Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กลั่นแกล้ง, แกล้ง, กลั่น , then กลง, กลน, กลนกลง, กลั่น, กลั่นแกล้ง, แกล้ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กลั่นแกล้ง, 98 found, display 1-50
  1. กลั่นแกล้ง : ก. หาความไม่ดีใส่ให้, หาอุบายให้ร้ายโดยวิธีต่าง ๆ, แกล้งใส่ความ.
  2. กลั่น : [กฺลั่น] ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สําคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ ด้วยวิธีต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น กลั่นน้ำ, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา.
  3. แกล้ง : [แกฺล้ง] ก. ทําให้เดือดร้อนรําคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทําเป็นปวดฟัน, จงใจทํา พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  4. กลั่นกรอง : ก. คัดเลือกเอาแต่สิ่งที่เห็นว่าดีที่สุด, พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ.
  5. แกล้งเกลา : ว. ประณีต, ประดิดประดอย.
  6. ลอบกัด : ก. ทำร้ายลับหลัง, ด่าว่าหรือกลั่นแกล้งลับหลังให้เสียหาย.
  7. หมาลอบกัด : (สำ) น. คนที่ลอบทำร้ายหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นลับหลัง.
  8. กล้องแกล้ง : [กฺล้องแกฺล้ง] ว. มีรูปร่างเอวเล็กเอวบาง, อ้อนแอ้น; มีท่าทางเป็นเชิงเจ้าชู้.
  9. กด ๔ : ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กําลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้ง กักไว้ เช่น กดคดี; ทำให้มีค่าน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น กดราคา กดคะแนน; (กลอน) สะกด, ขืน, เช่น อย่ากดใจฟั้นย่า นานนัก. (ลอ).
  10. กลิ่ง : [กฺลิ่ง] (โบ; กลอน) ก. เลือกสรร เช่น แลพี่แกล้งกลิ่งให้แล้ว. (ม. คําหลวง ทศพร).
  11. กระแชะ : (กลอน) ก. กระแซะ เช่น แกล้งทำเลียมและกระแชะชิด สะบิ้งสะบัดดัดจริตกิริยา. (คาวี).
  12. กระดังงา : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cananga odorata (Lam.) Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Annonaceae ดอกหอม กลีบบาง มี ๖ กลีบ ดอกใช้กลั่น น้ำมันหอมได้, กระดังงาใหญ่ สะบันงา หรือ สะบันงาต้น ก็เรียก. (เทียบมลายู canaga, kananga); พรรณไม้ชนิดนี้มีพันธุ์หนึ่งเป็น ไม้พุ่ม ดอกมักมีกลีบมากกว่า ๖ กลีบ หอมอ่อน เรียกว่า กระดังงาสงขลา [Cananga odorata Hook.f. et Thomson var. fruticosa (Craib) J. Sinclair].
  13. กระบิดกระบวน : น. ชั้นเชิง เช่น ทําจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้. ก. แกล้งทำ ชั้นเชิงเหมือนไม่เต็มใจ เช่น อย่ากระบิดกระบวนนักเลย.
  14. กล่อม ๒ : [กฺล่อม] ก. ถากแต่งให้กลมงาม เช่น กล่อมเสา กล่อมไม้; โดยปริยายหมายความว่า เหมาะเจาะ เช่น น้ำหอมกล่อมกลิ่นดอกไม้กลั่น. (ขุนช้างขุนแผน).
  15. กะแช่ : น. น้ำเมาชนิดหนึ่ง ใช้ข้าวเหนียวนึ่งหมักแช่กับแป้งเชื้อ แต่ยังมิได้กลั่นเป็นสุรา.
  16. กางเกียง : ก. ไม่ลงรูป, ไม่ลงรอย, ไม่ลงที่, รวมกันไม่เข้า, ใช้ว่า กางเกี่ยง ก็มี เช่น เมื่อนั้น พระคาวีเห็นนางยังกางเกี่ยง ยิ้มพลางทางลงไปจากเตียง แล้วกล่าวเกลี้ยงแกล้งปลอบให้ชอบใจ. (คาวี), กังเกียง หรือ กําเกียง ก็ว่า.
  17. การบูร : [การะบูน] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cinnamomum camphora (L.) J.S. Presl ในวงศ์ Lauraceae เนื้อไม้มีสารสีขาว กลิ่นฉุนร้อน ซึ่งกลั่นแยกออกมาได้ เรียกว่า การบูร หรือ กรบูร ใช้ทํายา. (ส. กฺรบูร).
