Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จืด , then จด, จืด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จืด, 205 found, display 1-50
  1. จืด : ว. มีรสไม่เค็มไม่เปรี้ยวเป็นต้น เช่น นํ้าจืด ไข่จืด; ไม่เข้ม เช่น หน้าจืด, ไม่ฝาด เช่น หมากจืด, ไม่ฉุน เช่น ยาจืด; ไม่สนุก, ไม่ครึกครื้น, เช่น งานนี้จืด; หมด เช่น อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน. (ตะเลงพ่าย).
  2. กาบน้ำจืด : ดู กาบ.
  3. ทูน้ำจืด : ดู นวลจันทร์ทะเล.
  4. หน้าจืด : ว. มีสีหน้าซีดหรือไม่เข้มคม.
  5. เดาะ ๑ : ก. โยนสิ่งของขึ้นแล้วเอาไม้หรือมือตีรับให้กระท้อนขึ้น. ว. ร้าวจวนจะหัก เช่น ไม้คานเดาะ แขนเดาะ; เติมลงนิดหน่อยเพื่อให้คุณภาพเด่นขึ้น เช่น จืด ไปเดาะเกลือลงไปหน่อย; (ปาก) โดยปริยายใช้เรียกผู้ที่กําลังจะดี แต่กลับมี ข้อบกพร่องเสียกลางคัน, ใช้เป็นคําแทนกริยาหมายความว่า ทําแปลกกว่า ธรรมดาสามัญ เช่น ร้อนจะตายเดาะเสื้อสักหลาดเข้าให้.
  6. นิโรช : [นิโรด] (แบบ) ว. ไม่มีรส, ไม่อร่อย, จืด. (ป.).
  7. กด ๒ : น. (๑) ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลัง ตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตน้ำกร่อย เช่น กดแดง หรือ กดหัวโม่ง (A. caelatus) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเล หรือ ริวกิว (A. thalassinus), ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต (K. typus), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ (H. borneensis). (๒) ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล Mystus วงศ์ Bagriidae ลักษณะทั่วไปคล้ายกด (๑) เช่น กดเหลือง ชงโลง หรือ กดขาว (M. nemurus) กดคัง (M. wyckii).
  8. กดเหลือง : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Mystus nemurus ในวงศ์ Bagriidae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไปแม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก.
  9. กร่อย : [กฺร่อย] ว. ไม่จืดสนิทหรือไม่หวานสนิท เพราะมีรสเค็มเจือ, โดยปริยายหมายความว่า หมดรสสนุกหรือหมดความ ครึกครื้น เช่น การแสดงที่ไม่สนุกทำให้คนดูรู้สึกกร่อย.
  10. กระด้าง ๒ : น. ชื่องูน้ำชนิด Erpeton tentaculatum ในวงศ์ Colubridae ลําตัวสีน้ำตาลและดํา มีหนวดสั้นหุ้มด้วยเกล็ดเล็ก ๆ ๒ เส้น อาศัยตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป มีพิษอ่อนมาก ไม่ปรากฏว่าเป็น อันตรายต่อมนุษย์ ชอบทําตัวแข็งทื่อ จึงเรียกว่า งูกระด้าง.
  11. กระดี่ ๑ : น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Anabantidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ (T. trichopterus) ข้างตัวมีลายหลายเส้น พาดขวาง มีจุดดําที่กลางลําตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง (T. microlepis) สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้า หรือ กระดี่มุก (T. leeri) พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด.
  12. กระทิง ๓ : น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้าย ปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่น้ำลําคลอง และที่ลุ่ม มีหลายชนิดในประเทศไทย ที่พบทั่วไป ได้แก่ ชนิด M. armatus, M. favus และกระทิงไฟ (M. erythrotaenia) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
  13. กระทุงเหว : น. ชื่อปลาผิวน้ำทุกชนิดในวงศ์ Belonidae และ Hemirhamphidae ลําตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือ เฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมาก น้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล บางชนิดพบอาศัยอยู่ในน้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง (Xenentodon cancila) ส่วนใหญ่พบใน เขตน้ำกร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemirhamphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongylura และ Zenarchopterus ชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง (Ablennes hians) ซึ่งมีชุกชุมที่สุด, เข็ม ก็เรียก.
  14. กระมัง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Puntioplites proctozysron ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้นแข็งแรงและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลําตัวเป็นสีขาว, เหลี่ยม ก็เรียก.
  15. กระสง : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Channa lucius ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและ แอ่นงอนขึ้นเล็กน้อย มีลายพาดขวางลําตัวข้างละ ๗-๑๒ แถบ ทุกครีบมีจุดประหรือริ้วสีดํา.
