Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไทย , then ทย, ไทย, ไทยะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไทย, 489 found, display 151-200
  1. ชม ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ชม เช่น ชมดง ชมตลาด.
  2. ชมสวนสวรรค์ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  3. ช่วง ๓ : ก. มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา ใช้ เป็น ช่วงใช้. (ไทยใหญ่ ช่วง ว่า ใช้).
  4. ชะเอม : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Myriopteron extensum (Wight) K. Schum.ในวงศ์ Asclepiadaceae เถามีรสหวาน ใช้ทํายา ผลมีครีบโดยรอบ กินได้, ข้าวสาร ก็เรียก. (๒) ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ชะเอมไทย หรือ ชะเอมป่า (Albizia myriophylla Benth.)เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีรสหวาน ใช้ทํายาได้, ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra L.) และ ชะเอม ขาไก่ (G. uralensis Fish.)เป็นไม้พุ่มต่างประเทศ รากมีรส หวานชุ่มคอ ใช้ทํายาได้. (ข. เฌีแอม ว่า ไม้หวาน).
  5. ชั่ง : น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๐ ตําลึงหรือ ๘๐ บาท เป็น ๑ ชั่ง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๒๐ ตําลึง เป็น ๑ ชั่ง หรือมีน้ำหนักเท่ากับ ๑,๒๐๐ กรัม, ถ้าเป็นชั่งจีน มีนํ้าหนักเท่ากับ ๖๐๐ กรัม คือเป็นครึ่งหนึ่งของชั่งไทย. ก. กระทําให้รู้นํ้าหนักโดยใช้เครื่องชั่งหรือตราชูเป็นต้น.
  6. ชั้นเดียว : น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับเร็ว คือ เร็วกว่า สองชั้นเท่าตัวหรือเร็วกว่าสามชั้น ๔ เท่า, เรียกเต็มว่า อัตรา จังหวะชั้นเดียว, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับชั้นเดียว เพลงชั้นเดียว.
  7. ชาด : น. วัตถุสีแดงสดชนิดหนึ่ง เป็นผงก็มี เป็นก้อนก็มี ใช้ ทํายาไทยหรือประสมกับนํ้ามันสําหรับประทับตราหรือ ทาสิ่งของ, ชาดที่มาจากเมืองจอแสประเทศจีนเรียก ชาดจอแส, ชาดที่มาจากเมืองอ้ายมุ่ยประเทศจีนเรียก ชาดอ้ายมุ่ย. ว. สีแดงสดอย่างหนึ่ง เรียกว่า สีแดงชาด.
  8. ช้าปี่ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  9. ชาว : น. กลุ่มชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน เช่น ชาวไทย ชาวจีน หรือ อยู่ในถิ่นฐานเดียวกัน เช่น ชาวเมือง ชาวชนบท หรือมี อาชีพอย่างเดียวกัน เช่น ชาวไร่ชาวนา ชาวประมง หรือ นับถือศาสนาร่วมกัน เช่น ชาวพุทธ ชาวคริสต์.
  10. ชาวนอก : (โบ) น. เรียกไทยทางปักษ์ใต้.
  11. ชุด ๓ : น. ของที่คุมเข้าเป็นสํารับ เช่น ชุดนํ้าชา ชุดสากล, คนที่เป็น พวกเดียวกันได้ เช่น ชุดระบํา, การแสดงตอนหนึ่ง ๆ ของ โขนเป็นต้น เช่น ชุดพรหมาสตร์ ชุดนางลอย, ลักษณนาม เรียกของหรือคนที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เสื้อผ้าชุดหนึ่ง; การบรรเลงเพลงไทยซึ่งมีทํานองคล้ายคลึงกัน เช่น ชุดจีน ชุดแขก.
  12. ชุมเห็ด : น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Senna วงศ์ Leguminosae คือ ชุมเห็ดไทย [S. tora (L.) Roxb.] ใบเล็ก และ ชุมเห็ดเทศ [S. alata (L.) Roxb.]ใบใหญ่, ทั้ง ๒ ชนิดใช้ทํายาได้.
  13. เชิด : ก. ยื่นหรือยกขึ้นจนเห็นเด่น เช่น เชิดหน้า เชิดอก; โดยปริยาย หมายความว่า ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน ในคําว่า ถูกเชิด. ว. ที่ ยื่นหรือยกขึ้นจนเห็นเด่น เช่น ปากเชิด จมูกเชิด หน้าเชิด. น. ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยา ไปมาอย่างรวดเร็วหรือการเดินทางระยะไกล เรียกว่า เพลงเชิด เช่น เชิดกลอง เชิดฉิ่ง เชิดฉาน เชิดนอก; ท่าโขน ท่าหนึ่ง.
