Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชนิด , then ชนด, ชนิด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชนิด, 3195 found, display 1-50
  1. ชนิด : [ชะ] น. อย่าง เช่น มี ๒ ชนิด, จําพวก เช่น คนชนิดนี้.
  2. เช่น : น. อย่าง, ชนิด, เช่น รู้เช่นเห็นชาติ เช่นนี้ เช่นใด. ว. เหมือน, ใช้นําหน้าคําประสมได้ แปลว่า อย่าง เช่น เช่นนี้ ว่า อย่างนี้, เช่นใด ว่า อย่างใด.
  3. กระทรวง ๑ : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  4. จำพวก : น. พวก, ประเภท, ชนิด, หมู่, เหล่า.
  5. ชาติ ๑, ชาติ ๑ : [ชาด, ชาติ, ชาดติ] น. การเกิด เช่น ชาตินี้ ชาติหน้า; กําเนิด เช่น มีชาติมีสกุล; เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาติเสือ ชาติขี้ข้า; ชนิด, จําพวก, ชั้น, หมู่; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิมหรือหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น คชาชาติ มนุษยชาติ. (ป., ส.).
  6. เภท : น. การแบ่ง, การแตกแยก, การทำลาย, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส, เช่น สามัคคีเภท สังฆเภท; ส่วน, ภาค; ความแตกต่าง, ความแปลก; ชนิด, อย่าง. ก. แตก, หัก, ทําลาย, พัง. (ป., ส.).
  7. วัณณะ : (แบบ) น. สี, ผิว; ชนิด, อย่าง. (ป.; ส. วรฺณ). (ดู วรรณ, วรรณะ).
  8. กระดูกอึ่ง : น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด Dendrolobium triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งต่ำซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่ว เป็นข้อ ๆ ใช้ทํายาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคําผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก; ชนิด D. lanceolatum (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ, กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่ ก็เรียก; และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง.
  9. กระท่อมขี้หมู : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล Mitragyna วงศ์ Rubiaceae ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ชนิด M. diversifolia (Wall. ex G. Don) Havil. ใบยาวรีเล็ก, กระทุ่มนา หรือ ตุ้มแซะ ก็เรียก; ชนิด M. rotundifolia (Roxb.) Kuntze ใบกลม โคนใบเว้า ขนาดใหญ่กว่าชนิดแรก, กระทุ่มขี้หมู กระทุ่มหมู หรือ ตุ้มกว้าว ก็เรียก.
  10. กำลังช้างเผือก : น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Hiptage วงศ์ Malpighiaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ใบเดี่ยว ค่อนข้างกลมมน ขอบหยักตื้น ๆ ออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาวอมชมพู ชนิด H. bengalensis Kurz เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง, โนรา ก็เรียก; ชนิด H. candicans Hook.f. เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก, พญาช้างเผือก ก็เรียก.
  11. ขมิ้นเครือ : น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในวงศ์ Menispermaceae เช่น ชนิด Arcangelisia flava (L.) Merr., Fibraurea tinctoria Lour. ทั้ง ๒ ชนิดใช้ทํายาได้, ชนิด หลัง กําแพงเจ็ดชั้น ก็เรียก.
  12. ฉนาก : [ฉะหฺนาก] น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่ในสกุล Pristis วงศ์ Pristidae เป็น ปลากระดูกอ่อน จัดอยู่ในอันดับ Rajiformes มีเหงือก ๕ คู่อยู่ใต้ส่วนหัว บริเวณปลายสุดของหัวมีแผ่นกระดูกยื่นยาวมาก ขอบทั้ง ๒ ข้างมีซี่กระดูก แข็งคล้ายฟันเรียงห่างกันอย่างสม่าเสมอข้างละ ๑ แถวโดยตลอด ชนิด P. cuspidatus มี ๒๓-๓๕ คู่, ชนิด P. microdon มี ๑๗-๒๐ คู่.
  13. ทอง ๒ : น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Butea วงศ์ Leguminosae ชนิด B. monosperma (Lam.) Kuntze เป็นไม้ต้น ดอกสีแสด, ทองธรรมชาติ ก็เรียก, พายัพเรียก ทองกวาว, อีสานเรียก จาน; ชนิด B. superba Roxb. เป็นไม้เถา, ทองเครือ หรือ ตานจอมทอง ก็เรียก.
