Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ก่อน , then กอน, ก่อน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ก่อน, 410 found, display 1-50
  1. ก่อน : ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน.
  2. บุราณ : ว. เก่า, ก่อน, เช่น คําบุราณท่านว่าไว้เป็นครู. (สังข์ทอง). (ป., ส. ปุราณ).
  3. รังแรก : ว. แรกตั้ง, ก่อน, แรกเริ่ม, เป็นเอก.
  4. อาทึก : ว. เป็นที่ต้น, ก่อน, แรก, เบื้องต้น. (ป. อาทิก).
  5. ช้าก่อน : เป็นคําขอร้องให้รั้งรอไว้ก่อน.
  6. ชิงสุกก่อนห่าม : (สํา) ก. ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยัง ไม่ถึงเวลา (มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน), ใช้เป็นคำสอนหรือเตือนสติว่า อย่าชิงสุกก่อนห่าม.
  7. ดูไปก่อน : ก. รอไว้ก่อน.
  8. ยังก่อน : คำขอร้องให้รั้งรอไว้ก่อน เช่น ยังก่อน อย่าเพิ่งกิน.
  9. อาบน้ำร้อนมาก่อน : (สํา) ก. เกิดก่อนจึงมีประสบการณ์มากกว่า.
  10. เงื่อนไขบังคับก่อน : (กฎ) น. เงื่อนไขที่ทําให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว.
  11. ฝากไว้ก่อน : (ปาก) ก. ผูกใจเจ็บ, ตั้งใจจะแก้แค้นภายหลัง.
  12. เดิม : ว. แรก เช่น แต่เดิม, เก่า เช่น บ้านเดิม พระราชวังเดิม, ก่อน เช่น เหมือนเดิม. (ข. เฎีม ว่า ต้น).
  13. เก่า : ว. ก่อน เช่น ครูคนเก่า กรรมเก่า; ไม่ใหม่ เช่น ผ้าเก่า ของเก่า, คํานี้เมื่อใช้ประกอบกับคําอื่น ๆ มีความหมายต่าง ๆ กัน แล้วแต่คําที่นํามาประกอบ เช่น มือเก่า หมายถึง ชํานาญ, หัวเก่า หมายถึง ครึ ไม่ทันสมัย, รถเก่า หมายถึง รถที่ใช้แล้ว.
  14. บัญญัติไตรยางศ์ : น. วิธีเลขอย่างหนึ่ง ซึ่งกําหนดส่วนสัมพันธ์ของ เลข ๓ จํานวนเพื่อหาจํานวนที่ ๔ โดยวิธีเทียบหา ๑ ก่อน แล้วจึงไป หาส่วนที่ต้องการ ด้วยการนําเลขทั้ง ๓ จํานวนที่กําหนดให้และที่ให้ หามาคูณหารกันเป็น ๓ ขั้น.
  15. หลัง ๑ : น. ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหน้าอก; ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านหน้าของ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง; ส่วนเบื้องบน เช่น หลังมือ หลังเท้า. ว. อยู่ตรงข้ามกับ ข้างหน้า, ตรงข้ามกับ ก่อน (ใช้แก่เวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว), ในลําดับถัดไป เช่น คนหลัง; ลักษณนามเรียกเรือนหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างเรือนว่า หลัง เช่น เรือนหลังหนึ่ง ศาลา ๒ หลัง.
  16. ขัดตาทัพ : ก. ยกทัพไปตั้งชั่วคราว กันไม่ให้ข้าศึกรุกลํ้าเข้ามา; (ปาก) แก้ไขไปพลาง ๆ ก่อน.
  17. บุริม- : [บุริมมะ-, บุริม-] ว. ตะวันออก; ก่อน. (ป. ปุริม; ส. ปุรสฺ + อิม).
  18. กรรมเวร : [กําเวน] น. การกระทําที่สนองผลร้ายซึ่งทําไว้แต่ปาง ก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมใน อดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวร แท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า.
  19. กว่า : [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทาง ที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
  20. ดูกร : [ดูกะระ, ดูกอน], ดูก่อน, ดูรา คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วย ให้สนใจฟัง.
  21. บรรพ- ๒, บรรพ์ : [บันพะ-, บัน] ว. ก่อน, ทีแรก, เบื้องต้น; ตะวันออก. (ป. ปุพฺพ; ส. ปูรฺว).
  22. บุพ-, บุพพ- : [บุบพะ-] ว. ก่อน, ทีแรก; เบื้องต้น, เบื้องหน้า. (ป. ปุพฺพ; ส. ปูรฺว). บุพกรรม น. กรรมที่ทําไว้แต่ปางก่อน. (ป. ปุพฺพ + ส. กรฺมนฺ; ป. ปุพฺพกมฺม).
  23. เบื้องต้น : ว. ก่อน, แรก.
