Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บังคับบัญชา, บังคับ, บัญชา , then บงคบบญชา, บังคับ, บังคับบัญชา, บัญชา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บังคับบัญชา, 246 found, display 1-50
  1. บังคับบัญชา : ก. มีอํานาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการให้เป็นไป ตามอํานาจหน้าที่. น. อํานาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการให้เป็น ไปตามอํานาจหน้าที่, เรียกผู้มีอํานาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการ นั้นว่า ผู้บังคับบัญชา, เรียกผู้อยู่ใต้อํานาจปกครองควบคุมดูแลและ สั่งการนั้นว่า ผู้ใต้บังคับบัญชา.
  2. บังคับ : น. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อํานาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ใน ฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้ อํานาจสั่งให้ทําหรือให้ปฏิบัติ; ให้จําต้องทํา เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.
  3. บัญชา : น. คําสั่งของผู้มีอํานาจบังคับในการปกครอง. ก. สั่งการตามอํานาจ หน้าที่.
  4. ผู้บังคับบัญชา : น. ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอำนาจ ปกครองดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา.
  5. รับฟัง : ก. รับไว้พิจารณา เช่น ผู้บังคับบัญชารับฟังความเห็นของผู้ใต้ บังคับบัญชา.
  6. บังคับครุ : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มี เสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกด และไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระ สั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อํา ใอ ไอ เอา เช่น รํา ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน.
  7. บังคับใจ : ก. ห้ามใจ, ข่มใจ, อดกลั้น; ใช้อํานาจบังคับให้เขาต้องฝืน ใจทํา.
  8. บังคับโท : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือ คําที่มีรูปวรรณยุกต์โท.
  9. บังคับลหุ : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มี เสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ติ แพะ.
  10. บังคับสัมผัส : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คําคล้องจอง กัน มีหลายชนิด คือ สัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัสสระ สัมผัสอักษร.
  11. บังคับเอก : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือ คําที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคําตายทั้งสิ้นในโคลงและร่ายใช้ แทนเอกได้.
  12. กบเลือกนาย : (สํา) น. ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาอยู่เรื่อย ๆ.
  13. กองทัพ : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วย ทหาร ๓ กองพล และมีทหารหน่วยอื่น ๆ เช่น หน่วยทหารช่าง หน่วยทหารสื่อสาร หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารปืนใหญ่ เป็นส่วนประกอบ มีแม่ทัพเป็นผู้บังคับบัญชา.
  14. กองทัพน้อย : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วยทหารหลายกองพล มีจํานวนไม่แน่นอน เป็นการจัดตั้งขึ้นเฉพาะกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีแม่ทัพน้อยเป็นผู้บังคับบัญชา.
  15. กองพล : น. หน่วยทหารซึ่งมีทหารราบ ๓ กรม เป็นหลัก มีทหารหน่วยอื่น ๆ เช่น หน่วยทหารปืนใหญ่ หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารซึ่งมีทหารราบ ทหารขนส่ง หน่วยทหารสารวัตร เป็นส่วนประกอบ มีผู้บัญชาการกองพลเป็นผู้บังคับบัญชา.
  16. กองพัน : น. หน่วยทหารซึ่งประกอบด้วยทหาร ๔ กองร้อย มีผู้บังคับกองพันเป็นผู้บังคับบัญชา.
  17. กองร้อย : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วยทหาร ๔ หมวด มีผู้บังคับกองร้อยเป็นผู้บังคับบัญชา.
  18. แขนขวา : น. บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง เปรียบเสมือนแขนข้างขวา.
  19. แขนซ้ายแขนขวา : น. บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยว หัวแรงเปรียบเสมือนแขนซ้ายแขนขวา.
  20. เค้าสนามหลวง : (ถิ่น-พายัพ; โบ) น. สํานักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมือง ซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมือง ข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของ เมือง, เค้าสนาม ก็ว่า.
  21. เจ้ากระทรวง : น. ผู้บังคับบัญชากระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรี และ ปลัดกระทรวง.
  22. เจ้าขุนมุลนาย, เจ้าขุนมูลนาย : น. ผู้บังคับบัญชา, เจ้านาย ก็ว่า.
