Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กิริยาท่าทาง, ท่าทาง, กิริยา , then กรยา, กรยาทาทาง, กิริย, กิริยา, กิริยาท่าทาง, ทาทาง, ท่าทาง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กิริยาท่าทาง, 330 found, display 1-50
  1. ท่าทาง : ว. กิริยาอาการที่ปรากฏให้เห็น เช่น ท่าทางดี ท่าทางไม่ดี, บางทีใช้ว่า ท่า ก็มี.
  2. กิริยา : น. การกระทํา; อาการที่แสดงออกมาด้วยกาย, มารยาท, บางทีใช้ในอาการที่ดี เช่น มีกิริยา หมายความว่า มีกิริยาดี. (ป.).
  3. อาการ, อาการ : [อากาน, อาการะ] น. ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, เช่น อาการไข้; กิริยาท่าทาง เช่น อาการพิรุธ; ลักษณะเดียวกัน เช่น โดยอาการนั้น; ส่วนของร่างกายซึ่งนิยมว่ามี ๓๒ อย่าง เรียกว่า อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น. (ป., ส.).
  4. อากัปกิริยา : [อากับ] น. กิริยาท่าทาง. (ป.).
  5. อิริยา : น. อาการเคลื่อนไหว, กิริยา, ท่าทาง. (ป.; ส. อีรฺยา).
  6. เข้าเค้า : ก. เหมาะกับรูปร่าง เค้าหน้า หรือ กิริยาท่าทาง, เหมาะกับ เรื่องราวหรือเหตุผล.
  7. โฉ่งฉ่าง : ว. เสียงอย่างเสียงโลหะกระทบกัน, มีท่าทางเก้งก้างไม่รัดกุม เช่น กิริยา โฉ่งฉ่าง ชกโฉ่งฉ่าง, ส่งเสียงดังอย่างไม่เกรงใจใคร เช่น เขาพูดจาโฉ่งฉ่าง.
  8. กิริยาสะท้อน : น. การเคลื่อนไหวอย่างฉับพลันของกล้ามเนื้อที่ ไม่อยู่ในอํานาจสั่งงานของสมอง เพื่อตอบสนองสิ่งกระตุ้น เป็นการหลีกเลี่ยงอันตรายหรือสิ่งรบกวน เช่นหดมือเมื่อถูกของร้อน.
  9. ลีลา : น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อ พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาท ขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าว เพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้าย ยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะ แก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).
  10. กระตุ้งกระติ้ง : ว. มีกิริยาท่าทางกระชดกระช้อย, ตุ้งติ้ง หรือ ดุ้งดิ้ง ก็ว่า.
  11. กราดเกรี้ยว : ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้น อย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, เกรี้ยวกราด ก็ใช้.
  12. กะเปิ๊บกะป๊าบ : (ปาก) ว. พูดเสียงดังเอะอะและไม่ระมัดระวังวาจาหรือท่าทาง, มีกิริยาท่าทางหรือแต่งตัวรุงรังไม่เรียบร้อย.
  13. กะหลีกะหลอ : ก. แสดงกิริยาท่าทางหรือพูดจาประจบประแจงเกินงาม.
  14. กาฬาวก : [-วะกะ] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีดํา, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดํา ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนสีน้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคํา ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ป.).
  15. เก้งก้าง : ว. มีลักษณะหรือกิริยาท่าทางดูเกะกะไม่เรียบร้อย.
  16. เกรี้ยวกราด : ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้น อย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, กราดเกรี้ยว ก็ใช้.
  17. ชดช้อย : ว. อ่อนช้อย เช่น กิริยาชดช้อย; มีลักษณะกิริยาท่าทาง งดงาม เช่น คนชดช้อย, ช้อยชด ก็ว่า.
  18. ช้อยชด : ว. อ่อนช้อย, งามกิริยาท่าทาง, ชดช้อย ก็ว่า.
  19. เชิดหุ่น : ก. ยกชูหุ่นขึ้นให้แสดงกิริยาท่าทางไปตามบทบาท.
  20. ดูหมิ่น ๒, ดูหมิ่นถิ่นแคลน : ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลาย ลักษณ์อักษรเป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย หรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, หมิ่น ก็ว่า.
  21. ตลก : [ตะหฺลก] ก. ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทางเป็นต้น; โดย ปริยายหมายความว่า แกล้งทําให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่น เล่นตลก. ว. ขบขัน, ที่ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทาง เป็นต้นเช่น หนังตลก, เรียก ผู้ที่ทําให้คนอื่นขบขันว่า ตัวตลก, เรียกเรื่องที่ทําให้ขบขันหรือเข้าใจผิดว่า เรื่องตลก.
  22. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  23. ท่วงท่า : น. การรู้จักวางกิริยาท่าทาง.
  24. นุ่มนวล : ว. อ่อนหวาน, อ่อนโยน, ละมุนละไม, เพราะพริ้ง, เช่น พูดจา นุ่มนวล กิริยาท่าทางนุ่มนวล.
