Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กาฬ , then กาล, กาฬ, กาฬา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กาฬ, 73 found, display 1-50
  1. กาฬ, กาฬ- : [กาน, กาละ-, กานละ-] น. รอยดําหรือแดงที่ผุดตามร่างกายคนเมื่อตายแล้ว. ว. ดํา, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ป.).
  2. กาฬวาต : [กานละ-] น. ลมพายุใหญ่อย่างหนึ่ง เช่น ด้วยกําลังกาฬวาตโบกเบียน.
  3. กาฬจักร : [กาละจัก] น. กาลจักร.
  4. กาฬปักษ์ : [กาละ-] ว. ฝ่ายดํา คือ ข้างแรม.
  5. กาฬปักษี : [กาละ-] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง เป็นเมื่อมารดาออกไฟแล้ว ได้ ๕ เดือน ยังอยู่ในเขตเรือนไฟ มีอาการร้องไห้แล้วหอบ หรือร้องไห้เมื่อหลับสะดุ้งผวาตื่นตกใจ. (แพทย์).
  6. กาฬมุข : น. เกียรติมุข.
  7. ตรีกาฬพิษ : [-กาละพิด, -กานละพิด] น. พิษกาฬ ๓ อย่าง คือ กระชาย รากข่า รากกะเพรา.
  8. หน้ากาฬ : น. เกียรติมุข.
  9. เหงื่อกาฬ : น. เหงื่อของคนใกล้จะตาย; โดยปริยายหมายถึงเหงื่อแตกด้วย ความตกใจกลัวเป็นต้น.
  10. กาล ๑, กาล- : [กาน, กาละ-] น. เวลา, คราว, ครั้ง, หน. (ป., ส.).
  11. กาลจักร : [กาละ-] น. ชื่อพิธีกรรมในลัทธิตันตระ ซึ่งมีข้อปฏิบัติเบื้องต้น ๕ อย่าง คือ ดื่มน้ำเมา กินเนื้อสัตว์ พร่ามนตร์ แสดงท่ายั่วยวน และ เสพเมถุน ซึ่งปฏิบัติในเวลากลางคืนหรือที่มืด, กาฬจักร ก็ว่า. (ส.).
  12. เกียรติมุข : [เกียดมุก] น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ ตากลมถลน ไม่มีคาง ปากแสยะ ไม่มีขากรรไกรล่าง ไม่มีร่างกาย ไม่มีแขนขา เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู เป็นเครื่องป้องกัน บ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร และคอยคุ้มครองนับถือพระศิวะ มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น เช่นที่ทับหลังปราสาทหิน บางแห่ง ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์ และที่ฐานพระพุทธรูป, กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก.
  13. โกเชาว์ : (แบบ; กลอน) น. ผ้าทําด้วยขนแพะ เช่น ไพจิตรนิทรกําราล กาฬโกเชาว์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. โกชว).
  14. จงกลนี : [-กนละนี] น. บัว, บัวดอกคล้ายบัวขม มีเกสรซ้อนหลายชั้น แตกก้านต่อดอก แล้วมีดอกต่อกัน ๓ ดอกบ้าง ๔ ดอกบ้าง. (ทมิฬ เจ็ง ว่า แดง กาฬนีร ว่า บัว หมายความว่า บัวแดง). (พจน. ๒๔๙๓).
  15. ปักษ-, ปักษ์ : [ปักสะ-, ปัก] น. ฝ่าย, ข้าง, เช่น ปักษ์ใต้, กึ่งของเดือนจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายขาว หมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายดํา หมายเอาเดือนมืด), ครึ่งเดือน เช่น หนังสือรายปักษ์. (ส.; ป. ปกฺข).
  16. ผาดำ : น. เขากาฬกูฏ.
  17. อเวจี : น. ชื่อนรกขุม ๑ ในนรก ๘ ขุม ได้แก่ ๑. สัญชีวนรก ๒. กาฬสุตตนรก ๓. สังฆาฏนรก ๔. โรรุวนรก ๕. มหาโรรุวนรก ๖. ตาปนรก ๗. มหาตาปนรก ๘. อเวจีมหานรก ซึ่งเป็นนรกขุมลึกที่สุดสําหรับลงโทษ แก่ผู้ที่มีบาปหนักที่สุด, ใช้เป็น อวิจี หรือ อวีจิ ก็มี.
  18. อัคนิรุทร : [รุด] น. ไฟร้ายกาจ, เพลิงกาฬ.
  19. กาล ๒ : [กาน] (โบ) น. คําประพันธ์.
  20. กาลสมุตถาน : [กาละสะหฺมุด-] น. กองโรคที่เกิดขึ้นเพราะ ธาตุไม่เป็นไปตามเวลาปรกติ. (แพทย์).
