Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ช่องว่าง, ว่าง, ช่อง , then ชอง, ช่อง, ชองวาง, ช่องว่าง, พ่าง, วาง, ว่าง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ช่องว่าง, 531 found, display 1-50
  1. ช่องว่าง : น. ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงที่ทำให้เข้ากันยาก เช่น ช่องว่างระหว่างชนชั้น ช่องว่างระหว่างวัย.
  2. ช่อง : น. ที่ว่างซึ่งเป็นทางเข้าออกได้ เช่น ช่องเขา ช่องหน้าต่าง ช่องลม; โอกาส เช่น ไม่มีช่องที่จะทําได้.
  3. ว่าง : ว. เปล่า, ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง, เช่น ห้องว่าง ที่ว่าง ตําแหน่งว่าง, บางทีใช้ควบคู่กับคํา เปล่า เป็น ว่างเปล่า; ไม่มี ภาระผูกพัน เช่น วันนี้ว่างทั้งวันเย็นนี้หมอว่าง ไม่มีคนไข้. น. เรียกของกินในเวลาที่ไม่ใช่เวลากินข้าวว่า ของว่าง เครื่องว่าง อาหารว่าง.
  4. ว่าง : ว. ไม่มีอะไรจะทำ, ไม่มีภาระ, เช่น อยู่ว่าง ๆ ไม่รู้จะทำอะไร.
  5. ว่างเปล่า : ว. ไม่มีอะไรเลย เช่น โต๊ะตัวนี้ว่างเปล่าไม่มีของวางอยู่เลย.
  6. ช่องตีนกา : น. ช่องอิฐโปร่งหรือที่ก่อเป็นช่องลึกรูปกากบาท ใต้แนวใบเสมาของกำแพงเมืองหรือกำแพงวัง.
  7. ว่างมือ : ว. ไม่มีอะไรทำ เช่น ว่างมือเมื่อไร จะช่วยตัดเสื้อให้.
  8. ว่างเว้น : ก. งด, เว้น, เช่น ว่างเว้นจากการเสพสุรายาเมา เขาเคยมา เสมอ แต่หมู่นี้ว่างเว้นไป.
  9. ช่องกุด : น. ประตูแบบมียอดที่เจาะกําแพงเมืองหรือกําแพงวัง ชั้นนอกเป็นทางเข้าออก.
  10. ช่องดาล : น. รูสําหรับสอดลูกดาลเข้าไปเขี่ยดาลที่ขัด บานประตู.
  11. ว่างงาน : ก. ตกงาน, ไม่มีงานทํา.
  12. เครื่องอังน้ำ : (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหม้อต้มนํ้า ทําด้วยโลหะ มีฝาเป็นแผ่นวงแหวนขนาดต่างกันหลาย ๆ วงวางซ้อน เหลื่อมกัน ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดย วิธีตั้งสิ่งนั้นบนช่องว่างของแผ่นฝา แล้วต้มนํ้าให้ร้อนเพื่อให้ไอนํ้าร้อน ส่งถ่ายความร้อนให้สิ่งนั้น. (อ. water bath).
  13. ฝาไหล : น. แผ่นไม้กระดานวางตามแนวยืน แต่ละแผ่นเว้นช่องว่าง เท่าความกว้างของไม้แผ่นหนึ่งตลอดทั้งแผง ฝาชนิดนี้ประกอบด้วย แผงดังกล่าววางชิดและซ้อนขนานกันในรางซึ่งเลื่อนเปิดปิดได้.
  14. กรุ ๒ : [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ.
  15. กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
  16. ช่องไฟ : น. ช่องว่างระหว่างตัวหนังสือ; (ศิลปะ) บริเวณที่ เว้นไว้เป็นพื้นเท่า ๆ กันระหว่างลวดลายแต่ละตัว.
  17. ถี่, ถี่ ๆ : ว. มีระยะหรือช่องว่างชิด ๆ กัน เช่น ตะแกรงตาถี่ หวีซี่ถี่, มีระยะ เวลากระชั้นชิดกัน, ไม่ห่าง, เช่น รถมาถี่ มีลูกถี่ ซอยเท้าถี่ ๆ.
  18. โปร่ง : [โปฺร่ง] ว. มีลักษณะว่างหรือเปิดเป็นช่อง, ไม่ทึบ, เช่น ใต้ถุนโปร่ง ที่โปร่ง ป่าโปร่ง; แจ่มใสไม่อึดอัด เช่น สมองโปร่ง.
  19. ฟันหลอ : น. ฟันที่มีช่องว่างระหว่างฟันซึ่งเกิดจากฟันหลุด กร่อน หรือหักจนถึงโคนฟัน เป็นต้น.
  20. ระหว่าง : น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะ เวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึง พระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียน หนังสืออยู่, เวลาที่กําลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คําที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือ สถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่าง มหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.
  21. ล่องแมว : น. ช่องว่างระหว่างพื้นเรือนกับพื้นระเบียงเพื่อถ่ายเท อากาศ มีขนาดพอแมวลอดได้ เปิดโล่งยาวตลอดตัวเรือน.