  18. ก้าวเฉียง : ก. เดินเป็นฟันปลา (ใช้แก่การแล่นเรือ); โดยปริยายใช้แก่การพูดไม่ตรงหรือพูดเลี่ยง เช่น นงลักษณ์แกล้งกล่าวก้าวเฉียง. (อิเหนา).
  19. กุหลาบ : [-หฺลาบ] น. (๑) ชื่อไม้พุ่มในสกุล Rosa วงศ์ Rosaceae ต้นตรงหรือทอดเลื้อย ลําต้นและกิ่งมีหนาม ขอบใบจัก ดอกสีต่าง ๆ กลิ่นหอม มีมากชนิดและมากพันธุ์ เรียกชื่อต่าง ๆ กัน ดอกของกุหลาบบางชนิด เช่น กุหลาบมอญ หรือ ยี่สุ่น (R. damascena Mill) ใช้กลั่นน้ำหอม. (๒) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้น ขนาดเล็กในสกุล Rhododendron วงศ์ Ericaceae ขึ้นตามป่าเขาใน ระดับสูง เช่น กุหลาบแดง (R. simsii Planch.) กุหลาบขาว (R. ludwigianum Hoss.).
  20. เกราะ ๔ : [เกฺราะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น อย่าคําเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑), ใช้ว่า เกลาะ ก็มี เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะ ให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา).
  21. เกเร : ว. เกกมะเหรก, มีนิสัยเป็นพาล ชอบแกล้งชอบรังแกและเอาเปรียบเขา, มักใช้เข้าคู่กับคํา พาล เป็น พาลเกเร.
  22. เกลาะ : [เกฺลาะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา), ใช้ว่า เกราะ ก็มี เช่น อย่าคําเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  23. เกลือแกง : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ มีมากในน้ำทะเล ใช้ปรุงอาหาร ทําเครื่องดองเค็ม, เมื่ออยู่ในสภาพบริสุทธิ์ที่สุด ใช้ละลายในน้ำกลั่น เรียกว่า น้ำเกลือ สําหรับให้ผู้ป่วยโดยให้ทางเส้นเลือด ใช้ในอุตสาหกรรมทําสบู่ อุตสาหกรรมผลิตโซดาแผดเผา. (อ. common salt).
  24. โกมล ๑ : ว. อ่อน, งาม, หวาน, ไพเราะ, เช่น กรรณาคือกลีบกมลโก- มลกามแกล้งผจง. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
  25. ข่มเหง : [-เหง] ก. ใช้กําลังรังแกแกล้งทําความเดือดร้อนให้ผู้อื่น.
  26. คงคา ๑ : น. นํ้า, แม่นํ้า, ใช้เป็นสามัญว่า แม่พระคงคา หมายถึง เจ้าแม่ประจํานํ้า, ชื่อแม่นํ้า สําคัญสายหนึ่งในประเทศอินเดีย. (ป., ส. คงฺคา ว่า ผู้ไปเร็ว, ผู้ไหลเชี่ยว); เรียกส่วนของท่อเหล้าในโรงต้มกลั่นว่า ท่อคงคา.
  27. ครอบจักรวาล ๓ : [คฺรอบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่ สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ. (จารึกวัดโพธิ์).
  28. คว่ำกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก จึงพาลล้มกระดานเลิกเล่นกัน โดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้ กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง การที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่งปิดประชุมเป็นการ คว่ำกระดานเสีย,'' ล้มกระดาน ก็ว่า.
  29. คิง : (ถิ่น) น. ร่างกาย เช่น รทวยรแถ้ง คิงคมกล้องแกล้ง. (สุธนู).
  30. ฉะอ้อน : ก. แสดงกิริยาวาจาเพื่อให้เขาเมตตา, ชะอ้อน ก็ใช้. ว. กล้องแกล้ง, แน่งน้อย, รูปเล็กบาง, ชะอ้อน ก็ใช้.
  31. ชลาสินธุ์ : น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณ บิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัดกวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูป อสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย).
  32. ชะอ้อน : ก. แสดงกิริยาวาจาเพื่อให้เขาเมตตา, ฉะอ้อน ก็ใช้. ว. กล้องแกล้ง, แน่งน้อย, รูปเล็กบาง, ฉะอ้อน ก็ใช้.
