Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทรง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทรง, 352 found, display 1-50
  1. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  2. ทรงข้าวบิณฑ์ : ดู พุ่มทรงข้าวบิณฑ์.
  3. ทรงเครื่อง : ก. แต่งตัวมีเครื่องประดับ เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง, มีเครื่องปรุงพิเศษกว่าปรกติ เช่น กระท้อนทรงเครื่อง, ประดิด ประดอยให้งดงามเป็นพิเศษ เช่น ตัวหนังสือทรงเครื่อง; (ราชา) ตัดผม (ใช้แก่เจ้านาย).
  4. ทรงเครื่องใหญ่, ทรงพระเครื่องใหญ่ : (ราชา) ก. ตัดผม (ใช้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน). ทรงเจ้า ก. ทําพิธีเชิญเจ้าเข้าสิงคนทรง. น. เรียกคนสําหรับทรงเจ้า ว่า คนทรงเจ้า.
  5. ทรงประพาส : น. ชื่อฉลองพระองค์ มีรูปเป็นเสื้อกั๊กมีชาย, คู่กับ พระกรน้อย เป็นเสื้อชั้นใน ที่แขนต่อแถบรัด มีสายรัดกับเสื้อ ทรงประพาส, ชื่อเสื้อยศผู้ว่าราชการเมืองครั้งก่อน; ชื่อหมวก เครื่องยศรูปเป็นกลีบ ๆ มีชายปกข้างและหลัง.
  6. ทรงลังกา : ว. เรียกเจดีย์รูปทรงกลม มีฐานล่างเป็นฐานบัวลูกแก้ว องค์ครรภธาตุมีรูปทรงคล้ายระฆังควํ่า ตอนบนเป็นที่ตั้งของ รัตนบัลลังก์ มียอดประดับด้วยปล้องไฉน.
  7. ทรงหม้อตาล : น. เรียกหมวกที่มีรูปทรงคล้ายหม้อตาลอย่างหมวก ที่พลทหารเรือและจ่าทหารเรือเป็นต้นสวมว่า หมวกทรงหม้อตาล.
  8. ทรงกระเทียม : [ซง-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Eleocharis dulcis (Burm.f.) Hensch. var. dulcis ในวงศ์ Cyperaceae ลําต้นกลม มีกาบบาง ๆ หุ้มที่โคน ดอกเป็นกระจุก มีหัวกินได้.
  9. ทรงเจ้าเข้าผี : ก. เข้าผี, ลงผี.
  10. ทรงบาดาล : [ซง-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Senna surattensis (Burm.f.) Irwin et Barneby ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบใกล้ยอด ใบอ่อนกินได้ เปลือกและใบใช้ทํายา.
  11. เข้าทรง : ก. อาการที่เจ้าเข้าสิงในตัวคนทรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าเจ้า เป็น เข้าเจ้าเข้าทรง.
  12. เชิงทรง : น. เรียกนาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีกว่า นาเชิงทรง, นาขอบเหล็ก ก็ว่า.
  13. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  14. เปศัส, เปศัส- : [เปสัด, เปสัดสะ-] (แบบ) น. รูป, ทรง, สี; รูปงาม; เครื่องประดับ; ลายพร้อย, ผ้ามีลายดอกดวงต่าง ๆ. (ส.).
  15. พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ : น. พัดยศของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ มีลักษณะอย่างทรงพุ่ม ข้าวบิณฑ์ ปลายแหลม และมีแฉกโดยรอบ พื้นตาดโหมด หรือ กำมะหยี่ ปักลวดลายด้วยดิ้นเลื่อมหรือดิ้นด้าน มีสีและลวดลาย ต่าง ๆ ตามชั้นแห่งสมณศักดิ์ ด้ามงาเกลี้ยง, ถ้าเป็นพัดยศสมเด็จ พระสังฆราช ยอดทำด้วยงาสลักเป็นฉัตร ๓ ชั้น.
  16. พุ่มทรงข้าวบิณฑ์ : น. เครื่องบูชาทำด้วยข้าวบิณฑ์ ตั้งบนภาชนะ เช่นพาน, เรียกรูปทรงที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ทรงข้าวบิณฑ์ หรือ พุ่มข้าวบิณฑ์; เรียกลายไทยแบบหนึ่งผูกเขียนในรูปทรงเช่นนั้นว่า ลายทรงข้าวบิณฑ์ หรือ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์.
