Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ช่วยเหลือ, เหลือ, ช่วย , then ชวย, ช่วย, ชวยหลอ, ช่วยเหลือ, หลอ, เหลือ .

Budhism Thai-Thai Dict : ช่วยเหลือ, 64 found, display 1-50
  1. อนุเคราะห์ : เอื้อเฟื้อ, ช่วยเหลือ; ความเอื้อเฟื้อ, การช่วยเหลือ
  2. อุปถัมภ์ : การค้ำจุน, เครื่องค้ำจุน, อุดหนุน, ช่วยเหลือ, หล่อเลี้ยง
  3. กรุณา : ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์, ความหวั่นใจ เมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์ คิดหาทางช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์ของเขา ดู พรหมวิหาร -compassion, pity.
  4. ญาติพลี : สงเคราะห์ญาติ, ช่วยเหลือเกื้อกูลญาติ (ข้อ ๑ ในพลี ๕ อย่างแห่งโภคอาทิยะ ๕)
  5. ธรรมปฏิสันถาร : การต้อนรับด้วยธรรม คือกล่าวธรรมให้ฟังหรือแนะนำในทางธรรม อย่างนี้เป็นธรรมปฏิสันถารโดยเอกเทศคือส่วนหนึ่งด้านหนึ่ง ธรรมปฏิสันถารที่บำเพ็ญอยู่อย่างบริบูรณ์ คือการต้อนรับโดยธรรม ได้แก่ เอาใจใส่ช่วยเหลือสงเคราะห์ แก่ไขปัญหาบรรเทาข้อสงสัย ขจัดปัดเป่าข้อติดขัดยากลำบากเดือนร้อนทั้งหลาย ให้เขาลุล่วงกิจอันเป็นกุศล พ้นความอึดอัดขัดข้อง เทียบ อามิสปฏิสันถาร
  6. ปฏิสันถาร : การทักทายปราศรัย, การต้อนรับแขก มี ๒ อย่างคือ ๑.อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรม คือ กล่าวแนะนำในทางธรรม อีกนัยหนึ่งว่า ต้อนรับโดยธรรม คือ การต้อนรับที่ทำพอดีสมควรแก่ฐานะของแขก มีการลุกรับเป็นต้น หรือช่วยเหลือสงเคราะห์ขจัดปัญหาข้อติดขัด ทำกุศลกิจให้ลุล่วง
  7. พละ : กำลัง 1.พละ ๕ คือธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรม มี ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา; ดู อินทรีย์๕2.พละ ๔ คือธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยต่างๆ ได้แก่ ๑.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ๒.วิริยพละ กำลังความเพียร ๓.อนวัชชพละ กำลังคือการกระทำที่ไม่มีโทษ (กำลังความสุจริตและการกระทำแต่กิจกรรมที่ดีงาม) ๔.สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม 3.พละ ๕ หรือ ขัตติยพละ ๕ ได้แก่กำลังของพระมหากษัตริย์ หรือกำลังที่ทำให้มีความพร้อมสำหรับความเป็นกษัตริย์ ๕ ประการ ดังแสดงในคัมภีร์ชาดกคือ ๑.พาหาพละ หรือ กายพละ กำลังแขนหรือกำลังกาย คือแข็งแรงสุขภาพดี สามารถในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธ มีอุปกรณ์พรั่งพร้อม ๒.โภคพละ กำลังโภคสมบัติ ๓.อมัจจพละ กำลังข้าราชการที่ปรึกษาและผู้บริหารที่สามารถ ๔.อภิชัจจพละ กำลังความมีชาติสูง ต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชนและได้รับการศึกษาอบรมมาดี ๕.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่สุด
  8. มโนกรรม : การกระทำทางใจ ทางชั่ว เช่น คิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาของเขา ทางดี เช่น คิดช่วยเหลือผู้อื่น ดู กุศลกรรมบถ, อกุศลกรรมบถ
  9. เมตตากรุณา : เมตตา และกรุณา ความรักความปรารถนาดีและความสงสาร ความอยากช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์ (ข้อแรกในเบญจธรรม)
  10. วัฏฏคามณีอภัย : ชื่อพระเจ้าแผ่นดินแห่งเกาะลังกาพระองค์หนึ่ง ครองราชย์ประมาณ พ.ศ.๕๑๕-๕๒๗ ถูกพวกทมิฬแย่งชิงราชสมบัติ เสด็จไปซ่อนพระองค์อยู่ในป่า และได้รบความช่วยเหลือจากพระเถระรูปหนึ่ง ต่อมาพระองค์กู้ราชสมบัติคืนมา ได้ทรงสร้างอภัยคีรีวิหารและอาราธนาพระเถระรูปนั้นมาอยู่ครอง กับทั้งได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกเป็นอันมาก การสังคายนาครั้งที่ ๕ ที่จารึกพุทธพจน์ลงในใบลาน ก็จัดทำในรัชกาลนี้
