Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บุก , then บก, บุก, ปุก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บุก, 107 found, display 1-50
  1. บุก : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Amorphophallus วงศ์ Araceae ในต้นฤดูฝนจะออกดอกก่อน เวลาบานส่งกลิ่นเหม็นมาก เมื่อ ดอกโรยแล้วมีใบงอกออกมาเพียงใบเดียว ก้านดอกและใบกลม ยาว หน้าแล้งต้นตายเหลือหัวอยู่ใต้ดิน เช่น บุกคางคก(A. rex Prain ex Hook.f.) หัวกินได้, บุกรอ (A. saraburiensis Gagnep.) ใช้ทํายาได้.
  2. บุก : ก. ลุย, ฝ่าไป, เช่น บุกโคลน บุกป่า.
  3. บุกป่าฝ่าดง : (สํา) ก. พยายามต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ.
  4. สมบุกสมบัน : ว. ทนลําบากตรากตรำโดยไม่คิดถึงตัว เช่น เขาทำงานสมบุกสมบัน จึงประสบความสำเร็จ; อาการที่ใช้โดยไม่ปรานีปราศรัยหรือโดยไม่ ทะนุถนอม เช่น ใช้เสื้อผ้าสมบุกสมบันทำให้ขาดเร็ว ใช้วัวควายไถนา อย่างสมบุกสมบันโดยไม่ให้พักผ่อน.
  5. บก : น. ส่วนของผิวพื้นโลกที่ไม่ใช่ทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น, ภาค พื้นดิน เช่น ทหารบก ทางบก, ที่ที่แห้ง, ที่ที่พ้นจากนํ้า, เช่น ขึ้นบก
  6. บุคคลธรรมดา : [บุกคน-] น. คน, มนุษย์ปุถุชน.
  7. บุคคลนิติสมมติ : [บุกคนนิติสมมด] (กฎ; เลิก) น. นิติบุคคล.
  8. บุคคล, บุคคล- : [บุกคน, บุกคะละ-, บุกคนละ-] น. คน (เฉพาะตัว); (กฎ) คนซึ่ง สามารถมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เรียกว่า บุคคลธรรมดา; กลุ่มบุคคลหรือองค์กรซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีก ประเภทหนึ่ง ที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และให้มีสิทธิและหน้าที่ ตามกฎหมาย เรียกว่า นิติบุคคล. (ป. ปุคฺคล; ส. ปุทฺคล).
  9. บุคคลผู้ไร้ความสามารถ : [บุกคน-] (กฎ) น. บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มี ความสามารถตามกฎหมาย หรือความสามารถถูกจํากัดโดยบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ.
  10. บุคคลสิทธิ : [บุกคะละสิด, บุกคนละสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือบุคคล เช่น สิทธิของเจ้าหนี้เหนือลูกหนี้.
  11. บุคลากร : [บุกคะลากอน] น. ตําแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการ บริหารงานบุคคล เช่นในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน เป็นต้น; ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน.
  12. บุคลาธิษฐาน : [บุกคะลาทิดถาน, บุกคะลาทิดสะถาน] ว. มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, ที่ยก คนหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมอื่น ๆ ขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบาย เช่น เปรียบกิเลสเหมือนพญามาร, คู่กับ ธรรมาธิษฐาน.
  13. บุคลิกทาน : [บุกคะลิกกะทาน] น. ทานที่ทายกให้จําเพาะตัวคน, คู่กับ สังฆทาน คือ ทานที่ให้แก่สงฆ์. (ตัดมาจาก ป. ปาฏิปุคฺคลิก ทาน).
  14. บุคลิก, บุคลิก- : [บุกคะลิก, บุกคะลิกกะ-] ว. จําเพาะคน. (ป. ปุคฺคลิก).
  15. บุคลิกภาพ : [บุกคะลิกกะพาบ] น. สภาพนิสัยจําเพาะคน.
  16. บุคลิกลักษณะ : [บุกคะลิกกะลักสะหฺนะ, บุกคะลิกลักสะหฺนะ] น. ลักษณะจําเพาะตัวของแต่ละคน, บุคลิก ก็ว่า.