  17. ม่ายทรงเครื่อง : ว. เรียกแม่ม่ายที่มั่งมีว่า แม่ม่ายทรงเครื่อง.
  18. รูปทรง : น. ทรวดทรง สัณฐาน ประกอบด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น เรือลำนี้รูปทรงเพรียว; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นเป็นกลุ่มก้อน หรือเห็นแต่ ๒ ด้านขึ้นไป มีลักษณะจำกัดด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น รูปทรงพีระมิด.
  19. รูปร่าง : น. ลักษณะร่างกาย เช่น เขามีรูปร่างสูงโปร่ง, ทรวดทรง, ทรง, เช่น หลังคานี้รูปร่างเหมือนเก๋งจีน; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอก เป็นกำหนด มีลักษณะจำกัดเพียงความกว้างกับสูง เช่น รูปร่างพื้นฐาน ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้น.
  20. หมวกทรงหม้อตาล : น. หมวกที่มีรูปทรงคล้ายหม้อตาลอย่างหมวกที่ พลทหารเรือและจ่าทหารเรือเป็นต้นสวม. (รูปภาพ หมวกทรงหม้อตาล)
  21. นาเชิงทรง : น. นาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก, นาขอบเหล็ก ก็ว่า.
  22. นารายณ์ทรงเครื่อง, นารายณ์ประลองศิลป์ : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  23. แม่ม่ายทรงเครื่อง : น. แม่ม่ายที่มั่งมี.
  24. ท ๒ : ใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคําบางคํา เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคําบางคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.
  25. ธรง : [ทฺรง] (โบ; เลิก) ก. ทรง. (สามดวง).
  26. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  27. กปิ : [กะ-] (แบบ) น. ลิง เช่น ทรงพาหะองคต กปิยศโยธิน. (พากย์). (ป., ส.).
  28. กรง : [กฺรง] น. สิ่งที่ทําเป็นซี่ ๆ สําหรับขังนกเป็นต้น ตั้งอยู่ กับที่หรือยกไปได้; ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง. (เห่กล่อม). (เทียบมลายู กุรง; ข. ทฺรุง).
  29. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  30. กรรมชวาต : [กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์ เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรง จับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม + ช = เกิด + วาต = ลม).
  31. กรรสะ : [กัน-] (ราชา) ก. ไอ, ใช้ว่า ทรงพระกรรสะ. (ป. กาส; ส. กาศ).
  32. กรรุณา : [กฺระ-] (โบ) น. กรุณา เช่น ถ้าทรงพระกรรุณา. (สามดวง).
  33. กระเช้าผีมด : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Aristolochia tagala Cham. ในวงศ์ Aristolochiaceae ผลเมื่อแก่ตอนโคนแยกออกเป็น ๖ สาย คล้ายสาแหรก รากใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด Hydnophytum formicarium Jack ในวงศ์ Rubiaceae ชอบเกาะไม้ต้นในป่าดิบชื้นใกล้ฝั่งทะเล ลําต้นทรงกลมอวบน้ำ มีรูพรุนภายในเป็นที่อาศัยของมด ส่วนที่เป็นรูพรุนใช้ทํายาได้, หัวร้อยรู ก็เรียก.
  34. กระถอบ : น. แผ่นทองคําฉลุลายเป็นกิ่งต้นเครือวัลย์กระหนก สําหรับเสียบห้อย ที่ชายพกลงมาในระหว่างช่องหน้าขาทั้ง ๒ สามัญเรียกว่า ช่อทับชาย เช่น ที่ประดับเทวรูปทรงเครื่องทั่วไป เรียกกันว่า สุวรรณกระถอบ หรือ สุวรรณกัญจน์ถอบ.
  35. กระโถนปากแตร : น. กระโถนทรงกลมมีปากผายออกคล้ายแตร.