  11. เวยยาวัจจมัย : บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ, ทำดีด้วยการช่วยเหลือรับใช้ผู้อื่น (ข้อ ๕ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐); ไวยาวัจมัย ก็เขียน
  12. ไวยาวัจกร : ผู้ทำกิจธุระแทนสงฆ์, ผู้ช่วยขวนขวายทำกิจธุระ, ผู้ช่วยเหลือรับใช้พระ
  13. ไวยาวัจจะ : การขวนขวายช่วยทำกิจธุระ, การช่วยเหลือรับใช้
  14. สงเคราะห์ : ๑.การช่วยเหลือ, การเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ดู สังคหวัตถุ๒.การรวมเข้า, ย่นเข้า, จัดเข้า
  15. สังคหวัตถุ : เรื่องสงเคราะห์กัน, คุณเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้, หลักการสงเคราะห์ คือ ช่วยเหลือกันยึดเหนี่ยวใจกันไว้ และเป็นเครื่องเกาะกุมประสานโลกคือสังคมแห่งหมู่สัตว์ไว้ ดุจสลักเกาะยึดรถที่กำลังแล่นไปให้คงเป็นรถและวิ่งแล่นไปได้ มี ๔ อย่าง คือ ๑.ทาน การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ๒.ปิยวาจา พูดจาน่ารักน่านิยมนับถือ ๓.อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์ ๔.สมานัตตตา ความมีตนเสมอ คือทำตัวให้เข้ากันได้ เช่น ไม่ถือตัว ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน เป็นต้น
  16. สาราณียธรรม : ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำให้มีความเคารพกัน ช่วยเหลือกัน และสามัคคีพร้อมเพรียงกันมี ๖ อย่างคือ ๑.ตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร ๒.ตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร ๓.ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร ๔.แบ่งปันลาภที่ได้มาโดยชอบธรรม ๕.รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกับเพื่อนภิกษุสามเณร (มีสีลสามัญญตา) ๖.มีความเห็นร่วมกันได้กับภิกษุสามเณรอื่น ๆ (มีทิฏฐิสามัญญตา); สารณียธรรม ก็เขียน
  17. อวิหิงสาวิตก : ความตริตรึกในทางไม่เบียดเบียน, ความตรึกด้วยอำนาจกรุณา ไม่คิดทำความลำบากเดือดร้อน แก่ผู้อื่น คิดแต่จะช่วยเหลือเขาให้พ้นจากทุกข์ (ข้อ ๓ ในกุศลวิตก ๓)
  18. อุปการะ : ความเกื้อหนุน, ความอุดหนุน, การช่วยเหลือ
  19. ดับไม่มีเชื้อเหลือ : ดับหมด คือดับทั้งกิเลสทั้งขันธ์ (=อนุปาทิเสสนิพพาน)
  20. กฐิน : ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร; ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ) ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔); ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ); สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป; ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
  21. กัป : กาลกำหนด, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาฬประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม) ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น; กำหนดอายุของโลก; กำหนดอายุ เรียกเต็มว่า อายุกัป เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี - 1.an aeon; world-aeon; world-age; world-cycle; world-period. 2.the life-term; life-period; the duration of life.
  22. กัปป์ : กาลกำหนด, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาฬประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม) ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น; กำหนดอายุของโลก; กำหนดอายุ เรียกเต็มว่า อายุกัป เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี - 1.an aeon; world-aeon; world-age; world-cycle; world-period. 2.the life-term; life-period; the duration of life.
