Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเห็น, เห็น, ความ , then ความ, ความเห็น, หน, เห็น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเห็น, 3903 found, display 1-50
  1. ความเห็น : น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็น ว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
  2. ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
  3. เห็น : ก. อาการของตาที่ประสบรูป, ปรากฏแก่ตา, ปรากฏแก่ใจ, คิดรู้.
  4. มุติ : [มุ-ติ] น. ความรู้สึก, ความเห็น, ความเข้าใจ. (ป.).
  5. ลงความเห็น : ก. มีความเห็นร่วมกัน.
  6. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น : ก. ผลัดกันแสดงความคิดเห็นในการ ประชุมเป็นต้น.
  7. เจตภูต : [เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษา สันสกฤตว่าอาตมัน เรียกในภาษาบาลีว่า ''อัตตา'' ก็มี ''ชีโว'' ก็มี, มีอยู่ ในลัทธิว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้น ทรุดโทรมไป, ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกําเนิด อื่นสืบไป ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็น ว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าว กันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.
  8. ทิฐิ : [ทิดถิ] น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด; ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก. (ป. ทิฏฺ??; ส. ทฺฤษฺฏิ).
  9. มโนทุจริต : [มะโนทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่าง ได้แก่ ความโลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความพยาบาท ๑ ความเห็น ผิดจากทำนองคลองธรรม ๑.
  10. สมานคติ : [สะมานะ] น. การดําเนินอย่างเดียวกัน, การมี ความเห็น พ้องกัน. (ส.).
  11. อัตโนมัติ : [อัดตะ] น. ความเห็นส่วนตัว, ความเห็นโดยลําพังตน, เช่นในคําว่า อัตโนมัตยาธิบาย คือ อธิบายตามความเห็นของตน. (ป. อตฺตโน ว่า ของตน + มติ ว่า ความเห็น). ว. เป็นไปได้ในตัวเอง, ทําหน้าที่ได้ใน ตัวเอง, มีกลไกทําหน้าที่ได้เอง, เช่น นาฬิกาอัตโนมัติ. (อ. automatic).
  12. ข้อคิดเห็น : น. ความเห็น.
  13. ญาณทัสนะ : [ยานะทัดสะนะ, ยานนะทัดสะนะ] (แบบ) น. ความรู้ ความเห็น. (ป.).
  14. วาท, วาท : [วาด, วาทะ] น. คําพูด, ถ้อยคํา; ลัทธิ, ความเห็น. (ป., ส.).
  15. ทรรศนะ : [ทัดสะนะ] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทัศนะ ก็ใช้. (ส. ทรฺศน; ป. ทสฺสน).
  16. ทฤษฎี : [ทฺริดสะดี] น. ความเห็น; การเห็น, การเห็นด้วยใจ; ลักษณะที่คิดคาด เอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์ หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ. (ส.; ป. ทิฏฺ??). (อ. theory).
  17. ทัศน-, ทัศน์, ทัศนะ, ทัศนา : [ทัดสะนะ-, ทัด, ทัดสะ-] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. (ป. ทสฺสน; ส. ทรฺศน).
  18. มติ : [มะติ] น. ความเห็น, ความคิดเห็น, เช่น ที่ประชุมลงมติ มติของข้าพเจ้า, ความรู้; ข้อวินิจฉัยญัตติที่เสนอต่อที่ประชุม. (ป., ส.).
  19. ลัทธิ : น. คติความเชื่อถือ ความคิดเห็น และหลักการ ที่มีผู้นิยมนับถือและ ปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา เช่น ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิชาตินิยม ลัทธิ ทุนนิยม. (ป. ลทฺธิ ว่า ความเห็น, ความได้).
  20. อิจฉา : [อิด] ก. เห็นเขาได้ดีแล้วไม่พอใจ อยากจะมีหรือเป็นอย่างเขาบ้าง (มีความหมายเบากว่า ริษยา). (ป., ส. อิจฺฉา ว่า ความอยาก, ความ ต้องการ, ความปรารถนา).
  21. เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง : (สํา) ก. ทําเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกําลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือ ประสานรัดก้น.
  22. ภาพ, ภาพ– : [พาบ, พาบพะ–] น. ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วน ท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึก เห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบ ไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).