  33. ตลก : [ตะหฺลก] ก. ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทางเป็นต้น; โดย ปริยายหมายความว่า แกล้งทําให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่น เล่นตลก. ว. ขบขัน, ที่ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทาง เป็นต้นเช่น หนังตลก, เรียก ผู้ที่ทําให้คนอื่นขบขันว่า ตัวตลก, เรียกเรื่องที่ทําให้ขบขันหรือเข้าใจผิดว่า เรื่องตลก.
  34. ตะบิดตะบอย : ว. แกล้งให้ชักช้า, ชักช้ารํ่าไร.
  35. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  36. ถ่านโค้ก : น. กากที่เหลือหลังจากนําถ่านหินไปกลั่นทําลายแล้ว ประกอบด้วยคาร์บอนประมาณร้อยละ ๘๐–๙๐ ใช้ประโยชน์ ในการถลุงแร่ เช่น ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็กเป็นต้น. (อ. coke).
  37. ท่อคงคา : น. ส่วนของท่อเหล้าในโรงต้มกลั่น.
  38. ธงนำริ้ว : น. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้นําริ้วกระบวนต่าง ๆ; ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง มีตัวอย่างว่า กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง คิดคิดและให้ขึ้งขุ่นเคืองใจ.
  39. น้ำมันเขียว : น. นํ้ามันชนิดหนึ่ง สีเขียวแกมนํ้าเงิน มีกลิ่นหอมฉุนคล้าย การบูร กลั่นได้จากใบของต้นเสม็ด ใช้สําหรับทา นวด แก้เคล็ดบวมได้.
  40. น้ำมันจันทน์ : น. นํ้ามันที่กลั่นจากไม้จันทน์ มีกลิ่นหอม.
  41. น้ำมันดิน : น. ของเหลวลักษณะข้น สีเข้มจนดํา ได้จากการกลั่นทําลาย ไม้หรือถ่านหิน ใช้ทารักษาเนื้อไม้หรือกันปลวกและแมลงเป็นต้น เมื่อ นําไปกลั่นโดยใช้อุณหภูมิให้เหมาะสม จะได้สารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ อีกมาก.
  42. น้ำมันดิบ : น. นํ้ามันที่สกัดหรือสูบขึ้นมาจากแหล่งกําเนิด และยังมิได้ ทําให้บริสุทธิ์หรือยังมิได้นําไปกลั่นแยกออกเป็นส่วน ๆ.
  43. น้ำมันระกำ : น. นํ้ามันระเหยง่ายชนิดหนึ่ง กลิ่นหอมฉุน กลั่นได้จาก นวดไม้ล้มลุกชนิด Gaultheria procumbens L. ในวงศ์ Ericaceae ใช้ทาแก้เคล็ดบวม และใช้เป็นสารแต่งกลิ่นได้.
  44. น้ำหอม : น. นํ้าที่กลั่นจากเครื่องหอม, นํ้าอบฝรั่ง ก็เรียก.
  45. น้ำอ้อย : น. นํ้าหวานที่ได้จากต้นอ้อย, ถ้าทําเป็นแผ่นกลม ๆ เรียกว่า นํ้าอ้อยงบ, ถ้าทําเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาลทรายแดง, หางนํ้าอ้อยที่ใช้เป็นเครื่องผสมสําหรับต้มกลั่นสุรา หรือใช้ผสมปูนสอสําหรับการก่อสร้าง.
  46. บรั่นดี : [บะหฺรั่น-] น. ชื่อสุราชนิดหนึ่งกลั่นจากเหล้าองุ่น. (อ. brandy).
  47. บัพพาช : [บับพาด] (แบบ) ก. ขับไล่ เช่น พระสญชัยยินราษฎร์ แกล้งบัพพาช กูไกล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. ปพฺพาช).
  48. บีบน้ำตา : ก. แกล้งร้องไห้, ร้องไห้.
  49. ประชด : ก. แกล้งทําให้เกินควรหรือพูดแดกดันเพราะความไม่พอใจ เช่น หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว พูดประชด, ประชดประชัน ก็ว่า, ในกลอนใช้ว่า ประทยด หรือ ประเทียด ก็มี.
  50. ปั้นสีหน้า : ก. แกล้งแสดงหน้าตาให้ผิดปรกติเพื่อลวงให้เขาหลงเชื่อ เช่น ไม่เจ็บแต่ปั้นสีหน้าให้เหมือนคนเจ็บ.
  51. [1-50] | 51-98

(0.1201 sec)