Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไทย , then ทย, ไทย, ไทยะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไทย, 489 found, display 451-489
  1. หริตกี, หรีตกี : [หะริตะกี, หะรีตะกี] น. ต้นสมอไทย. (ป., ส.).
  2. หรุ่ม ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  3. หวนคำนึง : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  4. หวย ก ข : น. การพนันอย่างหนึ่ง ที่ออกเป็นตัวหนังสือ คือ ใช้พยัญชนะ ในภาษาไทยตั้งแต่ ก ถึง ฮ เป็นหลัก โดยตัดออกเป็นบางตัว เหลือเพียง ๓๖ ตัว ตัวที่ออกเสียงเหมือนกันจะตั้งชื่อให้ต่างกัน เช่น ข ง่วยโป๊ ฃ เจี่ยมกวย ค หะตั๋ง ฅ เม่งจู ฆ ยิดซัว ทั้งนี้เพราะได้นำวิธีเล่นหวยของจีน มาปรับปรุงใช้, หวย ก็เรียก.
  5. หอมจันทร์ : น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งกลายมาจากกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) ผลเล็กเรียวขนาดกล้วยนํ้าไทย กลิ่นหอม.
  6. หัวใน : ว. ที่มีความคิดแบบไทย, ที่นิยมของที่ผลิตภายในประเทศ.
  7. หาง : น. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลําตัวสัตว์, ขนสัตว์จําพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ใน ราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้ง เช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสง ลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วน ที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของ ตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.
  8. หางหงส์ ๑ : น. ชายผ้านุ่งที่จีบโจงแล้วไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยให้จีบคลี่ ห้อยจากเอวเบื้องหลังลงมาถึงหว่างขาอย่างตัวพระแต่งในละครรํา; เรียก เครื่องประดับที่ทําเป็นรูปคล้ายหางหงส์ติดตั้งอยู่ปลายรวยระกา หรือปลาย ตะเข้สันหลังคาของโบสถ์และพระที่นั่งเป็นต้นตามแบบสถาปัตยกรรมไทย.
  9. หาบ : ก. เอาของห้อยปลายคาน ๒ ข้างแล้วแบกกลางคานพาไป. น. ชื่อ มาตราชั่ง ตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ = ๖๐ กิโลกรัม, หาบหลวง ก็เรียก, ถ้าตามวิธีประเพณีแบบจีน ๑๐๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ.
  10. หาบหลวง : น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ, หาบ ก็เรียก.
  11. หินยาน : [หินนะ-] น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และ ไทยเป็นต้น, หีนยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า. (ป., ส. หีนยาน).
  12. หีนยาน : [หีนะยาน, หีนนะยาน, ฮีนะยาน] น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนา ฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า.
  13. เหมวดี : [เหมะวะดี] น. ขัณฑสกร มีลักษณะคล้ายนํ้าตาลกรวด รสหวาน ใช้ทํา ยาไทย.
  14. เหย่อย : [เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสด และรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาล เช่นฤดูเกี่ยวข้าว.
  15. เหราเล่นน้ำ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  16. เห่า ๒ : น. ชื่องูพิษในสกุล Naja วงศ์ Elapidae ขนาดยาวประมาณ ๑.๓ เมตร พบหลายสีต่างกันไปในแต่ละตัว เช่น ดํา นํ้าตาล เขียวอมเทา เหลืองหม่น บางตัวมีลายสีขาวและบางตัวไม่มีลาย สามารถยกตัวท่อนหัวตั้งขึ้นและ แผ่บริเวณคอกว้างออกได้ เรียกว่า แผ่แม่เบี้ย มีหลายชนิด เช่น เห่าไทย (N. kaouthia) ซึ่งตัวที่มีสีคลํ้า เรียก เห่าหม้อ, เห่าด่างพ่นพิษ (N. atra) ซึ่งสามารถพ่นฉีดพิษออกจากเขี้ยวพิษได้.
  17. แห้ว : [แห้วฺ] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Cyperaceae ขึ้น ตามที่ชื้นแฉะ หัวกินได้ เช่น แห้วจีน [Eleocharis tuberosa (Roxb.) Schult.], แห้วกระดาน (Scirpus grossus L.f. var. kysoor C.B. Clarke), แห้วไทย (Cyperus esculentus L.).
