Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ประเทศไทย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ประเทศไทย, 94 found, display 1-50
  1. ดุกลำพัน : น. ชื่อปลาชนิด Prophagorus nieuhofii ในวงศ์ Clariidae ครึ่งบน ของลําตัวมีจุดสีขาวเรียงอยู่ในแนวตั้ง ๑๓-๒๐ แถว พบทางภาคใต้ของ ประเทศไทย ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร.
  2. บู่ : น. ชื่อปลาจําพวกหนึ่งในหลายสกุลและหลายวงศ์ มีตั้งแต่ขนาด เล็กจนถึงขนาดใหญ่ ครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบอก รูปร่าง ลักษณะ สีสัน ถิ่นอาศัย พฤติกรรมและขนาดแตกต่างกัน มีทั้งใน ทะเล นํ้ากร่อยและนํ้าจืด เช่น บู่จาก หรือ บู่ทราย (Oxyeleotris marmorata) ในวงศ์ Eleotridae ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย คือมีขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร, บู่ทอง บู่หิน บู่ทราย หรือ บู่ลูกทราย (Glossogobius spp.) ในวงศ์ Gobiidae, บู่รําไพ (Vaimosa rambaiae) และ บู่ทะเล หรือ บู่ขาว (Acentrogobius caninus).
  3. แม่ม่ายลองไน : น. ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ที่มีลําตัวและปีกสีฉูดฉาด เช่น ดํา ขาว เหลือง หรือส้ม สีเหล่านี้เป็นลายหรือเป็นแถบพาดตามหัว ลําตัว หรือปีก มีอวัยวะทําเสียงซึ่ง เสียงจะเป็นเสียงห้าว ก้องกังวานได้ยินไปไกล ๆ มีหลายชนิด ชนิดที่โตที่สุดใน ประเทศไทย คือ ชนิด Tosena melanoptera, ลองไน ก็เรียก.
  4. ลีซอ : น. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ตระกูลทิเบต–พม่า อยู่ทางแถบเหนือของ ประเทศไทย.
  5. สยามรัฐ : [สะหฺยามมะ] น. แคว้นไทย, ประเทศไทย.
  6. สัมพันธไมตรี : น. ความเกี่ยวข้องผูกพันกันฉันมิตร เช่น ประเทศไทย มีสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน.
  7. กบทูด : น. ชื่อกบภูเขาขนาดใหญ่ชนิด Rana blythii ในวงศ์ Ranidae ขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย ตัวยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ลําอาศัยในป่าดงดิบชื้น ตามธารบนภูเขา.
  8. กรอก ๒ : น. ชื่อนกยางขนาดเล็กในวงศ์ Ardeidae ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) หัวสีน้ำตาลแดง หลังสีเทา อมดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa) หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาอมดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลา.
  9. กระต่าย ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในวงศ์ Leporidae ขนปุย หูยาว ที่พบอาศัยตามป่าทั่วไปในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis) ซึ่งมีขนสีน้ำตาล ใต้หางสีขาว อาศัยใน โพรงดิน ส่วนที่นํามาเลี้ยงตามบ้านมีหลายชนิดและหลายสี เช่น ชนิด Oryctolagus cuniculus.
  10. กระถิก, กระถึก : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae รูปร่างคล้ายกระรอก ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลําตัวสีน้ำตาล มีลายสีขาวดําพาดขนานตามยาว ของลําตัวตั้งแต่จมูกถึงโคนหาง ชอบอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ กินแมลง และผลไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ กระถิกขนปลายหูยาว (Tamiops rodolphei) และกระถิกขนปลายหูสั้น (T. macclellandi), กระเล็น ก็เรียก.
  11. กระทิง ๓ : น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้าย ปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่น้ำลําคลอง และที่ลุ่ม มีหลายชนิดในประเทศไทย ที่พบทั่วไป ได้แก่ ชนิด M. armatus, M. favus และกระทิงไฟ (M. erythrotaenia) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
  12. กระทุง : น. ชื่อนกน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์ Pelecanidae ขนสีขาวหรือสีเทา ๆ ตัวขนาดห่าน ปากยาวใหญ่ ปากล่างมีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ สําหรับจับปลาทีละมาก ๆ อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลําคลองและชายทะเล ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวคือ ชนิด Pelecanus philippensis.
  13. กระสา ๑ : น. ชื่อนกในวงศ์ Ciconiidae ขนาดใหญ่เกือบเท่านกกระเรียน ปากหนายาวปลายแหลมตรง คอและขายาว เวลาบินคอจะยืดตรง เหมือนนกกระเรียน ทํารังด้วยกิ่งไม้อยู่บนยอดไม้สูง ๆ กินปลา และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กระสาขาว (Ciconia ciconia) กระสาคอดํา (Ephippiorhynchus asiaticus).
  14. กระโห้ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Catlocarpio siamensis ในวงศ์ Cyprinidae หัวโต เกล็ดใหญ่ ลําตัวด้านหลัง สีเทาดํา หางและครีบสีแดงคล้ำหรือส้ม พบใน แม่น้ำใหญ่หลายสายของประเทศไทย เคยพบ ขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร นับเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่มากในจําพวกปลามีเกล็ดด้วยกัน, กระมัน หรือ หัวมัน ก็เรียก.
