Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทะเลาะ , then ทลา, ทะเลาะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทะเลาะ, 32 found, display 1-32
  1. ทะเลาะ : ก. ทุ่มเถียงกันด้วยความโกรธ, โต้เถียงกัน, เป็นปากเป็นเสียงกัน.
  2. ทะเลาะเบาะแว้ง : ก. ทะเลาะกันด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หยุม ๆ หยิม ๆ.
  3. ปากเสียง : ก. โต้เถียง, ทะเลาะ, ในคำว่า เป็นปากเสียง มีปากเสียง. น. ผู้พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น ผู้แทนราษฎรเป็นปากเสียงของ ประชาชน.
  4. จำเลาะ : ก. ทะเลาะ. (ข. เฌฺลาะ).
  5. ชมเลาะ : (โบ) ก. ทะเลาะ เช่น ความชมเลาะกันก็จแรก. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ข. เฌฺลาะ ว่า ทะเลาะ).
  6. วิวาท : ก. ทะเลาะ เช่น เด็กวิวาทกัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทะเลาะ เป็น ทะเลาะวิวาท. (ป., ส.).
  7. กัด ๑ : ก. เอาฟันกดไว้โดยแรง เพื่อไม่ให้สิ่งที่กดไว้หลุดไป เช่น กัดไว้ให้อยู่ กัดไว้ให้แน่น หรือเพื่อให้เข้าไปให้ทะลุ ให้ฉีกขาดเป็นต้น เช่น สุนัขกัดเป็นแผลลึกเข้าไป หนูกัดผ้าเป็นรู ปากคันกัดเสียจนไม่มี ชิ้นดี, โดยปริยายหมายความว่า ทําให้หมดไปสิ้นไป เช่น สนิมกัดเหล็กจนกร่อน กัดสิวกัดฝ้าออกให้หมด, ทําให้เปื่อยเป็นแผล เช่น ปูนกัดปาก; (ปาก) คอยหาเรื่อง เช่น เขากัดฉันไม่เลิก, ทะเลาะวิวาท เช่น ๒ คนนี้กัดกันอยู่เสมอ. น. เครื่องมือจับปลาทะเลชนิดอวน.
  8. ง่องแง่ง : ว. อาการที่ร่างกายไม่แข็งแรงทําให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระย่องกระแย่ง หรือ กระง่องกระแง่ง ก็ว่า. ก. ทะเลาะเบาะแว้งกัน, ไม่ปรองดองกัน.
  9. ตอกลิ่ม : ก. ทำให้แยกโดยใช้ลิ่ม, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้บุคคล ๒ ฝ่าย แตกแยกกันหรือบาดหมางกันยิ่งขึ้น เช่น ตอกลิ่มให้ทั้ง ๒ ฝ่ายทะเลาะกัน.
  10. ทุ่มเถียง : ก. เถียงกันรุนแรงอย่างทะเลาะ.
  11. เป็นปากเป็นเสียงกัน : ก. ทะเลาะกัน.
  12. แปร้น : [แปฺร้น] ว. เสียงตะเบ็งเอ็ดอึงอย่างคนขึ้นเสียงทะเลาะกัน, แปร๋น หรือ แปร๋น ๆ ก็ว่า.
  13. พาลรีพาลขวาง : (สํา) ว. ชอบหาเรื่องทะเลาะวิวาท.
  14. ภัณฑนะ : [พันดะนะ] (แบบ) น. การทะเลาะ, การทุ่มเถียง, การแก่งแย่ง. (ป.; ส. ภณฺฑน, ภาณฺฑน).
  15. มีปากมีเสียง : ก. ทะเลาะกัน, ทุ่มเถียงกัน.
  16. ยุ : ก. กล่าวชักชวน ส่งเสริม หนุน หรือเป็นใจให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (มักใช้ ในทางที่ไม่สมควร) เช่น ยุให้เขาทะเลาะกัน ยุให้โกรธ ยุให้กําเริบ.
