Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ประชาชน .

Eng-Thai Lexitron Dict : ประชาชน, more than 7 found, display 1-7
  1. millions : (N) ; ประชาชน ; Related:มหาชน, คนจำนวนมาก ; Syn:population, populace
  2. national : (N) ; ประชาชน ; Syn:citizen, patrial
  3. town : (N) ; ชาวเมือง ; Related:ประชาชน ; Syn:townpeople, inhabitants, society
  4. colony : (N) ; ประชาชนในอาณานิคม ; Syn:people, community, pioneers, colonists, forerunners
  5. Eng-Thai Lexitron Dict : ประชาชน, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : ประชาชน, more than 7 found, display 1-7
  1. ประชาชน : (N) ; people ; Related:inhabitants, residents, populace, mass, citizen, crowd ; Syn:พลเมือง, สามัญชน, พสกนิกร, ราษฎร, ประชากร, มวลชน, หมู่ชน, ฝูงชน ; Samp:วิถีการดำเนินชีวิตความรู้สึกนึกคิดของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป ; Unit:กลุ่ม, พวก
  2. พี่น้องร่วมชาติ : (N) ; fellow citizen ; Syn:ประชาชน ; Def:ประชาชนที่อยู่ในประเทศเดียวกัน เป็นคนเชื้อชาติเดียวกัน ; Samp:การเคลื่อนไหวของปัญญาชนครั้งนี้ไม่ได้รับความสนใจจากพี่น้องร่วมชาติ และสื่อมวลชนเลย ; Unit:คน
  3. กลางเมือง : (N) ; people ; Related:civil, mass of the people, common people ; Syn:ประชาชน ; Samp:สงครามกลางเมืองได้เกิดขึ้นแล้วเนื่องจากผู้นำ 2 ฝ่ายมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน
  4. ประชาชนพลเมือง : (N) ; people ; Related:inhabitants, residents, populace, mass, citizen, crowd ; Syn:พลเมือง, สามัญชน, พสกนิกร, ราษฎร, ประชากร, มวลชน, หมู่ชน, ฝูงชน, ประชาชน ; Def:ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ ; Samp:เมืองชัยภูมิมีความสงบประชาชนพลเมืองเป็นคนเรียบร้อย ; Unit:คน, กลุ่ม, พวก
  5. บัตรประจำตัวประชาชน : (N) ; identity card ; Syn:บัตรประชาชน ; Samp:การซื้อเสียงในปัจจุบันนี้ได้พัฒนาถึงจุดที่ไม่ต้องซื้อบัตรประจำตัวประชาชนให้เสี่ยงต่อการถูกเจ้าหน้าที่จับกุมอีกต่อไปแล้ว ; Unit:บัตร, ใบ
  6. บัตรประชาชน : (N) ; ID card ; Related:identification card, identity card ; Syn:บัตรประจำตัวประชาชน, บัตรประจำตัว ; Def:เอกสารแสดงฐานะโดยย่อของบุคคล มักมีรูปถ่ายของบุคคลนั้นติดอยู่ด้วย ; Samp:รัฐบาลออกบัตรประชาชนให้ประชาชนทุกคน
  7. ห้องสมุดประชาชน : (N) ; public library ; Def:ห้องสมุดสำหรับประชาชน ; Samp:กรุงเทพมหานครให้งบประมาณสร้างห้องสมุดประชาชนขึ้นทั่วกรุงเทพ 20 แห่ง
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : ประชาชน, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : ประชาชน, more than 5 found, display 1-5
  1. ประชาชน, ประชาราษฎร์ : น. พลเมือง, สามัญชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช ในความว่า ข้าราชการ พ่อค้า และ ประชาชน.
  2. กลางเมือง : น. ประชาชน ในคําว่า ฉ้อกลางเมือง หมายถึง ฉ้อโกงประชาชน; การรบกันเองในเมือง เรียกว่า ศึกกลางเมือง; (กฎ; โบ) เรียกหญิงที่บิดามารดายินยอมยกให้เป็นภริยาชายว่า เมียกลางเมือง. (สามดวง).
