Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตระกูล , then ตระกุล, ตระกูล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตระกูล, 106 found, display 1-50
  1. ตระกูล : [ตฺระ-] น. สกุล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์.
  2. ตระกูลมูลชาติ : [-มูนชาด] (สํา) น. ตระกูลผู้ดี เช่น หญิงมีตระกูลมูลชาติ ถ้าแม้ขาดขันหมากก็ขายหน้า. (ท้าวแสนปม), สกุลรุนชาติ ก็ว่า.
  3. มีตระกูล : ว. ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลสูง เช่น เขาเป็นลูกผู้ดีมีตระกูล.
  4. ต้นตระกูล : น. บรรพบุรุษดั้งเดิม.
  5. ผู้สืบตระกูล : น. ลูกหลานที่เป็นชายซึ่งสืบวงศ์สกุลโดยไม่ขาดสาย.
  6. กบิล ๒ : [กะบิน] น. ระเบียบ, แบบ, ทาง, เช่น กบิลความ; วิธีการ เช่น กบิลเมือง; กระบวน, หมู่, เช่น กบิลไม้; บรรดา เช่น กบิลว่าน, คํานี้บางทีเขียนเป็น กะบิล กระบิล ระบิล. (เทียบ ฮ. กปิล ว่า ชนิด, จําพวก, ตระกูล).
  7. กระ ๔ : ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กําแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา - กระทํา, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
  8. กระกูล : (เลิก) น. ตระกูล. (อัยการเบ็ดเสร็จ).
  9. กาฬาวก : [-วะกะ] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีดํา, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดํา ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนสีน้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคํา ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ป.).
  10. คงไคย : น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีเหมือนสีนํ้าไหล, คังไคย ก็ว่า. (ดู กาฬาวก). (ป. คงฺเคยฺย, ส. คางฺเคย).
  11. คังไคย : น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า คังไคยหัตถี กายสีเหมือน สีนํ้าไหล, คงไคย ก็ว่า. (ดู กาฬาวก). (ป. คงฺเคยฺย, ส. คางฺเคย).
  12. คันธ-, คันธะ : [คันทะ-] (แบบ) น. กลิ่น, กลิ่นหอม, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า หอม. (ป., ส.); ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า คันธหัตถี กายสีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม. (ดู กาฬาวก).
  13. โคตร, โคตร- : [โคด, โคดตฺระ-] น. วงศ์สกุล, เผ่าพันธุ์, ต้นสกุล, เช่น โคตมโคตร; คํานี้บางทีก็นําไปใช้ในความหมายไม่สุภาพหรือเป็นคําด่า เช่น ก่นโคตร. (ส. โคตฺร; ป. โคตฺต ว่า โรงวัว, คอกวัว, วงศ์, ตระกูล).
  14. บัณฑรหัตถี : น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีขาวดังเขาไกรลาส.
  15. ประยุร, ประยูร : [ปฺระยุน, ปฺระยูน] น. เผ่าพันธุ์, เชื้อสาย, ตระกูล.
  16. ปัณฑรหัตถี : [ปันดะระ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีขาว ดังเขาไกรลาส. (ดู กาฬาวก).
  17. ปิงคลหัตถี : [ปิงคะละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองอ่อนดั่งสีตาแมว. (ดู กาฬาวก).
  18. มงคลหัตถี : [มงคนละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีนิล อัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม. (ดู กาฬาวก).
  19. วงศ, วงศ์ : [วงสะ, วง] น. เชื้อสาย, เหล่ากอ, ตระกูล. (ส. วํศ; ป. วํส).
  20. เหม, เหม- : [เหมะ-] น. ทองคำ; ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า เหมหัตถี กายสีเหลืองดั่งทอง. (ดู กาฬาวก). (ป.), เรียกฝาหีบหรือภาชนะบางอย่าง ซึ่งมียอดแหลมปิดทอง, เรียกส่วนยอดปราสาทที่อยู่ระหว่างบัลลังก์กับ บัวกลุ่ม.
  21. อาชานะ, อาชานิ : น. กําเนิด, ตระกูล. (ส.).
  22. อุโบสถ ๒, อุโบสถหัตถี : [อุโบสด, อุโบสดถะ] น. ชื่อช้าง ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองคำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือน น้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สี ทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยา ท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งเงินยวง แต่ปาก และเท้าสีแดง.
  23. กวย ๒ : น. ชาติข่า ในตระกูลมอญ-เขมร.
  24. ก้อ ๒ : น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก.
  25. ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  26. กัณฐัศ, กัณฐัศว์ : [กันถัด] น. ชื่อม้าตระกูลหนึ่ง, ในบทกลอนใช้เรียกม้าทั่วไป.
  27. ก๊าซเฉื่อย, แก๊สเฉื่อย : น. ธาตุที่เป็นแก๊ส มีสมบัติไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี ได้แก่ ฮีเลียม นีออน อาร์กอน คริปทอน ซีนอน และเรดอน, ปัจจุบันเรียก ก๊าซมีตระกูล, แก๊สมีตระกูล (noble gases) หรือ ก๊าซหายาก, แก๊สหายาก (rare gases). (อ. inert gases).
