Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตี , then ติ, ตี .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตี, 596 found, display 1-50
  1. สวัสติ, สวาตี : [สะหฺวัดติ, สะวาตี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๕ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปช้างพัง เหนียงผูกคอสุนัข ดวงแก้ว หรือ กระออมนํ้า, ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม ก็เรียก. (ส. สฺวาติ).
  2. ค่อน ๓ : ก. ตัด, ทอน, เช่น บั่นเรือขาดเปนท่อน ค่อนพวนขาดเปนทุ่น. (ตะเลงพ่าย); ตี, ทุบ, ข้อน ก็ใช้.
  3. ดอย ๒ : ก. ผูก, มัด, ตอก, ชก, ตี, ปา, ทอย.
  4. ถาบ : (ถิ่น) ก. ตบ, ตี, เช่น นกถาบปีก, ทาบ ก็ใช้.
  5. ทันติน, ทันตี : (แบบ) น. ช้าง. (ส. ทนฺตินฺ; ป. ทนฺตี).
  6. ทาบ : ก. วางวัตถุสิ่งหนึ่งแนบกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ทาบผ้าทาบตัว, (ปาก) เปรียบ, เทียบ, เช่น เรามีความรู้น้อยจะไปทาบท่านผู้รู้ได้อย่างไร; ตบ, ตี, เช่น นกทาบปีก, ถาบ ก็ใช้.
  7. ปรานีตีเอาเรือ : (สํา) ก. เอ็นดูหรือเผื่อแผ่เขา แต่กลับถูกประทุษร้าย ตอบ เช่น มุทะลุดุดันขันเหลือ ปรานีตีเอาเรือเสียอีกเล่า. (สังข์ทอง).
  8. ลมตีขึ้น : ก. อาการที่ลมในท้องตีขึ้นมา.
  9. ขันติ, ขันตี : น. ความอดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ, ความอดทน. (ป. ขนฺติ = ความอดทน เป็นบารมี ๑ ในบารมี ๑๐.
  10. กุลาตีไม้, กุลาตีอก : น. การเล่นชนิดหนึ่งในงานพระราชพิธี. (กฎ. ราชบุรี; ดึกดําบรรพ์).
  11. ขี้แพ้ชวนตี : (สํา) ก. แพ้ตามกติกาแล้วยังไม่ยอมรับว่าแพ้จะเอาชนะ ด้วยกําลัง, แพ้แล้วพาล.
  12. ขี่ม้าตีคลี : น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่ง.
  13. คลุกคลีตีโมง : ก. มั่วสุมหรืออยู่ร่วมคลุกคลีพัวพันกันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา.
  14. ค้อนตีหมา : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Ancistrocladus tectorius Merr. ในวงศ์ Ancistrocladaceae, คันทรง ก็เรียก.
  15. โจงกระเบนตีเหล็ก : น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  16. ทวิตียะ, ทวิตียา : [ทะวิ-] (แบบ) ว. ที่ ๒. (ส.).
  17. นอนตีพุง : (ปาก) ก. ได้ผลประโยชน์โดยไม่ต้องทําอะไร; สบายใจ, หมดกังวล.
  18. บนข้าวผี ตีข้าวพระ : (สํา) ก. ขอร้องให้ผีสางเทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ช่วยเหลือโดยจะแก้บนเมื่อสําเร็จประสงค์แล้ว.
  19. ปิดประตูตีแมว : (สํา) ก. รังแกคนไม่มีทางสู้และไม่มีทางหนีรอดไปได้.
  20. พ่อค้าตีเมีย : ดู กับแก้.
  21. มอญตีดั้ง : น. ชื่อดอกไม้ไฟอย่างหนึ่งในพวกดอกไม้นํ้า.
  22. ไม้ตีพริก : น. สากไม้ตํานํ้าพริก ใช้ตํากับครกดิน, สากกะเบือ ก็เรียก.
  23. ยุ่งเหมือนยุงตีกัน : (สํา) ว. ยุ่งเหยิง, สับสนปนเปกัน.
  24. รักตีลาย : น. น้ำรักผสมสมุก เคี่ยวให้งวดจนจับเป็นก้อน เพื่อนำไปกด ลงในแม่พิมพ์ทำเป็นลวดลายต่าง ๆ.