  17. ปาฏิบุคลิก : [-บุกคะลิก] (แบบ) ว. เฉพาะบุคคล, ไม่ทั่วไป. (ป. ปาฏิปุคฺคลิก).
  18. กระคาย : (กลอน) ว. ระคาย เช่นบุกแฝกกระคายคา ละเลาะลัดลดาดอน. (ม. ฉันท์ มหาราช).
  19. โจมตี : ก. ใช้กําลังบุกเข้าตี, โดยปริยายหมายความว่า พูดหรือเขียนว่าหรือ กล่าวหาผู้อื่นอย่างรุนแรง.
  20. ตรากตรำ : [ตฺรากตฺรํา] ว. ทนทําอย่างไม่คิดถึงความยากลําบาก เช่น ทํางานอย่าง ตรากตรํา; อย่างสมบุกสมบัน, อย่างไม่ปรานีปราศรัย, เช่น ใช้อย่าง ตรากตรํา.
  21. ตะลุย : ว. อาการที่ตีหรือบุกดะเข้าไปไม่รั้งรอ, อาการที่อ่านเรื่อยไปโดยไม่พินิจพิจารณา.
  22. ทะลวง : ก. ทําให้เป็นช่องทะลุ เช่น ทะลวงปล้องไม้ไผ่, ทําให้เป็นทาง หรือเป็นช่องทะลุเข้าไป เช่น ทะลวงฟัน บุกทะลวง.
  23. บอน : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Araceae คือ ชนิด Colocasia esculenta (L.)Schott var. antiquorum (Schott) Hubb. et Rehder ขึ้นตามชายนํ้าหรือที่ลุ่มนํ้าขัง ยางคัน ก้านใบทําให้สุกแล้วกินได้ และอีกหลายชนิดในสกุล Caladium ใบมีสีและลายต่าง ๆ ปลูก เป็นไม้ประดับ เช่น บอนสี [C. bicolor (Ait.) Vent.] บอนเสวก (C. argyrites Lem.). ว. อาการที่ปากหรือมืออยู่ไม่สุข เรียกว่า ปากบอน หรือ มือบอน เช่น ซนมือบุกซุกมือบอน ซนปากบุก ซุกปากบอน.
  24. ปุก ๑ : ว. เรียกเท้าที่พิการมีรูปดังกําปั้นว่า เท้าปุก.
  25. ฟันฝ่า : ก. บุกตะลุยสิ่งที่ต้านทานเข้าไป, ผจญสิ่งที่ขัดขวาง.
  26. ลาก : ก. ทําให้เคลื่อนที่ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป ล่ามไป โยงไป เช่น ลากเกวียน ม้าลากรถ กระโปรงยาวลากดิน; โดยปริยาย หมายความว่า ใช้อย่างสมบุกสมบัน, ใช้ถูไถ, เช่น เอาผ้าซิ่นไหม มานุ่งลากอยู่กับบ้าน. ว. ที่ทำให้เคลื่อนที่ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป ล่ามไปโยงไป เช่น รถลาก.
  27. สวบ, สวบ ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงกรับพวง; เสียงคนหรือสัตว์ยํ่าไปบนใบไม้หรือ สิ่งที่ทําให้เกิดเสียงเช่นนั้น เช่น เสียงเดินบุกป่าดังสวบ ๆ, สวบสาบ ก็ว่า; อาการที่ก้มหน้าก้มตากินเอา ๆ ด้วยความหิวโหยหรือตะกละ ตะกลาม; อาการที่ก้าวเดินจ้ำเอา ๆ.
  28. อภัพบุคคล : [อะพับพะบุกคน] น. คนไม่สมควร. (ป. อภพฺพปุคฺคล).
  29. เอกบุคคล, เอกบุรุษ : [เอกกะบุกคน, เอกะบุกคน, เอกกะบุหฺรุด, เอกบุหฺรุด] น. คนเยี่ยมยอด, คนประเสริฐ.
  30. ปุก ๒ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงตําข้าว.
