ใกล้กัน เช่น เอาเรือเล็กเข้าเทียบเรือใหญ่, เปรียบ เช่น เอาผ้า ๒ ชิ้นมา เทียบสีกัน; จัด, แต่ง, เช่น เทียบสํารับ; (ราชา) ชิมอาหารหรือยา ก่อนที่จะถวายพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายเพื่อป้องกันสิ่งที่เป็นพิษ ในคําว่า เทียบเครื่อง เทียบพระโอสถ; ลักษณนามเรียกยาจีนที่จัด เป็นชุด เช่นยาเทียบหนึ่ง ยา ๒ เทียบ.
  45. แทบ : ว. เกือบ, จวนเจียน, ใกล้ชิด.
  46. โทรทรรศน์ : น. กล้องส่องดูสิ่งที่อยู่ไกลให้เห็นใกล้ เรียกว่า กล้องโทรทรรศน์, กล้องส่องทางไกล ก็เรียก. (อ. telescope).
  47. นอ ๑ : น. สิ่งที่งอกขึ้นเหนือจมูกแรด ยาวประมาณ ๑๒-๑๕ เซนติเมตร แข็ง เหมือนเขาสัตว์;ปมที่นูนขึ้นตามอวัยวะเช่นที่ข้อศอกที่ศีรษะ. (กลอน) ก. โน เช่น แม้นมีไม้ใกล้ตัวหัวจะนอ. (คาวี).
  48. น้อง ๆ : ว. จวนจะเป็น, ใกล้จะเป็น, เกือบจะเป็น, เช่น น้อง ๆ อธิบดีเข้าไปแล้ว.
  49. นอน : ก. เอนตัวลงกับพื้นหรือที่ใด ๆ, อาการที่สัตว์เอนตัวลงกับพื้นเพื่อพักผ่อน เป็นต้นหรือยืนหลับอยู่กับที่, อาการที่ทําให้ของสูง ๆ ทอดลง เช่น เอาเสา นอนลง, อาการที่พรรณไม้บางชนิด เช่น จามจุรี ผักกระเฉด ไมยราบ หลุบ ใบในเวลาใกล้จะสิ้นแสงตะวัน. ว. ลักษณะที่ตรงข้ามกับ ยืน หรือ ตั้ง เช่น แนวนอน แปนอน.
  50. น้ำค้างแข็ง : น. นํ้าค้างที่แข็งตัวอยู่ตามต้นไม้ซึ่งอยู่ใกล้พื้นดิน เมื่อ อุณหภูมิผิวหน้าของพื้นดินตํ่ากว่า ๐?ซ.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-385

(0.0694 sec)