Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชาย , then ชาย, ชายา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชาย, 392 found, display 1-50
  1. ชาย : น. ส่วนริมหรือปลายของสิ่งของบางอย่าง เช่น ชายผ้า ชายจีวร, ส่วนที่สุดเขต, ริม, เช่น ชายป่า ชายแดน ชายทะเล. ชายกระเบน น. ชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, หางกระเบน ก็เรียก.
  2. ชาย : ก. พัดอ่อน ๆ เช่น ลมชาย; คล้อย, บ่าย, เช่น ตะวันชาย; เดินเลียบเคียงไป เช่น ชายไปดู.
  3. ชาย : ว. เห็นจะ, ค่อนข้าง, เช่น ชายจะเบากว่าพ่อชาลี. (ม. ร่ายยาว).
  4. ชาย : น. คนที่ไม่มีมดลูก, ผู้ชาย ก็ว่า.
  5. ชายกระเบนเหน็บ : น. อวัยวะตรงที่เหน็บชายกระเบน.
  6. ชายครุย : น. ชายผ้าที่เป็นเส้น ๆ, ครุย ก็ว่า.
  7. ชายพก : น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ แล้วดึงชายข้างใดข้างหนึ่งให้มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เหน็บไว้ที่เอวใส่เงินหรือหมากเป็นต้นได้.
  8. ชายเฟือย : น. ริมนํ้าที่มีหญ้ารก ๆ หรือมีไม้นํ้าปกคลุม; ที่ที่สะดวก, ที่ที่ง่าย, เช่น หากินตามชายเฟือย.
  9. ชายโสด : น. ชายที่ยังไม่ได้แต่งงาน.
  10. ชายแครง : น. ผ้าห้อยทับหน้าขาทั้ง ๒ ข้าง (เครื่องแต่งกาย).
  11. ชายชาตรี : น. ผู้มีศิลปะหรือฝีไม้ลายมือในการต่อสู้.
  12. ชายผ้าสีดา : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยหลายชนิดในสกุล Platycerium วงศ์ Polypodiaceae เหง้าใหญ่สั้น ใบมี ๒ แบบ ใบที่ทาบกับ ต้นไม้เป็นใบไม่สร้างอับสปอร์แผ่นใบตั้ง ไม่มีก้านใบ ติดอยู่กับต้นตลอดไป ส่วนใบสร้างอับสปอร์แผ่นใบ ตั้งขึ้นหรือห้อยลง ขอบหยักเว้า ใบจะร่วงไปตามอายุ.
  13. ชายสามโบสถ์ : (สํา) น. ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง ๓ หน, ใช้พูด เป็นเชิงตําหนิว่าเป็นคนที่ไม่น่าคบ.
  14. ธงสามชาย : น. ธงรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ปลายธงมี ๓ แฉก เป็น ๓ ชาย ลดหลั่นกัน มักใช้นำริ้วกระบวน ถ้าใช้เข้ากระบวนแห่ในพระราชพิธี ผืน ธงทำด้วยผ้าสักหลาดสอดสีปักดิ้นหักทองขวางเป็นลวดลาย.
  15. มาลัยสองชาย : น. มาลัยที่มี ๒ ชาย มีอุบะห้อยข้างละ ๑ พวง.
  16. คล้อย : [คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กําหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย, เรียก อาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.
  17. ท่านชาย : น. คําที่ใช้เรียกราชนิกุลฝ่ายชายชั้นหม่อมเจ้า.
  18. นร : [นอระ] น. คน, ชาย, เพศหญิงใช้ว่า นรี หรือ นารี, นิยมใช้เป็นคําหน้า สมาส เช่น นรเทพ นรสิงห์. (ป., ส.).
  19. มาลัยชายเดียว : น. มาลัยที่มีอุบะห้อยชายเพียงพวงเดียว, มาลัยมือ มาลัยข้อมือ หรือ มาลัยเปีย ก็เรียก.
  20. สมิงมิ่งชาย : น. ชายชาติทหาร, ยอดชาย.
  21. หีบเชิงชาย : น. หีบศพพระราชทานสําหรับพระครูสัญญาบัตร ข้าราชการ ชั้นสัญญาบัตรขั้นต้นเป็นต้น เชิงชายทั้ง ๔ ด้านแกะสลักเป็นลายปิดทอง ประดับกระจก.
  22. เชิงชาย : น. ไม้เครื่องเรือนรูปแบน สําหรับรับชายคาเรือน ที่ไม่มีกลอน, ถ้าเรือนมีกลอน เรียกว่า เชิงกลอน.
  23. โชย, โชยชาย : ก. อาการที่ลมพัดอ่อน ๆ เช่น ลมโชย กลิ่นโชย; เดินกรีดกราย.
  24. เด็กชาย : (กฎ) น. คํานําหน้าชื่อเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่ถึง ๑๕ ปีบริบูรณ์.
  25. ป่าชายเลน, ป่าเลน : น. ป่าที่อยู่ตามชายทะเลที่มีเลนและนํ้าทะเล ขึ้นถึง ต้นไม้ในป่าประเภทนี้มักมีรากงอกอยู่เหนือพื้นดินเพื่อคํ้า ยันลําต้น โดยมากเป็นไม้โกงกาง แสม และลําพู.
  26. ไม้เอนชาย : น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีต้นเอนไปข้างใดข้างหนึ่ง เหมือนไม้ที่อยู่ริมน้ำ.