  3. ประชาชี : (ปาก) น. ประชาชน.
  4. ปากเสียง : ก. โต้เถียง, ทะเลาะ, ในคำว่า เป็นปากเสียง มีปากเสียง. น. ผู้พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น ผู้แทนราษฎรเป็นปากเสียงของ ประชาชน.
  5. รัดเข็มขัด : (ปาก) ก. ประหยัด เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี ประชาชน ต้องรัดเข็มขัด.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : ประชาชน, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : ประชาชน, 9 found, display 1-9
  1. กูฏทันตสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรค สุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่กูฏทันตพราหมณ์ ผู้กำลังเตรียมพิธีบูชายัญ ว่าด้วยวิธีบูชายัญตามความหมายในแบบของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ต้องมีการฆ่าฟันเบียดเบียนสัตว์ มีแต่การเสียสละทำทาน และการทำความดีอื่นๆ เริ่มด้วยการตระเตรียมพิธีโดยจัดการบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยก่อนตามธรรมวิธี มีการส่งเสริมกสิกรรม พาณิชยกรรม สัมมาชีพ และบำรุงส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซึ่งจะทำให้ประชาชนขวนขวาย ขะมักเขม้นในหน้าที่การงานของตนๆ จนบ้านเมืองมีความเกษมปลอดภัย พลเมืองมีความสุข ราชทรัพย์บริบูรณ์ดีแล้ว จึงกระทำพิธีบูชายัญ ด้วยการบริจาคทรัพย์ทำทานเป็นต้น ผลของพระธรรมเทศนานี้ คือ กูฏทันตพราหมณ์ล้มเลิกพิธีบูชายัญของตน ปล่อยสัตว์ทั้งหลาย และประกาศตนเป็นอุบาสก
  2. พาหิย ทารุจีริยะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในครอบครัวคนมีตระกูลในแคว้นพาหิยรัฐ ลงเรือเดินทะเลเพื่อจะไปค้าขาย เรือแตกกลางทะเลรอดชีวิตไปได้ แต่หมดเนื้อหมดตัว ต้องแสดงตนเป็นผู้หมดกิเลสหลอกลวงประชาชนเลี้ยงชีวิต ต่อมาพบพระพุทธเจ้า ทูลขอให้ทรงแสดงธรรม พระองค์ทรงแสดงวิธีปฏิบัติต่ออารมณ์ที่รับรู้ทางอายตนะทั้ง ๖ พอจบพระธรรมเทศนาย่นย่อนั้น พาหิยะก็สำเร็จอรหัต แต่ไม่ทันได้อุปสมบท กำลังเที่ยวหาบาตรจีวร เผอิญถูกโคแม่ลูกอ่อนขวิดเอาสิ้นชีวิตเสียก่อน ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะทางด้านตรัสรู้ฉับพลัน
  3. มัชฌิมชนมบท : ประเทศที่ตั้งอยู่ในท่ามกลาง, ถิ่นกลางเป็นอาณาเขตที่กำหนดว่า มีความเจริญรุ่งเรือง มีประชาชนหนาแน่น มีเศรษฐกิจดี เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่แห่งนักปราชญ์ผู้มีวิชาความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษา เป็นต้น กำหนดเขต ทิศบูรพา ภายในนับแต่มหาศาลนครเข้ามา อาคเนย์ นักแต่แม่น้ำสัลลวดีเข้ามา ทักษิณ นับแต่เสตกัณณิกนิคมเข้ามา ปัจจิม นับแต่ถูกคามเข้ามา อุดร นับแต่ภูเขาอุสีรธชะเข้ามา นอกจากนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท หรือ ปัจจันตประเทศ
