Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้อคิดเห็น, ข้อคิด, เห็น , then ขอคด, ข้อคิด, ข้อคิดเห็น, หน, เห็น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้อคิดเห็น, 858 found, display 1-50
  1. ข้อคิดเห็น : น. ความเห็น.
  2. ข้อคิด : น. ประเด็นที่เสนอให้คิด, ประเด็นที่ชวนคิด.
  3. เห็น : ก. อาการของตาที่ประสบรูป, ปรากฏแก่ตา, ปรากฏแก่ใจ, คิดรู้.
  4. เห็นกงจักรเป็นดอกบัว : (สํา) ก. เห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง, เห็นผิดเป็นชอบ ก็ว่า.
  5. เห็นแก่ : ก. มุ่งเฉพาะเพื่อ เช่น เห็นแก่ตัว เห็นแก่พวก เห็นแก่ได้.
  6. เห็นขี้ดีกว่าไส้ : (สํา) ก. เห็นคนอื่นดีกว่าญาติพี่น้อง.
  7. เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง : (สํา) ก. ทําเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกําลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือ ประสานรัดก้น.
  8. เห็นช้างเท่าหมู : (สำ) ก. เห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจ มากกว่าไม่น่าเกรงขามในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว.
  9. เห็นผิดเป็นชอบ : ก. เห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง, เห็นกงจักร เป็นดอกบัว ก็ว่า.
  10. เห็นหน้าเห็นหลัง : ก. เห็นผลงานที่ได้ลงทุนลงแรงไป.
  11. เห็นการณ์ไกล : น. คาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้องหรือใกล้เคียง โดยอาศัยเหตุผลหรือประสบการณ์เป็นต้น, มองการณ์ไกล ก็ว่า.
  12. เห็นแก่หน้า : ก. ลําเอียงในบุคคล, มุ่งเฉพาะคน.
  13. เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น, เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสาน :
  14. เห็นชายผ้าเหลือง : (สำ) มีโอกาสได้จัดการบวชลูกหลานเป็นต้นใน พระพุทธศาสนา ถือว่าได้บุญมาก.
  15. เห็นดำเห็นแดง : ว. ถึงที่สุดจนรู้ความจริงว่าดีหรือชั่ว ผิดหรือถูก เป็นต้น.
  16. เห็นอ้ม : (ถิ่น-อีสาน) น. ชะมด. (ดู ชะมด๑).
  17. ข้อเสนอแนะ : น. ข้อคิดเห็นเชิงแนะนำที่เสนอเพื่อพิจารณา.
  18. สมมติฐาน, สมมุติฐาน : [สมมดติ, สมมุดติ] น. ข้อคิดเห็นหรือถ้อย แถลงที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย. (อ. hypothesis).
  19. กระเห็น : น. อีเห็น เช่น กระเห็นเห็นกันแล้ววิ่งมา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  20. กินน้ำเห็นปลิง : (สํา) ก. รู้สึกตะขิดตะขวงใจเหมือนจะกินน้ำเห็นปลิง อยู่ในน้ำก็กินไม่ลง.
  21. ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น : (สํา) ก. ทําสิ่งที่ไม่สมควรให้ผู้น้อยเห็น.
  22. ความเห็น : น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็น ว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
  23. เจอ, เจอะ : ก. พบ, เห็น, ประสบ, ประจวบ.
  24. ทักข์ ๒ : ก. ดู, แล, เห็น, เช่น เล็งทักข์อาทรเธอ เท่าฟ้า, เล็งทักข์ทุรเวทแล้ว เล็งดอย ดงนา. (ลํานํ้าน้อย).
  25. นึกเห็น : ก. นึกเอาเองเห็นไปต่าง ๆ นานา.
  26. พอแย้มปากก็เห็นไรฟัน : (สํา) รู้ทันกัน, พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ ก็ว่า.
  27. พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ : (สํา) รู้ทันกัน, พอแย้มปากก็เห็นไรฟัน ก็ว่า.