  16. กระสูบ : น. ชื่อปลาน้ำจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาแก้มช้า แต่ลําตัวเพรียวและโตกว่าชนิดแรกคือ กระสูบขาว (Hampala macrolepidota) มักมีลายดําพาดขวางที่บริเวณลําตัว ใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดงขอบบนและล่างสีดํา ขนาดยาวถึง ประมาณ ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด (H. dispar) ลําตัวมีจุดดําอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่า และไม่มีแถบสีดํา ตัวยาวเต็มที่ไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก.
  17. กระแห, กระแหทอง : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Puntius schwanenfeldii ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างป้อมคล้ายปลาตะเพียนทอง มักมีสีแดงอ่อนบนครีบ เฉพาะส่วนปลายของครีบหลังและ ขอบบนล่างของครีบหางมีสีดํา, ตะเพียนหางแดง หรือ เลียนไฟ ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ลำปำ.
  18. กระโห้ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Catlocarpio siamensis ในวงศ์ Cyprinidae หัวโต เกล็ดใหญ่ ลําตัวด้านหลัง สีเทาดํา หางและครีบสีแดงคล้ำหรือส้ม พบใน แม่น้ำใหญ่หลายสายของประเทศไทย เคยพบ ขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร นับเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่มากในจําพวกปลามีเกล็ดด้วยกัน, กระมัน หรือ หัวมัน ก็เรียก.
  19. กระอาน : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อเต่าน้ำกร่อยชนิด Batagur baska ในวงศ์ Emydidae สามารถปรับตัวอยู่ในน้ำจืดได้ พบเฉพาะทางภาคใต้, กะอาน ก็เรียก.
  20. กราย ๑ : [กฺราย] น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Notopterus chitala ในวงศ์ Notopteridae หัวและลําตัวแบนข้างมาก สันหัวแอ่นลง ท้องเป็นสันคม ครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง ซึ่งเล็กและมีขอบกลม บริเวณเหนือครีบก้นมีจุดสีดํา ๕-๑๐ จุด เรียง เป็นแถวตามยาว ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, ตองกราย หรือ หางแพน ก็เรียก.
  21. กริม : [กฺริม] น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กในสกุล Trichopsis วงศ์ Anabantidae พบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลากัด ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่า และสีไม่สดสวย มักมีแถบสีเข้มพาดตลอดข้างตัว ๒-๓ แถบ ที่พบมากได้แก่ กริมข้างลาย (T. vittatus), กัดป่า ก็เรียก.
  22. กัด ๒ : น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด Betta splendens ในวงศ์ Anabantidae ทํารังเป็นหวอดที่ผิวน้ำ ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย มีสีสวยงาม สามารถกางครีบและแผ่นปิดเหงือก เปล่งสีลำตัว ให้เข้มขึ้น ในขณะต่อสู้มักกัดกัน จึงเรียกว่า ปลากัด.
  23. กา ๒ : น. ชื่อปลาน้าจืดชนิด Morulius chrysophekadion ในวงศ์ Cyprinidae ปากงุ้มต่า ตาเล็ก ตลอดทั้งหัว ตัว และครีบมีสีม่วงจนดําทึบ เฉพาะเกล็ดมีจุดสีเหลืองประปราย, เพี้ย ก็เรียก.
  24. ก้าง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Channa gachua ในวงศ์ Channidae คล้ายปลาช่อนหรือปลากระสงซึ่งเป็นปลาสกุลเดียวกัน เว้นแต่ปลาก้างนั้นเกล็ดข้างตัวมีราว ๔๑-๔๕ เกล็ด ขอบครีบต่าง ๆ เป็นสีส้ม, ขี้ก้าง ก็เรียก.
  25. กาบ ๒ : น. ชื่อหอยน้ำจืดกาบคู่หลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Unionidae และ Amblemidae เปลือกบางหรือหนาแล้วแต่ชนิดและวัย มีหลายขนาด ผิวนอกเป็นสีเขียวคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม ด้านในเป็นมุก เช่น ชนิด Chamberlainia hainesiana, กาบน้ำจืด ก็เรียก.
  26. กาบกี้ : น. ชื่อหอยน้ำจืดกาบคู่ชนิด Uniandra contradens ในวงศ์ Amblemidae เป็นหอยกาบขนาดกลาง, กี ก็เรียก.
  27. ก้ามกราม : น. ชื่อกุ้งน้ำจืดชนิด Macrobrachium rosenbergii ในวงศ์ Palaemonidae ตัวโต เปลือกสีครามปนเขียว ก้ามสีฟ้า มีหนาม วางไข่ในน้ำกร่อย, กุ้งหลวง ก็เรียก, เพศเมียเรียก กุ้งนาง.
  28. ก้ามเกลี้ยง : น. ชื่อกุ้งน้ำจืดชนิด Macrobrachium sintangense ในวงศ์ Palaemonidae ตัวเล็กกว่ากุ้งก้ามกราม ก้ามเล็กเรียบไม่มีหนาม.