  23. กิงกรณีเยสุ ทักขตา : ความเป็นผู้ขยันช่วยเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุ สามเณร (นาถกรณธรรมข้อ ๕)
  24. ขึ้นวัตร : โวหารเรียกวินัยกรรมเกี่ยวกับวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง คือเมื่อภิกษุต้องครุกาบัติชั้นสังฆาทิเสสแล้วอยู่ปริวาส ยังไม่ครบเวลาที่ปกปิดอาบัติไว้หรือประพฤติมานัตอยู่ยังไม่ครบ ๖ ราตรี พักปริวาสหรือมานัตเสียเนื่องจากมีเหตุอันสมควร เมื่อจะสมาทานวัตรใหม่เพื่อประพฤติปริวาสหรือมานัตที่เหลือนั้น เรียกว่าขึ้นวัตรคือการสมาทานวัตรนั่นเอง ถ้าขึ้นปริวาสพึ่งกล่าวคำในสำนักภิกษุรูปหนึ่งว่า ปริวาสํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าขึ้นปริวาส วตฺตํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าขึ้นวัตร
  25. คันโพง : คันชั่งที่ถ่วงภาชนะสำหรับตักน้ำ เพื่อช่วยทุนแรงเวลาตักน้ำขึ้นจากบ่อลึกๆ (คัน = คันชั่งที่ใช้ถ่วง, โพง = ภาชนะสำหรับตักน้ำในบ่อลึกๆ), เครื่องสำหรับตักน้ำ หรือโพงน้ำ มีคันยาวที่ปลายเพื่อถ่วงให้เบาแรง เวลาตักหรือโพงน้ำขึ้น (โพง=ตัก, วิด)
  26. ใจดำ : ขาดกรุณา คือตนมีกำลังสามารถจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้ก็ไม่ช่วย เช่น เห็นคนตกน้ำแล้วไม่ช่วยเป็นต้น
  27. ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย : ธรรมที่จะช่วยให้ได้ ทุลลภธรรม สมหมายมี ๔ คือ ๑.สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒.สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ๓.จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ๔.ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา
  28. นิพพานธาตุ : ภาวะแห่งนิพพาน; นิพพานหรือ นิพพานธาตุ ๒ คือ สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ ๑ อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ
  29. ปรัตถะ : ประโยชน์ผู้อื่น, ประโยชน์เพื่อคนอื่น อันพึงบำเพ็ญด้วยการช่วยให้เขาเป็นอยู่ด้วยดี พึ่งตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นทิฏฐธัมมิกัตถะหรือสัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะก็ตาม; เทียบ อัตตัตถะ
  30. ปริสทูสโก : ผู้ประทุษร้ายบริษัท เป็นคนพวกหนึ่งที่ถูกห้ามบรรพชา หมายถึงผู้มีรูปร่างแปลกเพื่อน เช่น สูงหรือเตี้ยจนประหลาด ศีรษะโต หรือ หลิม เหลือเกิน เป็นต้น
  31. ปัจจเวกขณญาณ : ญาณที่พิจารณาทบทวน, ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนตรวจตรามรรคผล กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่); ญาณนี้เกิดแก่ผู้บรรลุมรรคผลแล้ว คือ ภายหลังจากผลญาณ; ดู ญาณ
  32. ปาริจริยานุตตริยะ : การบำเรออันเยี่ยม ได้แก่ การบำรุงรับใช้พระตถาคตและตถาคตสาวกอันประเสริฐกว่า การที่จะบูชาไฟหรือบำรุงบำเรออย่างอื่น เพราะช่วยให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ได้จริง (ข้อ ๕ ในอนุตตริยะ ๖)
  33. ปิลินทวัจฉคาม : ชื่อหมู่บ้านของคนงานวัดจำนวน ๕๐๐ ที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้เป็นผู้ช่วยทำที่อยู่ของพระปิลินทวัจฉะ
  34. ปุตตะ : เป็นชื่อนรกขุมหนึ่งของลัทธิพราหมณ์ พวกพราหมณ์ถือว่าชายใดไม่มีลูกชาย ชายนั้นตายไปต้องตกนรกขุม “ปุตตะ” ถ้ามีลูกชาย ลูกชายนั้นช่วยป้องกันไม่ให้ตกนรกขุมนั้นได้ ศัพท์ว่า บุตร จึงใช้เป็นคำเรียกลูกชาย สืบมา แปลว่า ลูกผู้ป้องกันพ่อจากขุมนรก ปุตตะ
