Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ธร .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ธร, 53 found, display 1-50
  1. ธร : [ทอน] น. การยึดไว้, การถือไว้, การทรงไว้, การมีไว้; ผู้รักษาไว้, ผู้ทรงไว้, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น วิชาธร วินัยธร. (ป.; ส. ธฺฤ).
  2. ธรรมปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความ เข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).
  3. ธรรมันเตวาสิก : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  4. ธรรมันเตวาสิก : [ทํามัน] น. อันเตวาสิก (ศิษย์) ผู้เรียนธรรมวินัย. (ส.; ป. ธมฺมนฺเตวาสิก).
  5. ธรรมานุธรรมปฏิบัติ : [ทํามา] น. การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม, การประพฤติความดีสมควรแก่ฐานะ.
  6. ธรรมานุธรรมปฏิบัติ : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  7. ธรรมานุสาร : [ทํามา] น. ความถูกตามธรรม, ทางหรือวิธีแห่งความยุติธรรม, ความระลึกตามธรรม. (ส.; ป. ธมฺมานุสาร).
  8. ธรรมานุสาร : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  9. พิทยาธร : น. อมนุษย์พวกหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าเทวดา เชื่อว่ามีวิชา กายสิทธิ์สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ อยู่ในภูเขาหิมาลัย มีหน้าที่ ปฏิบัติพระศิวะ. (ส. วิทฺยาธร).
  10. ลองธรรม์ : (แบบ) น. ทางธรรม เช่น แถลงปางพระเลี้ยงโลก ลองธรรม์. (ยวนพ่าย).
  11. วิทยาธร : น. พิทยาธร. (ส.).
  12. อิสินธร : [สินทอน] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๒ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็น วงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป. อิสินฺธร, อีสธร; ส. อีษาธร). (ดูสัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
  13. คันธรรพเวท, คานธรรพเวท : [คันทันพะเวด, คันทับพะเวด, คานทันพะเวด, คานทับพะเวด] น. วิชาการดนตรี เป็นสาขาหนึ่งของสามเวท. (ส. คนฺธรฺวเวท).
  14. เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร : น. ชื่อนกนางแอ่นชนิด Pseudochelidon sirintarae ในวงศ์ Hirundinidae ลำตัวสีดำ มีแต้มขาวตรงโคนหาง ตาและขอบตาขาว ปากเหลือง เฉพาะ ตัวผู้มีหางยาวคล้ายเส้นลวด ๒ เส้นพบบริเวณบึงบอระเพ็ด, ตาพอง ก็เรียก.
  15. เนมินธร : [มินทอน] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๕ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลม รอบเขาพระสุเมรุ. (ป., ส.). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
  16. ประโคนธรรพ, ประโคนธรรพ์ : [ปฺระโคนทับ, ปฺระโคนทัน] น. หัวหน้าคนธรรพ์ผู้เป็นเจ้าแห่ง การดนตรี ถือว่าเป็นครูปี่พาทย์, เขียนเป็น ประคนธรรพ หรือ ประคนธรรพ์ ก็มี.
  17. ยุคันธร : น. ยุคนธร. (ป.). (ดู ยุคนธร ที่ ยุค๑).
  18. ยุคุนธร : น. ยุคนธร. (ดู ยุคนธร ที่ ยุค๑).
  19. วินัยธร : [วิไนทอน] น. ภิกษุผู้ชํานาญวินัย. (ป.).
  20. อังศุธร, อังศุมาลี : น. พระอาทิตย์. (ส.).
  21. อาธรรม, อาธรรม์, อาธรรมิก, อาธรรมึก : [ทํา, ทัน, ทันมิก, ทันมึก] ว. ชั่ว, ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม. (ส. อาธรฺมิก; ป. อธมฺมิก).
  22. กระสัน : ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึง ไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะ พระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสอง กระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็น รัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
  23. กังกะ : (แบบ) น. เหยี่ยว เช่น เกิดเป็นภักษแก่กังกโกรญจคฤธรกา บินมาวว่อนร่อน ก็ร้อง. (สมุทรโฆษ).
  24. กัณหธรรม : น. ธรรมฝ่ายดํา คือ อกุศล.
  25. กำทวน : ว. สนั่น, หวั่นไหว, ก้อง, เช่น เสียงมฤคคชสีหไกรสร สีหนาทกําธร กําทวนข้างป่าหิมพานต์. (สมุทรโฆษ).
  26. กุสุมิตลดาเวลลิตา : [กุสุมิตะละดาเวนลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๖ คณะคือ ม คณะ ต คณะ น คณะ ย คณะ ย คณะ ย คณะ บาทละ ๑๘ คำ หรือ ๑๘ พยางค์ (ตามแบบว่า โม โต โน โย ยา กุสุมิตลตาเวลฺลิตากฺขุตฺวสีหิ) ตัวอย่างว่า มนตรีมาตย์ผู้ฉลาดมละ ทุจริตธรรม์ พึงผดุงสรร- พสิ่งสวัสดิ์. (ชุมนุมตำรากลอน).
  27. คฤธร : [คฺรึทฺระ] (แบบ) น. แร้ง, ในบทประพันธ์ใช้ว่า คฤธร ก็มี เช่น เกิดเป็น ภักษแก่กังกโกรญจคฤธรกา บินมาวว่อนร่อนก็ร้อง. (สมุทรโฆษ).
