Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กลั่นกรอง, กลั่น, กรอง , then กรอง, กลน, กลนกรอง, กลั่น, กลั่นกรอง .

Budhism Thai-Thai Dict : กลั่นกรอง, 37 found, display 1-37
  1. ผ้ากรองน้ำ : ผ้าสำหรับกรองน้ำกันตัวสัตว์ ดู ธมกรก
  2. ร้อยกรอง : ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อยถักเป็นตา เป็นผืนที่เรียกว่าตาข่าย
  3. กาพย์ : คำร้อยกรองที่แต่งทำนองฉันท์ แต่ไม่นิยมครุลหุเหมือนฉันท์ทั้งหลาย
  4. คาถา : 1.คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง ในภาษาบาลี คาถาหนึ่งๆ มี ๔ บาท
  5. คำไวยากรณ์ : คำร้อยแก้ว ตรงข้ามกับคำว่า คาถา คือ คำร้อยกรองแห่งภาษาบาลี
  6. จินตกวี : นักปราชญ์ผู้ชำนาญคิดคำประพันธ์, ผู้สามารถในการแต่งร้อยกรองตามแนวความคิดของตน
  7. ทุติยสังคายนา : การร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒ ราว ๑๐๐ ปี แต่พุทธปรินิพพาน ดู สังคายนา ครั้งที่๒
  8. ทุติยสังคีติ : การสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒
  9. ธมกรก : กระบอกกรองน้ำของพระสงฆ์, เครื่องกรองน้ำด้วยลมเป่า, กระบอกก้นผูกผ้า
  10. ธรรมสังคาหกะ : พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ผู้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัยในคราวปฐมสังคายนา
  11. ธรรมสังคาหกาจารย์ : อาจารย์ผู้ร้อยกรองธรรม, ดู ธรรมสังคาหกะ
  12. ธรรมสังคีติ : การสังคายนาธรรม, การร้อยกรองธรรม, การจัดสรรธรรม เป็นหมวดหมู่
  13. นวังคสัตถุศาสน์ : คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง, ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ๑.สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) ๒.เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด) ๓.เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น).๕.อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร) ๖.อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร) ๗.ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) ๘.อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ) ๙.เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น); เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์ ดู ไตรปิฎก
  14. บริขาร : เครื่องใช้สอยของนักพรต, เครื่องใช้สอยของพระในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองน้ำ นิยมเรียกรวมว่า อัฐบริขาร (บริขาร ๘)
  15. บริขารโจล : ท่อนผ้าใช้เป็นบริขาร เช่น ผ้ากรองน้ำ ถุงบาตร ย่าม ผ้าห่อของ
  16. ปุปผวิกัติ : ดอกไม้ที่แต่งเป็นชนิดต่างๆ เช่น ร้อยตรึง ร้อยคุม ร้อยเสียบ ร้อยผูก ร้อยวง ร้อยกรอง เป็นต้น
  17. ภารทวาชโคตร : ตระกูลภารทวารชะ เป็นตระกูลพราหมณ์เก่าแก่ ปรากฏตั้งแต่สมัยร้อยกรองพระเวท แต่ในพุทธกาลปรากฏตามคัมภีร์วินัยปิฎก ว่าเป็นตระกูลต่ำ
  18. สังคายนา : การสวดพร้อมกัน, การร้อยกรองพระธรรมวินัย, การประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าวางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียว; สังคายนา ครั้งที่ ๑ ถึง ๕ มีดังนี้ :
  19. สุรา : เหล้า, น้ำเมาที่กลั่นแล้ว
  20. กามคุณ : ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจ
  21. กามฉันท์ : ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น, ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (นิวรณ์ข้อ ๑) - sense desire; excitement of sensual pleasure.
  22. กามสังวร : ความสำรวมในกาม, การรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ ไม่ให้หลงใหลหมกมุ่นใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม) - sexual restraint.