  35. พลี : ทางพราหมณ์ คือ บวงสรวง, ทางพุทธ คือสละเพื่อช่วยหรือบูชา มี ๕ คือ ๑.ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ ๒.อติถิพลี สงเคราะห์แขก ๓.ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ๔.ราชพลี ถวายเป็นหลวง เช่น เสียภาษีอากร ๕.เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา
  36. พินทุกัปปะ : การทำพินทุ, การทำจุดเป็นวงกลม อย่างใหญ่เท่าแววตานกยูง อย่างเล็กเท่าหลังตัวเรือด ที่มุมจีวร ด้วยสีเขียวคราม โคลน หรือดำคล้ำ เพื่อทำจีวรให้เสียสีหรือมีตำหนิตามวินัยบัญญัติ และเป็นเครื่องหมายช่วยให้จำได้ด้วย; เขียนพินทุกัป ก็ได้, คำบาลีเดิมเป็นกัปปพินทุ, เรียกกันง่ายๆ ว่า พินทุ - a smudge that makes a new robe allowable; dark mark or small black dot applied to a new robe to make it lawful. v. (ทำกัปปพินทุ) to make a robe allowable by applying a disfiguring smudge (by which the owner can identify it); mark with a smudge.
  37. ฟูมฟาย : มากมาย, ล้นเหลือ, สุรุ่ยสุร่าย, น้ำตาอาบหน้า
  38. มิตตปฏิรูป : คนเทียมมิตร, มิตรเทียม ไม่ใช่มิตรแท้ มี ๔ พวก ได้แก่ ๑.คนปอกลอก มีลักษณะ ๔ คือ ๑.คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ๒.ยอมเสียน้อยโดยหวังจะเอาให้มาก ๓.ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน ๔.คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว ๒.คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔ คือ ๑.ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย ๒.ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย ๓.สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๔.เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง ๓.คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.จะทำชั่วก็เออออ ๒.จะทำดีก็เออออ ๓.ต่อหน้าสรรเสริญ ๔.ลับหลังนินทา ๔.คนชวนฉิบหาย มีลักษณะ ๔ คือ ๑.คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา ๒.คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน ๓.คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น ๔.คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน
  39. มิตรแท้ : มิตรด้วยใจจริง มี ๔ พวก ได้แก่ ๑.มิตรอุปการะ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.เพื่อนประมาท ช่วยรักษาเพื่อน ๒.เพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์ของเพื่อน ๓.เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้ ๔.มีกิจจำเป็น ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก ๒.มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.บอกความลับแก่เพื่อน ๒.ปิดความลับของเพื่อน ๓.มีภัยอันตรายไม่ละทิ้ง ๔.แม้ชีวิตก็สละให้ได้ ๓.มิตรแนะประโยชน์ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.จะทำชั่วเสียหายคอยห้ามปรามไว้ ๒.คอยแนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี ๓.ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง ๔.บอกทางสุขทางสวรรค์ให้ ๔.มิตรมีน้ำใจ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.เพื่อนมีทุกข์ พลอยทุกข์ด้วย ๒.เพื่อนมีสุข พลอยดีใจ ๓.เขาติเตียนเพื่อน ช่วยยับยั้งแก้ให้ ๔.เขาสรรเสริญเพื่อ ช่วยพูดเสริมสนับสนุน
  40. โลกุตตรปัญญา : ปัญญาที่สัมปยุตด้วยโลกุตตรมรรค, ความรู้ที่พ้นวิสัยของโลก, ความรู้ที่ช่วยคนให้พ้นโลก