  29. กุ้ง ๑ : น. ชื่อสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีหลายวงศ์ หายใจด้วยเหงือก ลําตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและ อกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๘ ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี ๑๐ ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม มีหลายชนิด เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งนาง กุ้งฝอย กุ้งหลวง กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน.
  30. กุ้งดีด, กุ้งดีดขัน : น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Alpheus ในวงศ์ Alpheidae มีก้ามใหญ่ ๒ ข้าง โดยมีก้ามข้างหนึ่งโตกว่า สามารถงับก้ามทําให้เกิดเสียงดังโดยเฉพาะ เมื่อกระทบขันเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า กุ้งดีดขัน พบอาศัย หลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อย ยกเว้นชนิด Alpheus microrhynchus ที่พบอยู่ในน้ำจืดด้วย, กระเตาะ ก็เรียก.
  31. กุ้งฝอย : น. ชื่อกุ้งตัวเล็ก ๆ มีหลายชนิด ที่พบในทะเล คือ ชนิด Penaeopsis avirostris ในวงศ์ Penaeidae ที่พบในน้ำจืด คือ สกุล Caridina และ สกุล Atyopsis ในวงศ์ Atyidae และชนิด Macrobrachium lanchesteri ในวงศ์ Palaemonidae.
  32. กุ้งแห : น. ชื่อกุ้งขนาดกลางชนิด Macrobrachium equidens ในวงศ์ Palaemonidae ก้ามมีปื้นสีเข้ม อาศัยอยู่ในย่านน้ำกร่อย พบบ้างในน้ำจืดหรือชายทะเล.
  33. แก้มช้ำ : น. ชื่อปลาน้าจืดชนิด Puntius orphoides ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลําตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยช้ำ สุดแผ่นปิดเหงือกดํา โคนครีบหางมีจุดสีดํา พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดํา มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก.
  34. ขม ๓ : น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Viviparidae เปลือกขนาดประมาณ เท่าหัวแม่มือ ยอดแหลม สีเขียวหรือดํา ออกลูกเป็นตัว มีหลายชนิด เช่น ชนิด Filopaludina sumatrensis, F. doliaris.
  35. ขยุย ๒ : [ขะหฺยุย] น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Akysis macronemus ในวงศ์ Akysidae รูปร่างคล้ายปลาแขยง ไม่มีเกล็ด มีหนวด, สามเขี้ยว ก็เรียก.
  36. ขวาน ๒ : [ขฺวาน] น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบคู่ชนิดหนึ่งในสกุล Corbicula วงศ์ Corbiculidae กาบคล้ายรูปสามเหลี่ยม ผิวเรียบ พบตามแม่นํ้า และทะเลสาบทั่วไป.
  37. ข้าวเม่า ๒ : น. ชื่อปลาทะเลและปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล Ambassis วงศ์ Ambassidae หรือมีผู้รวมไว้กับวงศ์ Centropomidae เป็นปลาขนาด เล็ก ลําตัวแบนข้าง ค่อนข้างใส ก้านครีบแข็ง แหลม และมักชี้กาง ทําให้ทิ่มตําเมื่อจับต้อง ยังพบมีผู้เรียกปลาทะเลชนิด Ephippus orbis ในวงศ์ Ephippidae Chela วงศ์ Cyprinidae ว่า ปลาข้าวเม่า ด้วย.
  38. ขี้ขม : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Osteochilus hasselti ในวงศ์ Cyprinidae เกล็ด ข้างตัวมีจุดสีดําจนเห็นเรียงกันเป็นลายตามยาว ๖-๘ เส้น ที่โคนครีบ หางมีจุดสีดําใหญ่ ครีบต่าง ๆ สีแดงส้ม เฉพาะครีบอกสีเขียวอ่อน พบทั้งในแหล่งนํ้านิ่งและนํ้าไหลทั่วทุกภาคของประเทศไทย ขนาดยาว ได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ซ่าสร้อยนกเขา นกเขา หรือ พรหมหัวเหม็น ก็เรียก.
  39. ขี้ยอก : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Mystacoleucus marginatus ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างทั่วไปคล้ายปลาตะเพียน เว้นแต่มีหนามแข็งยื่นจากต้นครีบหลัง ออกไปข้างหน้า, ชื่อนี้เรียกกันเฉพาะในเขตแม่นํ้าปิงเท่านั้น ในเขต แม่นํ้าน่านเรียก หนามไผ่, ปักษ์ใต้เรียก หญ้า.
  40. เข็ม ๓ : น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Dermogenys pusillus ในวงศ์ Hemirhamphidae ปากล่างยื่นยาวแหลม ลําตัวกลมเรียวยาวคล้ายเข็ม ขอบหางกลม ยาวไม่เกิน ๘ เซนติเมตร ออกลูกเป็นตัว พบว่ายตาม ผิวนํ้าในแหล่งนํ้านิ่งทั่วไป. (๒) ดู กระทุงเหว.