  25. ใบ้ : ว. ไม่สามารถจะพูดเป็นถ้อยคําที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจได้, โดยปริยาย หมายความว่า นิ่งไม่พูด เช่น นั่งเป็นใบ้. ก. แสดงกิริยาท่าทางแทน ถ้อยคํา เช่น ภาษาใบ้; แนะด้วยอุบาย เช่น บอกใบ้, บอกเลศนัย เช่น ใบ้หวย.
  26. ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
  27. มงคลหัตถี : [มงคนละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีนิล อัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม. (ดู กาฬาวก).
  28. ยิ้มด้วยปาก ถากด้วยตา : (สํา) ก. เยาะเย้ยด้วยกิริยาท่าทาง.
  29. รี ๆ ขวาง ๆ : ก. กีดเกะกะ, เก้งก้าง, เช่น คนไม่เคยเข้าครัวจับอะไรไม่ถูก รี ๆ ขวาง ๆ ไปหมด, ขวาง ๆ รี ๆก็ว่า. ว. มีลักษณะหรือกิริยาท่าทางที่เกะกะเก้งก้าง เช่น จะข้ามถนนก็ไม่ข้ามมัวแต่ยืนรี ๆ ขวาง ๆ อยู่นั่นแหละ.
  30. ละมุนละม่อม : ว. อ่อนโยน, นิ่มนวล, เช่น เขามีกิริยาท่าทางละมุน ละม่อม.
  31. ลา ๓ : ก. จากไปโดยแสดงให้ทราบด้วยกิริยาท่าทาง คําพูด หรือด้วย หนังสือ; ขออนุญาตหยุดงานชั่วคราว เช่น ลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาไปศึกษาต่อ; ขอคืนของที่บูชาหรือบนไว้ เช่น ลาข้าวพระภูมิ ลาของที่บนไว้.
  32. สังเกต : ก. กําหนดไว้, หมายไว้, เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต; ตั้งใจดู, จับตาดู, เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทาง เขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย. (ป., ส.).
  33. หมิ่น ๑ : ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเชิงดูถูก ว่ามีฐานะต่ำต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, ดูหมิ่น หรือ ดูหมิ่น ถิ่นแคลน ก็ว่า.
  34. ออกท่า, ออกท่าออกทาง : ก. แสดงกิริยาอาการเป็นท่าทางต่าง ๆ.
  35. อ่อนช้อย : ว. มีกิริยาท่าทางงดงามละมุนละไม, มีลักษณะงอนงาม, มีลักษณะงอนขึ้นอย่างลายกระหนก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น.
  36. อุโบสถ ๒, อุโบสถหัตถี : [อุโบสด, อุโบสดถะ] น. ชื่อช้าง ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองคำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือน น้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สี ทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยา ท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งเงินยวง แต่ปาก และเท้าสีแดง.
  37. จ้อง ๒ : ก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอย จนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทําร้าย จ้องจะแทง, กิริยา ที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
  38. กริยา : [กฺริยา, กะริยา] (ไว) น. คําที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม. (ส. กฺริยา; ป. กิริยา).
  39. จำอวด : น. การแสดงโดยใช้ถ้อยคํา ท่าทาง ชวนให้ตลกขบขัน.
  40. มาด ๒ : (ปาก) น. ท่าทาง เช่น มาดเขาดี วางมาด.
  41. ปฏิกิริยา : น. การกระทําตอบสนอง; การกระทําต่อต้าน; ผลของการกระทํา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดกิริยาสะท้อนมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง; (เคมี) การเกิด การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร. (ป. ปฏิ ว่า ตอบ, ทวน, กลับ + กิริยา ว่า การกระทํา). (อ. reaction).
  42. แยบ : น. อุบาย, เล่ห์, ท่าทาง.
  43. สมณสารูป : ว. ที่สมควรแก่พระ (ใช้แก่กิริยามารยาทเป็นต้น). น. กิริยา มารยาทเป็นต้นที่สมควรแก่สมณะ เช่น ภิกษุพูดจาควรมีสมณสารูป. (ป. สมณสารุปฺป).
  44. เขบ็จขบวน : [ขะเบ็ดขะบวน] น. ท่าทาง, ระเบียบ, ชั้นเชิง, ท่วงที.
  45. ท่วงที : น. ท่าทาง, หน่วยก้าน, ชั้นเชิง.
  46. ที ๒ : น. ท่าทาง, ชั้นเชิง, โอกาส, เช่น ท่าดีแต่ทีเหลว ได้ทีเสียที.
  47. องควิเกษป : [องคะวิกะเสบ] น. ท่าทาง, อาการเคลื่อนไหว. (ส. องฺควิเกฺษป; ป. องฺค + วิกฺเขป).
  48. อิงค์ : น. ท่าทาง, อาการ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น พุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นนามพระพุทธรูป หมายความว่า พระพุทธรูปที่มีท่าทาง สง่างามดุจราชสีห์. (ป., ส. อิงฺค).
  49. ก้มหลัง : ก. น้อมหลังลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ.
  50. ก้มหัว : ก. น้อมหัวลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ, โดยปริยายหมายความ ว่า ยอมอ่อนน้อม (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-330

(0.1388 sec)