  31. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  32. จัมบก, จัมปกะ : [จําบก] (แบบ) น. ต้นจําปา เช่น จัมบกตระการกรร- ณิกาแก้วก็อยู่แกม. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
  33. นมบกอกพร่อง : (กฎ; โบ) น. ลักษณะของหญิงที่ชายทําให้เสียความ บริสุทธิ์แล้วทอดทิ้งไป เช่น แลมันทําชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย ท่าน ว่ามันทําให้ลูกหลานท่านนมบกอกพร่อง ให้ไหมชายผู้เลมิดพ่อแม่ ผู้เถ้าผู้แก่นั้นโดยขนาฎ. (สามดวง), มักใช้เพี้ยนไปเป็น นมตกอกพร่อง.
  34. บนบก. : ว. แห้ง, พร่อง, ลดลง, เช่น นมบกอกพร่อง; ย่อยยับหมด กําลัง เช่น โจมปรปักษบกบาง. (ตะเลงพ่าย).
  35. รถสะเทินน้ำสะเทินบก : น. รถที่ใช้งานได้ทั้งในน้ำและบนบก.
  36. เรือยกพลขึ้นบก : น. เรือที่ใช้ในการลำเลียงขนส่งทหาร พัสดุ และอาวุธ ยุทโธปกรณ์ในการรบแบบสะเทินน้ำสะเทินบก มีหลายขนาด เช่น เรือคอมมานโด เรือยกพลจู่โจม.
  37. สะเทินน้ำสะเทินบก : ว. ที่อยู่ได้หรือปฏิบัติการได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น การรบสะเทินนํ้าสะเทินบก เรือสะเทินนํ้าสะเทินบก เครื่องบิน สะเทินนํ้าสะเทินบก, เรียกสัตว์จําพวกที่อยู่ได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น กบ คางคก อึ่งอ่าง ว่า สัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบก.
  38. กระปุกหลุก, กระปุ๊กลุก : ว. อ้วนกลมน่าเอ็นดู.
  39. ตะไคร้บก : ดู สนุ่น.
  40. มั่งมีในใจ แล่นใบบนบก : (สํา) ก. คิดฝันในเรื่องที่เป็นไปไม่ได้, คิดสมบัติบ้า, สร้างวิมานในอากาศ.
  41. แล่นใบบนบก : (สำ) ก. คิดทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.
  42. สโมสรทหารบก. : ก. ร่วมชุมนุมกัน เช่น ไปร่วมสโมสร. (ป. สโมสรณ; ส. สมวสรณ).
  43. อกอีปุกแตก, อกอีแป้นแตก : อ. คำพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจเป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง).
  44. ปุคละ : [ปุกคะ-] (แบบ) น. บุคคล. (ป. ปุคฺคล).
  45. กฎยุทธวินัย : (กฎ; เลิก) น. ชื่อย่อของกฎว่าด้วยยุทธวินัย และการลงอาญาทหารบกฐานละเมิดยุทธวินัย.
  46. กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
  47. กระทุ่ม ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลํากิ่งและในระหว่างใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับ กิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อนหอม เนื้อไม้เหลือง หรือขาว ใช้ทําเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบกตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. (เทียบ ป. กทมฺพ).
  48. กระแหม็บ, กระแหม็บ ๆ : [-แหฺม็บ] ว. แขม็บ, หายใจแผ่ว ๆ แสดงว่าจวนจะหมดกําลัง, (โบ) เขียนเป็น กระแหมบ ก็มี เช่น กระแหมบกระเหม่นทรวง. (อนิรุทธ์). (แผลงมาจาก แขม็บ).
  49. กลูน, กลูน์ : [กะลูน, กะลู] (แบบ) ก. กรุณา เช่นทุษฐโจรรันทำ กรรมแก่บดีสูร ยศใดบกลูน และมาลักอัครขรรค์. (สมุทรโฆษ). ว. น่าสงสาร เช่น สลดกลูน์ลุงทรวง. (สุธน). (ป.).
  50. กุ่ม : น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Crateva วงศ์ Capparidaceae ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย ๓ ใบ ดอกเป็นช่อ กลีบดอกสีขาวแล้วกลายเป็นสีเหลือง ผลกลมหรือรูปไข่ ผิวนอกแข็งและสาก ๆ สีเขียวนวล เช่น กุ่มบก [C. adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs] กุ่มน้ำ [C. magna (Lour.) DC. และ C. religiosa Forst.f.].
  51. [1-50] | 51-100 | 101-107

(0.0715 sec)