Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ครุ , then คร, ครุ, ครู .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ครุ, 141 found, display 1-50
  1. ครุ : [คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตําราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มี ตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ?แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ? แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).
  2. ครุ : [คะรุ] น. ครู. (ป. ครุ, คุรุ, ว่า ครู; ส. คุรุ ว่า ครู).
  3. ครุ : [คฺรุ] น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปกลม ๆ เหมือนกะลาตัด ยาชัน มีหูหิ้ว ใช้ตักน้ำ.
  4. ครุกรรม : [คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุ ฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็น ครุกรรมฝ่ายอกุศล.
  5. ครุกาบัติ : [คะรุกาบัด] น. อาบัติหนัก ได้แก่ อาบัติปาราชิก เมื่อภิกษุ ต้องอาบัติปาราชิก ถือว่าขาดจากความเป็นภิกษุทันที แม้กลับมาบวช ใหม่ก็ไม่เป็นภิกษุ.
  6. ครึม, ครึมครุ : [คฺรึม, คฺรึมคฺรุ] น. ป่าทึบ, ป่ารก.
  7. บังคับครุ : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มี เสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกด และไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระ สั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อํา ใอ ไอ เอา เช่น รํา ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน.
  8. ฉันท- ๑, ฉันท์ ๑ : [ฉันทะ] น. ชื่อคําประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคํา ครุ ลหุ เป็นแบบ ต่าง ๆ. (ป.).
  9. ลหุ : [ละ–] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัว สะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย ? แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ?แทน.
  10. วรรณพฤติ : หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ.
  11. วรรณศิลป์ : น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับ ยกย่องว่าแต่งดี. [วันนะ] น. พรรณนา, การกล่าวถ้อยคําให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา). [วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียง หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ. น. ผู้เขียน, ผู้ประพันธ์; เลขานุการ. (ส. วรฺณิก). [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. (ส. วรฺธก ว่า ผู้ทําให้เจริญ; ป. วฑฺฒก). [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ส. วรฺธน; ป. วฑฺฒน). [วัด] น. พรรษ, ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส). [วัดสา] น. พรรษา, ฤดูฝน; ปี. (ส.). [วะรันยู] น. ''ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ'' คือ พระพุทธเจ้า. (ป.). (แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.). น. หญิงผู้ประเสริฐ. (ส.). น. หมู. (ป., ส.). น. พระพิรุณ, เทวดาแห่งนํ้า, เทวดาแห่งฝน. (ส.). ดู วร.[วะรูถะ] (แบบ) น. การป้องกัน, ที่ป้องกัน, ที่พัก, เครื่องป้องกัน, เกราะ, โล่. (ส.).
  12. ครู ๑ : [คฺรู] น. ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์. (ป. ครุ, คุรุ; ส. คุรุ).
  13. ฐานียะ : (แบบ) ว. ควรแก่ตําแหน่ง, ตั้งอยู่ในฐานะ, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น ครุฐานียะ ว่า ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู. (ป.).
  14. กม ๒ : (โบ) ก. กุม เช่น เกลือกเจ้าแม่มาคิดคม ครุบคั้นกินกม บไว้บวางตัวตู. (เสือโค).
  15. กะโกระ : [-โกฺระ] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ภาชนะชนิดหนึ่งสานด้วยใบเตย รูปร่างคล้ายครุ.
  16. กุมารลฬิตา : [กุมาระละลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๒ คณะ คือ ช คณะ และ ส คณะ และเติมครุข้างท้ายอีก ๑ คำ หรือ ๑ พยางค์ จึงมีบาทละ ๗ คำ หรือ ๗ พยางค์ (ตามแบบว่า กุมารลฬิตาชฺสฺคา) ตัวอย่างว่า อนึ่งนุชมีจิต สนิทกรุณะเปรมปรี ดิสวามิมะนะภักดี ภิบาลบมิอนาทร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  17. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  18. ครุก- : [คะรุกะ-] (แบบ) ว. หนัก เช่น ครุกาบัติ ว่า อาบัติหนัก. (ป.).
  19. ครุ : [คฺรุด] น. พญานกในเทพนิยาย เป็นพาหนะของพระนารายณ์, ใช้เป็น ตราแผ่นดินและเครื่องหมายทางราชการ. (ส.; ป. ครุฬ).
  20. งวง ๑ : น. จมูกของช้างที่ยื่นยาวออกไป ตรงปลายมีจะงอยสําหรับจับของอย่างมือ, เรียกจั่นมะพร้าวและช่อดอกเพศผู้ของตาลเพื่อเตรียมทํานํ้าตาล, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งวงครุ งวงผีเสื้อ; ลมชนิดหนึ่งเมื่อเริ่มเกิด จะเห็นเป็นลํายื่นลงมาจากใต้ฐานเมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ถ้ามีกําลังแรง มาก ลํานี้จะยาวลงมามากเรียกว่า ลมงวง, ลมงวงช้าง ก็เรียก; ตัวลำยองที่ทำ เป็นงวงเกี่ยวอยู่ตรงแปงวง.
  21. จญ : (โบ; กลอน) ก. ประจญ, สู้รบ, เช่น คือนาคจญครุทธสรงง วิ่งเว้น. (ยวนพ่าย). (ข. ชล่).
  22. ธาตุมมิสสา : [ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสําแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุข เสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตํารากลอน).
  23. บังคับ : น. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อํานาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ใน ฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้ อํานาจสั่งให้ทําหรือให้ปฏิบัติ; ให้จําต้องทํา เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.
  24. พอน ๒ : ว. สีเหลืองนวล, เรียกชันชนิดหนึ่งที่มีสีอย่างนั้น สําหรับใช้พอนเรือ เป็นต้นว่า ชันพอนหรือ ลาพอน. ก. ยาด้วยชันเป็นต้นให้เรียบ เช่น พอนครุ พอนกะโล่.