  24. เพรง : [เพฺรง] ว. ก่อน, เก่า, เช่น แต่เพรงกาล.
  25. กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
  26. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  27. กติดท้อง : น. ลูกผัวเก่าที่ติดครรภ์มาก่อนจะได้กับผัวใหม่.
  28. กบเต้น : น. ชื่อเพลงไทยร้องรํา ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทํานองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากํากับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาคร่าครวญน้อยใจที่ สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดําบรรพ์).
  29. กรมท่า : [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งอยู่ในสังกัด กรมพระคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศและปกครองเมืองท่า ว. สีขาบ, สีน้าเงินแก่, เรียกว่า สีกรมท่า.
  30. กรรตุสัญญา : [กัดตุ-] น. นามที่เป็นคําร้องเรียกชื่อลอย ๆ เช่น แล้วกล่าววาจาอันสุนทร ดูก่อนกุมภกรรณยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. สญฺ?า = นาม, ชื่อ).
  31. กรสุทธิ์ : [กะระ-] น. ''การชําระมือให้หมดจด'', พิธีอย่างหนึ่งของ พราหมณ์ ก่อนที่จะประกอบพิธีใด ๆ จะต้องชำระมือให้ สะอาดเสียก่อน, กระสูทธิ์ ก็ว่า. (ส. กรศุทฺธิ).
  32. กระต่ายตื่นตูม : (สํา) น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการ ตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสํารวจให้ถ่องแท้ก่อน.
  33. กระบม : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่งทําด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก. (รูปภาพ กระบม)
  34. กระบูนเลือด : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทําให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับน้ำปูนใส หรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูก ให้แห้งสนิท. (กบิลว่าน).
  35. กระโบม ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก.
  36. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  37. กรุ ๑ : [กฺรุ] น. ห้องที่ทําไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งอื่น ๆ,โดยปริยาย หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ.
  38. กรุกกรัก : ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก). ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า. [กฺรุงขะเหฺมา] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ใบรูปสามเหลี่ยมปลายมน ผลกลม เมื่อสุกสีแดง.
  39. กรุง : [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร).
  40. กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
  41. กลอนสด : น. กลอนที่ผูกและกล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยไม่ได้คิดมาก่อน, โดยปริยายหมายความว่า ข้อความที่กล่าวขึ้นในปัจจุบัน โดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดกลอนสด.
  42. กล่อมหอ : ก. ขับร้องหรือเล่นดนตรีเพื่อให้ครึกครื้นในพิธีแต่งงาน บ่าวสาวก่อนถึงฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาว.
  43. กลียุคศักราช : น. ศักราชที่เริ่มตั้งก่อนพุทธศักราช ๒๕๕๘ ปี (กลียุคศักราชลบด้วย ๒๕๕๘ เท่ากับพุทธศักราช).
  44. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ : (สำ) ว. ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงทีเมื่อได้อย่างหนึ่ง แต่ต้องเสียอีกอย่าง หนึ่งไป ดุจเอาถั่วกับงามาคั่วพร้อมกัน กว่าจะคั่วจนถั่วสุก งาก็จะไหม้หมดไปก่อน.
  45. กอดแข้งกอดขา, กอดมือกอดตีน : ก. ประจบประแจง. ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน. น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).
  46. กะ ๔ : น. ชื่อเงื่อนชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับผูกเรือเพื่อคล้องกับที่ยึดหรือเสายึดเรือ เป็นเงื่อนที่แน่นแต่แก้ออกง่าย, ถ้าผูกเงื่อนชนิดทำห่วงไว้ก่อน เรียกว่า กะห่วง.
  47. กะติงกะแตง : ก. กุลีกุจอ เช่น พระชาลีก็ลีลาแล่นไปก่อน กะติงกะแตงต้อนรับ. (ม. กาพย์ กุมาร), กะตึงกะแตง ก็ใช้.
  48. กะริงกะเรียด : (โบ) ว. คําพ้อชนิดหนึ่งว่าทําเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย คล้ายทําก้อร่อก้อติก เช่น เป็นหญิงเจ้าแม่อา อย่าทํากะริงกะเรียด ตัวเจ้ายังน้อยสักเท่าเขียด เจ้ามาวอนแม่จะมีผัว. (มโนห์รา).
  49. กันดาล : [-ดาน] น. กลาง, ท่ามกลาง, เช่น ในกันดาลท้าวทงงหลายผู้ก่อนน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. กณฺฎาล).
  50. กามวิตถาร : [กามวิดถาน] น. การประกอบกามกิจที่ผิดปรกติวิสัย เช่น รักร่วมเพศ, การทรมานตนหรือผู้อื่นก่อนหรือในระหว่างร่วมเพศ. ว. ผิดปรกติทางเพศเช่นนั้น.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-410

(0.0887 sec)