  36. กระทรวง ๑ : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  37. กระบอก ๑ : น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับใช้กับ ของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและ มือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิด ใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; (เรขา) รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้าน หนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็น วงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่ รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้น จนปลาย. (อ. cylinder). (รูปภาพ กระบอก)
  38. กระป๋อง : น. ภาชนะทําด้วยเหล็กวิลาดหรือสังกะสีเป็นต้น มักมีรูปเป็นทรงกระบอก สําหรับบรรจุของ ต่างๆ, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก.
  39. กระวีชาติ : น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทอง โดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์ เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎร ล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราช สุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
  40. กระสัน : ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึง ไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะ พระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสอง กระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็น รัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
  41. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  42. กระหยด : (โบ; แผลงมาจาก ขยด) ก. ถด, ถอย, เขยิบ, เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).
  43. กฤดา, กฤดาการ : [กฺริดา, กฺริดากาน] (โบ; กลอน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น. (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ. (เสภาสุนทรภู่).
  44. กฤดีกา, กฤตยฎีกา : [กฺริ-, กฺริดตะยะ-] แผลงมาจาก กติกา เช่น อันว่าความกฤดีกา แต่สองราแรกทรงพรต. (ม. คําหลวง กุมาร), ชําระกฤตยฎีกา. (ไวพจน์พิจารณ์).
  45. กฤษฎา ๑ : [กฺริดสะดา] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กฤด) ว. ที่ทําแล้ว เช่น เพื่อพระราชกฤษฎา แต่กี้ (ราชกิจที่ทรงทํามาแล้ว). (ตะเลงพ่าย).
  46. กฤษฎีกา : [กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากําหนด แห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการ บริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มี ลักษณะเป็นกฎหมาย.
  47. กะทัดรัด : ว. สมทรง, สมส่วน, เหมาะเจาะ.
  48. กะละปังหา : น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ละตัวเล็กมาก รูปร่างทรงกระบอกหรือรูปถ้วย สร้างเปลือกเป็นโครงร่างแข็ง หุ้มลําตัว มีช่องเปิดให้ตัวโผล่ออกมา อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โครงซากทับถมกันจนมีรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ มีสีต่างกันแล้วแต่ชนิด บางชนิดมีขนาดใหญ่และแข็งมาก นิยมนํามาทําเป็นลูกปัด เครื่องประดับ พวกที่อยู่ในอันดับ Gorgonacea มีสีแดง เหลือง ส้ม ม่วง พวกที่อยู่ในอันดับ Antipatharia มีสีดํา, กัลปังหา ก็เรียก. (เทียบมลายู kalam pangha).
  49. กะลา ๑ : น. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าว ถ้าผ่าซีก ซีกที่มีตา เรียกว่า กะลาตัวผู้ ซีกที่ตัน เรียกว่า กะลาตัวเมีย; เรียกถ้วยชามชนิดเลวเนื้อหยาบหนาว่า ชามกะลา; เรียกผมที่ตัดเป็นรูปกะลาครอบว่า ผมทรงกะลาครอบ; เรียกหมวกที่มีรูปคล้ายกะลาครอบว่า หมวกกะลา หรือ หมวกกะลาครอบ; (ปาก) กะโหลก เป็นคําไม่สุภาพ เช่น ไม่เจียมกะลาหัว คุ้มกะลาหัว. (สํา) ว. ไม่มีค่า เช่น เก่ากะลา.
  50. กะโล่ : น. ภาชนะสานของโบราณ ทารัก รูปแป้น ปากคลุ่ม ใช้ใส่ของมีเครื่องตัดผมเป็นต้น; ภาชนะสานคล้ายกระด้ง มีหลายขนาด แต่ชนิดที่ทาชันเพื่อไม่ให้น้ารั่วออก สําหรับหมักขี้ไต้นั้น มีขนาดใหญ่กว่ากระด้งมาก; เรียกสีหน้าที่แสดงความดีใจหรือภาคภูมิใจมากว่า หน้าบานเป็นกะโล่; ชื่อหมวกกันแดดชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม มีปีกแข็งโดยรอบ โครงทําด้วยไม้ฉําฉาหรือไม้ก๊อกเป็นต้น แล้วหุ้มผ้าหรือทําด้วยใบลาน เรียกว่า หมวกกะโล่. (รูปภาพ กะโล่)
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-352

(0.0259 sec)