  25. กระทุ่ม ๒ : ก. เอาเท้าตีน้ำเมื่อเวลาว่ายน้ำ; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ ร่าร้อง. (เพชรมงกุฎ); (โบ; กลอน)โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ).
  26. ปรบ : [ปฺรบ] ก. เอาฝ่ามือตบกันหลาย ๆ ครั้งให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความ ยินดีเป็นต้น ในคําว่า ปรบมือ, ตบมือ ก็ว่า; ตี เช่น ไก่ปรบปีก ช้างปรบหู.
  27. ค้อน ๑ : น. ชื่อเครื่องมือที่มีหัวและด้าม สำหรับเคาะ ตอก ตี ทุบ, ลักษณนามว่า เต้า หรือ อัน; เครื่องมือชนิดหนึ่งใช้ในการจับปลา.
  28. ฆาฏ : (โบ; เลิก) น. การฆ่า, การทําลาย. ก. ตี.
  29. ฆาต, ฆาต- : [คาด, คาดตะ-] น. การฆ่า, การทําลาย. ก. ตี เช่น เจ้าวิลาสฆาตกลอง เร่งกองรบ. (อภัย).
  30. ท่อ ๒ : (โบ) ก. ตี เช่น ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่อเมืองตาก กูไปท่อบ้าน ท่อเมือง. (จารึกพ่อขุนรามคำแหง).
  31. ทุบตี : ก. ทําร้ายร่างกายด้วยการทุบ ตี เตะ ต่อย เป็นต้น.
  32. ทุ่ม : ก. เอาของหนัก ๆ ทิ้งลงไป เช่น เอาก้อนหินทุ่มลงไปในนํ้า, ทิ้งทับลง, ทิ้งถมลง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทุ่มเงิน; ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ. (ตะเลงพ่าย). น. วิธีนับเวลา ตามประเพณีสําหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม.
  33. ประเคน : ก. ถวายของพระโดยวิธียกส่งให้ตามพิธีการที่กําหนดไว้ เช่น ประเคนอาหาร; ส่งให้ถึงมือ (ใช้ในความแดกดัน) เช่น ต้องเอาไป ประเคนให้จนถึงที่; (ปาก) ตี เช่น ประเคนกระบาล ๓ ที.
  34. โพย ๒ : น. อันตราย, โพยภัย ก็ว่า. ก. โบย, ตี.
  35. ระเบง : ก. ตี เช่น ระเบงฆ้องกลอง.
  36. รัน : ก. ตี เช่น อย่าเอาไม้สั้นไปรันขี้, มักใช้ว่า ตีรันฟันแทง.
  37. วาย ๒ : ก. ตี เช่น วายทรวง. (ข.).
  38. นักระ : [นักกฺระ] (แบบ) น. จระเข้. (ส.; ป. นกฺก). นักษัตร ๑, นักษัตร [นักสัด, นักสัดตฺระ] น. ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ ๑. อัศวินี, อัสสนี (ดาวม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุช) มี ๗ ดวง ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง ๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง ๔. โรหิณี (ดาวพราหมีดาว ปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง ๕. มฤคศิร, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่าดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะ เนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง ๖. อารทรา, อทระ (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสําเภา) มี ๑ ดวง ๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสําเภา ดาวสําเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง ๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา หรือ ดาวสิธยะ) มี ๕ ดวง ๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕ ดวง ๑๐. มฆ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง ๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาว งูเมีย) มี ๒ ดวง ๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัว ตัวเมีย) มี ๒ ดวง ๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง) มี ๕ ดวง ๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ) มี ๑ ดวง ๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม) มี ๕ ดวง ๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕ ดวง ๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจําฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี ๔ ดวง ๑๘. เชฏฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง ๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙ ดวง ๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ,บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาว ราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง ๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ (ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง ๒๒. ศรวณะ, ศระวณ, สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง ๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา (ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี หรือ ดาวไซ) มี ๔ ดวง ๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ (ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง ๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ (ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง ๒๖. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า) มี ๒ดวง ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง. (ส.; ป. นกฺขตฺต).