  18. : พยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคําไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้ แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ใน ภาษาไทยแต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.
  19. อกทะเล : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง มักร้องหรือบรรเลงเป็นเพลงลา.
  20. อโฆษะ : ว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียง ไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระ ในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. (ส.; ป. อโฆส).
  21. อนิจกรรม : น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือ ทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม.
  22. อนุกระเบียด : (โบ) น. มาตราวัดของไทย มีพิกัดเท่ากับครึ่งกระเบียดหรือ ๑ ใน ๘ ของนิ้ว.
  23. อภิธาน : น. หนังสืออธิบายศัพท์เฉพาะเรื่อง เช่น อภิธานประวัติศาสตร์ไทย. (ป., ส.).
  24. อะหม : น. ชนชาติไทยใหญ่สาขาหนึ่ง ที่เข้าไปอยู่ในแคว้นอัสสัม ประเทศ อินเดียเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘, อาหม ก็ว่า.
  25. อัจฉริยลักษณ์, อัจฉริยลักษณะ : น. ลักษณะดีเด่นเป็นที่น่าอัศจรรย์ เช่น อัจฉริยลักษณ์ของภาษาไทย อัจฉริยลักษณะของมหาบุรุษ.
  26. อัพภาส : [อับพาด] น. คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อน หรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ใน ภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
  27. อ่าน : ก. ว่าตามตัวหนังสือ, ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง, ถ้า ไม่ต้องออกเสียง เรียกว่า อ่านในใจ; สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้ เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านใจ; ตีความ เช่น อ่านรหัส อ่านลายแทง; คิด, นับ. (ไทยเดิม).
  28. อาม ๑, อ่าม : ว. ไม่ เช่น เลี้ยงลาอามสาย, หนึ่งจงเลี้ยงม่ามอ่ามสาย. (ไตรภูมิ). (ไทยใหญ่ อํ่า ว่า ไม่).
  29. อาหนู : [หฺนู] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  30. อาหม : [หมฺ] น. ชนชาติไทยใหญ่สาขาหนึ่ง ที่เข้าไปอยู่ในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘, อะหม ก็ว่า.
  31. อำพันขี้ปลา, อำพันทอง : น. วัตถุสีเทาและสีเหลือง มีกลิ่นหอม ลอยอยู่ในทะเลหรือริมฝั่งทะเลของประเทศแถบร้อน เข้าใจว่า เป็นขี้ปลาวาฬชนิดหนึ่ง ใช้เป็นเครื่องยาไทย.
  32. อุปฮาด : [อุปะ, อุบปะ] น. (โบ; ถิ่นอีสาน) ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองใน ภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้ว ผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก. (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย); (โบ; ถิ่นพายัพ) ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจาก ตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด.
  33. แอ่ว : (ถิ่นอีสาน) ก. พูดคุย (ใช้แก่หนุ่มสาว); (ถิ่นพายัพ) เที่ยว, ถ้า ไปเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เรียกว่า แอ่วสาว. น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แอ่ว เช่น แอ่วลาว แอ่วเคล้าซอ.
  34. โอ้ ๑ : (กลอน) อ. คําในคําประพันธ์ ใช้ในความรําพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคย เลยจะห่างเหเสนหา. (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่า เสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต. (อิเหนา). น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า โอ้ เช่น โอ้ปี่ โอ้ร่าย โอ้โลม.
  35. โองโขดง : [ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบขึ้นไปเกล้า ไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โซงโขดง ก็ว่า.
  36. โอด : น. ชื่อเพลงสำหรับใช้เป็นหน้าพาทย์บรรเลงประกอบกิริยาร้องไห้ สลบหรือตาย; วิธีดำเนินทำนองเพลงไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งดำเนินไป โดยแช่มช้าโหยหวน และโศกซึ้ง. ก. ร้องไห้.
  37. ไอยเรศ : [ยะเรด] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  38. ไทยทาน : [ไทยะ-] น. ของสําหรับทําทาน. (ป. เทยฺยทาน).
  39. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-489]

(0.0630 sec)