  14. ทาก ๒ : น. ชื่อหอยกาบเดี่ยวหลายชนิด หลายวงศ์ ในชั้น Gastropoda เช่น ชนิด Achatina fulica วงศ์ Achatinidae มีเปลือกหุ้มตัว, ชนิด Limax flavus วงศ์ Limacidae ตัวแบนยาว มีเปลือกเล็กแบนมาก ไม่หุ้มตัว ทั้ง ๒ ชนิดอยู่บนบก.
  15. บุ้งขัน : น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในสกุล Ipomoea วงศ์ Convolvulaceae ทอดเลื้อยตามหาดทรายชายทะเล, ชนิด I. asarifolia Roem. et Schult. ดอกสีม่วง ใบมีขน ต้นและใบใช้แก้พิษแมงกะพรุน, ชนิด I. tuba G. Don ดอกสีขาว ใบเกลี้ยง ทั้ง ๒ ชนิด เรียก ผักบุ้งขัน.
  16. ใบเงิน : น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Graptophyllum และ Pseuderanthemum วงศ์ Acanthaceae คือ ชนิด G. pictum (L.) Griff. ใบสีเขียว กลางใบ ด่างขาว ช่อดอกสั้น ดอกสีม่วงแดง; ชนิด P. albomarginatum Radlk. ใบสีเขียว ขอบขาว ช่อดอกยาว ดอกสีขาวกลางดอกมีประสีม่วงชมพู; และชนิด P. atropurpureum Griff. สีใบและช่อดอกเหมือนชนิดที่สอง แต่ดอกสีชมพูอมม่วง.
  17. ประการ : น. อย่าง เช่น จะทําประการไร, ชนิด เช่น หลายประการ; ทํานอง, แบบ, เช่น ด้วยประการฉะนี้. (ส. ปฺรการ; ป. ปการ).
  18. ปลาแดง : น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ด มีหนวด ในสกุล Kryptopterus วงศ์ Cyprinidae เป็นพวกปลาเนื้ออ่อนที่ไม่มีครีบหลัง ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากกว้างเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันแหลม ลําตัวด้านหลังสีนํ้าตาล แดง ด้านข้างสีอ่อนกว่าจนเป็นสีขาวที่ท้อง เช่น ชนิด K. apogon ชะโอน เนื้ออ่อน นํ้าเงิน หรือ นาง ก็เรียก, ชนิด K. bleekeri นาง หรือ สะงั่ว ก็เรียก.
  19. ปลาบ ๒ : [ปฺลาบ] น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Commelinaceae เช่น ชนิด Commelina benghalensis L. ดอกสีนํ้าเงิน, ชนิด Cyanotis axillaris Roem. et Schult. ดอกสีม่วง, ชนิด Murdannia nudiflora Brenan ดอกสีม่วงอ่อน.
  20. ผกากรอง : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Lantana วงศ์ Verbenaceae เช่น ชนิด L. camara L. ลําต้นตรง กิ่งสี่เหลี่ยมมีหนามเล็กห่าง ๆ ดอกเป็นกระจุกสีชมพู หรือ แดงอมเหลือง ปลูกเป็นไม้ประดับ และแพร่พันธุ์จนเป็นวัชพืชในบางท้องที่, ก้ามกุ้ง ก็เรียก, ชนิด L. sellowiana Link. ลําต้นเลื้อย กิ่งไม่มีหนาม ดอกสีม่วง, ผกากรองเลื้อย ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นไม้ต่างประเทศ; ชนิด L. trifolia L. ขึ้นในป่าโปร่งระดับสูงทางภาคเหนือ ลําต้นกลม ดอกสีม่วง.
  21. พรรณ : [พัน] น. สีของผิว; ชนิด เช่น พรรณพืช พรรณไม้ พรรณสัตว์. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  22. ลาน ๒ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Corypha วงศ์ Palmae คล้ายต้นตาล ใบใช้จารหนังสือ ทําหมวก เป็นต้น เช่น ชนิด C. umbraculifera L. ปลูกตามวัด, ชนิด C. lecomtei Becc. ขึ้นในป่าดิบ. ว. สีเหลืองนวล อย่างใบลาน เรียกว่า สีลาน.
