Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ซัก , then ซก, ซัก .

Eng-Thai Lexitron Dict : ซัก, more than 7 found, display 1-7
  1. launder : (VT) ; ซักรีด ; Related:ซัก ; Syn:cleanse, wash and iron
  2. launder : (VI) ; ซักรีด ; Related:ซัก
  3. buck 5 : (VT) ; ซักในน้ำยาเคมี
  4. cross-examine : (VT) ; ซักค้านพยาน
  5. wash : (VT) ; ล้างออกไป ; Related:ซัก, ล้าง, ซักล้าง, ชะล้าง ; Syn:clean, cleanse, lave ; Ant:dirty
  6. Eng-Thai Lexitron Dict : ซัก, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : ซัก, more than 7 found, display 1-7
  1. ซัก : (V) ; wash ; Related:clean, launder ; Syn:ซักล้าง, ฟอก ; Def:ทำให้สะอาดด้วยน้ำ ; Samp:เราจะซักผ้าทุกวันอาทิตย์
  2. ซัก : (V) ; question ; Related:interrogate, ask, query, inquire ; Syn:ถาม, ซักถาม, สอบถาม, สอบสวน, ไต่ถาม ; Ant:ตอบ ; Def:ไล่เลียงให้กระจ่างแจ้ง ; Samp:ผู้จัดการซักลูกน้องว่ามีปัญหาหนักใจในเรื่องการทำงานหรือไม่
  3. ซักซ้อม : (V) ; exercise ; Related:practice, train ; Syn:ฝึกซ้อม, ฝึกฝน, เตรียมพร้อม, ซ้อมซัก ; Def:สอบให้แม่นยำ, สอบให้คล่อง, แนะกันไว้ล่วงหน้า ; Samp:เขาซักซ้อมการออกเสียงจนคล่องแคล่ว
  4. ซักค้าน : (V) ; cross-examine ; Samp:อัยการนัดซักค้านในเดือนมกราคม
  5. ซักถาม : (V) ; question ; Related:interrogate, inquire, ask ; Syn:ไต่ถาม, ซักไซ้ ; Ant:ตอบ ; Samp:นักเรียนซักถามอาจารย์เรื่องการหักเหของแสงในน้ำ
  6. ซักผ้า : (V) ; wash ; Related:do one's washing ; Def:ทำความสะอาดเสื้อผ้าด้วยน้ำกับผงซักฟอก เป็นต้น ; Samp:ฉันต้องซักผ้า 2 กะละมังใหญ่ๆ ไปไหนไม่ได้หรอก
  7. ซักล้าง : (V) ; wash ; Related:clean, rinse ; Syn:ชะล้าง, ล้าง, ฟอก, ซักฟอก ; Samp:เมื่อซักล้างเสื้อผ้าแล้ว สามารถนำมาใช้ล้างลานบ้าน ล้างห้องน้ำ หรือรดน้ำต้นไม้ก็ได้
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : ซัก, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : ซัก, more than 5 found, display 1-5
  1. ซัก : (กฎ) ก. ทําให้สะอาดด้วยนํ้า; ไล่เลียงให้กระจ่างแจ้ง.
  2. ซักซ้อม : ก. สอบให้แม่นยํา, สอบให้คล่อง, แนะกันไว้ล่วงหน้า, ซ้อมซัก ก็ว่า.
  3. ซักค้าน : (กฎ) ดู ถามค้าน.
  4. ซักส้าว : น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่งของเด็กโดยจับแขนดึงกันไปมา.
