Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ครอบงำ .

Eng-Thai Lexitron Dict : ครอบงำ, more than 7 found, display 1-7
  1. domineer : (VT) ; ครอบงำ ; Related:ควบคุม ; Syn:dominate, tyrannize
  2. domineering : (ADJ) ; ครอบงำ ; Related:ควบคุม
  3. dwell in : (PHRV) ; ครอบงำ
  4. obsess : (VT) ; ครอบงำ ; Related:ฝังแน่นอยู่ในจิตใจ ; Syn:possess, haunt
  5. obsess with/by : (PHRV) ; ครอบงำ ; Related:สิง
  6. outweigh : (VT) ; ครอบงำ ; Syn:overshadow, override
  7. overmaster : (VT) ; ครอบงำ
  8. Eng-Thai Lexitron Dict : ครอบงำ, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : ครอบงำ, 8 found, display 1-8
  1. ครอบงำ : (V) ; dominate ; Related:overpower, reign, overshadow, override, predominate ; Syn:ครอบครอง, เข้าครอง ; Def:มีอำนาจเหนือบังคับให้เป็นไปตาม ; Samp:ความชั่วร้ายเข้าครอบงำผู้ที่อ่อนแอได้สำเร็จเสมอ
  2. เงื้อมมือ : (N) ; control ; Related:influence, clutch, power ; Syn:อำนาจ, อิทธิพล, อำนาจครอบงำ ; Def:อำนาจที่ครอบงำจะไม่ให้หลุดพ้นไปได้ ; Samp:หลายคนที่เกี่ยวข้องกับคดีเพชรซาอุฯพ้นเงื้อมมือของกฎหมายไปได้
  3. จักรวาลวิทยา : (N) ; cosmology ; Def:วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องจักรวาล ; Samp:แนวคิดทางธรรมชาติและจักรวาลวิทยาของคริสตศาสนาได้ครอบงำการศึกษาในสมัยกลาง
  4. จุดวิกฤติ : (N) ; critical point ; Syn:ขั้นวิกฤติ ; Def:ขั้นอันตรายที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่ออาจเป็นไปในทางดีหรือทางร้ายก็ได้ ; Samp:สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของคนไทยถึงจุดวิกฤติภายใต้การครอบงำของรัฐบาล ; Unit:จุด
  5. ชนชั้นล่าง : (N) ; working class ; Related:lower level, labourer ; Syn:ชนชั้นแรงงาน, ชนชั้นกรรมาชีพ ; Ant:ชนชั้นนำ ; Def:กลุ่มคนที่มีสถานะด้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ ในสังคม ทั้งในด้านการศึกษา สถานะทางเศรษฐกิจ หน้าที่ หรือตำแหน่งในสังคม ; Samp:ในสังคมแบบเอเชีย ผู้ปกครองจะมีอำนาจครอบงำชนชั้นล่างอย่างเด็ดขาด
  6. ซ้ายจัด : (ADJ) ; ultra-Left ; Related:Left, having radical view in politics ; Def:พวกที่ยึดถือลัทธิสังคมนิยม ; Samp:ฝ่ายที่รู้จักกันในนามว่า พวกเผด็จการซ้ายจัด ได้มามีบทบาทในฐานะครอบงำอีกแล้ว
  7. ฝ่ายอักษะ : (N) ; axis ; Related:axis powers, the Axis ; Ant:ฝ่ายพันธมิตร, ฝ่ายสัมพันธมิตร ; Def:กลุ่มประเทศอันประกอบด้วย เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่นที่ร่วมเป็นแกนร่วมรบกับกลุ่มประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ; Samp:ในระยะก่อนที่เพริล ฮาร์เบอร์จะถูกโจมตี ฝ่ายอักษะได้มีอิทธิพลครอบงำทรัพย์สินทางการเงินของสหรัฐอเมริกา
  8. ลัทธิทุนนิยม : (N) ; capitalism ; Def:ลัทธินิยมที่แต่ละบุคคลมีสิทธิ์ที่จะถือครองทรัพย์สินและควบคุมกรรมวิธีการผลิตได้โดยตรง ; Samp:ขณะนี้เศรษฐกิจโลกถูกครอบงำด้วยลัทธิทุนนิยม ทำให้การแข่งขันกันมีระดับความรุนแรงมากขึ้น

Royal Institute Thai-Thai Dict : ครอบงำ, 2 found, display 1-2
  1. ครอบงำ : ก. มีอํานาจเหนือ บังคับให้เป็นไปตาม เช่น กิเลสครอบงํา.
  2. เข้าสิง : ก. อาการที่เชื่อกันว่าผีเข้าแทรกอยู่ในตัวคน เช่น เขาถูกผีเข้าสิง, โดยปริยายหมายความว่าครอบงำ เช่น เขาถูกผีการพนันเข้าสิง.

