Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ค้ำ , then คำ, ค้ำ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ค้ำ, 713 found, display 1-50
  1. ค้ำ : ก. เอาไม้ง่ามเป็นต้นยันไว้เพื่อไม่ให้ทรุด ไม่ให้ล้มหรือไม่ให้เข้ามา.
  2. ค้ำเงิน : (กฎ; โบ) ก. คํ้าประกันเงินกู้, พระไอยการลักษณะกู้หนี้เรียก บุคคลซึ่งคํ้าประกันเงินกู้ว่า ผู้คํ้าเงิน.
  3. ค้ำประกัน : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้คํ้าประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น.
  4. ไม้ค้ำโพธิ์ : น. ไม้สำหรับค้ำกิ่งโพธิ์ ทำด้วยไม้จริงหรือไม้ไผ่ ปลายมีง่าม นิยมหุ้มผ้าแดงและผ้าขาว.
  5. รากค้ำ : น. รากของพืชบางชนิด เช่น โกงกาง ข้าวโพด เตย ที่งอกออก มาเพื่อค้ำพยุงลำต้น.
  6. ผู้ค้ำประกัน : น. ผู้ให้คำรับรองต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ ไม่ชำระหนี้นั้น; (กฎ) ผู้ที่ทำสัญญาผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ เพื่อชำระ หนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น.
  7. วงเงิน : น. จํานวนเงินที่กําหนดไว้เพื่อทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ค้ำ ประกันในวงเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซื้อของได้ในวงเงิน ๑,๐๐๐ บาท เท่านั้น.
  8. หนักใจ : ก. วิตก เช่น เขาหนักใจในการสอบครั้งนี้. ว. ลําบากใจ เช่น เขารู้สึกหนักใจที่ต้องไปค้ำประกันลูกของเพื่อน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักอก เป็น หนักอกหนักใจ.
  9. กราน ๒ : [กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคําอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า ค้ำ, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลําพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
  10. ขันโตก : (ถิ่น-พายัพ) น. ภาชนะทําด้วยไม้กลึง ไม้ไผ่สาน หวาย หรืออย่าง เครื่องเขิน ส่วนบนลักษณะคล้ายถาด ส่วนล่างเป็นตีนลักษณะเป็น วงแหวนมีขนาดเล็กกว่าถาดส่วนบน โดยมีซี่ไม้ลูกมะหวดประมาณ ๖ ซี่ปักที่ตีนค้ำถาดไว้ ใช้สำหรับใส่อาหารเป็นต้น, โตก หรือ สะโตก ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
  11. แขนนาง ๒ : น. เครื่องค้ำยันชายคาเรือนเครื่องสับ ทำด้วยไม้หรือเหล็ก.
  12. คำ ๒ : น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือ บาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอกจําพวกของเคี้ยว ของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
  13. จรอก ๑ : [จะหฺรอก] (กลอน) น. ทาง, ทางแคบ, ทางเล็ก, ตรอก, ซอก, เช่น มาคะคล้าย โดยทาง ถับถึงกลางจรอกปู่. (ลอ), บ้างก็นั่งในท่าน้ำบ้างก็ค้ำกันไปนั่งในจรอก. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จฺรก).
  14. ตอม่อ : น. เสาขนาดสั้น มักใช้ไม้ไผ่ปักขึ้นสำหรับรับรอดในเรือนเครื่องผูก, ส่วนบนของฐานรากที่รองรับโครงสิ่งก่อสร้าง, เสาตอม่อ ก็ว่า, โดยปริยาย หมายถึงมีรูปร่างล่ำเตี้ย เช่น เตี้ยม่อต้อเหมือนตอม่อค้ำยุ้ง; เสาชาน เสาแคร่ หรือเสาช่วยค้ำจุนเรือนโดยปักแนบกับเสาเรือน, เสาตอม่อ หรือ เสาหมอ ก็ว่า; ใช้ว่า ตะม่อ ก็มี. (รูปภาพ ตอม่อ)
  15. บานกระทุ้ง : น. บานหน้าต่างที่ปิดงับและเปิดค้ำขึ้นได้.
  16. ผู้บริโภค : (กฎ) น. ผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ และ หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบ ธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการด้วย; ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะ ผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้กู้ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้เข้าทำสัญญาอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน บริการหรือประโยชน์อื่นใดโดยมีค่า ตอบแทน ทั้งนี้ การทำสัญญานั้นต้องเป็นไปโดยมิใช่เพื่อการค้า ทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใดนั้นและหมายความรวมถึง ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกันของบุคคลดังกล่าวซึ่งมิได้ กระทำเพื่อการค้าด้วย. (อ. consumer).
  17. พังก๊ำ : น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่จักเป็นเส้น สานควบกับ เส้นปอเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีกรอบทั้ง ๔ ด้าน ใช้ทำเป็นฝากั้นล้อม หรือเป็นแผงหน้าบ้านหรือหน้าต่างสำหรับค้ำยันให้ปิดเปิดได้.