  5. ซ้อมซัก : (โบ) ก. ซักซ้อม; (กลอน) ทุบตี เช่น ยามเมื่อเพลี่ยงพล้ำ เขาก็จะช่วยกันกระหน่ำซ้ำซ้อมซัก. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : ซัก, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : ซัก, 8 found, display 1-8
  1. บริกรรม : 1.(ในคำว่า “ถ้าผ้ากฐินนั้นมีบริกรรมสำเร็จด้วยดี”) การตระเตรียม, การทำความเรียบร้อยเบื้องต้น เช่น ซัก ย้อม กะ ตัด เย็บ เสร็จแล้ว 2.สถานที่เขาลาดปูน ปูไม้ ขัดเงา หรือชักเงา โบกปูน ทาสี เขียนสี แต่งอย่างอื่น เรียกว่าที่ทำบริกรรม ห้ามภิกษุถ่มนำลาย หรือนั่งพิง 3.การนวดฟั้นประคบ หรือถูตัว 4.การกระทำขั้นต้นในการเจริญสมถกรรมฐาน คือ กำหนดใจโดยเพ่งวัตถุ หรือนึกถึงอารมณ์ที่กำหนดนั้น ว่าซ้ำๆ อยู่ในใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำใจให้สงบ 5.เลือนมาเป็นความหมายในภาษาไทย หมายถึงท่องบ่น, เสกเป่า
  2. กล่าวคำอื่น : ในประโยคว่า เป็นปาจิตติยะ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ถูกซักอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะให้การตามตรง เอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนเสีย
  3. ตัสสาปาปิยสิกากรรม : กรรมอันสงฆ์พึงทำเพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้เลวทราม, กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้เป็นจำเลยในอนุวาทาธิกรณ์ ให้การกลับไปกลับมา เดี๋ยวปฏิเสธ เดี๋ยวสารภาพ พูดถลากไถล พูดกลบเกลื่อนข้อที่ถูกซัก พูดมุสาซึ่งหน้า สงฆ์ทำกรรมนี้แก่เธอเป็นการลงโทษตามความผิดแม้ว่าเธอจะไม่รับ หรือเพื่อเพิ่มโทษจากอาบัติที่ต้อง
  4. นวังคสัตถุศาสน์ : คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง, ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ๑.สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) ๒.เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด) ๓.เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น).๕.อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร) ๖.อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร) ๗.ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) ๘.อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ) ๙.เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น); เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์ ดู ไตรปิฎก
  5. บุพกรณ์ : ธุระอันจะพึงทำในเบื้องต้น, งานที่จะต้องกระทำทีแรก, เรื่องที่ควรตระเตรียมให้เสร็จก่อน เช่น บุพกรณ์ของการทำอุโบสถ ได้แก่ เมื่อถึงวันอุโบสถ พระเถระลงอุโบสถก่อน สั่งภิกษุให้ปัดกวาดโรงอุโบสถตามไฟ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ตั้งหรือปูลาดอาสนะไว้; บุพกรณ์แห่งการกรานกฐิน คือ ซักผ้า ๑ กะผ้า ๑ ตัดผ้า ๑ เนาหรือด้นผ้าที่ตัดแล้ว ๑ เย็บเป็นจีวร ๑ ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว ๑ ทำกัปปะคือพินทุ ๑ ดังนี้เป็นต้น