Budhism Thai-Thai Dict : ครอบงำ, 10 found, display 1-10
  1. ภาวนา : การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ 1.การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง คือ ๑.สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ ๒.วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง, อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ ๑.จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ ๒.ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์ 2.การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ ๑.บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือเกิดอุปจารสมาธิ ๓.อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือเกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน 3.ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็น การท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆ ให้ขลัง ก็มี
  2. มาร : 1.สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ คือ ๑.กิเลสมาร มารคือกิเลส ๒.ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ ๓.อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม ๔.เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร ๕.มัจจุมาร มารคือความตาย 2.พระยามารที่มีเรื่องราวปรากฏบ่อยๆ ในคัมภีร์ คอยมาแทรกแซงเหตุการณ์ต่างๆ ในพุทธประวัติ เช่น ยกพลเสนามาผจญพระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์ชนะพระยามารได้ด้วยทรงนึกถึงบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา มารในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านอธิบายออกชื่อว่าเป็นสวัตดีมาร ซึ่งครองแดนหนึ่งในสวรรค์ชั้นสูงสุด แห่งระดับกามาวจรคือปรนิมิตวสวัตดี เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้มิให้ล่วงพ้นจากแดนกามซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเทียบจากมาร ๕ ในความหมายที่ 1.ด้วย
  3. โลกธรรม : ธรรมที่มีประจำโลก, ธรรมดาของโลก, ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลก และสัตว์โลกก็เป็นไปตามมัน มี ๘ อย่าง คือ มีลาภ ไม่มีลาภ มียศ ไม่มียศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์
  4. โลกิยวิมุตติ : วิมุตติที่เป็นโลกีย์ คือความพ้นอย่างโลกๆ ไม่เด็ดขาด ไม่สิ้นเชิง กิเลสและความทุกข์ยังกลับครอบงำได้อีก ได้แก่วิมุตติ ๒ อย่างแรกคือ ตทังควิมุตติ และ วิกขัมภนวิมุตติ ดู วิมุตติ, โลกุตตรวิมุตติ
  5. วสวัดดี : ชื่อพระยามาร เป็นเทพในสวรรค์ชั้นสูงสุดแห่งระดับกามาวจร เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไม่ให้ล่วงพ้นจากแดนกาม ซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน ดู มาร 2เทวปุตตมาร
  6. วสวัตดี : ชื่อพระยามาร เป็นเทพในสวรรค์ชั้นสูงสุดแห่งระดับกามาวจร เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไม่ให้ล่วงพ้นจากแดนกาม ซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน ดู มาร 2เทวปุตตมาร
  7. สติปัฏฐาน : ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่าง ๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ ๑.กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย ๒.เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา, ๓.จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต ๔.ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม; เรียกสั้น ๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม
  8. อโยนิโสมนสิการ : การทำในใจโดยไม่แยบคาย, การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา, ความไม่รู้จักคิด, การปล่อยให้อวิชชาตัณหาครอบงำ; เทียบ โยนิโสมนสิการ
  9. อินทรีย์ : ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น 1) อินทรีย์ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 2) อินทรีย์ ๕ ตรงกับ พละ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกันนี้ เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ คือ เรียกชื่อว่า พละ โดยความหมายว่า เป็นกำลังทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้ เรียกชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่าเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างคือความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ
  10. อินทรียสังวร : สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ, ระวังไม่ให้กิเลสครอบงำใจในเวลารับรู้อารมณ์ทางอินทรีย์ทั้ง ๖ (ข้อ ๑ ในอปัณณกปฏิปทา ๓, ข้อ ๒ ในปาริสุทธิศีล ๔, ข้อ ๒ ในองค์แห่งภิกษุใหม่ ๕)

ETipitaka Pali-Thai Dict : ครอบงำ, more than 5 found, display 1-5
  1. พลียติ : ก. มีกำลัง, มีกำลังเหนือ, ครอบงำ
  2. อชฺฌารุหติ : ก. งอกขึ้น, ไต่ขึ้น, บินขึ้น; ท่วมทับ, ครอบงำ, แผ่ไป
  3. อชฺโฌตฺถรติ : ก. ท่วมทับ, ครอบงำ, ปกคลุม
  4. อติยาติ : ก. เข้าไป, ชนะ, ครอบงำ
  5. อติวตฺต : ค. เป็นไปล่วง, ครอบงำ
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : ครอบงำ, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ครอบงำ, 3 found, display 1-3
  1. ครอบงำ : ปริยาทาติ, อภิภวติ
  2. ครอบงำทุกข์ : ทุกฺขปเรต
  3. ผู้ครอบงำ : มรณาภิภูผ

(0.0259 sec)