Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บิด , then บด, บิด, บิดา, ปิด, ปิต .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บิด, 418 found, display 1-50
  1. บิด : ก. หมุนให้เป็นเกลียวอย่างบิดผ้า, หมุนไปทางใดทางหนึ่ง เช่น บิดลูกบิด; เผล้ไปจากสภาพปรกติ เช่น ล้อรถบิด, ทําให้ผิดไป จาก สภาพความจริง เช่น บิดข้อความ; หลีกเลี่ยงเพราะความ เกียจคร้านเป็นต้น เช่น บิดงาน บิดการ, เอานิ้วมือบีบเนื้ออย่าง แรงทํานองแหนบแล้วหมุน เช่น บิดเนื้อ บิดหู; กิริยาที่ปลากัด ปลาเข็มเอาปากต่อปากกัดกันจนติดแล้วกลับตัวไปมา. น. ลักษณนามเรียกอาการที่ปลากัดปลาเข็มเอาปากต่อปาก กัดกันแล้วกลับตัวไปมาเช่นนั้นแต่ละยกว่า บิดหนึ่ง ๒ บิด.
  2. บิด : น. โรคลําไส้ใหญ่อักเสบ มีอาการปวดมวนและอุจจาระเป็น มูกเลือด.
  3. บิดหล่า : [บิดหฺล่า] น. เครื่องมือสําหรับเจาะไม้ชนิดหนึ่ง ใช้มือดึงเชือก บิดเป็นเกลียว ปลายมีคม คล้ายสว่าน. (รูปภาพ บิดหล่า)
  4. บิดขี้เกียจ : ก. บิดร่างกายไปมาเพราะความเกียจคร้านหรือเพื่อ แก้เมื่อยเป็นต้น.
  5. บิดจะกูด, บิดตะกูด : ว. อาการที่บิดไปบิดมาไม่ยอมทําอะไรหรือ ไม่ยอมทําตามสั่ง.
  6. บิดซ้าย : ว. เรียกอาการที่ห่มจีวรโดยม้วนชายด้านข้างทั้ง ๒ ให้เป็นลูกบวบหันออกทางซ้ายว่า ห่มบิดซ้าย.
  7. บิดเบี้ยว : ว. บิดจนผิดรูปผิดร่างไปมาก เช่น หน้าตาบิดเบี้ยว รูปร่างบิดเบี้ยว.
  8. บิดหัวลูก : น. โรคบิดที่เป็นแก่หญิงมีครรภ์แก่จวนจะคลอด.
  9. บิด : น. พ่อ (ใช้ในที่สุภาพ), โดยปริยายหมายความว่า ผู้ให้กําเนิด เช่น บิดาแห่งประวัติศาสตร์, บิดร ก็ว่า. (ป. ปิตา; ส. ปิตฺฤ).
  10. ปิด : ก. กันหรือกั้นไว้ไม่ให้เผยออก เช่น ปิดฝาหม้อ, กันหรือกั้นไว้ให้ เข้าออกไม่ได้ เช่น ปิดถนน; ติด เช่น ปิดประกาศ ปิดทอง; โดย ปริยายหมายความว่า หยุด เช่น โรงเรียนปิด, ทําให้หยุด เช่น ปิดพัดลม ปิดวิทยุ, ไม่เปิดเผย เช่น ปิดวิชา ปิดความ.
  11. บิฐ : [บิด] น. ตั่ง, ที่นั่งชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยม มีเท้า มีพนักอิงบ้างไม่มีบ้าง. (ป. ปี?). (รูปภาพ บิฐ)
  12. ตะบิด : ก. บิด เช่น โพกผ้าพันตะบิดถือกริชกราย. (อิเหนา).
  13. เบี้ยว ๑ : ว. มีรูปบิดเบ้ไปจากเดิมซึ่งมักจะมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น หัวเบี้ยว ปากเบี้ยว. เบี้ยว ๆ บูด ๆ ว. บิด ๆ เบ้ ๆ.