  6. อุโบสถ : 1) การสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เป็นเครื่องซักซ้อมตรวจสอบความบริสุทธิ์ทางวินัยของภิกษุทั้งหลาย และทั้งเป็นเครื่องแสดงความพร้อมเพรียงของสงฆ์ด้วย อุโบสถมีชื่อเรียกย่อยออกไปหลายอย่าง การทำอุโบสถจะมีการสวดปาฏิโมกข์ได้ต่อเมื่อมีภิกษุครบองค์สงฆ์จตุรวรรค คือ ๔ รูป ขึ้นไป ถ้าสงฆ์ครบองค์กำหนดเช่นนี้ทำอุโบสถ เรียกว่า สังฆอุโบสถ แต่ถ้ามีภิกษุอยู่เพียง ๒ หรือ ๓ รูป เป็นเพียงคณะท่านให้บอกความบริสุทธิ์แก่กันและกันแทนการสวดปาฏิโมกข์ เรียกอุโบสถนี้ว่า คณอุโบสถ หรือ ปาริสุทธิอุโบสถ ถ้ามีภิกษุอยู่ในวัดรูปเดียว ท่านให้ทำเพียงอธิษฐานคือตั้งใจกำหนดจิตว่าวันนี้เป็นอุโบสถของเรา (อชฺช เม อุโปสโถ) อุโบสถที่ทำอย่างนี้ เรียกว่า ปุคคลอุโบสถ หรือ อธิษฐานอุโบสถ; อุโบสถที่ทำในวันแรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า จาตุทสิก ทำในวันขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ เรียกว่า ปัณณรสิก ทำในวันสามัคคี เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ 2) การอยู่จำ, การรักษาศีล ๘ และบำเพ็ญข้อปฏิบัติอย่างอื่นที่สมควรมีฟังพระธรรมเทศนาเป็นต้นของคฤหัสถ์ ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญและวันจันทร์ดับ 3) วันอุโบสถสำหรับพระสงฆ์ คือ วันจันทร์เพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) และวันจันทร์ดับ (แรม ๑๕ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำ เมื่อเดือนขาด), สำหรับคฤหัสถ์ คือ วันพระ ได้แก วันขึ้นและวันแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ และวันจันทร์ดับ 4) สถานที่สงฆ์ทำสังฆกรรม เรียกตามศัพท์ว่า อุโปสถาคารหรืออุโปสถัคคะ, ไทยมักตัดเรียกว่าโบสถ์
  7. อุปนิสินนกถา : “ถ้อยคำของผู้เข้าไปนั่งใกล้”, การนั่งคุยหรือสนทนาอย่างกันเองหรือไม่เป็นแบบแผนพิธี เพื่อตอบคำซักถาม แนะนำชี้แจง ให้คำปรึกษาเป็นต้น
  8. โอกาส : ช่อง, ที่ว่าง, ทาง,เวลาที่เหมาะ, จังหวะ; ในวิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ มีระเบียบว่า ก่อนจะกล่าวคำโจทนา คือคำฟ้องขึ้นต่อหน้าสงฆ์ โจทก์พึงขอโอกาสต่อจำเลย คำขอโอกาสว่า “กโรตุ เม อายสฺมา โอกาสํ, อหนฺตํ วตฺตุกาโม” แปลว่า “ขอท่านจงทำโอกาสแก่ข้าพเจ้าๆ ใคร่จะกล่าวกะท่าน” ถ้าโจทโดยไม่ขอโอกาส ต้องอาบัติทุกกฏ คำให้โอกาสท่านไม่ได้แสดงไว้ อาจใช้ว่า “กโรมิ อายสฺมโต โอกาสํ” แปลว่า “ข้าพเจ้าทำโอกาสแก่ท่าน”; ภิกษุพร้อมด้วยองค์ ๕ แม้จะขอให้ทำโอกาสก็ไม่ควรทำ (คือไม่ควรให้โอกาส) กล่าวคือ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ถูกซักเข้า ไม่อาจให้คำตอบขอที่ซัก, องค์ ๕ อีกหมวดหนึ่งว่า เป็นอลัชชีเป็นพาล มิใช่ปกตัตตะ กล่าวด้วยปรารถนาจะกำจัด มิใช่เป็นผู้มีความปรารถนา ในอันให้ออกจากอาบัติ

ETipitaka Pali-Thai Dict : ซัก, more than 5 found, display 1-5
  1. ขาเฬติ : ก. ล้าง, ซัก, ชำระ
  2. โธวติ : ก. ล้าง, ซัก, ชำระ, ทำให้สะอาด, ทำให้หมดจด
  3. นิทฺโธวติ : ก. ล้าง, ซัก, ชำระ, ทำให้สะอาด, บริสุทธิ์
  4. อาจมติ : ก. ชำระล้าง, ซัก, ชะ
  5. อุกฺกิเลเทติ : ก. ทำให้สะอาด, ชำระ, ซัก, ฟอก
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : ซัก, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ซัก, 1 found, display 1-1
  1. ซักผ้า : โธวิ

(0.1304 sec)