  22. วรรค : [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).
  23. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  24. ว้างเวิ้ง : ว. เป็นช่องว่างและโล่งออกไปกว้างขวาง.
  25. เว้นช่องไฟ : ก. เว้นช่องว่างระหว่างตัวหนังสือหรือลวดลายแต่ละตัว.
  26. หลอ : ว. ใช้ประกอบกับคํา เหลือ เป็น เหลือหลอ หมายความว่า หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือหลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ หมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจนไม่มีอะไรเหลือหลอ; เรียกฟัน ที่มีช่องว่างระหว่างฟันซึ่งเกิดจากฟันหลุด กร่อน หรือหักจนถึงโคนฟัน เป็นต้น ว่า ฟันหลอ.
  27. ว่าง : น. ช่องว่างจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่ง เช่น หว่างคิ้ว หว่างเขา.
  28. นาลี : (แบบ) น. หลอด, ก้าน, ลํา, ช่อง; ทะนาน, เป็นชื่อมาตราตวง. (ป. นาฬี, นาลี).
  29. นาฬี : (แบบ) น. นาลี, หลอด, ก้าน, ลํา, ช่อง; ทะนาน, เป็นชื่อมาตราตวง. (ป.).
  30. ประตู : น. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนัน บางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจํานวนครั้ง ที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียก ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตู เดียวกิน ๓ ประตู.
  31. ป่อง ๔ : (ถิ่น-อีสาน) น. ปล่อง, ช่อง, ล่อง.
  32. แปลน ๓ : [แปฺลน] ว. เปล่า, ว่าง, ไม่เต็มที่.
  33. มรคา : [มอระคา] น. ทาง, ช่อง, ถนน. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
  34. โมฆ-, โมฆะ : [โมคะ-] ว. เปล่า, ว่าง; ไม่มีประโยชน์, ไม่มีผล, เช่น สัญญาเป็นโมฆะ; (กฎ) เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย. (ป., ส.).
  35. ล่ง : (กลอน) ว. โล่ง, ว่าง, เปล่า, ไม่มีเครื่องกําบัง.
  36. ลู่ ๑ : น. ทาง, แนว, ช่อง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทาง เป็น ลู่ทาง, ในทางกีฬา หมายถึงทางวิ่งเป็นแนวเป็นช่อง เช่น วิ่งในลู่ที่ ๑, คู่กับ ลาน.
  37. อานน : น. ปาก, หน้า; ช่อง, ประตู. (ป., ส.).
  38. ของว่าง : น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย, อาหารว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า เครื่องว่าง.
  39. ควิวควัง, ควิวควั่ง, ควิวคว่าง, ควิวคว้าง : [-คฺวัง, -คฺวั่ง, -คฺว่าง, -คฺว้าง] ก. หมุนคว้างจนใจหวิว ๆ, อาการที่จิตใจ รู้สึกหวาดหวิว; ใช้โดยปริยายว่า เวิ้งว้าง, กว้างใหญ่, น่ากลัว, เช่น สาครควิวคว่าง, โบราณเขียนเป็น ควิวคว่งง ก็มี เช่น สมุทรพิศารลิว ควิวคว่งง แลนา. (กำสรวล).
  40. เครื่องว่าง : (ราชา) น. ของว่าง, ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย.
  41. จุกช่องล้อมวง : (โบ) ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินในเวลาเสด็จประพาส หรือในเหตุบางประการเช่นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร. (จุกช่อง คือ จัดคนให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทางเช่นตรอก ซอย ปากคลอง ล้อมวง คือจัดคนให้ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ).
  42. บ้านช่อง, บ้านช่องห้องหอ : น. บ้านที่อยู่อาศัย เช่น บ้านช่องรกรุงรัง.
  43. อาหารว่าง : น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินใน เวลาบ่าย, ของว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่องว่าง.
  44. พ่าง : น. พื้น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พ่างพื้น เช่น พ่างพื้นพสุธา. ว. เพียง, เช่น เหมือน, แทบ, พาง หรือ ปาง ก็ว่า.
  45. วาง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยา ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจําที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.
  46. ชอง : น. ชื่อชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญ–เขมร มีมาก ทางตอนเหนือของจังหวัดจันทบุรี, เรียกตัวเองว่า สําเร หรือ ตําเหรด, เขมรเรียกว่า พวกปอร.
  47. ชี้ช่อง : ก. แนะลู่ทางให้.
  48. ได้ช่อง, ได้ท่า : ก. ได้โอกาส.
  49. ลอดช่อง : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยแป้งข้าวเจ้ากวนพอสุก กดลง ในกะโหลกที่มีรูให้ไหลออกเป็นตัว ๆ หัวท้ายแหลม กินกับน้ำกะทิ.
  50. ลากหนามจุกช่อง : (สํา) ก. ยกเรื่องต่าง ๆ มาอ้างป้องกันตัว, ขัดขวาง ไม่ให้คนอื่นได้รับประโยชน์ในเมื่อตนเองไม่ได้รับประโยชน์ด้วย.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-531

(0.1503 sec)