  4. มัชฌิมประเทศ : ประเทศที่ตั้งอยู่ในท่ามกลาง, ถิ่นกลางเป็นอาณาเขตที่กำหนดว่า มีความเจริญรุ่งเรือง มีประชาชนหนาแน่น มีเศรษฐกิจดี เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่แห่งนักปราชญ์ผู้มีวิชาความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษา เป็นต้น กำหนดเขต ทิศบูรพา ภายในนับแต่มหาศาลนครเข้ามา อาคเนย์ นักแต่แม่น้ำสัลลวดีเข้ามา ทักษิณ นับแต่เสตกัณณิกนิคมเข้ามา ปัจจิม นับแต่ถูกคามเข้ามา อุดร นับแต่ภูเขาอุสีรธชะเข้ามา นอกจากนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท หรือ ปัจจันตประเทศ
  5. ราชการ : กิจการงานของประเทศ หรือของพระเจ้าแผ่นดิน, หน้าที่หลั่งความยินดีแก่ประชาชน
  6. ราชธรรม : ธรรมสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน, คุณสมบัติของนักปกครองที่ดี สามารถปกครองแผ่นดินโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี มี ๑๐ ประการ (นิยมเรียกว่า ทศพิธราชธรรม) คือ ๑.ทาน การให้ทรัพย์สินสิ่งของ ๒.ศีล ประพฤติดีงาม ๓.ปริจจาคะ ความเสียสละ ๔.อาชชวะ ความซื่อตรง ๕.มัททวะ ความอ่อนโยน ๖.ตบะ ความทรงเผากิเลสตัณหา ไม่หมกมุ่นในความสุขสำราญ ๗.อักโกธะ ความไม่กริ้วโกรธ ๘.อวิหิงสา ความไม่ข่มเหงเบียดเบียน ๙.ขันติ ความอดทนเข็มแข็งไม่ท้อถอย ๑๐.อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม
  7. ราชสังคหวัตถุ : สังคหวัตถุของพระราชา, หลักการสงเคราะห์ประชาชนของนักปกครอง มี ๔ คือ ๑.สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร ๒.ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงข้าราชการ ๓.สัมมาปาสะ ผูกผสานรวมใจประชา (ด้วยการส่งเสริมสัมมาอาชีพให้คนจนตั้งตัวได้) ๔.วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ
  8. สัมมาปาสะ : “บ่วงคล้องไว้มั่น”, ความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชน ด้วยการส่งเสริมอาชีพ เช่น ให้คนจนกู้ยืมทุนไปสร้างตัวในพาณิชยกรรม เป็นต้น (ข้อ ๓ ใน ราชสังคหวัตถุ ๔)
  9. สุคโต : “เสด็จไปดีแล้ว” คือ ทรงมีทางเสด็จที่ดีงามอันได้แก่อริยมรรค, เสด็จไปด้วยดีโดยชอบ กล่าวคือ ทรงดำเนินรุดหน้าไม่หวนกลับคืนมาสู่กิเลสที่ทรงละได้แล้ว ทรงดำเนินสู่ผลสำเร็จไม่ถอยหลัง ไม่กลับตกจากฐานะที่ลุถึงทรงดำเนินในทางอันถูกต้องคือมัชฌิมาปฏิปทา ไม่เฉเชือนไปในทางผิด คือ กามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค เสด็จไปดี เสด็จที่ใดก็ทรงทำประโยชน์ให้แก่มหาชนในที่นั้น