  23. ลำแพน ๑ : น. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Sonneratia วงศ์ Sonneratiaceae คือ ชนิด S. alba Smith ขึ้นตามชายทะเล, ชนิด S. griffithii Kurz และ S. ovata Backer ขึ้นอยู่ตอนในของป่าชายเลน.
  24. หนอนตายหยาก : น. (๑) ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Stemona วงศ์ Stemonaceae ชนิด S. collinsae Craib เป็นไม้เถาล้มลุก, กะเพียดช้าง หรือ ปงช้าง ก็เรียก; ชนิด S. tuberosa Lour. เป็นไม้ล้มลุก ต้นตั้งตรง ขึ้นเป็นกอเตี้ย, กะเพียด หรือ กะเพียดหนู ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรากอวบคล้ายรากกระชาย ใช้ เป็นยาฆ่าแมลงและทํายาพอกแผลกําจัดหนอน. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Clitoria macrophylla Wall. ในวงศ์ Leguminosae รากคล้าย ๒ ชนิด แรกแต่โตกว่า ดอกสีขาว, อัญชันป่า ก็เรียก.
  25. หมาป่า : น. ชื่อหมาหลายชนิดในวงศ์ Canidae มีถิ่นกําเนิดเกือบทั่วทุก ภูมิภาคของโลก ขนลําตัวมีสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาลเทา เทาปนแดง ฟันและ เขี้ยวคมมาก นิสัยดุร้าย ส่วนใหญ่หากินเป็นฝูง กินเนื้อสัตว์ เช่น ชนิด Canis vulpes พบในทวีปอเมริกาเหนือ, ชนิด Chrysocyon brachyurus พบในทวีปอเมริกาใต้, ชนิด Canis lupus พบในทวีปยุโรป, ชนิด Fennecus zerda พบในทวีปแอฟริกา, หมาจิ้งจอก (Canis aureus) และหมาใน (Cuon alpinus) พบในทวีปเอเชีย.
  26. หมามุ่ย, หมามุ้ย : น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Mucuna วงศ์ Leguminosae ฝักมีขนคัน มาก เช่น ชนิด M. gigantea DC. ฝักแบนใหญ่, ชนิด M. pruriens DC. ฝักกลม ขนาดเล็กกว่าชนิดแรก.
  27. หูหนู : น. (๑) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Auricularia วงศ์ Auriculariaceae ขึ้นบน ขอนไม้ ดอกเห็ดเป็นแผ่นวุ้น สีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลดํา กินได้ เช่น ชนิด A. polytricha (Mont.) Sacc. สีนํ้าตาลอมม่วง นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก, ชนิด A. delicata (Fr.) P. Henn. สีนํ้าตาลอ่อนอมเหลือง เนื้อบางนิ่มยืดหยุ่น, ชนิด A. fuscosuccinea (Mont.) Farlow สีนํ้าตาลดํา เนื้อกรอบกรุบ. (๒) จอกหูหนู.
  28. ก้นปล่อง : น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae มีหลายชนิด ที่พบเป็นสามัญเช่น ชนิด A. minimus ยุงเหล่านี้เวลาเกาะ หรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่าง ของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ตัวเมียมีรยางค์ที่ปากยาวออกมา ๑ คู่ เช่นเดียวกับตัวผู้ ทําให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก ตัวเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนําโรคมาสู่คน และสัตว์ เช่น โรคมาลาเรีย ตัวผู้กินน้ำหรือน้ำหวานจากดอกไม้.
  29. กรอก ๒ : น. ชื่อนกยางขนาดเล็กในวงศ์ Ardeidae ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) หัวสีน้ำตาลแดง หลังสีเทา อมดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa) หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาอมดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลา.
  30. กระจง : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Tragulidae ที่เล็กที่สุด รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวแหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย (Tragulus napu) สูงราว ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก (T. javanicus) สูงราว ๒๕ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. (มลายู กันจิล).