  41. วัจกุฎีวัตร : ข้อปฏิบัติอันภิกษุพึงกระทำในวัจกุฎี, ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้ใช้ส้วม โดยย่อมี ๗ ข้อ คือ ใช้ตามลำดับผู้ไปถึง, รักษากิริยาในการจะเข้าจะออกให้สุภาพเรียบร้อยและไม่ทำเสียงดัง, รักษาบริขารคือจีวรของตน, รักษาตัวเช่นไม่เบ่งแรง ไม่ใช้สิ่งที่จะเป็นอันตราย, ไม่ทำกิจอื่นไปพลาง, ระวังไม่ทำสกปรก, ช่วยรักษาความสะอาด
  42. วินัยมุข : มุขแห่งวินัย, หลักใหญ่ๆ หรือหัวข้อสำคัญๆ ทีเป็นเบื้องต้นแห่งพระวินัย หรือเป็นปากทางนำเข้าสู่วินัยเป็นชื่อหนังสือที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงรจนาขึ้น เพื่อชี้ประโยชน์แห่งพระวินัยมุ่งช่วยให้พระภิกษุสามเณรตั้งอยู่ในปฏิบัติพองาม ผู้ไม่เคร่งจะได้รู้จักสำรวมรักษามรรยาทสมเป็นสมณะฝ่ายผู้เคร่งครัดเกินไปจะได้หายงมงาย ไม่สำคัญตนว่าดีกว่าผู้อื่น ตั้งรังเกียจผู้อื่นเพราะเหตุผลเล็กน้อย เพียงสักว่าธรรมเนียมหรือแม้ชักนำผู้อื่นในปฏิบัติอันดี ต่างจะได้อานิสงส์คือไม่มีวิปฏิสาร; ทรงมุ่งหมายเพื่อจะแต่งแก้หนังสือบุพพสิกขาวัณณนาของพระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส; จัดพิมพ์เป็น ๓ เล่ม ใช้เป็นแบบเรียนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก ตามลำดับ
  43. สอุปาทิเสสนิพพาน : นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ คือนิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่, นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ; เทียบ อนุปาทิเสสนิพพาน
  44. สอุปาทิเสสบุคคล : บุคคลผู้ยังมีเชื้อกิเลสเหลืออยู่, ผู้ยังไม่สิ้นอุปาทาน ได้แก่ พระเสขะ คือ พระอริยบุคคลทั้งหมด ยกเว้นพระอรหันต์; เทียบ อนุปาทิเสสบุคคล
  45. สังสารสุทธิ : ความบริสุทธิ์ด้วยการเวียนว่ายตายเกิด คือ ลัทธิของมักขลิโคสาล ซึ่งถือว่า สัตว์ทั้งหลาย ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อย ๆ ก็จะค่อยบริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ไปเอง การปฏิบัติธรรม ไร้ประโยชน์ ไม่อาจช่วยอะไรได้
  46. สัปปายะ : สิ่ง สถาน หรือบุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล หรือเอื้ออำนวยโดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อกูลแก่การบำเพ็ญและประคับประคองรักษาสมาธิ ท่านแสดงไว้ ๗ อย่าง คือ อาวาส (ที่อยู่) โคจร (ที่บิณฑบาตหรือแหล่งอาหาร) ภัสสะ (เรื่องพูดคุยที่เสริมการปฏิบัติ) บุคคล (ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วช่วยให้จิตผ่องใสสงบมั่นคง) โภชนะ (อาหาร) อุตุ (สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ) อิริยาบถ; ทั้ง ๗ นี้ที่เหมาะกันเป็นสัปปายะ ที่ไม่สบายเป็นอสัปปายะ
  47. สีลวิสุทธิ : ความหมดจดแห่งศีล คือรักษาศีลให้บริสุทธิ์ตามภูมิของตนซึ่งจะช่วยเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้ (ข้อ ๑ ในวิสุทธิ ๗)
  48. อนวเสส : หาส่วนเหลือมิได้, ไม่เหลือเลย, สิ้นเชิง
  49. อนันต์ : ไม่มีที่สิ้นสุด, มากเหลือเกิน, มากจนนับไม่ได้
  50. อนุทูต : ทูตติดตาม, ในพระวินัย หมายถึง ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นตัวแทนของสงฆ์ เดินทางร่วมไปกับภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงโทษด้วย ปฏิสารณียธรรม ให้ไปขอขมาคฤหัสถ์ ในกรณีที่เธอไม่อาจไปตามลำพัง อนุทูตทำหน้าที่ช่วยพูดกับคฤหัสถ์นั้นเป็นส่วนตนหรือในนามของสงฆ์ เพื่อให้ตกลงรับขมา เมื่อตกลงกันแล้ว รับอาบัติที่ภิกษุนั้นแสดงต่อหน้าเขาแล้วจึงให้ขมา
  51. [1-50] | 51-64

(0.0165 sec)