  18. ไม้เส้า : น. ไม้ยาวสำหรับยื่นไปช่วยคนตกน้ำในเวลาเรือพระประเทียบล่ม, ไม้กระทุ้งให้จังหวะในเรือดั้งในกระบวนพยุหยาตรา; ไม้ยาวสำหรับสอยหรือค้ำ; ไม้ยาวสำหรับชูเพนียดนกต่อขึ้นบนต้นไม้; ไม้ส้าว ก็ว่า.
  19. ยัน ๑ : ก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้า ยันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพ ยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยัน เปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.
  20. รถถ่อ : น. ยานพาหนะชนิดหนึ่งสำหรับเจ้าหน้าที่การรถไฟใช้ถ่อค้ำยัน ให้แล่นไปบนรางรถไฟ.
  21. หับเผย : ก. ปิดงับและเปิดคํ้าขึ้นได้. น. โรงเรือนที่มีลักษณะด้านหน้า ปิดงับหรือเปิดค้ำขึ้นได้.
  22. คำ ๑ : น. ทองคํา เช่น หอคำ เชียงคำ.
  23. คำกร่อน : (ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็น อักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออก เสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระ โครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็น เสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
  24. คำขึ้นต้น : น. คำใช้เขียนขึ้นต้นจดหมายถึงผู้รับตามฐานะของผู้รับ แต่ละคน เช่น นมัสการ ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงพระภิกษุ เรียน ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงบุคคลธรรมดา; คำใช้ขึ้นต้นสำหรับ ร้อยกรองบางประเภท เช่น บัดนั้น เมื่อนั้น ครานั้น สักวา.
  25. คำเทียบ : น. แบบสอนอ่านที่แจกตามรูปตามมาตรา ก กา กง กน ฯลฯ เช่น ก กา กิ กี ฯลฯ ป็นคำเทียบของแม่ ก กา กง กัง กาง กิง ฯลฯ เป็น คำเทียบของแม่ กง.
  26. คำโท : (ฉันทลักษณ์) น. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่า คำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น ข้า คว้า แล้ว.
  27. คำบอกกล่าว : (กฎ) น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจาไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนอง ในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับ จำนอง, การส่งตั๋วแลกเงินที่เขาไม่รับรองคืน ก็ถือว่า เป็นการให้คำ บอกกล่าวอย่างหนึ่ง.
  28. คำประสาน : น. คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประกอบกัน อาจเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้ ๒ คำมาประกอบกัน เช่น ชดช้อย ครื้นเครง หรือเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้คำหนึ่งประกอบกับคำที่เกิดอิสระได้ อีกคำหนึ่ง เช่น ชาวไร่ อ่อนช้อย, คำผสาน ก็เรียก.
  29. คำผวน : น. คำที่พูดทวนกลับได้ เช่น ตกที่อิฐ ผวนเป็น ติดที่อก.
  30. คำผสาน : ดู คำประสาน.
  31. คำเผดียงสงฆ์ : น. ญัตติ, คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจ ของสงฆ์ร่วมกัน.
  32. คำพ้องความ : น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือ ใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า.
  33. คำพ้องรูป : น. คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.
  34. คำพ้องเสียง : น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมี ความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์.
  35. คำพิพากษาฎีกา : (กฎ) น. คำพิพากษาของศาลฎีกา.
  36. คำสร้อย : น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ.
  37. คำคู่ความ : (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่น ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
  38. คำดีควาย : ดู กระดูกค่าง.
  39. คำบังคับ : (กฎ) น. คําสั่งของศาลซึ่งออกเพื่อสั่งให้คู่ความหรือบุคคล ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง.
  40. คำประสม : น. คําที่เกิดจากการนําคํามูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คํา ขึ้นไปมาประสมกันแล้วกลายเป็นคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมา อีกคําหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า.
  41. คำปรารภ : น. คํากล่าวแสดงความดําริที่จัดพิมพ์หนังสือนั้น.
  42. คำพิพากษา : (กฎ) น. คําวินิจฉัยชี้ขาดของศาลในประเด็นแห่ง คดีที่ฟ้องต่อศาล.
  43. คำเพลิง : [-เพฺลิง] น. ปืน. (ข. กําเภลิง).
  44. คำเมือง : น. ภาษาถิ่นของคนในถิ่นพายัพของประเทศไทย.
  45. คำสกรรถ : ดู สกรรถ.
  46. คำสุภาพ : (ฉันทลักษณ์) น. คําที่ไม่ผันด้วยวรรณยุกต์ทั้ง ๔.
  47. กลับคำ : ก. พูดแล้วไม่เป็นตามพูด, ไม่ทำตามที่พูดไว้, พูดแล้วเปลี่ยนคำพูด.
  48. ฉีกคำ : ก. แยกพยางค์ของคำให้อยู่คนละวรรคหรือคนละบรรทัด มักใช้ใน คำประพันธ์.
  49. ผิดคำพูด : ว. ไม่รักษาคำพูด, ผิดวาจา ก็ว่า.
  50. ภาษาคำควบมากพยางค์ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการประกอบ หน่วยคำหลาย ๆ หน่วยเข้าเป็นคำเดียวกัน ทำให้คำหนึ่ง ๆ มีความยาว หลายพยางค์ เช่น ภาษาเวลส์ ภาษาเอสกิโม ภาษาอินเดียนแดง. (อ. polysynthetic language).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-713

(0.1036 sec)