  31. กระจอก ๑ : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Passeridae ตัวลาย มี ๔ ชนิด ชนิดที่มีชุกชุมอาศัยตามชายคาบ้านเรือน เรียก กระจอกบ้าน (Passer montanus) อีก ๓ ชนิด คือ กระจอกตาล (P. flaveolus) กระจอกป่าท้องเหลือง (P. rutilans) และกระจอกใหญ่ (P. domesticus).
  32. กระจาบ : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Ploceidae มี ๓ ชนิด คือ กระจาบธรรมดา หรือ กระจาบอกเรียบ (Ploceus philippinus) กระจาบอกลาย (P. manyar) ทำรังด้วยหญ้าห้อยอยู่กับกิ่งไม้หรือพืชน้ำ ปากรัง อยู่ด้านล่าง และ กระจาบทอง (P. hypoxanthus) ทํารังด้วยหญ้า โอบหุ้มกิ่งไม้หรือใบพืชน้ำ ปากรังอยู่ด้านล่าง มักอยู่รวมกันเป็นหมู่ กินเมล็ดพืช.
  33. กระเจา : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Corchorus วงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม (C. capsularis L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และ ปอกระเจาฝักยาว (C. olitorius L.) ฝักยาวเรียว มีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิด นี้มีพิษ ปอใช้ทํากระสอบ. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง. (ดู กระเชา).
  34. กระฉง : น. ชื่อแมลงประเภทมวนพวกหนึ่ง ดูดกินเมล็ดอ่อนบนรวงข้าว ทําให้ข้าวลีบ ลําตัวแคบยาวประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร สีน้ำตาล, ในสกุล Leptocorisa วงศ์ Alydidae มี ๕-๖ ชนิดด้วยกัน ที่สําคัญ ได้แก่ ชนิด L. varicornis และชนิด L. acuta, ฉง สิง หรือ สิงห์ ก็เรียก.
  35. กระด้าง ๑ : น. (๑) ชื่อถั่วชนิด Vigna sinensis (L.) Savi ex Hassk. var. cylindrica (L.) Koern. ในวงศ์ Leguminosae เมล็ดคล้ายถั่วดํา แต่สีค่อนข้างแดง ใช้เป็นอาหารได้อย่างถั่วดํา, บางทีเรียก ถั่วนา. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Lasianthus hookeri C.B. Clarke ในวงศ์ Rubiaceae ต้นตรงเรียวและเป็นขนสาก ๆ ใบรูปหอก ปลายแหลม ดอกขาวเล็ก ๆ เป็นกระจุกติดกับลําต้นที่ง่ามใบ ตําราแพทย์แผนโบราณว่ารากใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กะด้าง. (๓) ชื่อเห็ดหลายชนิดในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นบนขอนไม้ เนื้อเหนียว กินไม่ได้ เช่น ชนิด Daedaleaopsis confragosa (Bolt. ex Fr.) Schroet. ดอกเห็ดรูปพัด สีน้ำตาลแดงสลับ น้ำตาลอ่อน ผิวไม่เรียบ ด้านล่างมีรู เนื้อในเห็ดแข็ง.
  36. กระดาดดำ : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Alocasia และ Xanthosoma วงศ์ Araceae คือ ชนิด Alocasia macrorrhizos (L.) G. Don ลักษณะคล้ายกระดาด ใบสีเขียวเข้มหรือม่วงดำ ใช้ทํายาได้, ปึมปื้อ หรือ เอาะลาย ก็เรียก; และชนิด Xanthosoma nigrum (Vell.) Mansf. ใบสีเขียวเข้มหรือม่วง โคนใบเว้าลึกคล้ายหัวลูกศร หัว ใบ และก้านกินได้.
  37. กระดี่ ๑ : น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Anabantidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ (T. trichopterus) ข้างตัวมีลายหลายเส้น พาดขวาง มีจุดดําที่กลางลําตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง (T. microlepis) สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้า หรือ กระดี่มุก (T. leeri) พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด.