เสด็จไปโดยสวัสดีและนำให้เกิดความสวัสดีแม้แต่พบองคุลิมาลมหาโจรร้าย ก็ทรงกลับใจให้เขากลายเป็นคนดีไม่มีภัยเสด็จผ่านไปแล้วด้วยดี ได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจไว้บริบูรณ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้ เพื่อชาวโลก ให้เป็นเครื่องเผล็ดประโยชน์แก่ประชาชนทั้งปวงผู้เกิดมาในภายหลัง, ทรงมีพระวาจาดี หรือตรัสโดยชอบ คือ ตรัสแต่คำจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในกาลที่ควรตรัส และแก่บุคคลที่ควรตรัส (ข้อ ๔ ในพุทธคุณ ๙)

ETipitaka Pali-Thai Dict : ประชาชน, 9 found, display 1-9
  1. มนุสฺส : (ปุ.) ผู้มีใจสูง, ชนผู้มีใจสูง วิ. มโน อุสฺโส อสฺสาติ มนุสฺโส. ชนผู้รู้ซึ่งเหตุผลและสภาวิมิใช่เตุ วิ. การณาการณํ มนตีติ มนุสฺโส. คนผู้รู้ซึ่งประโยชน์และภาวะมิใช่ประโยชน์ วิ. อตฺถานตฺถํ มนตีติ มนุสฺโส. คนผู้รู้ซึ่งธรรมอันเป็นกุศลและอกุศล วิ. กุสลากุสเล ธมฺเม มนตีติ มนุสฺโส. มนฺ ญาเณ, อุสฺโส. คนผู้รู้ซึ่งประโยชน์ของตนตามกำลัง วิ. ยถาพลํ อตฺตโน หิตํ มนตีติ มนุสฺโส. คนผู้เป็นเหล่ากอของพระมนู, ชาย, มนุษย์, ประชาชน, คน. วิ. มนูโน อปจฺจํ มนุสฺโส. อสฺส ปัจ. โคตดตัท. อภิฯ กัจฯ ๖๗๓.
  2. จตุรุสฺสท : ค. หนาแน่นด้วยเหตุสี่ประการ, พรั่งพร้อมด้วยสิ่งประกอบสี่อย่าง คือ ประชาชน, ข้าว,ไม้, และน้ำ
  3. ชนาธิป : (ปุ.) คนผู้เป็นใหญ่แห่งชน, คนผู้เป็น จอมแห่งชน, พระผู้เป็นจอมแห่งชน, พระ จอมประชาชน, พระราชาผู้เป็นใหญ่แห่ง ชน, พระเจ้าแผ่นดิน, พระราชา. วิ. อธิ – ปาตีติ อธิโป. อธิปุพฺโพ, ปา รกฺขเณ, โร. ชนานํ อธิโป ราชา ชนาธิโป.
  4. ถูปารห : ค. ผู้ควรแก่สถูป, ผู้สมควรแก่การที่ประชาชนจะสร้างสถูปไว้บูชา
  5. ทกฺขิณารห : ค. ผู้ควรทักษิณา, ผู้สมควรได้รับไทยธรรมที่ประชาชนถวาย
  6. นร : (ปุ.) คน, บุคคล, มนุษย์, สัตวโลก, บุรุษ, ชาย, นระ, นรชน, นาย. วิ เนตีติ นโร. นิ นี นยเน, อโร. นรตีติ วา นโร. นร นยเน, อ. ที่เป็นพหุ. แปลว่าประชาชน. ส. นร, นฤ.
  7. มหาชน : (ปุ.) คนหมู่ใหญ่, คนหมู่มาก, ชนหมู่ใหญ่, ชนหมู่มาก, คนที่เป็นพวกกัน, มหาชน, แปลว่าประชาชน ก็ได้.
  8. รฏฺฐปิณฺฑ : ป. ก้อนข้าวที่ได้มาจากประชาชน
  9. รฏฺฐมฺมนุญฺญ : (นปุ.) รัฐธรรมนูญ ชื่อกฏหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายอันเป็นที่พึงพอใจของประชาชนทั้งประเทศ ประชาชนทั้งประเทศอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนี้. รฏฺฐ+ธมฺม+มนุญฺญ ลบอักษรที่เสมอกันสามตัวเสียตัวหนึ่ง.

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ประชาชน, not found

(0.0506 sec)