  23. กามารมณ์ : 1.อารมณ์ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้แก่กามคุณ ๕ นั่นเอง 2.ภาษาไทย มักหมายถึงความรู้สึกทางกาม
  24. ฆานสัมผัส : อาการที่จมูก กลิ่น และฆานวิญญาณประจวบกัน
  25. ฆานสัมผัสสชาเวทนา : เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่จมูก กลิ่น และฆานวิญญาณประจวบกัน
  26. บ่วงแห่งมาร : ได้แก่ วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่ารักใคร่น่าพอใจ
  27. เบญจกามคุณ : สิงที่น่าปรารถนาน่าใคร่ ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)
  28. ปัญจพิธกามคุณ : กามคุณ ๕ อย่าง คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะที่น่ารักใคร่น่าชอบใจ
  29. โลกามิษ : เหยื่อแห่งโลก, เครื่องล่อ ที่ล่อให้ติดอยู่ในโลก, เครื่องล่อใจให้ติดในโลก ได้แก่ ปัญจพิธกามคุณ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ; โลกามิส ก็เขียน
  30. วัตถุกาม : พัสดุอันน่าใคร่ ได้แก่กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจ ดู กาม
  31. สัญญา : การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่น ทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้น ๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก (ข้อ ๓ ในขันธ์ ๕) มี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น; ความหมายสามัญในภาษาบาลีว่าเครื่องหมาย ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้น ๆ, ในภาษาไทยมักใช้หมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น
  32. อนิฏฐารมณ์ : อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา, สิ่งที่คนไม่อยากได้ไม่อยากพบ แสดงในแง่ตรงข้ามกับกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าชอบใจ แสดงในแง่โลกธรรม ได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ การนินทา และความทุกข์ เทียบ อิฏฐารมณ์
  33. อวินิพโภครูป : “รูปที่แยกออกจากกันไม่ได้”, รูปที่มีอยู่ด้วยกันเป็นประจำเสมอไป อย่างขาดมิได้เลยในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่าง กล่าวคือในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่าง แม้แต่ปรมาณูที่เล็กที่สุดก็จะต้องมีรูปธรรมชุดนี้อยู่เป็นอย่างน้อย, คุณสมบัติพื้นฐานที่มีอยู่เป็นประจำในวัตถุ, มี ๘ อย่าง คือ ปฐวี (ภาวะแผ่ขยายหรือรองรับ) อาโป (ภาวะเอิบอาบเกาะกุม) เตโช (ภาวะร้อน) วาโย (ภาวะเคลื่อนไหวเคร่งตึง) วัณณะ (สี) คันธะ (กลิ่น) รสะ (รส) โอชา (อาหารรูป); ใน ๘ อย่างนี้ ๔ อย่างแรกเป็นมหาภูตรูป หรือธาต ๔, ๔ อย่างหลังเป็นอุปาทายรูป
  34. อายตนะภายนอก : เครื่องต่อภายนอก, สิ่งที่ถูกรู้มี ๖ คือ ๑) รูป รูป ๒) สัททะ เสียง ๓) คันธะ กลิ่น ๔) รส รส ๕) โผฏฐัพพะ สิ่งต้องกาย ๖) ธัมมะ ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ หรือสิ่งที่ใจรู้; อารมณ์ ๖ ก็เรียก
  35. อารมณ์ : เครื่องยึดหน่วงของจิต, สิ่งที่จิตยึดหน่วง, สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์; ในภาษาไทย ความหมายเลื่อนไปเป็นความรู้สึก หรือความเป็นไปแห่งจิตใจ ในขณะหรือช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นว่า อย่าทำตามอารมณ์ วันนี้อารมณ์ดี อารมณ์เสีย เป็นต้น
  36. อิฏฐารมณ์ : อารมณ์ที่น่าปรารถนา, สิ่งที่คนอยากได้อยากพบ แสดงในแง่กามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่ารักใคร่ น่าชอบใจ แสดงในแง่โลกธรรม ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุข เทียบ อนิฏฐารมณ์
  37. อุปาทายรูป : รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป, อาการของมหาภูตรูป ตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือ ก) ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา, โสต หู, ฆาน จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย, มโน ใจ, ข) โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป) ค) ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย ง) หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ จ) ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่ ฉ) อาหารรูป ๑ คือกวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา ช) ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง ญ) วิญญัติรูป ๒ คือ กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้ ฎ) วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา, มุทุตา ความอ่อน, กัมมัญญตา ความควรแก่งาน, (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก) ฏ) ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้, สันตติ สืบต่อได้, ชรตา ทรุดโทรมได้, อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูป เพียง ๓ จึงได้ ๒๔); ดู มหาภูต ด้วย
  38. [1-37]

(0.0229 sec)