  28. รู้เช่นเห็นชาติ : (สํา) ก. รู้กําพืด, รู้นิสัยสันดาน, เช่น เขาชอบหักหลังคนอื่น เพื่อน ๆ รู้เช่นเห็นชาติมานานแล้ว.
  29. รู้เห็น : ก. รู้และเห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง เช่น เขาเป็นพยานที่รู้เห็น.
  30. รู้เห็นเป็นใจ : ก. รู้เห็นเหตุการณ์และให้ความร่วมมือร่วมใจด้วย เช่น เขารู้เห็นเป็นใจกับโจร.
  31. ลงความเห็น : ก. มีความเห็นร่วมกัน.
  32. ลงเนื้อเห็นด้วย : ก. เห็นพ้องด้วย.
  33. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น : ก. ผลัดกันแสดงความคิดเห็นในการ ประชุมเป็นต้น.
  34. สอดรู้, สอดรู้สอดเห็น : ก. เที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ ในทางไม่ดี) เช่น ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขาเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ.
  35. หน : น. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้ เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.
  36. ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ : (สํา) ว. ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับ ของกันและกัน.
  37. คิดเห็น : ก. เข้าใจ.
  38. นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น : (สํา) ก. ไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น, ไม่รู้อีโหน่ อีเหน่.
  39. ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้ : (สํา) ว. ด่วนทําไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร.
  40. หมาเห็นข้าวเปลือก : (สำ) น. คนที่อยากได้สิ่งที่เป็นประโยชน์หรืออำนวย ความสุขสำราญให้แก่ตน แต่สุดความสามารถที่จะเอามาใช้ หรืออำนวย ประโยชน์ให้แก่ตนได้.
  41. เห็นดีเห็นงาม : ก. คิดหรือรู้สึกคล้อยตาม.
  42. ปุษยะ, ปุสสะ, บุษย์, บุษยะ : [ปุดสะยะ, ปุดสะ, บุด, บุดสะยะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๘ มี ๕ ดวง เห็น เป็นรูปปุยฝ้าย พวงดอกไม้ ดอกบัว หรือโลง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา หรือ ดาวสิธยะ ก็เรียก. (ส. ปุษฺย; ป. ปุสฺส).
  43. พบ : ก. เห็น (ใช้แก่อาการเห็นซึ่งต่อเนื่องกับกิริยาอื่น เช่น ขุดพบ ค้นพบ ไปพบ หาพบ), ปะ, ประสบ, เจอะ, เจอ, เช่น พบเพื่อน พบอุปสรรค.
  44. ภาพ, ภาพ– : [พาบ, พาบพะ–] น. ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วน ท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึก เห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบ ไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).
  45. ภาพลวงตา : น. ภาพที่ปรากฏให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น เห็น พยับแดดเป็นนํ้า เห็นเชือกเป็นงู.
  46. มลัก : [มะลัก] ก. ลัก, ลอบ; มัก; รัก; เห็น. ว. มากเช่น รู้มลัก.
  47. แล ๑ : ก. ดู, มอง, เช่น สองตาก็ไม่อยากแล เหลียวซ้ายแลขวา, ทอดตาดู เพื่อให้รู้ให้เห็น, มักใช้เข้าคู่กับคำดู หรือ เห็น เป็น แลดู แลเห็น.
  48. หัน ๒ : (ถิ่น-พายัพ) ก. เห็น.
  49. ไหว ๆ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวหรือพลิ้วไปมา เช่น ปลาแหวกว่ายกอบัวอยู่ไหว ๆ ลมพัดธงสะบัดอยู่ไหว ๆ, อาการที่เคลื่อนไหวอย่างเห็นไม่ชัด เช่น เห็น คนร้ายวิ่งหนีเข้าไปในพงหญ้าอยู่ไหว ๆ.
  50. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา : [อะนุราด, อะนุราทะ, อะนุราทา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๗ มี ๔ ดวง เห็น เป็นรูปธนู หน้าไม้ หรือหงอนนาค, ดาวประจําฉัตร หรือ ดาวนกยูง ก็เรียก.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-858

(0.1826 sec)