  23. ภาพลวงตา : น. ภาพที่ปรากฏให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น เห็น พยับแดดเป็นนํ้า เห็นเชือกเป็นงู.
  24. อนุสัย : น. กิเลสที่สงบนิ่งอยู่ในสันดาน, กิเลสอย่างละเอียด มี ๗ อย่าง ได้แก่ ๑. กามราคะ = ความกำหนัดในกาม ๒. ปฏิฆะ = ความ ขัดใจคือโทสะ ๓. ทิฏฐิ = ความเห็นผิด ๔. วิจิกิจฉา = ความลังเล สงสัย ๕. มานะ = ความถือตัว ๖. ภวราคะ = ความกำหนัดในภพ ๗. อวิชชา = ความไม่รู้แจ้งคือโมหะ. (ป. อนุสย; ส. อนุศย).
  25. มากหมอมากความ : (สํา) ว. หลายคนก็มีความเห็นแตกต่างกัน เป็นหลายอย่างจนตกลงกันไม่ได้.
  26. รู้เห็นเป็นใจ : ก. รู้เห็นเหตุการณ์และให้ความร่วมมือร่วมใจด้วย เช่น เขารู้เห็นเป็นใจกับโจร.
  27. ความคิด : น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
  28. ความชอบ : น. คุณงามความดีที่ควรได้รับบําเหน็จรางวัล.
  29. ความเป็นความตาย : น. เรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ เป็นความเป็นความตายของชาติ.
  30. ความมุ่งหมาย : น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
  31. ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
  32. ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด : (สํา) ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ ให้เป็นประโยชน์.
  33. ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
  34. ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
  35. เห็นกงจักรเป็นดอกบัว : (สํา) ก. เห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง, เห็นผิดเป็นชอบ ก็ว่า.
  36. เห็นแก่ : ก. มุ่งเฉพาะเพื่อ เช่น เห็นแก่ตัว เห็นแก่พวก เห็นแก่ได้.
  37. เห็นขี้ดีกว่าไส้ : (สํา) ก. เห็นคนอื่นดีกว่าญาติพี่น้อง.
  38. เห็นช้างเท่าหมู : (สำ) ก. เห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจ มากกว่าไม่น่าเกรงขามในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว.
  39. เห็นดำเห็นแดง : ว. ถึงที่สุดจนรู้ความจริงว่าดีหรือชั่ว ผิดหรือถูก เป็นต้น.
  40. เห็นผิดเป็นชอบ : ก. เห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง, เห็นกงจักร เป็นดอกบัว ก็ว่า.
  41. เห็นหน้าเห็นหลัง : ก. เห็นผลงานที่ได้ลงทุนลงแรงไป.
  42. ความโน้มถ่วง : น. กิริยาที่แรงดึงดูดของโลกกระทําต่อเทหวัตถุ. (อ. gravitation).
  43. ความหลัง : น. เรื่องราวในอดีต.
  44. เห็นการณ์ไกล : น. คาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้องหรือใกล้เคียง โดยอาศัยเหตุผลหรือประสบการณ์เป็นต้น, มองการณ์ไกล ก็ว่า.
  45. เห็นแก่หน้า : ก. ลําเอียงในบุคคล, มุ่งเฉพาะคน.
  46. เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น, เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสาน :
  47. เห็นชายผ้าเหลือง : (สำ) มีโอกาสได้จัดการบวชลูกหลานเป็นต้นใน พระพุทธศาสนา ถือว่าได้บุญมาก.
  48. เห็นอ้ม : (ถิ่น-อีสาน) น. ชะมด. (ดู ชะมด๑).
  49. ปริญญา : [ปะรินยา] น. ความกําหนดรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบ; ชั้นความรู้ขั้น มหาวิทยาลัยซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามที่กําหนดไว้, ถ้า ประสาทแก่ผู้ทรงวิทยาคุณหรือผู้มีเกียรติตามที่เห็นสมควร เรียกว่า ปริญญากิตติมศักดิ์. (ป.; ส. ปริชฺ?า).
  50. หนังสือพิมพ์ : น. สิ่งพิมพ์ข่าวและความเห็นเป็นต้นเสนอประชาชน ตาม ปรกติออกเป็นรายวัน; (กฎ) สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออก หรือเจตนาจะออกตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3903

(0.2484 sec)