Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: นามธรรม , then นามธมฺม, นามธรรม .

Eng-Thai Lexitron Dict : นามธรรม, 7 found, display 1-7
  1. abstraction : (N) ; นามธรรม ; Syn:idea, concept
  2. abstract : (ADJ) ; ที่เป็นนามธรรม ; Syn:ideal, conceptual
  3. embody : (VT) ; ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ; Syn:incarnate, personify
  4. subjective : (ADJ) ; เกี่ยวกับนามธรรม ; Related:ซึ่งอยู่ภายในจิตใจ ; Syn:nonobjective, illusory ; Ant:objective
  5. -ty : (SUF) ; แสดงความเป็นนามธรรม
  6. ideal : (ADJ) ; ซึ่งอยู่ในความคิด ; Related:ซึ่งไม่มีตัวตน, ซึ่งเป็นนามธรรม, ซึ่งอยู่ในอุดมคติ ; Syn:abstract, fanciful, imaginary
  7. intangible : (ADJ) ; ซึ่งยากเกินกว่าจะอธิบาย ; Related:ซึ่งเป็นนามธรรม ; Syn:vague ; Ant:tangible

Thai-Eng Lexitron Dict : นามธรรม, 7 found, display 1-7
  1. นามธรรม : (N) ; abstract ; Ant:รูปธรรม ; Def:สิ่งที่ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น และสัมผัส, ความไม่มีรูป, ความไม่มีตัวตน, การจับต้องไม่ได้ ; Samp:ความดีความชั่วเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้
  2. อรูป : (ADJ) ; intangible ; Related:immaterial ; Syn:นามธรรม ; Ant:รูปธรรม ; Def:ที่เป็นนามธรรม ; Samp:วิญญาณจัดเป็นสิ่งอรูปชนิดหนึ่ง
  3. รูปธรรม : (ADJ) ; concrete ; Related:solid, factual, substantial ; Ant:นามธรรม ; Def:สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย ; Samp:สติปัญญาพัฒนาการมาจากพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรม มองเห็นได้ง่ายๆ
  4. วัตถุนิยม : (ADJ) ; materialism ; Syn:นิยมวัตถุ, สสารนิยม ; Def:การให้คุณค่าแก่สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม ; Samp:สังคมทุกวันนี้เป็นสังคมวัตถุนิยม จนผู้คนไม่คิดอย่างอื่นนอกจากการสะสมความมั่งคั่งและแสวงหาสิ่งเสพปรนเปรอตน
  5. สร้าง : (V) ; create ; Related:produce, build, make, invent ; Syn:รังรักษ์, รังสรรค์, รังสฤษฎ์ ; Def:ทำให้เกิดสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งที่เป็นนามธรรม ; Samp:ฮาร์ดดิสก์ดิสก์ประเภทนี้สร้างความปั่นป่วนให้แก่วงการคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก
  6. คนชั้นสูง : (N) ; upper class ; Related:aristocracy ; Syn:ชนชั้นสูง ; Ant:คนชั้นต่ำ ; Samp:ความงามของคนชั้นสูงมักเป็นนามธรรม ต้องอาศัยความรู้สึกเพ่งพิศพิจารณาหรือรู้ได้ด้วยใจ ; Unit:คน
  7. ในจินตนาการ : (ADJ) ; imaginary ; Samp:บ้านในจินตนาการของเด็กๆ มักจะเป็นบ้านในแบบนามธรรม