  14. ลูกบิด : น. อุปกรณ์สําหรับจับบิดเพื่อปิด เปิดประตูหน้าต่าง เดิม ทําเป็นลูกกลม ๆ; อุปกรณ์เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์สําหรับปิดเปิด ให้ของเหลวเป็นต้นหยุดผ่านหรือไหลผ่าน; อุปกรณ์สําหรับบิดเร่ง หรือลดสายเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดหรือเครื่องสีให้ตึงหรือ หย่อน มักทําด้วยไม้หรืองา.
  15. กระบิด : ก. บิดเชือกหรือตอกให้เขม็งจนขอดเป็นปม.
  16. กระสม : น. ไม้ที่อยู่ในเครื่องทอผ้า สําหรับบิดม้วนผ้าที่ทอแล้ว เรียกว่า ไม้กระสม. (ปาเลกัว).
  17. กระหมวด ๑ : ก. ขอดให้เป็นปม, มุ่น, บิดม้วนให้เป็นปม. (แผลงมาจาก ขมวด).
  18. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  19. กูปรี : [-ปฺรี] น. ชื่อวัวป่าขนาดใหญ่ชนิด Bos sauveli ในวงศ์ Bovidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับกระทิงและวัวแดง ตัวสีดํา ตัวผู้มีเขาขนาดใหญ่ ส่วนปลายบิดชี้ขึ้นข้างบน ปลายแตกเป็นเส้น ๆ มองเห็นเป็นพู่ ส่วนตัวเมียเขาเล็กกว่า ปลายไม่แตกเป็นพู่ มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณ จังหวัดศรีสะเกษและตามชายแดนไทย-กัมพูชา หากินในทุ่งหญ้า โดยรวมฝูงอยู่กับกระทิงและวัวแดง เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว, โคไพร ก็เรียก.
  20. เกลียว : [เกฺลียว] น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นรอยพันหรือบิดโดยรอยต่อเนื่อง อย่างสว่าน หรือตะปูควงหรือเชือกที่ฟั่นเป็นต้น, ลักษณะของเชือก ที่ฟั่น. ก. กิริยาที่หมุนบิดให้เชือกเขม็งขึ้น เรียกว่า ตีเกลียว, ถ้าเอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้วเอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้ว ควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียว ที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อยเพื่อให้เชือกเส้นที่ ๓ สอดควบ เข้าด้วยกันได้จนตลอดเรียกว่า สับเกลียว หรือ สับเชือก. ว. โดยปริยายหมายความว่า ขยันขันแข็ง เช่น หากินตัวเป็นเกลียว, น้ำหนึ่งใจเดียวกัน เช่น เข้ากันเป็นเกลียว, ในลักษณะนี้ถ้าไม่เข้าเกลียวกัน คือแตกพวกหรือไม่ถูกกัน หรือมีความเห็นไม่ลงรอยกัน เรียกว่า ปีนเกลียว.
  21. ขมวด : [ขะหฺมวด] ก. บิดม้วนแล้วขอดให้เป็นปม, โดยปริยายหมายความว่า ย่นย่อข้อความทิ้งท้ายไว้ให้คิด. น. ลักษณนามเรียกของที่ขมวด อย่างนั้น เช่น หัวหอม ๔ ขมวด.
  22. ขมุดขมิด : [ขะหฺมุดขะหฺมิด] ว. กระหมุดกระหมิด, หวุดหวิด; บิดกระหมวด; ไม่แน่น, ไม่ถึง, ไม่ถนัด.
  23. ขวาน ๑ : [ขฺวาน] น. เครื่องมือสําหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทําด้วยเหล็กมีสัน หนาใหญ่, ถ้าบ้องที่หัวบิดได้สําหรับตัดและถาก เรียกว่า ขวานโยน, ขวานปูลู หรือ ขวานปุลู ก็เรียก, ถ้าด้ามสั้น สันหนา มีบ้องยาวตามสัน เป็นเครื่องมือของช่างไม้ ใช้ตัด ถาก ฟัน เรียกว่า ขวานหมู, ถ้าด้ามยาว ใบขวานใหญ่ เรียกว่า ขวานผ่าฟืน; หมอนที่ทำหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายขวาน ใช้อิง เรียกว่า หมอนขวาน.
  24. ขันชะเนาะ : ก. บิดลูกชะเนาะให้ตึง.