  27. ยามตูดชาย : (ถิ่น) น. เวลาบ่าย.
  28. ราชายตนะ : น. ไม้เกด. (ป., ส.).
  29. ลมชาย : น. ลมโชย.
  30. ลมพัดชายเขา : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  31. หากินตามชายเฟือย : (สำ) ก. หาเลี้ยงชีพอย่างไม่เป็นล่ำเป็นสันได้ไหน เอานั่นไปเรื่อย ๆ.
  32. เห็นชายผ้าเหลือง : (สำ) มีโอกาสได้จัดการบวชลูกหลานเป็นต้นใน พระพุทธศาสนา ถือว่าได้บุญมาก.
  33. ชู้ : น. (วรรณ) คู่รัก, บุคคลที่เป็นที่รัก, เช่น มาย่อมหลายชู้เหล้น เพื่อนตน. (กำสรวล); ผู้ล่วงประเวณี; การล่วงประเวณี; ชาย ที่ร่วมประเวณีด้วยเมียเขา เรียกว่า เป็นชู้, หญิงที่ยังมีสามี อยู่แล้วร่วมประเวณีกับชายอื่น เรียกว่า มีชู้,เรียกชายหรือ หญิงที่ใฝ่ในทางชู้สาวว่า เจ้าชู้.
  34. ชายธง ๑ : ดูใน ชาย.
  35. ผู้ชาย : น. ชาย.
  36. อัษฎมงคล, อัษฏมงคล : น. สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล ๘ อย่าง นิยมดังนี้ ๑. กรอบหน้า ๒. คทา ๓. สังข์ ๔. จักร ๕. ธง ๓ ชาย ๖. ขอช้าง ๗. โคเผือก ๘. หม้อนํ้า. (ส.).
  37. เชิงชายา ๑ : [เชดถา] (กลอน) น. พี่ชาย, คู่กับ กนิษฐา คือ น้องสาว.
  38. กนิษฐ-,กนิษฐ์ : [กะนิดถะ-, กะนิด] ว. ''น้อยที่สุด''. (ส.; ป. กนิฏฺ?), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภคินี หมายถึง น้องสาว, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภาดา หมายถึง น้องชาย, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐา หมายถึง น้องสาว.(ส.; ป. กนิฏฺ?).
  39. กนิษฐภาดา : น. น้องชาย. (-ป. ภาตา ว่า น้องชาย).
  40. กนิษฐา : (กลอน) น. น้องสาว, คู่กับ เชษฐา คือ พี่ชาย; (ราชา) นิ้วก้อย ใช้ว่า พระกนิษฐา. (ส.).
  41. กรนนเช้า : [กฺรัน-] (โบ) น. กระเช้า เช่น คร้นนเช้าก็หิ้วกรนนเช้า ชายป่าเต้าไปหาชาย. (ม. คําหลวง มัทรี).
  42. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  43. กรวยเชิง : น. ลายที่ทําเป็นรูปกรวย ใช้เป็นลายชายผ้าและปลายเสา เรียกชื่อต่าง ๆ กันแล้วแต่ลายอยู่ที่ไหน เช่น ถ้าอยู่ที่เชิงผ้า เรียกว่า กรวยเชิง, ถ้าอยู่ที่เชิงผ้าเกี้ยว เรียกว่า เชิงเกี้ยว, ถ้าอยู่ที่ด้ามหอก เรียกว่า เชิงหอก.
  44. กระจัง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri ในวงศ์ Periophthalmidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหวและความสามารถขึ้นมาพ้นน้ำได้คล้ายปลาจุมพรวด ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทํารูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวน้ำ ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้, เขียนเป็น กะจัง ก็มี.
  45. กระจับ ๒ : น. เครื่องสวมข้อตีนม้าสําหรับหัดให้เต้นสะบัดตีน ทําด้วยหวายหรือ ไม้ไผ่เหลาให้กลมขดรอบข้อตีนม้า ขัดเป็นเกลียวปล่อยชายทั้ง ๒ ข้าง เสี้ยมแหลมยื่นออกจากวงราว ๒ นิ้ว เพื่อกันมิให้ตีนกระทบกันเอง.
  46. กระเจี๊ยว : (ปาก) น. อวัยวะสืบพันธุ์เด็กชายเล็ก ๆ, เจี๊ยว หรือ อ้ายเจี๊ยว ก็ว่า.
  47. กระดอ : น. อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหรือสัตว์เพศผู้บางชนิด.
  48. กระแด้ง : (ถิ่น-อีสาน) น. เรียกชายหรือหญิงที่เป็นหมันว่า พ่อกระแด้ง แม่กระแด้ง. ว. คดไปมา. (ปาเลกัว).
  49. กระถอบ : น. แผ่นทองคําฉลุลายเป็นกิ่งต้นเครือวัลย์กระหนก สําหรับเสียบห้อย ที่ชายพกลงมาในระหว่างช่องหน้าขาทั้ง ๒ สามัญเรียกว่า ช่อทับชาย เช่น ที่ประดับเทวรูปทรงเครื่องทั่วไป เรียกกันว่า สุวรรณกระถอบ หรือ สุวรรณกัญจน์ถอบ.
  50. กระบี่ธุช : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง เดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวม ต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้า และขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราช พิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-392

(0.0680 sec)