  17. ร้าวฉาน : ว. แตกร้าว, แตกร้าวกัน, โกรธเคืองกัน, เช่น การทะเลาะ เบาะแว้งทำให้เกิดร้าวฉานกัน.
  18. รำคาญ : ก. ระคายเคือง เช่น รำคาญหู รำคาญตา รำคาญเนื้อ รำคาญตัว; เบื่อ เช่น ทำสวนครัวแก้รำคาญ; ทำให้เดือดร้อน, เบื่อหน่าย, เช่น เสียงทะเลาะกัน ทำให้รำคาญ.
  19. เราะราย : ว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, มักพูดชวนทะเลาะ ทั่วไป เช่น พูดจาเราะราย ปากเปราะเราะราย ปากคอเราะราย.
  20. ล้งเล้งเอากับฉันใหญ่. : ว. อาการที่ส่งเสียงเอ็ดอึงราวกับทะเลาะ วิวาทกัน เช่น พูดกันล้งเล้ง.
  21. ลดตัว : ก. ถ่อมตัว, ไม่ถือตัว, เช่น ลูกจ้างนิยมนายจ้างที่ลดตัวมาเล่น หัวกับตน, ไม่ไว้ตัว เช่น เป็นผู้ใหญ่แล้วยังลดตัวไปทะเลาะกับเด็ก.
  22. เลิกรา : ก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น ร้านแถวนี้ขายไม่ดี จึงเลิกรากันไป เรื่อย ๆ บ้าน ๒ หลังนี้ทะเลาะกันเรื่อย หนักเข้าก็เลิกรากันไปเอง.
  23. เลิกแล้วต่อกัน : ก. ยุติการทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน.
  24. โลกวัชชะ : [โลกะ–] น. โทษทางโลก, อาบัติที่เป็นโทษทางโลก, ข้อเสียหายที่ชาวโลกติเตียนว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ คือ สิ่งที่ ภิกษุหรือคนทั่วไปที่ไม่ใช่ภิกษุทำ ก็เป็นความผิดความเสียหาย เหมือนกัน เช่น ทําโจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทะเลาะวิวาท. (ป.).
  25. วางตัวเป็นกลาง : ก. ไม่เข้าข้างใคร เช่น พี่น้องทะเลาะกัน เขาเลยต้องวางตัวเป็นกลาง.
  26. วิคหะ : [วิกคะ] น. การทะเลาะ, การโต้เถียง; ร่างกาย, รูปร่าง, ตัว; การแยกออกเป็นส่วน ๆ. (ป. วิคฺคห; ส. วิคฺรห).
  27. ศิลป์ไม่กินกัน. : (รามเกียรติ์ ร. ๖); (สํา) ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใด ต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.
  28. ห้ามทัพ : ก. ยับยั้งศึก, โดยปริยายหมายความว่า ยับยั้งการทะเลาะวิวาทกัน.
  29. ใหญ่ : ว. โต เช่น พี่คนใหญ่, คนโต เช่น เขยใหญ่, มีขนาดโตกว่าหรือสำคัญกว่า เป็นต้นเมื่อเปรียบเทียบกัน เช่น ข่าวใหญ่ สงครามใหญ่, มีขนาดไม่เล็ก เช่น บ้านหลังใหญ่; รุนแรงมาก, อุตลุด, เช่น ทะเลาะกันใหญ่ ชกกันใหญ่.
  30. เอาทองไปรู่กระเบื้อง : (สํา) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาล หรือคนที่มีฐานะตํ่ากว่า เป็นการไม่สมควร, เอาพิมเสนไปแลก กับเกลือ ก็ว่า.
  31. เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ : (สำ) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาล หรือคนที่มีฐานะต่ำกว่า เป็นการไม่สมควร, บางทีใช้เข้าคู่กับ เอา เนื้อไปแลกกับหนัง ว่า เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลก กับหนัง, เอาทองไปรู่กระเบื้อง ก็ว่า.
  32. เอาไม้สั้นไปรันขี้ : (สํา) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาลมีแต่ ทางเสีย.
  33. [1-32]

(0.0558 sec)