Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ครองแชมป์, แชมป์, ครอง , then ครอง, ครองแชมป์, ครองา, แชมป์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ครองแชมป์, 129 found, display 1-50
  1. ครอง : [คฺรอง] ก. ปกครองรักษาโดยความเป็นใหญ่ เช่น ครองเมือง; ดํารงไว้, รักษาไว้, เช่น ครองสิกขา ครองชีพ ครองตัว; นุ่งห่ม (ใช้แก่นักบวช) เช่น ครองจีวร ครองผ้า; ถือสิทธิเป็นเจ้าของ เช่น เอาไปครองเสียหลายวัน. ครองราชสมบัติ ก. เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์.
  2. ครอบครอง : ก. ยึดถือไว้, มีสิทธิปกครอง; (กฎ) ยึดถือทรัพย์สินไว้โดย เจตนาจะยึดถือเพื่อตน อันทำให้บุคคลได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ทั้งนี้ จะยึดถือไว้เองหรือบุคคลอื่นยึดถือไว้ให้ก็ได้.
  3. ครอบครองปรปักษ์ : (กฎ) ก. ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดย ความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ บุคคลผู้ครอบครอง ปรปักษ์ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๕ ปี บุคคลนั้นได้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น.
  4. เครื่อง : [เคฺรื่อง] น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสําหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสําหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสํารับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสํารับกับแป้งเครื่องสําอาง, ของใช้ของกิน สำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย.
  5. ถวัลย์ : [ถะหฺวัน] ก. ทรง, ครอง; เจริญ. ว. ใหญ่.
  6. ยึดครอง : ก. เข้าถือสิทธิครอบครอง.
  7. ค่าครองชีพ : น. ค่าใช้จ่ายในการดํารงชีพ.
  8. คู่ครอง : น. หญิงและชายที่อยู่ร่วมกันฉันผัวเมีย; ผัวหรือเมีย.
  9. รั้ง : ก. หน่วงเหนี่ยวไว้ เช่น รั้งตัวไว้ก่อน, เหนี่ยว เช่น แขนเสื้อรั้ง, ชักมา, ใช้กําลังเต็มที่เพื่อให้สิ่งที่มีแรงต้านทานเคลื่อนเข้ามาหรือหยุดอยู่ เช่น รั้งวัวรั้งควาย; ระวัง, เฝ้า, รักษา, ครอง เช่น รั้งเมือง.
  10. ปัจจุทธรณ์ : [ปัดจุดทอน] (แบบ) น. การถอนคืน. ก. ถอนคืน (ในวินัยใช้คู่กับ อธิษฐาน ซึ่งแปลว่า ตั้งใจ เช่น อธิษฐานสบง คือตั้งใจให้เป็นสบง ครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครองก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง). (ป.).
  11. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  12. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  13. กระบวนการยุติธรรม : (กฎ) น. วิธีดําเนินการให้ความคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และให้ความเป็นธรรมในทางกฎหมายแก่บุคคล โดยบุคลากรและองค์กร หรือสถาบันต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่บริหาร งานยุติธรรม ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ทนายความ ศาลกระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์.
  14. กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
  15. กรานกฐิน : [-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึง ที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้า ให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทํา พินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่ากรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).
  16. กักตุน : ก. เก็บสินค้าไว้เป็นจํานวนมากเพื่อเก็งกําไร, ตุน ก็ว่า. (กฎ) น. มีโภคภัณฑ์ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่จําเป็นสําหรับ ใช้จ่ายส่วนตัว และไม่นําออกจําหน่ายตามวิถีทางการค้าปรกติ.
  17. กาญจนาภิเษก : น. พระราชพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินกระทำเมื่อ ครองราชสมบัติได้ ๕๐ ปี.
  18. กินตำแหน่ง : ก. ได้ครองตําแหน่ง.
  19. กินบ้านผ่านเมือง : (โบ) ก. ครองเมือง.
  20. กินเมือง : ก. ครอบครองเมือง.
  21. ของ : น. สิ่งต่าง ๆ. บ. แห่ง (ใช้สําหรับนําหน้านามที่เป็นผู้ครอบครอง).
  22. ของร้อน : น. ของที่มีผู้ขโมยเขาเอามาฝากไว้หรือจําหน่ายให้ ถ้ารับ เอาไว้จะทําให้เดือดร้อน; ของที่ผิดกฎหมาย ถ้ามีไว้ในครอบครอง จะทําให้เดือดร้อน เช่น ปืนเถื่อน ฝิ่นเถื่อน.
  23. ครบมือ : ว. มีอยู่ครบในครอบครอง (ใช้แก่อาวุธและคนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น มีอาวุธครบมือ; มีเครื่องมือเครื่องใช้อย่าง พร้อมเพรียง เช่น ช่างไม้มีอุปกรณ์ครบมือ.
  24. คฤหัสถ์ : [คะรึหัด] น. ผู้ครองเรือน, ผู้ไม่ใช่นักบวช, ฆราวาส. (ส. คฺฤหสฺถ; ป. คหฏฺ?).
  25. คลายเคล่ง : [-เคฺล่ง] (โบ; กลอน) ก. ขยายตรงออกไป, เดินตรงไป, เช่น ครองคลายเคล่งอาศรมบทนั้น. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  26. ควบคุม : ก. ดูแล, กํากับดูแล, กักขัง; (กฎ) คุมตัวหรือกักขังผู้ถูกจับโดย พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจในระหว่างสืบสวน.
  27. คอนเดนเซอร์ : (ไฟฟ้า) น. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้สําหรับเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้เป็น ปริมาณมากกว่าแผ่นตัวนําธรรมดาที่มีขนาดเท่ากัน. (อ. condenser). (ดู เครื่องควบแน่น ที่ เครื่อง).