  23. เจ้านาย : น. เจ้า; ผู้บังคับบัญชา, เจ้าขุนมุลนาย หรือ เจ้าขุนมูลนาย ก็ว่า.
  24. นายเวร : ( น. นายตํารวจชั้นสัญญาบัตร มีหน้าที่เป็นเลขานุการของผู้ที่ มีตําแหน่งสูงกว่าตน เช่น นายเวรผู้บังคับการ นายเวรผู้บัญชาการ นายเวรอธิบดี หรือเป็นหัวหน้าปกครองเจ้าหน้าที่เสมียนพนักงาน ในบังคับบัญชาเป็นต้น; เจ้าหน้าที่การทูตชั้นผู้น้อยในสถานกงสุล.
  25. นายอำเภอ : ( (กฎ) น. ตําแหน่งเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ ซึ่งเป็น หัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอําเภอ และรับผิดชอบ ในการบริหารราชการของอําเภอ.
  26. บดี : [บอดี] (แบบ) น. นาย, เจ้าของ, เจ้า, ผู้ครอง, ผู้บังคับบัญชา; ผัว. (ป., ส. ปติ), ในสันสกฤตมีเกณฑ์ว่าศัพท์นี้เมื่ออยู่เฉพาะหมายความ ว่า นาย หรือ ผัว, ถ้ามีศัพท์อื่นมาเข้าสมาสเป็นคําท้ายด้วยหมายความ แต่ผัว เช่น บดีพรต, ในบทกลอนใช้ว่า บดิ ก็มี เพื่อเข้าบังคับลหุ.
  27. บังเหียน : น. เครื่องบังคับม้าให้ไปในทางที่ต้องการ ทําด้วยเหล็กหรือไม้ใส่ ผ่าปากม้า ที่ปลายมีห่วง ๒ ข้างสําหรับผูกสายบังเหียนโยงไว้ให้ ผู้ขี่ถือ, โดยปริยายหมายความว่า อํานาจบังคับบัญชาให้เป็นไปใน ทางที่ต้องการ เช่น ถือบังเหียนการปกครองบ้านเมือง กุมบังเหียน.
  28. ประจบสอพลอ : ก. ประจบประแจงผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีฐานะ สูงกว่าด้วยการกล่าวร้ายป้ายสีผู้อื่นเป็นต้นเพื่อประโยชน์ของตน.
  29. ผู้น้อย : น. คนที่มีอายุน้อย, ผู้ที่ถือกันว่ามีสถานภาพด้อยกว่า, คนที่อยู่ใต้บังคับบัญชา.
  30. ผู้หลักผู้ใหญ่ : น. ผู้มีอายุมาก เช่น โตจนเป็นผู้หลักผู้ใหญ่แล้วยัง ทำตัวเหลวไหล, ผู้ที่เป็นหัวหน้าในการงาน, บุคคลชั้นผู้บังคับบัญชา เช่น งานนี้มีผู้หลักผู้ใหญ่มากันมาก; บุคคลที่วางตัวหรือมีความคิด และความประพฤติเหมาะสมกับสถานภาพ เช่น แต่งงานแล้วดูเป็น ผู้หลักผู้ใหญ่มากขึ้น.
  31. ผู้ใหญ่ : น. คนที่มีอายุมาก, บุคคลที่มีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์แล้ว, คนที่เป็นหัวหน้าในการงาน, บุคคลชั้นผู้บังคับบัญชา.
  32. ฟัง : ก. ตั้งใจสดับ, คอยรับเสียงด้วยหู, ได้ยิน; เชื่อ, ทําตามถ้อยคํา เช่น ให้ฟังคําสั่งผู้บังคับบัญชา.
  33. รัฐมนตรี : [รัดถะมนตฺรี] น. ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีหรือคณะ รัฐบาลรับผิดชอบร่วมกับคณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาล ในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือ ทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการ และรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วย อีกฐานะหนึ่ง; (โบ) ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญา สิทธิราชย์.
  34. รับใช้ : ก. รับว่าจะใช้เงินให้; คอยปรนนิบัติพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นต้นด้วย ความเต็มใจ เช่น ลูกรับใช้พ่อแม่ ศิษย์รับใช้ครู, ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นาย หรือผู้มีอำนาจเหนือสั่งหรือใช้ เช่น พลทหารอยู่รับใช้ผู้บังคับบัญชา.
