Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ท่านหญิง, หญิง, ท่าน , then ทาน, ท่าน, ทานหญง, ท่านหญิง, หญิง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ท่านหญิง, 774 found, display 1-50
  1. ท่านหญิง : น. คําที่ใช้เรียกราชนิกุลฝ่ายหญิงชั้นหม่อมเจ้า.
  2. ท่าน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคํากลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่า ลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คําที่ใช้ประกอบหน้า ชื่อบรรดาศักดิ์หรือตําแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.
  3. หญิง : น. คนที่มีมดลูก, ผู้หญิง ก็ว่า.
  4. นมบกอกพร่อง : (กฎ; โบ) น. ลักษณะของหญิงที่ชายทําให้เสียความ บริสุทธิ์แล้วทอดทิ้งไป เช่น แลมันทําชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย ท่าน ว่ามันทําให้ลูกหลานท่านนมบกอกพร่อง ให้ไหมชายผู้เลมิดพ่อแม่ ผู้เถ้าผู้แก่นั้นโดยขนาฎ. (สามดวง), มักใช้เพี้ยนไปเป็น นมตกอกพร่อง.
  5. หญิงงามเมือง : น. หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิง โสเภณี นครโสเภณี หญิงนครโสเภณี หรือหญิงหากิน ก็ว่า.
  6. หญิงสามผัว : (สำ) น. ผู้หญิงที่มีสามีถึง ๓ คน, ใช้พูดตำหนิเหยียดหยาม ว่าเป็นหญิงไม่ดี.
  7. หญิงโสด : น. หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน, สาวโสด ก็ว่า.
  8. หญิงหากิน : น. หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิงโสเภณี นครโสเภณี หญิงนครโสเภณี หรือ หญิงงามเมือง ก็ว่า.
  9. ท่านชาย : น. คําที่ใช้เรียกราชนิกุลฝ่ายชายชั้นหม่อมเจ้า.
  10. ผู้หญิง : น. หญิง.
  11. ษมา : [สะมา] ก. กล่าวคําขอโทษ. น. การยกโทษให้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอม รับผิด, ขมา ก็ว่า. (ส. กษมา; ป. ขมา). ษมายุมแปลง น. เครื่องขมาโทษที่ชายนําไปคํานับพ่อแม่หญิงเพื่อ ขอโทษในการที่ลักพาลูกสาวท่านไป.
  12. คุณหญิง : น. คํานําหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า; (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นเอกภรรยาของพระยา; (ปาก) คำที่ใช้เรียก หม่อมราชวงศ์ที่เป็นหญิง.
  13. เด็กหญิง : (กฎ) น. คํานําหน้าชื่อเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่ถึง ๑๕ ปีบริบูรณ์.
  14. โทรมหญิง : (กฎ) ก. ร่วมกันข่มขืนกระทําชําเราหญิง.
  15. นครโสภิณี, หญิงนครโสภิณี : [นะคอน, หฺยิงนะคอน] (แบบ) ดู นครโสเภณี, หญิงนครโสเภณี.(ป.).
  16. นครโสเภณี, หญิงนครโสเภณี : [นะคอน, หฺยิงนะคอน] น. หญิงที่หา เลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิงโสเภณี หญิงงามเมือง หรือ หญิงหากิน ก็ว่า, (แบบ) นครโสภิณี, หญิงนครโสภิณี.
  17. ผู้หญิงยิงเรือ : (สํา) น. ผู้หญิงทั่วไป เช่น ของพม่าเป็นเรื่องของ พระอินทร์ ดูสนิทกว่าที่จะให้ผู้หญิงยิงเรือ, ผู้หญิงริงเรือ ก็ว่า เช่น เห็นผู้หญิงริงเรือที่เนื้อเหลือง. (อภัย).
  18. ผู้หญิงหากิน : น. หญิงค้าประเวณี.
  19. พนิด, พนิดา : น. วนิดา, หญิง, หญิงสาว. (ส. วนิตา).
  20. ลูกผู้หญิง : น. เรียกผู้หญิงที่มีความสุภาพเรียบร้อย สงบเสงี่ยม อ่อนโยน รู้จักรักนวลสงวนตัว ประกอบด้วยเมตตากรุณา และ รู้จักการบ้านการเรือน เป็นต้น.
  21. เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร : น. ชื่อนกนางแอ่นชนิด Pseudochelidon sirintarae ในวงศ์ Hirundinidae ลำตัวสีดำ มีแต้มขาวตรงโคนหาง ตาและขอบตาขาว ปากเหลือง เฉพาะ ตัวผู้มีหางยาวคล้ายเส้นลวด ๒ เส้นพบบริเวณบึงบอระเพ็ด, ตาพอง ก็เรียก.
  22. ยกตนข่มท่าน : (สํา) ก. ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น, พูดทับถมผู้อื่นแสดง ให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า.