  21. กาลานุกาล : (โบ) น. งานบำเพ็ญกุศลถวายพระบรมอัฐิและพระอัฐิในกาลใด กาลหนึ่ง. (ป. กาล + อนุกาล).
  22. จตุกาลธาตุ : [-กาละทาด] น. ธาตุกาล ๔ คือ ว่านนํ้า เจตมูลเพลิง แคแตร พนมสวรรค์.
  23. ประสูติกาล : น. เวลาเกิด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระประสูติกาล.
  24. อัทธ, อัทธ์, อัทธา, อัทธาน : [อัดทะ] น. ทาง, ทางไกล, ระยะไกล; กาล, กาลยาวนาน. (ป.; ส. อธฺวนฺ).
  25. จีวรกาลสมัย : (แบบ) น. คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (งวดที่ ๑ ตั้งแต่วัน มหาปวารณา คือ วันแรมคํ่าหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒, งวดที่ ๒ ตั้งแต่วันมหาปวารณาไปจนหมดฤดูหนาว, งวดที่ ๑ เป็นของพระที่ มิได้กรานกฐิน, งวดที่ ๒ เป็นของพระที่กรานกฐินแล้ว). (ป.).
  26. เฉพาะกาล : ว. ชั่วคราว ในคําว่า บทเฉพาะกาล.
  27. ทิวากาล : น. เวลากลางวัน.
  28. นิศากาล : น. เวลามืด. (ส.).
  29. บริเฉทกาล : [บอริเฉทะกาน, บอริเฉดทะกาน] น. เวลาที่มีกําหนดลง.
  30. ปัจจุสกาล, ปัจโจสกาล : [ปัดจุดสะกาน, ปัดโจสะ-] น. เวลาเช้ามืด. (ป.).
  31. พรรษากาล : ดู พรรษ, พรรษ.
  32. พรรษากาล : น. ฤดูฝน. (ส.).
  33. มัธยมกาล : น. เวลาของตําบลใดตําบลหนึ่งที่ทางการบัญญัติให้ใช้ เป็นเวลากลางสําหรับประเทศ.
  34. อุษณกาล : น. ฤดูร้อน.
  35. กาลี ๒ : น. ชื่อหนึ่งของพระอุมา ชายาพระอิศวร เรียกว่า เจ้าแม่กาลี, ปรกติสร้างรูปเป็นหญิงผิวดำ (ส. กาลี ว่า หญิงดำ), และว่ามีอำนาจเสมือน กาล (เวลา) ที่ไม่มีผู้ใดเอาชนะได้. (ส.).
  36. คำพ้องเสียง : น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมี ความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์.
  37. จิรัฐิติกาล : [จิรัดถิติ-] น. เวลายั่งยืน, เวลาที่ตั้งอยู่นาน. (ป. จิร + ??ติ + กาล).
  38. เพล : [เพน] น. เวลาพระฉันกลางวัน คือ เวลาระหว่าง ๑๑ นาฬิกาถึงเที่ยง เรียกว่า เวลาเพล. (ป., ส. เวลา ว่า กาล).
  39. ภาษามีวิภัตติปัจจัย : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัย ประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดง เพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีก โบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส. (อ. inflectional language).
  40. : พยัญชนะตัวที่ ๓๖ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน อย่างตัว น ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กาล พาล ฟุตบอล.
  41. สมัย : [สะไหฺม] น. เวลา, คราว, เช่น สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยปัจจุบัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาล เป็น กาลสมัย. (ป., ส.).
  42. อาขยาต : [ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์ บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัยเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).
  43. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  44. กระลัมพร : น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น ก็ทํากระลัมพรกาล. (สมุทรโฆษ), (แผลงมาจาก กลัมพร), เขียนเป็น กระลําพร ก็มี.
  45. กัน ๔ : ก. โกนให้เป็นเขตเสมอ เช่น กันคิ้ว กันคอ กันหน้า. (ข. กาล่).
  46. กัษณ : [กัดสะหฺนะ] (กลอน) น. กษณะ, ขณะ, เช่น ในเมื่อกาลกัษณ. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  47. กาลกรรณี, กาลกิณี : [กาละกันนี, กานละกันนี, กาละกินี, กานละกินี] น. เสนียดจัญไร, ลักษณะที่เป็นอัปมงคล. (ส. กาลกรฺณี; ป. กาลกณฺณี).
  48. กาลัญญุตา : [กาลันยุตา] น. ความเป็นผู้รู้กาล. (ป.).
  49. กาลัญญู : [กาลันยู] น. ผู้รู้กาล. (ป.).
  50. โกรธ : [โกฺรด] ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า ''ทรงพระโกรธ'' ก็ใช้ เช่น ก็จะทรงพระโกรธ ดั่งเพลิงกาล. (อิเหนา). (ส. โกฺรธ).
  51. [1-50] | 51-73

(0.0676 sec)