  35. รายงาน : น. เรื่องราวที่ไปศึกษาค้นคว้าแล้วนํามาเสนอที่ประชุม ครูอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา เป็นต้น. ก. บอกเรื่องของการงาน เช่น รายงานให้ ผู้บังคับบัญชาทราบ.
  36. รายงานตัว : ก. รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามแบบพิธี โดยบอกชื่อ นามสกุล ยศ ตำแหน่ง หน้าที่ และภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ.
  37. เรือธง : น. เรือที่ผู้บัญชาการกองเรือ ซึ่งมียศตั้งแต่พลเรือตรีขึ้นไปใช้เป็น ที่บังคับบัญชากองเรือ ชักธงตามยศของผู้บัญชาการนั้นไว้บนยอดเสาสูง สุดเพื่อให้เรือลำอื่นในกองเดียวกันสังเกตเห็นได้ชัดเจน.
  38. ลูกน้อง : (ปาก) น. บริวาร, ผู้อยู่ในปกครองหรือใต้บังคับบัญชา, ผู้ใกล้ชิดเป็นกําลังสําคัญในการงาน.
  39. เลขานุการ : น. ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหนังสือหรืออื่น ๆ ตามที่ ผู้บังคับบัญชาสั่ง.
  40. วศะ : น. อํานาจ, การบังคับบัญชา. (ส.; ป. วส).
  41. ว่ากล่าว : ก. ตำหนิ, ตักเตือน, เช่น มาทำงานสายเป็นประจำ จึงถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปว่ากล่าว, สั่งสอน เช่น ผู้ใหญ่ว่ากล่าวไม่เชื่อฟัง.
  42. ศาลปกครอง : (กฎ) น. ศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ตามที่กฎหมายบัญญัติอันได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทาง ปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาล กับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน.
  43. ส่วนหน้า : น. เรียกเขตที่มีการรบว่า พื้นที่ส่วนหน้า, เรียกส่วนราชการ ที่แยกออกไปเพื่ออํานวยความสะดวกในการควบคุมบังคับบัญชาใน การปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงานพิเศษ เช่น เรียกกองบัญชาการทหาร สูงสุดว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า. ส่วนหลัง น. เรียกเขตของกองทหารที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกําลัง บํารุงว่า พื้นที่ส่วนหลัง.
  44. สอพลอ : [สอพฺลอ] ก. กล่าวร้ายป้ายสีผู้อื่นเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีฐานะ สูงกว่าเกลียดชังผู้นั้นเพื่อประโยชน์ของตน.
  45. สะทกสะท้าน : ก. รู้สึกเกรงกลัว, รู้สึกเกรงกลัวจนตัวสั่น, เช่น เขาข่มขู่ฉันเสียจนสะทก สะท้านพูดไม่ถูก เธอตอบคำถามผู้บังคับบัญชาอย่างไม่สะทกสะท้าน.
  46. สะบัดร้อนสะบัดหนาว : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้ เพราะเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจ กลัวว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น เช่น ผู้ที่ทำความผิดไว้ พอ เห็นผู้บังคับบัญชามาก็รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า.
  47. สังฆาณัติ : (กฎ; เลิก) น. กฎข้อบังคับของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จพระ สังฆราชทรงบัญญัติขึ้นโดยคําแนะนําของสังฆสภา ตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔, ปัจจุบันเรียกว่า พระบัญชาสมเด็จ พระสังฆราช. (ป.).
  48. หนังสือเวียน : น. หนังสือราชการที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรหัสตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง, ภาษาปากใช้ว่า จดหมายเวียน หนังสือที่ผู้บังคับบัญชาเวียนแจ้งให้ผู้ใต้ บังคับบัญชารับทราบหรือถือปฏิบัติ.
  49. หุ่น : น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือ แกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกาย เป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือ ของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจ อะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.
  50. โหน : [โหนฺ] ก. เหนี่ยวห้อย, เอามือเหนี่ยวให้ตัวลอยขึ้นไป; (ปาก) ประจบประแจง เช่น เขามีนิสัยชอบโหนผู้บังคับบัญชา.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-246

(0.1446 sec)