  39. แพ่น : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาว จะกลมหรือแบนก็ได้ ตีลงด้วยกำลังแรง เช่น เอาไม้ตะพดแพ่นหัว; พรวดพราด อุกอาจ เอื้อมอาจ หรือล่วงล้ำ เข้าไปในที่ที่ไม่ควร เช่น แพ่นเข้าไปถึงหลังบ้าน. ว. อาการที่อุกอาจ เอื้อมอาจ หรือ ล่วงลํ้าเข้าไปในที่ที่ไม่ควร (ใช้ในลักษณะติเตียน).
  40. ภูติ, ภูตี : [พูติ, พูตี] น. ความรุ่งเรือง, ความมั่งคั่ง. (ป., ส. ภูติ).
  41. กงพัด ๒ : น. ไม้เหลี่ยมสอดในรูซึ่งเจาะที่โคนเสาเรือน ปลายทั้ง ๒ ยื่นออกมาวางอยู่บนหมอน (ซึ่งเรียกว่า งัว) ข้างละต้น, หรือถ้าไม่ เจาะรู ก็ใช้เป็น ๒ อัน ตีขวางขนาบโคนเสาข้างละอันวางอยู่บน หมอนเหมือนกัน เพื่อกันทรุด.
  42. กบเต้น : น. ชื่อเพลงไทยร้องรํา ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทํานองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากํากับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาคร่าครวญน้อยใจที่ สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดําบรรพ์).
  43. กบาล : [กะบาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คําไม่สุภาพ) เช่น ตีกบาล เขกกบาล; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กบาลบ้าน; เครื่องเซ่นผีที่ใส่ภาชนะกับตุ๊กตาแล้ว นําไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง และต่อยหัวตุ๊กตาเสีย เรียกว่า เสียกบาล, เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเช่นนั้น เช่น เอาเหล้า ข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก. (ขุนช้างขุนแผน), บางทีใช้ว่า กระบาล เช่น ปรุตรุเคลือบกระบาลหิน. (จารึกวัดโพธิ์). (ป., ส. กปาล ว่า กะโหลกหัว).
  44. กรรเชียง : [กัน-] น. เครื่องพุ้ยน้ำให้เรือเดิน รูปคล้ายแจว มีหลักสําหรับ พาด ใช้เหนี่ยว; อาการที่พุ้ยเช่นนั้น เรียกว่า ตีกรรเชียง, ใช้ว่า กระเชียง ก็มี.
  45. กรรมวาจก : [กํามะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการก หรือผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็น กรรมการก คือ ผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้ สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิด ถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' เช่น หนังสือ เล่มนี้แต่งดีมาก.
  46. กระจองงอง, กระจองงอง ๆ : ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย.
  47. กระจับ ๒ : น. เครื่องสวมข้อตีนม้าสําหรับหัดให้เต้นสะบัดตีน ทําด้วยหวายหรือ ไม้ไผ่เหลาให้กลมขดรอบข้อตีนม้า ขัดเป็นเกลียวปล่อยชายทั้ง ๒ ข้าง เสี้ยมแหลมยื่นออกจากวงราว ๒ นิ้ว เพื่อกันมิให้ตีนกระทบกันเอง.
  48. กระเจอะกระเจิง, กระเจิดกระเจิง : ว. แตกหมู่เพ่นพ่านไป, เตลิดไป, เช่น เฒ่าก็เที่ยวสัญจร กระเจอะกระเจิง. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กองทัพข้าศึกถูกตีแตก กระเจิดกระเจิงไป.
  49. กระเจิดกระเจิง : ว. แตกหมู่เพ่นพ่านไป, เตลิดไป, เช่น กองทัพข้าศึกถูก ตีแตกกระเจิดกระเจิงไป. (ดู กระเจอะกระเจิง).
  50. กระเชียง : น. เครื่องพุ้ยน้ำให้เรือเดิน รูปคล้ายแจว มีหลักสําหรับพาด ใช้เหนี่ยว; อาการที่พุ้ยเช่นนั้น เรียกว่า ตีกระเชียง, กรรเชียง ก็ว่า.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-596

(0.0657 sec)