  38. กระดูกไก่ดำ : น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Justicia วงศ์ Acanthaceae ชนิด J. gendarussa Burm.f. ใบยาวรี ออกตรงข้ามกัน ลําต้น กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบสีม่วงดํา ใช้ทํายาได้, กระดูกดําเฉียงพร้ามอญ หรือ สันพร้ามอญ ก็เรียก; และชนิด J. grossa C.B. Clarke ดอกสีขาว อมเขียว ฝักยาว เปลือกแข็งและมีขน ผลแก่แตกตามยาว.
  39. กระต่าย ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในวงศ์ Leporidae ขนปุย หูยาว ที่พบอาศัยตามป่าทั่วไปในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis) ซึ่งมีขนสีน้ำตาล ใต้หางสีขาว อาศัยใน โพรงดิน ส่วนที่นํามาเลี้ยงตามบ้านมีหลายชนิดและหลายสี เช่น ชนิด Oryctolagus cuniculus.
  40. กระแตไต่ไม้ ๒ : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Drynaria quercifolia (L.) J. Smith ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีน้ำตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึก เกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีน้ำตาล เข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีน้ำตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทําหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก.
  41. กระถิก, กระถึก : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae รูปร่างคล้ายกระรอก ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลําตัวสีน้ำตาล มีลายสีขาวดําพาดขนานตามยาว ของลําตัวตั้งแต่จมูกถึงโคนหาง ชอบอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ กินแมลง และผลไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ กระถิกขนปลายหูยาว (Tamiops rodolphei) และกระถิกขนปลายหูสั้น (T. macclellandi), กระเล็น ก็เรียก.
  42. กระทิง ๓ : น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้าย ปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่น้ำลําคลอง และที่ลุ่ม มีหลายชนิดในประเทศไทย ที่พบทั่วไป ได้แก่ ชนิด M. armatus, M. favus และกระทิงไฟ (M. erythrotaenia) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
  43. กระทืบยอบ : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๓ ชนิด คือ Biophytum adiantoides Wight ex Edgew. et Hook.f., B.petersianum Klotzsch และ B. sensitivum (L.) DC. ในวงศ์ Oxalidaceae ต้นเล็ก ๆ ใบคล้ายใบผักกระเฉด เมื่อถูกกระเทือนหุบได้ ดอกสีเหลือง, กระทืบยอด ก็เรียก.
  44. กระทุง : น. ชื่อนกน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์ Pelecanidae ขนสีขาวหรือสีเทา ๆ ตัวขนาดห่าน ปากยาวใหญ่ ปากล่างมีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ สําหรับจับปลาทีละมาก ๆ อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลําคลองและชายทะเล ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวคือ ชนิด Pelecanus philippensis.
  45. กระสือ ๒ : น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสง ได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่าน ชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสง แมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือ หรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือ หรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.
  46. กระสือ ๓ : น. ชื่อตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของหิ่งห้อยตัวเมียหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae เช่น ชนิด Lamprophorus tardus ไม่มีปีก ต้องคลาน ไปตามพื้นดิน สามารถทําแสงสีเขียวอมเหลืองอ่อนและกะพริบเป็น จังหวะได้ เรียกว่า หนอนกระสือ. (ดู หิงห้อย, หิ่งห้อย ประกอบ).
  47. กระสูบ : น. ชื่อปลาน้ำจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาแก้มช้า แต่ลําตัวเพรียวและโตกว่าชนิดแรกคือ กระสูบขาว (Hampala macrolepidota) มักมีลายดําพาดขวางที่บริเวณลําตัว ใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดงขอบบนและล่างสีดํา ขนาดยาวถึง ประมาณ ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด (H. dispar) ลําตัวมีจุดดําอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่า และไม่มีแถบสีดํา ตัวยาวเต็มที่ไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก.
  48. กวางชะมด : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
  49. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  50. กะตังใบ : น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิด ในสกุล Leea วงศ์ Leeaceae คือ ชนิด L. indica (Burm.f.) Merr.ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่ปลายแหลม ดอกเล็ก สีขาวอมเขียว ออกเป็นช่อตามยอด ผลสีเขียว ใบใช้ทํายาได้, กะดังบาย ก็เรียก; และชนิด L. rubra Blume ex Spreng. ดอกมีก้านช่อ ดอกและผลสีแดง, เขือง ก็เรียก.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3195

(0.1459 sec)