  25. ไขว้ : [ไขฺว้] ก. ขัด เช่น ไขว้เฉลว, สับกัน เช่น ส่งของไขว้ คือ เอาของคนหนึ่ง ไปส่งคืนให้อีกคนหนึ่ง, ก่ายสับกัน เช่น ไขว้ขา; กิริยาที่เตะตะกร้อด้วย บิดเท้าไปอีกข้างหนึ่ง เรียกว่า เตะไขว้.
  26. ชะเนาะ : น. ไม้สั้น ๆ สำหรับขันบิดเชือกที่ผูกให้แน่นเช่นในการ ทํานั่งร้าน, ลูกชะเนาะ ก็เรียก.
  27. ตระแบง ๒ : [ตฺระ-] ก. ผูกไขว้, ผูกบิด. (ข. ตฺรแบง ว่า ผูกไขว้ด้วยไม้ขันชะเนาะ).
  28. ถลุน : [ถะหฺลุน] ก. เอาปอหรือป่านมาบิดให้เป็นเส้นเขม็งเพื่อฟั่นเข้า เป็นเกลียวเส้นเชือกใหญ่.
  29. ทอฟฟี่ : น. ของหวานแบบฝรั่ง ใช้อม ทําด้วยนํ้าตาลกวนกับนมหรือเนย เป็นต้น มักปั้นเป็นก้อนห่อกระดาษแก้วบิดหัวท้าย. (อ. toffee).
  30. เนียง ๒ : (ถิ่นปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Archidendron jiringa Nielsen ในวงศ์ Leguminosae ฝักบิดเป็นวง เมล็ดค่อนข้างแบน กินได้, พะเนียง ก็เรียก, จันทบุรีเรียก ชะเนียง.
  31. บด ๑ : ก. ทําให้เปลือกแตก เช่น บดข้าวเปลือก, ทําให้แหลก เช่น บดข้าวสุก, ทําให้เป็นผง เช่น บดยานัตถุ์, ทําให้เรียบและแน่น เช่น บดถนน.
  32. บด ๒ : น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่งรูปเพรียว หัวท้ายเรียว, ถ้าใช้กรรเชียงมักท้ายตัด อย่างเรือบดทหารเรือ.
  33. บิดไส้ : ก. ใช้เวทมนตร์ทําให้เกิดอาการเจ็บปวดในท้องคล้ายลําไส้ ถูกบิด.
  34. เบ้ : ว. บิด, ไม่ตรง, เช่น ทําปากเบ้; ทําหน้าแสดงอาการผิดหวัง ไม่เห็น ด้วย ไม่พอใจ หรือเจ็บปวด เป็นต้น.
  35. เบญจมาศ : [เบนจะมาด] น. ชื่อไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. ในวงศ์ Compositae ใบหนา ใต้ใบมีขนละเอียด รูปใบมีแบบต่าง ๆ ดอกเป็นช่อออก ตามปลายกิ่ง มีหลายสี บางพันธุ์โต บางพันธุ์เล็ก บางพันธุ์กลีบ ดอกซ้อนถี่แน่น บางพันธุ์กลีบดอกยาวบิดเป็นเกลียว ใบหรือกลีบ เมื่อขยี้ดมมีกลิ่นฉุน เฉพาะพันธุ์ดอกเล็ก สีขาวกลิ่นหอม เรียก เบญจมาศหนู หรือ เก๊กฮวย ''ดอกตากแห้งชงกับใบชาหรือต้มกับ นํ้าตาล ใช้ดื่มแก้กระหาย.
  36. ปลิด : [ปฺลิด] ก. เอามือบิดให้ลูกไม้หลุดจากขั้ว, ทําให้หลุดจากที่.
  37. ปั่นด้าย : ก. เอาเส้นใยที่ทำให้ฟูตัวแล้วมาดึงให้ยืดเป็นเส้นพร้อมกับ บิดเกลียวเพื่อให้เส้นใยเกาะตัวเป็นเส้นยาวติดต่อกัน.
  38. ปั้นสิบ : น. ของกินอย่างหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า ใช้แป้งห่อไส้ แล้วม้วนบิดริมแป้งตรงที่ประกบกันให้เป็นลายเกลียว นึ่งหรือ ทอด, แป้งสิบ ก็เรียก.