  28. กุล ๑, กุล- : [กุน, กุนละ-, กุละ-] น. ตระกูล, สกุล. (ป., ส.).
  29. กุลทูสก : [กุละทูสก] น. ผู้ประทุษร้ายต่อตระกูล หมายถึงภิกษุ ที่ประจบตระกูลต่าง ๆด้วยอาการที่ผิดวินัย. (ป.).
  30. กุลธิดา : [กุนละ-] น. ลูกหญิงผู้มีตระกูล.
  31. กุลบดี : [กุนละ-] น. หัวหน้าตระกูล. (ส.).
  32. กุลบุตร : [กุนละ-] น. ลูกชายผู้มีตระกูล.
  33. กุลสตรี : [กุนละ-] น. หญิงผู้มีตระกูลและมีความประพฤติดี.
  34. กุลสัมพันธ์ : [กุนละ-] ว. เกี่ยวเนื่องกันทางตระกูล. (ป.).
  35. ไก่ป่า : น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเข้มสดใสและหลากสีกว่าตัวเมีย เช่น สีเขียว ดำ แดง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียขาสีเทาเข้ม โคนหางสีขาวอาศัยในป่าโปร่ง เช่น ป่าไผ่ ในประเทศไทย มี ๒ ชนิดย่อย คือ ไก่ป่าติ่งหูขาว (G. g. gallus) และไก่ป่าติ่งหูแดง (G. g. spadiceus) ไก่ชนิดนี้เป็นต้นตระกูลของไก่บ้าน.
  36. ขมุ : [ขะหฺมุ] น. ชื่อชนชาวเขาเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญ-เขมร.
  37. ขลุมประเจียด : [ขฺลุม-] น. ชื่อช้างตระกูลหนึ่ง ในอัคนีพงศ์ ประเภทศุภลักษณ์.
  38. ข่า ๑ : น. คนชาวเขาจำพวกหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งพูดภาษา ในตระกูลมอญ-เขมร เช่น ข่า อัตตะปือ ข่าตองเหลือง และอีกพวก หนึ่งพูดภาษาในตระกูลอินโดนีเซียน ได้แก่ ข่าระแด และ ข่าจะราย.
  39. เขมร ๑ : [ขะเหฺมน] น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย ลาว และเวียดนาม มีภาษาพูดอยู่ในตระกูล มอญ-เขมร และมีอักษรของตนเองใช้ เรียกว่า อักษรขอม.
  40. โคบุตร : [-บุด] น. ชื่อช้างหมู่ ๑ ในอัฏฐคช ตระกูลวิษณุพงศ์ มีสีผิว เหลือง หางเหมือนหางโค งางอน เวลาร้องมีเสียงเหมือนเสียงโคป่า เช่น ลางคือโคบุตรพรายพรรณ ลางสารสำคัญ คือสีหชงฆาควร. (สมุทรโฆษ).
  41. โคล ๑ : [โคน] น. ชนกลุ่มหนึ่งในประเทศอินเดียฝ่ายใต้ เช่น ผู้สืบสัมพันธ์ โคตรเค้าโคลตระกูล ทิชาเชื้อชาติธชีชูชก. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  42. เงาะ ๑ : น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างตํ่าเตี้ย ตัวดํา ผมหยิก ในตระกูลนิกริโต (Negrito) และตระกูลออสโตรเนเชียน (Austronesian) อยู่ในแหลมมลายู เรียกตัวเองว่า กอย ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, โดยปริยายเรียกคนที่มี รูปร่างเช่นนั้น.
  43. จุลจอมเกล้า : [จุนละ-] น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรกใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  44. ฉัททันต์ : (แบบ) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูลเรียกว่า ฉัททันตหัตถี กายสีขาว บริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ดู กาฬาวก)ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. (ป.).
  45. ชอง : น. ชื่อชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญ–เขมร มีมาก ทางตอนเหนือของจังหวัดจันทบุรี, เรียกตัวเองว่า สําเร หรือ ตําเหรด, เขมรเรียกว่า พวกปอร.
  46. ช้างเผือก ๑ : น. ช้างในตระกูลชาติพรหมพงศ์ อิศวรพงศ์ พิษณุพงศ์หรืออัคนิพงศ์ ที่มีลักษณะ ๗ สี คือ ขาว เหลือง เขียว แดง ดํา ม่วง เมฆและมีตา เล็บ ขน เป็นต้น ประกอบ ด้วยคชลักษณ์ด้วย; โดยปริยายหมายถึงคนดีมีวิชาเป็นต้น ที่เกิดในชนบทแล้วมามีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในกรุง.
  47. ช้างเผือก ๒ : น. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  48. ชาติธรรม : [ชาติทํา] ว. มีความเกิดเป็นธรรมดา. (ส. ชาติธรฺม ว่า หน้าที่ของตระกูล).
  49. ชาติมาลา : [ชาติ] น. สาขาแห่งชาติ, โครงแห่งตระกูล, แผนเครือญาติ. (ส.).
  50. ซ้ำสาม : น. คําว่าคนตํ่าช้าไม่มีตระกูลดี.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-106

(0.0694 sec)