Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กฐิน , then กฐน, กฐิน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กฐิน, 31 found, display 1-31
  1. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  2. กฐินทาน : [กะถินนะทาน] น. การทอดกฐิน.
  3. กรานกฐิน : [-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึง ที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้า ให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทํา พินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่ากรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).
  4. จองกฐิน : ก. แจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้น ๆ ไว้เป็น การล่วงหน้า.
  5. จุลกฐิน : น. เรียกพิธีทอดกฐินที่ต้องทําตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน และถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว, โดยปริยายหมายความว่า งานที่ต้องทํา อย่างชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
  6. ทอดกฐิน : ก. ทําพิธีถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์.
  7. ผ้ากฐิน : น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุเฉพาะ กฐินกาล.
  8. องค์กฐิน : น. ผ้ากฐิน, ผ้าผืนที่ถวายสงฆ์เพื่อกรานกฐิน.
  9. ชฎามหากฐิน : น. ชฎาที่ทํายอดเป็น ๕ ยอด มีขนนกการเวกปัก ตอนบน, ชฎาห้ายอด ก็เรียก.
  10. มหากฐิน : น. ชื่อพระชฎาเครื่องต้น.
  11. กฐินัตถารกรรม : ดู กฐิน, กฐิน-.
  12. กฐินัตถารกรรม : [กะถินัดถาระกํา] น. การกรานกฐิน. (ป. ก??น + อตฺถาร + ส. กรฺม).
  13. กระเบน : น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้าย เกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้าง ออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัว เป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจาก ส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับ โพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอน ใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทง จะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บ ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่นผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).
  14. ของกอง : (โบ) น. ของแห้งและผลไม้ที่ทายกวัดหามาไว้สมทบถวายพระ ในเวลาทอดกฐินหรือเทศน์มหาชาติ.
  15. คู่สวด : น. พระ ๒ รูปที่ทําหน้าที่สวดญัตติในการอุปสมบทหรือ การกรานกฐินเป็นต้น.
  16. จระเข้ : [จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณ ป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของ รูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้ เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้า มีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.
  17. จอง : ก. ผูกไว้; มั่นหมายไว้, ขอกําหนดไว้, เช่น จองกฐิน จองที่. (ข. จง ว่า ผูก).
  18. จีวรกาลสมัย : (แบบ) น. คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (งวดที่ ๑ ตั้งแต่วัน มหาปวารณา คือ วันแรมคํ่าหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒, งวดที่ ๒ ตั้งแต่วันมหาปวารณาไปจนหมดฤดูหนาว, งวดที่ ๑ เป็นของพระที่ มิได้กรานกฐิน, งวดที่ ๒ เป็นของพระที่กรานกฐินแล้ว). (ป.).
  19. แซ : น. ชื่อเรือรบไทยโบราณ ใช้แห่เวลาเสด็จพระราชดําเนินทอดกฐิน.
  20. ต้น : น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
  21. ทุส-, ทุสสะ : [ทุดสะ-] (แบบ) น. ผ้า เช่น กฐินทุสทาน ว่า ถวายผ้ากฐิน. (ป. ทุสฺส).
  22. ธงจระเข้ : น. ธงผืนผ้ามีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัด แสดงว่าทอดกฐินแล้ว.
  23. บริวาร : [บอริวาน] น. ผู้แวดล้อมหรือผู้ติดตาม เช่น พระพุทธเจ้ามีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร, สิ่งที่เป็นส่วนประกอบหรือสมทบสิ่งอื่นที่เป็น ประธาน เช่น บริวารกฐิน. ว. ที่แวดล้อม เช่น ดาวบริวาร. (ป., ส. ปริวาร).
  24. บอกบุญ : ก. บอกชักชวนให้ทําบุญเช่นในการสร้างโบสถ์ทอดกฐิน.
  25. ผ้าป่า : น. ผ้า (พร้อมทั้งเครื่องบริวาร ถ้ามี) ที่นําเอาไปวางทอดไว้ เสมือนว่าเป็นผ้าที่ทิ้งอยู่ในป่า เพื่อให้พระชักเอาไป เป็นทํานอง ผ้าบังสุกุล มักทําเป็นปรกติต่อท้ายทอดกฐิน เรียกว่า ทอดผ้าป่า.
  26. ฤดู : [รึ] น. ส่วนของปีซึ่งแบ่งโดยถือเอาภูมิอากาศเป็นหลัก มักแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน หรือเป็น ๔ ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ที่แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน ก็มี, เวลาที่กําหนดสําหรับงานต่าง ๆ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว ฤดูทอดกฐิน ฤดู ถือบวช, เวลาที่เหมาะ เช่น ฤดูสัตว์ผสมพันธุ์, คราว, สมัย, เช่น ฤดูนํ้าหลาก.(ส. ฤตุ, ป. อุตุ).
  27. วุ่น : ก. ยุ่ง, ก้าวก่าย, เช่น คุณไม่ควรไปวุ่นกับเรื่องของคนอื่นเขา, สับสน เช่น งานมากทําให้สมองวุ่นไปหมด, อาการที่ต้องทําอะไรหลาย ๆ อย่างในขณะเดียวกัน เช่น เขาต้องวุ่นอยู่กับงานสารพัดตลอดเวลา, ชุลมุน เช่น มีแขกมามากทําให้วุ่นกันไปทั้งบ้าน. วุ่นเป็นจุลกฐิน [จุนละกะถิน] (สํา) ก. อาการที่ต้องทํางานอย่าง ชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
  28. ศาสนพิธี : น. พิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีทอดกฐิน พิธี อุปสมบท เป็นศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา.
  29. สงฆ์ : น. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคํา พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญ พระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไปร่วมกันทําสังฆกรรม แต่จํานวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรม แต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวด พิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้อง ประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวด อัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่า จํานวนที่กําหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจํานวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).
  30. อรัญญิก : น. ป่า, บริเวณป่า, โบราณเขียนเป็น อรญญิก หรือ อไรญิก ก็มี เช่น ในกลางอรญญิก, เมืองสุโขทัยนี้มีอไรญิก. (จารึกสยาม), (โบ) วัดอรัญญิก เช่น ไปสูดญัดกฐินเถิงอไรญิกพู้น. (จารึกสยาม). ว. ที่เกี่ยวกับป่า เช่น อรัญญิกาวาส. (ป. อาร?ฺ??ก ว่า เกี่ยวกับป่า).
  31. อานิสงส์ : น. ผลแห่งกุศลกรรม, ผลบุญ; ประโยชน์ เช่น อานิสงส์กฐิน. (ป. อานิสํส; ส. อานฺฤศํส, อานุศํส).
  32. [1-31]

(0.0611 sec)