  39. ปูลู ๑ : น. ชื่อขวานชนิดหนึ่ง มีบ้องที่หัวบิดได้ สําหรับตัดและถาก, ขวานโยน ก็เรียก.
  40. เป๋ : ว. บิดไป, เฉไป, ไถลไป, เช่น ขาเป๋ ผมเป๋, มักใช้เข้าคู่กับคํา ไป๋ ว่า เป๋ไป๋ หรือ ไป๋เป๋.
  41. พราด, พราด ๆ : [พฺราด] ว. เสียงดังเช่นนั้น; อาการที่ดิ้นบิดตัวไปมา เช่น เด็กดิ้นพราด หัวปลาช่อนถูกทุบดิ้นพราด ๆ.
  42. พลิ้ว : [พฺลิ้ว] ก. บิด, เบี้ยว, เช่น คมมีดพลิ้ว; สะบัดเป็นคลื่นไปตามลม เช่น ธงพลิ้ว.
  43. เพลาะ ๒ : น. วัวป่าชนิดหนึ่งเขาบิด ๆ. (พจน. ๒๔๙๓).
  44. แพลง : [แพฺลง] ก. บิดไป, พลิกตะแคง.
  45. มะกล่ำ : น. ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ มะกลํ่าตาช้าง หรือ มะกลํ่าต้น (Adenanthera pavonina L.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ฝักแก่บิดเป็นวง เมล็ดแข็งสีแดงใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กํ่าต้น; มะกลํ่าตาหนู หรือ มะกลํ่าเครือ (Abrus precatorius L.) เป็นไม้เถา ฝักแก่ไม่บิด เมล็ดสีแดงจุดดํา มีพิษ รากและใบใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กํ่าเคือ; อีกชนิดหนึ่งคือ มะกล่ำเผือก (A. fruticolosus wall. ex wight et Arnu.) คล้ายมะกล่ำตาหนูแต่เมล็ดสีขาว.
  46. ย้วย : ก. เบี่ยงหรือเลี่ยงจากแนวปรกติ ทําให้ยาวยื่นเกินไป เช่น กระโปรงย้วย ผ้าย้วย, ให้บิดไปบิดมา โค้งไปโค้งมา เสี้ยวไป เฉไปเฉมา เช่น แถวย้วย แม่น้ำย้วย.
  47. โยน ๒ : น. เรียกขวานชนิดที่หัวเป็นบ้อง บิดเปลี่ยนทางเพื่อใช้ในการตัดหรือ ถากได้ ว่า ขวานโยน, ขวานปุลู หรือ ขวานปูลู ก็เรียก.
  48. ระกำ ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Cathormion umbellatum (Vahl) Kosterm. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีขาว ฝักแบนบิดเป็นวง, ระกํานา หรือ ระกําป่า ก็เรียก. (๒) ชื่อปาล์มชนิด Salacca wallichiana C. Martius ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ ก้านใบมีหนามแข็ง เนื้อฟ่าม ผลออกเป็นกระปุก กินได้.
  49. ลั่น : ก. มีเสียงดัง เช่น ฟ้าลั่น ไม้ลั่น กระดานลั่น, ทำให้มีเสียงดังหรือ ทำให้เกิดเสียงดัง เช่น ลงบันได บันไดลั่น บิดตัวจนกระดูกลั่น; ยิง เช่น ลั่นธนู ลั่นปืน; ปริออกแตกออกเป็นทางยาวและมีเสียงดัง เช่น จั่นลั่น แก้วใส่น้ำร้อนลั่น; โดยปริยายหมายถึงมีเสียงดังคล้าย คลึงเช่นนั้น เช่น ลือลั่น. ว. มีเสียงดังมาก เช่น หัวเราะลั่น ร้องไห้ลั่น.
  50. ลูกชะเนาะ : น. ไม้สั้น ๆ สำหรับขัดบิดเชือกที่ผูกให้แน่นเช่นในการ ทำนั่งร้าน, ชะเนาะ ก็เรียก. ลูกชักครอก
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-418

(0.0613 sec)