Royal Institute Thai-Thai Dict : นามธรรม, more than 5 found, display 1-5
  1. นามธรรม : [นามมะทํา] น. สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น, คู่กับ รูปธรรม. (ส.; ป. นามธมฺม).
  2. รูปธรรมนามธรรม : น. ลักษณะที่เป็นเองอย่างนั้นตามธรรมชาติ (ใช้แก่รูปร่างหน้าตาของคน) เช่น หน้าตาสวยหรือไม่สวยก็เป็น เรื่องของรูปธรรมนามธรรม.
  3. รูปธรรม : [รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏ เป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทําโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากิน นํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).
  4. ค่า : น. มูลค่าหรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีประโยชน์ในทางใช้สอย แลกเปลี่ยน หรือทางจิตใจเป็นต้น บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินได้ บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินไม่ได้ เช่น ทองคำเป็นของมีค่า เวลามีค่ามาก; จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการ เป็นต้น เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าโดยสาร ค่าอาหาร; (คณิต) จำนวนหรือ ตัวเลขที่ระบุปริมาณหรือขนาดของตัวแปร; (สำ) เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีคุณค่ามากจนไม่อาจประเมินเป็นเงินได้ว่า เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้.
  5. ธรรม ๒ : คําประกอบท้ายคําที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไป จากคําศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : นามธรรม, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : นามธรรม, 10 found, display 1-10
  1. นามธรรม : สภาวะที่น้อมไปหาอารมณ์, ใจและอารมณ์ที่เกิดกับใจ คือ จิต และเจตสิก, สิ่งของที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ทางใจ ดู นาม
  2. นามรูป : นามธรรม และรูปธรรม นามธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ ได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปธรรม หมายถึง สิ่งที่มีรูป สิ่งที่เป็นรูป ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด
  3. รูปธรรม : สิ่งที่มีรูป, สภาวะที่เป็นรูป คู่กับ นามธรรม
  4. ขันธ์ : กอง, พวก, หมวด, หมู่, ลำตัว; หมวดหนึ่งๆ ของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดที่แบ่งออกเป็น ๕ กอง คือ รูปขันธ์ กองรูป เวทนาขันธ์ กองเวทนา สัญญาขันธ์ กองสัญญา สังขารขันธ์ กองสังขาร วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ เรียกรวมว่า เบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕)
  5. เจริญวิปัสสนา : ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา
  6. ชีวิตินทรีย์ : อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการตามรักษาสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมด้วย) ดุจน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัว เป็นต้น มี ๒ ฝ่ายคือ ๑.ชีวิตินทรีย์ที่เป็นชีวิตรูป เป็นอุปาทาย รูปอย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๑๓) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงเหล่ากรรมชรูป (รูปที่เกิดแต่กรรม) บางทีเรียก รูป ชีวิตินทรีย์ ๒.ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิกเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง) อย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๖) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงนามธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลาย บางทีเรียก อรูปชีวิตินทรีย์ หรือ นามชีวิตินทรีย์
  7. นามกาย : กองแห่งนามธรรม หมายถึง เจตสิกทั้งหลาย
  8. นามขันธ์ : ขันธ์ที่เป็นฝ่ายนามธรรม มี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
  9. เบญจขันธ์ : ขันธ์ ๕, กองหรือหมวดทั้ง ๕ แห่งรูปธรรมและนามธรรมที่ประกอบเข้าเป็นชีวิต ได้แก่ ๑.รูปขันธ์ กองรูป ๒.เวทนาขันธ์ กองเวทนา ๓.สัญญาขันธ์ กองสัญญา ๔.สังขารขันธ์ กองสังขาร ๕.วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ
  10. สังขาร : ๑.สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ๒.สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลาง ๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น; อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา ๓.จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา ๓.สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร ๓.จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา

ETipitaka Pali-Thai Dict : นามธรรม, 8 found, display 1-8
  1. นามธมฺม : (ปุ.) ธรรมอันเป็นนาม, นามธรรม รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น หรือกาย แต่ รู้ได้ทางใจ).
  2. อรูปธมฺม : (ปุ.) ธรรมมิใช่รูป, ธรรมที่ไม่มีรูป, อรูปธรรม, นามธรรม (ภาวะที่สัมผัสด้วยอายตนะคือ ตาหูจมูกลิ้นและกายไม่ได้สัมผัสสะได้แต่ใจ).
  3. กายปสฺสทฺธิ : อิต. ความสงบระงับแห่งนามธรรมหรือเจตสิก, ความสงบระงับแห่งกองเวทนา, สัญญาและสังขาร
  4. กายมุทุตา : อิต. ความอ่อนของร่างกาย, ความอ่อนแห่งนามธรรมคือเจตสิก
  5. ธมฺมสคีติ ธมฺมสงฺคีติ : (อิต.) การร้อยกรองซึ่งธรรม, การสังคายนาซึ่งธรรม, การ ร้อยกรองธรรม, การสังคายนามธรรม (คือการชำระพระธรรมวินัย คัดเอาคำที่ถูกต้องไว้).
  6. ธมฺมาธิฐาน : (นปุ.) การตั้งไว้ซึ่งธรรม, การตั้งไว้ซึ่งสภาวะ, ธรรมาธิษฐาน คือ การยกหลักธรรมหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมล้วนๆมาตั้งหรืออธิบาย. การอธิบายธรรมล้วนๆ ไม่มีสัตว์บุคคลเข้าประกอบ เรียก ว่าธรรมาธิษฐาน. คู่กันกับปุคลาธิษฐาน. ส. ธรฺมาธิษฺฐาน.
  7. นาม : (นปุ.) ความน้อนไป, ความน้อมไปใน อารมณ์ทั้ง ๖, ชื่อ, นาม คือคำชนิดหนึ่ง ในไวยากรณ์ สำหรับเรียก คน สัตว์ ที่ และสิ่งของต่างๆ หรือชื่อของสิ่งที่มิใช่รูป คือจิตและเจตสิก เรียกว่านามธรรมหรือ อรูปธรรม ซึ่งเป็นคู่กับ รูปธรรม. วิ. นมฺยเต อตฺถยเต อตฺถยสฺวิติ นามํ. นาเมหิ นามยตีติ วา นามํ. ส. นามนฺ.
  8. นามกาย : (ปุ.) กองแห่งนาม, กองแห่งนาม ธรรม, หมู่คือนาม, หมู่คือนามธรรม.

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : นามธรรม, 2 found, display 1-2
  1. แสดง (นามธรรม) : เทเสติ, ทีเปติ
  2. อาศัยนามธรรม : ปฏิจฺจ

(0.1124 sec)