  28. คอบ ๑ : (โบ; กลอน) ก. ครอบ, รักษา, ครอบงํา, ครอบครอง, เช่น พระเม้านอ ระเนิ้งคอบ เรียมทุกข์ เทือนี้. (หริภุญชัย).
  29. คู่สร้าง, คู่สร้างคู่สม : น. ชายหญิงที่ถือกันว่าเคยอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยา กันมาแต่ชาติก่อน, ชายหญิงที่สมเป็นคู่ครองกัน, เนื้อคู่ ก็ว่า.
  30. เครื่องเครา : (ปาก) น. เครื่อง, สิ่ง, สิ่งของ.
  31. เครื่องสำอาง : น. สิ่งเสริมแต่งหรือบํารุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม ฯลฯ ให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ว่า เครื่อง พระสําอาง; (กฎ) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความ สวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ ด้วย.
  32. เค้าสนามหลวง : (ถิ่น-พายัพ; โบ) น. สํานักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมือง ซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมือง ข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของ เมือง, เค้าสนาม ก็ว่า.
  33. ฆราวาส : [คะราวาด] น. คนผู้อยู่ครองเรือน, คนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ บรรพชิตหรือนักบวช. (ป.).
  34. จรรมขัณฑ์ : น. ท่อนหนัง, แผ่นหนัง, เช่น ทรงครองอชินจรรมขัณฑ์เป็น เครื่องคลุม. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ส.; ป. จมฺม + ขณฺฑ).
  35. จับจอง : (กฎ) ก. เข้าครอบครองที่ดินสาธารณะไว้เพื่อตน.
  36. จุลวงศ์ : [จุนละ-] น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีต่อจากมหาวงศ์ ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าสิริเมฆวรรณจนถึงลังกาถูกอังกฤษยึดครอง.
  37. เจ้าของ : น. (กฎ) ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน; ผู้มีสิทธิครอบครอง ใช้สอย เก็บผลประโยชน์ และจําหน่ายทรัพย์สิน.
  38. เจ้าบ้าน : (กฎ) น. บุคคลผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้านในฐานะเป็น เจ้าของผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน.
  39. เจ้าฟ้า : น. สกุลยศสำหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาซึ่งพระมารดา เป็นพระราชธิดาหรือพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์; เรียกเจ้าผู้ครอง แคว้นไทยถิ่นอื่น เช่น เจ้าฟ้าเชียงตุง.
  40. เจ้าหลวง : น. เจ้าผู้ครองประเทศราชฝ่ายเหนือ.
  41. ฉาก : น. เครื่องบังหรือเครื่องกั้น มีหลายชนิด ใช้ตั้ง แขวน หรือพับได้, เครื่อง ประกอบเวทีละครเพื่อให้ดูสมจริงตามเนื้อเรื่อง เช่น ฉากป่า ฉากเมือง; เครื่องสําหรับวัดมุมซึ่งมี ๙๐ องศา, มุมซึ่งกางได้ ๙๐ องศา เรียกว่า มุมฉาก, ลักษณนามเรียกตอนย่อยของละครในองก์หนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่งของละคร ที่เปิดม่านหน้าเวทีครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ละคร ๓ ฉาก.
  42. ชีพ, ชีพ : [ชีบ, ชีบพะ] น. ชีวิต เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์; ความ เป็นอยู่, ความดำรงชีวิตอยู่ เช่น ค่าครองชีพ. (ป., ส. ชีว).
  43. ดรรชนี ๒ : [ดัดชะนี] (คณิต) น. จํานวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจํานวนหนึ่งซึ่ง เรียกว่า ฐาน เพื่อแสดงการยกกําลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็นดรรชนี ของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดรรชนีค่าครองชีพ; ดัชนี ก็ใช้. (อ. index number). ดรรชนีหักเห (แสง) น. ดรรชนีหักเหระหว่างตัวกลางคู่หนึ่งที่แสงผ่าน คือ อัตราส่วนระหว่างไซน์ของมุมตกกระทบของแสงในตัวกลางหนึ่ง ต่อไซน์ของมุมหักเหของแสงในอีกตัวกลางหนึ่ง, ดัชนีหักเห ก็ใช้. (อ. refractive index).
  44. ดัชนี ๒ : [ดัดชะนี] (คณิต) น. จำนวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจำนวนหนึ่งซึ่ง เรียกว่า ฐานเพื่อแสดงการยกกำลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็นดัชนีของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดัชนีค่า ครองชีพ; ดรรชนี ก็ใช้. (อ. index number).
  45. ดาวดึงส์ : [ดาววะ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือ จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี มีพระอินทร์เป็นผู้ครอง. (ป. ตาวต??ส; ส. ตฺรยสฺตฺร??ศตฺ).
  46. ดุษิต, ดุสิต : น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๔ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหา ราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตว สวัตดี, มีท้าวสันดุสิตเป็นผู้ครอง. (ส. ตุษิต; ป. ตุสิต).
  47. ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ : (สํา) ก. ให้รู้จักพิจารณาลักษณะบุคคลหรือ ผู้หญิงที่จะเลือกเป็นคู่ครอง, ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ก็ว่า.
  48. ตรัยตรึงศ์ : [ไตฺรตฺรึง] น. ดาวดึงส์, สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้นที่พระอินทร์ครอง. (ส. ตฺรยสฺตฺรึศตฺ; ป. เตตฺตึส ว่า สามสิบสาม).
  49. ถือบ้านถือเมือง : ก. ครองเมือง.
  50. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-129

(0.1383 sec)