  41. แขยง ๑ : [ขะแหฺยง] น. ชื่อปลานํ้าจืดแทบทุกชนิดในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ ครีบหลังตอนแรกมีก้านครีบแข็ง หยักเป็นหนามคม เช่นเดียวกับครีบอก ตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมันลักษณะเป็นแผ่นเนื้อ ขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับชนิดของปลา ครีบก้นสั้น รูปร่างคล้ายปลากด แต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น แขยงหิน (Leiocassis siamensis) แขยงใบข้าว (Mystus cavasius) แขยงธง หรือ แขยงหมู (Heterobagrus bocourti) แขยงวัง หรือ แขยงหนู (Bagroides macropterus).
  42. โข่ง ๑ : น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Ampullariidae เปลือกสีเขียวคลํ้ามีขนาด เท่าหัวแม่มือจนถึงกําปั้น เวียนเป็นวง ยอดสั้น วงสุดท้ายค่อนข้างกลม มีหลายชนิดในสกุล Pila เช่น ชนิด P. ampullacea, P. polita.
  43. คางเบือน : น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ดชนิด Belodontichthys dinema ในวงศ์ Siluridae รูปร่างคล้ายปลาค้าว เว้นแต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ปากเชิดขึ้น จะงอยปากสั้น ครีบหลังเล็ก ครีบอกใหญ่ ลําตัวแบนข้างมาก หลังกว้าง ลําตัวโดยเฉพาะด้านหลังสีเทาอมเขียว ข้างท้องสีเงิน มีชุกชุมตามแหล่งนํ้าใหญ่ทั่วไป, เบี้ยว อ้ายเบี้ยว หรือ ขบ ก็เรียก.
  44. ค้าว : น. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือน ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๑-๑.๕ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทาง หาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว (Wallagonia attu) และ ค้าวดํา คูน ทุกอีชุก อีทุก หรือ อีทุบ (W. miostoma) ซึ่งมีหนวดยาว กว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก.
  45. แค้ : น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ชนิด Bagarius bagarius ในวงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่หนวดแบน ตาเล็ก ลําตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มสีนํ้าตาลแก่พาดขวาง เป็นระยะอยู่บนหลัง ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้า สายใหญ่ ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร, ตุ๊กแก ก็เรียก.
  46. งวงช้าง ๒ : น. ชื่องูนํ้าจืดชนิด Acrochordus javanicus ในวงศ์ Colubridae ตัวนิ่ม เกล็ดเป็นตุ่ม ๆ อาศัยตามแหล่งนํ้าจืดทั่วไป หากินปลาในนํ้า แต่มัก ขดนอนตามโพรงตลิ่งที่แฉะ ๆ ไม่มีพิษ.
  47. จระเข้ : [จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณ ป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของ รูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้ เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้า มีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.
  48. จาด ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tor stracheyi ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็ก ลําตัวยาว เกล็ดใหญ่ คล้ายปลาเวียนในสกุลเดียวกัน แต่ส่วนกลางของ ริมฝีปากบนไม่มีแผ่นเนื้อ ลําตัวสีเงิน ด้านหลังสีเขียวเข้ม อาศัยอยู่ใน แหล่งนํ้าสะอาดใกล้ต้นนํ้า เป็นปลาขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๑ เมตร, โพ ก็เรียก.
  49. จิ้มฟันจระเข้ : น. ชื่อปลาทะเลและนํ้าจืดทุกชนิดในวงศ์ Syngnathidae ปากยื่นเป็นท่อ ลําตัวหน้าตัดเป็นเหลี่ยมแต่ยาวเรียวมาก ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกัน เป็นเหลี่ยมเป็นข้อ ครีบต่าง ๆ มีขนาดเล็ก เฉพาะครีบท้องไม่มี ตัวผู้ทํา หน้าที่ฟักไข่โดยเก็บไว้บริเวณหน้าท้อง ลําตัวมักมีสีนํ้าตาล อาจมีลาย สีเข้มพาดขวาง ที่พบในนํ้าจืดได้แก่ ชนิด Microphis boaja ส่วนในทะเล ได้แก่ชนิดในสกุลต่าง ๆ เช่น Doryrhamphus, Corythoichthys, Trachyramphus.
  50. เจ้าฟ้า ๒ : น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด Phricotelphusa sirindhorn ในวงศ์ Potamidae กระดองและขาก้ามสีขาว เบ้าตาและขาสีม่วงอมดำ อาศัยอยู่บริเวณ น้ำตกตามซอกหินบนภูเขาระดับสูง พบในจังหวัดระนอง ราชบุรี และเพชรบุรี.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-205

(0.0698 sec)