  23. ลูกท่านหลานเธอ : น. ลูกหลานเจ้านายหรือผู้มีอํานาจ.
  24. แพศยา : [แพดสะหฺยา] น. หญิงหาเงินในทางประเวณี, หญิงถ่อย, หญิง สําส่อน. (ส. เวศฺยา; ป. เวสิยา).
  25. เจ้ากู : น. ท่าน (ใช้เรียกพระที่นับถือ).
  26. ฝ่าพระบาท : ส. ท่าน (ใช้แก่เจ้านาย), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  27. เพื่อน ๒ : (ปาก) ส. คําใช้แทนคําว่า เขา หรือ ท่าน ในอาการที่เป็นกันเอง.
  28. กามินี : น. หญิง เช่น จงกามินีปน รสร่วม กันนา. (ลอ). (ป. ว่า หญิงมีความใคร่).
  29. ถี : (แบบ) น. หญิง. (ป.).
  30. บ่าว : น. คนใช้; ชายหนุ่ม; เรียกชายผู้เข้าพิธีสมรสว่า เจ้าบ่าว, คู่กับ หญิง ผู้เข้าพิธีสมรส ซึ่งเรียกว่า เจ้าสาว.
  31. ยักหล่ม : น. รอยบุ๋มที่สะบักทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสําหรับ หญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่กับ ถ่มร้าย เป็น ยักหล่มถ่มร้าย.
  32. สรรพนาม : (ไว) น. คําที่ใช้แทนชื่อ นาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวชื่อ นาม หรือข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เขา เรา ท่าน.
  33. อิตถี : [อิดถี] น. หญิง. (ป.; ส. สฺตฺรี).
  34. อิสตรี, อิสัตรี : [อิดสัดตฺรี] น. หญิง.
  35. ทาน ๑, ทาน- : ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คน ให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).
  36. กฤษฎา ๓, กฤษฎาญ, กฤษฎาญชลิต, กฤษฎาญชลี, กฤษฎาญชวลิตวา, กฤษฎาญชวลิศ, กฤษฎาญชวเลศ, กฤษฎาญชุลี : [กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด,-ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญ กฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คําหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคําหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).
  37. กษัตริยชาติ : [กะสัดตฺริยะชาด] น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็น กษัตริยชาติ. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). [กะสัดตฺรีสูน] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส. กฺษตฺร + อีศฺวร). [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).
  38. กษัตรี : [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา).
  39. กินริน, กินรี : [กินนะริน, กินนะรี] (กลอน) น. กินนรเพศหญิง เช่น ดุจกินรินแน่ง พักตราแพ่งมานุษย์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), กินรีแอ่นกินรากร. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  40. ธ ๒ : [ทะ] (กลอน) ส. ท่าน, เธอ, เช่น ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  41. ศฤงคาร : [สิงคาน, สะหฺริงคาน] น. สิ่งให้เกิดความรัก, บริวารหญิงผู้บําเรอ ความรัก เช่น สาวศฤงคารคนใช้. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ศฺฤงฺคาร ว่า ความใคร่).
  42. หล่อน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศหญิง สําหรับผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๒, (โบ) สรรพนามบุรุษที่ ๒ และที่ ๓ ใช้เรียกได้ทั้ง บุรุษและสตรี เช่น จงทรงพระกรุณาโปรด ขอประทานโทษเจ้าเวสสันดร หล่อนกระทำละเมิดจิตผิดกระทรวง. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  43. กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
  44. ก็ได้ ๒ : นิ. แสดงความหมายว่ายอมอย่างไม่เต็มใจนัก เช่น ท่านจะไปก็ได้.
  45. กตเวทิตา : [กะตะ-] น. ความเป็นผู้ประกาศคุณท่าน, ความเป็นผู้สนอง คุณท่าน, เป็นคําคู่กันกับ กตัญญุตา. (ป.).
  46. กตเวที : [กะตะ-] ว. (ผู้) ประกาศคุณท่าน, (ผู้) สนองคุณท่าน, เป็นคําคู่กัน กับ กตัญญู. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทําแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ].
  47. กตัญญุตา : [กะตัน-] น. ความกตัญญู, ความเป็นผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ความเป็นผู้รู้คุณท่าน. (ป.).
  48. กตัญญู : [กะตัน-] น. (ผู้) รู้อุปการะที่ท่านทําให้, (ผู้) รู้คุณท่าน, เป็นคําคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทําแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้].
  49. กนิษฐภคินี : น. น้องหญิง. (-ป., ส. ภคินี ว่า น้องหญิง).
  50. กรรณยุคล : [กันนะ-] น. หูทั้ง ๒ ข้าง เช่น ในพระกรรณยุคลท่านนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. ยุคล ว่า คู่).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-774

(0.1562 sec)