  14. เชิดจีน : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  15. เชื้อ ๒ : ก. เชิญ เช่น สาวใช้เชื้อชูไป. (ม. คําหลวง ทศพร), มักใช้เข้าคู่ กับคํา เชิญ เป็น เชื้อเชิญ; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่งที่มักใช้ เนื่องในการอธิษฐาน.
  16. ใช้เรือ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  17. ซงดำ : น. โซ่ง, ซ่ง หรือ ไทยดํา ก็เรียก. (ดู โซ่ง).
  18. ซง้า : [ซะ–] น. ปีมะเมีย. (ไทยเหนือ).
  19. ซึง : น. เครื่องดนตรีพื้นเมืองของไทยภาคเหนือ รูปร่างคล้ายกระจับปี่ ตัวเป็นโพรง รูปกลมแบน เจาะรูระบายอากาศตรงกลาง มีคันต่อ จากตัวซึงขึ้นไปยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีสาย ๔ สาย.
  20. เซ่นเหล้า : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  21. แซ : น. ชื่อเรือรบไทยโบราณ ใช้แห่เวลาเสด็จพระราชดําเนินทอดกฐิน.
  22. โซ่ง : น. ชาวไทยพวกหนึ่ง ผู้ชายนุ่งกางเกงสีดําหรือสีครามแก่ขาสั้นใต้เข่า เล็กน้อยและแคบ ผู้หญิงนุ่งซิ่นสีดําหรือสีครามแก่มีลายขาวเป็น ทาง ๆ ลงมา, ซ่ง ซงดํา หรือ ไทยดํา ก็เรียก.
  23. โซงโขดง : [–ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้า ไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โองโขดง ก็ว่า. (สิบสองเดือน).
  24. ดำหัว : น. ประเพณีทางภาคเหนือซึ่งกระทําในวันปีใหม่เพื่อเป็นการแสดง ความเคารพนับถือและรักใคร่ วิธีดําหัว คือ เอาสิ่งของและนํ้าที่ใส่เครื่องหอม เช่นนํ้าอบไทยไปให้แก่ผู้ที่เคารพ และขอให้ท่านรดนํ้าใส่หัวของตนเพื่อให้ อยู่เย็นเป็นสุข.
  25. ดิง, ดึง : ก. ดีดทําเสียงดิง ๆ เช่น ดีดพิณ ใช้ว่า ดิงพิณ หรือ ดึงพิณ. (ไทยใหญ่ ดิง ว่า พิณ).
  26. ดีผา : น. หินสีดําเลื่อมคล้ายถ่านหิน ใช้ทํายาไทย.
  27. ต้น : น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
  28. ต้มกะปิ : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยหัวหอม กะปิ พริกไทย อย่างแกงเลียง.
  29. ต้มเค็ม : น. ชื่ออาหารคาวอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นมีหมูเป็นต้น เคี่ยว ให้เข้าไส้หรือให้เปื่อย, ถ้าต้มตามแบบจีนมีรสเค็ม แต่ถ้าต้มตามแบบ ไทยมีรสหวานเค็ม.
  30. ต้มส้ม : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อปลาต้มในนํ้าแกงที่ปรุงด้วยกะปิ ขิง หัวหอม พริกไทย ส้มมะขาม และนํ้าตาล มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน.
  31. ตระ ๑ : [ตฺระ] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  32. ตรีกฏุก : น. ของเผ็ดร้อน ๓ ชนิด คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง.
  33. ตรีฉินทลามกา : [-ฉินทะลามะกา] น. ของแก้ลามกให้ขาดไป ๓ อย่าง คือ โกฐนํ้าเต้า สมอไทย รงทอง.
  34. ตรีทิพยรส : [-ทิบพะยะรด] น. รสทิพย์ ๓ อย่าง คือ โกฐกระดูก เนื้อไม้ อบเชยไทย.
  35. ตรีผลา : [-ผะลา] น. ชื่อผลไม้ ๓ อย่างประกอบขึ้นใช้ในตํารายาไทย หมายเอา สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม. (ส. ตฺริผลา).
  36. ตรีวาตผล : [-วาตะผน] น. ผลแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลสะค้าน รากพริกไทย ข่า.
  37. ตรีสมอ : น. สมอ ๓ อย่าง คือ สมอไทย สมอพิเภก สมอเทศ.