  25. มาตราพฤติ : น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยมาตรา คือ กําหนดคําในฉันท์ แต่ละคําเป็นมาตราส่วน เช่น คําครุ กําหนดเป็นความยาวของเสียง ๒ มาตรา คําลหุ กําหนดเป็นความยาวของเสียง ๑ มาตรา.
  26. ลายไพรกลม : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานซ่อน ซวง ไซปากครุ เป็นต้น โดยใช้ตอกกลม ๓ เส้นขัดตอกไขว้กันโดยมี ตอกซังเป็นเส้นยืน เว้นระยะห่างเท่า ๆ กันสานตอกข่ม ๒ เส้น ยก ๑ เส้น จะเกิดเป็นลายพันกันเป็นเกลียวไปตามเส้นตอกซังทุกเส้น.
  27. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  28. อินทรวงศ์ : [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีสําเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คํา วรรคหลังมี ๗ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลัง เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคํา สุดท้ายของวรรคที่ ๓ เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช).
  29. อินทรวิเชียร : [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คํา วรรคหลังมี ๖ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับ สัมผัสกับคําสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคํา สุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคําที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช), แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น (รูปภาพ สัมผัส)
  30. ครู ๒ : [คะรู] (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).
  31. ขึ้นครู : ก. ทําพิธีคํานับครูที่ประสาทวิชาให้เมื่อแรกเรียน.
  32. ครอบครู : น. พิธีตั้งครูโขนเพื่อให้ผู้นั้นสามารถเป็นผู้ครอบศิษย์ต่อไป.
  33. ครู่ ๑ : [คฺรู่] น. เวลาชั่วขณะหนึ่ง เช่น เวลาชั่วครู่.
  34. แคร่ ๑ : [แคฺร่] น. ที่สําหรับนั่งหรือนอนโดยมากมีรูปสี่เหลี่ยม มักทําด้วยฟาก หรือไม้ไผ่ซี่ ๆ ถักติดกันเป็นต้น ไม่มีขา ยกไปได้, บางชนิดทําเสาเป็น เครื่องรองรับก็มี เรียกรวม ๆ ทั้งหมดว่า แคร่, บางชนิดใช้วางบนคานหาม สําหรับหามไป, ใช้แก่เจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, บางชนิดใช้วางบนเรือ เรียกว่า แคร่เรือ; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แคร่สำหรับวางเครื่องยนต์. (รูปภาพ แคร่คานหาม)
  35. แคร่ ๒ : [แคฺร่] น. ส่วนบนของเครื่องพิมพ์ดีดที่เลื่อนไปมาได้ ใช้สอดกระดาษ สำหรับพิมพ์.
  36. ใคร่ : [ไคฺร่] ก. อยาก, ต้องการ, ปรารถนา, ใฝ่; ใช้เป็นคำช่วยกริยาแสดงการ ขอร้องอย่างสุภาพ เช่น ใคร่ขออนุญาตดำเนินการ.
  37. จีนแส : น. หมอ, ครู, ซินแส ก็ว่า. (จ. ซินแซ).
  38. ซินแส : น. หมอ, ครู, จีนแส ก็ว่า. (จ.).
  39. ศิกษก, ศิกษกะ : [สิกสก, สิกสะกะ] น. ผู้เล่าเรียน; ครู, ผู้สอน; ผู้รู้. (ส.).
  40. ศิษย์มีครู : (สำ) น. คนเก่งที่มีครูเก่ง.
  41. บรมครู : น. คำที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ.
  42. ศิษย์คิดล้างครู : (สำ) น. ศิษย์เนรคุณที่มุ่งคิดจะทำลายล้าง ครูบาอาจารย์.
  43. ไหว้ครู : ก. ทำพิธีแสดงความเคารพสักการบูชาครูบาอาจารย์ด้วยความ สำนึกในพระคุณของท่าน.
  44. คระ ๑ : [คฺระ] คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี คร- เป็นพยัญชนะต้น ในบทกลอน มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำคำ หรือเป็นพหูพจน์ เช่น คระคราง (หมายความว่า ครางคราง) คระครึ้ม (หมาย ความว่า ครึ้มครึ้ม) คระโครม (หมายความว่า โครมโครม).
  45. คุรุ : น. ผู้สั่งสอน, ครู. (ป., ส.).
  46. ประจำ : ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจํา นั่งประจํา; เฉพาะ เช่น ตราประจํากระทรวง ตราประจําตําแหน่ง; ที่กําหนดให้มีเป็น ปรกติ เช่น งานประจําปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใด เส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจําทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่ สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า ครู หรืออาจารย์ประจําชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและ จะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจําตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้าง ไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจํา, เรียกผู้ที่มาติดต่อ หรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจํา ขาประจํา, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝาก ครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้ แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทําตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจํา, มัดจํา ก็ว่า.
  47. ยาม, ยาม : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
  48. รีบเร่ง : ก. อาการที่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เร็วขึ้นกว่าปรกติ เช่น ครู รีบเร่งตรวจข้อสอบให้เสร็จ. ว. เร็วขึ้นกว่าปรกติ เช่น เขาทำงาน อย่างรีบเร่งเพื่อให้ได้งานมากขึ้น.
  49. ศิษย, ศิษย์ : [สิดสะยะ, สิด] น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้ว นับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน. (ส.).
  50. อลิงค์, อลึงค์ : (ไว) น. เพศของคําที่ไม่ปรากฏชัดลงไปว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง เช่น คน ครู นักเรียน ข้าราชการ สุนัข แมว. (ส. อลิงฺค).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-141

(0.0569 sec)