  28. ตระบัด ๒ : [ตฺระ-] (โบ) ก. ฉ้อโกง เช่น บ่อยู่ในสัตย์ ตระบัดอาธรรม์. (เสือโค), กระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้, ยืมหรือกู้เอาทรัพย์เขาไปแล้วโกงเอาเสีย, ยักยอก, ใช้อย่าง สะบัด ก็มี.
  29. ตรีปิฎก : น. พระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งมี ๓ หมวดใหญ่ หมวดหนึ่ง เรียกว่า ปิฎกหนึ่ง คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมซึ่งโดยมากเรียกว่า ปรมัตถ์, ใช้ว่า ไตรปิฎก ก็ได้. (ส. ตฺริปิฏก; ป. ติปิฏก ว่า ตะกร้า ๓).
  30. ทศพล : น. ผู้มีกําลัง ๑๐ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า. ทศพิธราชธรรม น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็น หลักธรรมประจําพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน - การให้ ๒. ศีล - การรักษากายวาจา ให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ - ความซื่อตรง ๕. มัททวะ - ความอ่อนโยน ๖. ตบะ - การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ - ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ - ความ อดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.
  31. เทวธรรม : น. ธรรมสําหรับเทวดา, ธรรมสําหรับทําบุคคลให้เป็น
  32. ธรรม ๓ : น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์.
  33. ธรรมกถา : น. การกล่าวธรรม, ถ้อยคําที่เป็นธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกถา). ธรรมกถึก น. เรียกพระที่เป็นนักเทศน์ผู้แสดงธรรมว่า พระธรรมกถึก. (ป. ธมฺมกถิก).
  34. ธรรมาธรรม : [ทํามา] น. ธรรมและอธรรม, ความถูกและความผิด, ยุติธรรมและอยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมาธมฺม).
  35. นิยยานิก : [นิยะยานิกะ] (แบบ) ว. ที่นําออกไปจากทุกข์ เช่น นิยยานิกธรรม คือ ธรรมที่นําสัตว์ออกจากทุกข์. (ป., ส. นิรฺยาณิก).
  36. นิรุตติปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉาน ในนิรุตติ คือ ความเข้าใจในภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำพูดอธิบายให้คนเข้าใจ ตลอดจนรู้ภาษาต่าง ๆ อาจชักนำคนให้เชื่อถือหรือนิยมตามคำพูด, กล่าวสั้น ๆ ว่า เข้าใจพูด. (ป.).
  37. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา : [ปะติพานะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที. (ป.).
  38. ปฏิสัมภิทา : (แบบ) น. ความแตกฉาน, ปัญญาอันแตกฉาน, มี ๔ อย่าง คือ อรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา. (ป.).
  39. ปปัญจธรรม : (แบบ) น. ธรรมที่ทําให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฐิ. (ป.).
  40. ประคนธรรพ, ประคนธรรพ์ : [ปฺระคนทับ, ปฺระคนทัน] ดู ประโคนธรรพ, ประโคนธรรพ์.
  41. พัดหน้านาง : น. พัดยศเปรียญหรือพระครูฐานานุกรมบางชั้นที่ต่ำ กว่าพระครูวินัยธรและพระครูธรรมธร มีลักษณะกลมอย่างหน้า นางด้านบนกลมมนโตกว่าด้านล่าง พื้นทำด้วยสักหลาด กำมะหยี่ อัตลัดสีต่าง ๆ ปักลวดลายต่างกันตามชั้นแห่งสมณศักดิ์, ถ้าเป็น พัดเปรียญ ๙ ประโยค พื้นทำด้วยตาดทอง.
  42. มหิธร : น. ผู้ทรงแผ่นดิน คือ ภูเขา; ชื่อหนึ่งของพระนารายณ์; พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. มหีธร, มหีธฺร).
  43. ยุคนธร : [คนทอน] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๑ ซึ่งเป็นชั้นในที่สุดในหมู่เขา สัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ, ใช้ ยุคันธร หรือ ยุคุนธร ก็มี. (ป., ส.). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
  44. วิชาธร : น. พิทยาธร.
  45. วิหารธรรม : [วิหาระทํา] น. ธรรมประจําใจ.
  46. สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์ ๑ : [สัดตะบอริพัน, สัดตะพัน] น. ภูเขาที่ล้อม เป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้น สูงลดหลั่นกันลงมา ตามลำดับชื่อภูเขาชั้นในที่สุดจากเขาพระสุเมรุออกมา คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมินธร วินตกะ อัสกัณ ระหว่างภูเขาแต่ละชั้น มีทะเลสีทันดรคั่น. (ป. สตฺตปริภณฺฑ, สตฺตภณฺฑ).
  47. หลวงพ่อ : (ปาก) น. คำเรียกพระพุทธรูปโดยความเคารพ เช่น หลวงพ่อ โสธร หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อวัดไร่ขิง; คำเรียกพระภิกษุที่เป็นพ่อ หรือ อยู่ในวัยเดียวกับพ่อ.
  48. อนิยต : [อะนิยด] ว. ไม่แน่นอน. น. ชื่ออาบัติที่ไม่แน่นอนว่าจะเป็น อาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ซึ่งพระวินัยธรจะต้อง วินิจฉัย. (ป., ส.).
  49. อรรถปฏิสัมภิทา : [อัดถะ] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไป จากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).
  50. อริยสัจ : น. ความจริงของพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ; ชื่อ ธรรมสําคัญหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา มี ๔ ข้อ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และ ๔.ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค (ทางแห่งความดับทุกข์). (ป. อริยสจฺจ).
  51. [1-50] | 51-53

(0.0238 sec)