  38. ตรีสันนิบาตผล : น. ผลแก้สันนิบาต ๓ อย่าง คือ ผลดีปลี รากกะเพรา ราก พริกไทย.
  39. ตรีสาร : น. แก่น ๓ อย่าง คือ แสมสาร แสมทะเล ขี้เหล็ก, หรืออีกอย่างหนึ่ง รส ๓ อย่าง เป็นคําแพทย์ใช้ในตํารายาไทย ประสงค์เอา เจตมูลเพลิง สะค้าน ช้าพลู. (ส.).
  40. ตลกหัวเราะ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  41. ตวงพระธาตุ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  42. ตอง ๑ : น. ใบไม้ขนาดใหญ่ใช้ห่อของได้ เช่น ตองกล้วย; เรียกไพ่ไทยชนิดหนึ่ง โดยปรกติเล่นกัน ๖ ขา ว่า ไพ่ตอง, จํานวนไพ่ที่มีเหมือนกัน ๓ ใบ เรียกว่า ตอง, ลักษณนามเรียกไพ่ที่เหมือนกัน ๓ ใบ เช่น ไพ่ตองหนึ่ง ไพ่ ๒ ตอง.
  43. ตอน : น. ห้วง, ชุด, ท่อน, ระยะ, วรรค; ส่วนหนึ่ง ๆ ที่แบ่งออกจากส่วนใหญ่ เช่น แม่นํ้า สายนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน ถนนพหลโยธินตอนที่ผ่านดอนเมือง หนังสือเล่มนี้มี ๑๐ ตอน โขนแสดงตอนหนุมานเผาลงกา ขอให้มาตอนเช้า ตอนเหนือของประเทศ ไทย; วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง ใช้มีดควั่นกิ่งและเลาะเปลือกออกแล้วเอาดิน พอก ใช้ใบตองหรือกาบมะพร้าวหุ้ม มัดหัวท้ายไว้ เมื่อรากงอกดีแล้วตัดกิ่งออก จากต้นนำไปปลูก. ก. ขยายพันธุ์โดยวิธีการเช่นนั้น; ตัดหรือทําลายอวัยวะซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการสืบพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดลูกเป็นต้น.
  44. ต่อย : ก. ชก เช่น ต่อยปาก, เอาของแข็งหรือของหนักตีหรือทุบให้ลิ ให้แตก ให้หลุดออก เช่น ต่อยหิน ต่อยมะพร้าว; ใช้เหล็กในที่ก้นแทงเอา เช่น ผึ้งต่อย มดตะนอยต่อย; โดยปริยายหมายความว่า ทําให้แตก เช่น เด็กเอาจานไปต่อยเสียแล้ว. น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ต่อย เช่น ต่อยมวย ต่อยรูป.
  45. ต้อยตริ่ง : [-ตะหฺริ่ง] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  46. ตะขบ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Flacourtia วงศ์ Flacourtiaceae เช่น ตะขบไทย (F. rukam Zoll. et Moritzi) ต้นมีหนาม ผลกลม สุกสีม่วงแดง หรือแดงเข้ม รสหวาน รากใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Muntingia calabura L. ในวงศ์ Tiliaceae ต้นไม่มีหนาม ผลกลม เล็กกว่าตะขบไทย สุกสีม่วงแดง รสหวาน, ตะขบฝรั่ง ก็เรียก.
  47. ตะเขิง : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (เงาะป่า).
  48. ตะคัน : น. เครื่องปั้นดินเผารูปคล้ายจาน สําหรับวางเทียนอบ หรือเผากํายานเมื่อเวลา อบนํ้าทํานํ้าอบไทยเป็นต้น หรือใช้ใส่นํ้ามันตามไฟต่างตะเกียง.(รูปภาพ ตะคัน)
  49. ตะนาว ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ตะนาว เช่น ตะนาวแปลง.
  50. ตะพาบ, ตะพาบน้ำ : น. ชื่อเต่านํ้าจืดกระดองอ่อนหลายสกุลในวงศ์ Trionychidae กระดองอ่อนนิ่ม มีเชิงแผ่กว้าง ตีนเป็นแผ่นแบนคล้ายพาย หลายชนิดมีจมูกยื่นยาว ในประเทศ ไทยมีหลายชนิด เช่น ตะพาบ (Amyda cartilageneus) ม่านลาย (Chitra chitra), กริว กราว จราว จมูกหลอด หรือปลาฝา ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-489

(0.0442 sec)