  15. กวางชะมด : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
  16. กวางป่า : น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก.
  17. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  18. กะเหรี่ยง : น. ชื่อชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ปรกติอาศัยอยู่ทางพรมแดนทิศตะวันตก ของประเทศไทย, โซ่ ก็เรียก, (โบ) เรียกว่า กั้ง ก็มี.
  19. กาน้ำ : น. ชื่อนกในวงศ์ Phalacrocoracidae ตัวสีดํา คอยาว ว่ายน้ำเหมือนเป็ด ดําน้ำจับปลากินเป็นอาหาร อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ กาน้ำใหญ่ (Phalacrocorax carbo) กาน้ำปากยาว (P. fuscicollis) และ กาน้ำเล็ก (P. niger).
  20. กิ้งโครง ๑ : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ลักษณะคล้ายนกเอี้ยงซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กิ้งโครงคอดํา (Sturnus nigricollis) กิ้งโครงแกลบปีกขาว (S. sinensis), คลิ้งโคลง ก็เรียก.
  21. กินปลี : น. ชื่อนกในวงศ์ Nectariniidae ตัวเล็ก ปากยาวโค้งงองุ้มปลายแหลมเล็ก กินแมลง น้ำหวานในปลีกล้วยและดอกไม้ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กินปลีอกเหลือง (Nectarinia jugularis) กินปลีแก้มสีทับทิม (Anthreptes singalensis).
  22. เก้ง : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Cervidae ตัวเล็ก ขนสีน้ำตาล จนถึงน้ำตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปคือ อีเก้ง หรือฟาน (Muntiacus muntjak) อีกชนิดหนึ่งคือ เก้งหม้อ หรือ เก้งดํา (M. feae) ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีน้ำตาลแก่เกือบดํา ที่หัวมีขนลักษณะคล้าย จุกสีเหลืองแซมดํา, ปักษ์ใต้เรียก กวางจุก.
  23. แก้ว ๒ : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอในวงศ์ Psittacidae ตัวสีเขียว ปากมีหลายสี เช่น แดง เหลือง อยู่รวมกันเป็นฝูง กินเมล็ดพืช และผลไม้ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น แก้วโม่ง (Psittacula eupatria) แก้วหัวแพร (P. roseata).
  24. ไก่ป่า : น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเข้มสดใสและหลากสีกว่าตัวเมีย เช่น สีเขียว ดำ แดง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียขาสีเทาเข้ม โคนหางสีขาวอาศัยในป่าโปร่ง เช่น ป่าไผ่ ในประเทศไทย มี ๒ ชนิดย่อย คือ ไก่ป่าติ่งหูขาว (G. g. gallus) และไก่ป่าติ่งหูแดง (G. g. spadiceus) ไก่ชนิดนี้เป็นต้นตระกูลของไก่บ้าน.
  25. ขมิ้น ๒ : [ขะมิ่น] น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในวงศ์ Oriolidae ตัวเท่านกเอี้ยง มีหลายสี เช่น เหลือง แดง ฟ้า ขาว กินผลไม้และแมลง ทํารังเป็นรูปถ้วยอยู่ตรง ง่ามไม้สูง ๆ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ขมิ้นท้ายทอยดํา หรือ ที่มักเรียกกันว่า ขมิ้นเหลืองอ่อน (Oriolus chinensis) ขมิ้นแดง (O. traillii) ขมิ้นขาว (O. mellianus).
  26. ขี้ขม : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Osteochilus hasselti ในวงศ์ Cyprinidae เกล็ด ข้างตัวมีจุดสีดําจนเห็นเรียงกันเป็นลายตามยาว ๖-๘ เส้น ที่โคนครีบ หางมีจุดสีดําใหญ่ ครีบต่าง ๆ สีแดงส้ม เฉพาะครีบอกสีเขียวอ่อน พบทั้งในแหล่งนํ้านิ่งและนํ้าไหลทั่วทุกภาคของประเทศไทย ขนาดยาว ได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ซ่าสร้อยนกเขา นกเขา หรือ พรหมหัวเหม็น ก็เรียก.
  27. ขุนทอง : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครง ขนดําเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่งหรือเหนียงสีเหลือง ติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขาและตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียน เสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (G. r. religiosa) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคํา.
  28. เขา ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกลุมพูและนกพิราบ ขนสีนํ้าตาล บางชนิดออกสีนํ้าตาลแดง ลําตัวมีลาย มักอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง หากินเมล็ดพืชบนพื้นดิน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขาใหญ่ หรือ เขาหลวง (Streptopelia chinensis) เขาไฟ (S. tranquebarica) เขาชวา (Geopelia striata). เขาเปล้า ดู เปล้า.
  29. เขียด : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว กับกบแต่มักมีขนาดเล็กกว่า ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขียดอ๋อง (Rana nigrovittata) เขียดหลังขาว . (R. limnocharis)
  30. คับแค : น. ชื่อนกชนิด Nettapus coromandelianus ในวงศ์ Anatidae เป็น นกเป็ดนํ้าที่เล็กที่สุดในประเทศไทย รูปร่างเล็ก อ้วนป้อม ปากสั้น ตัวผู้ปีกสีเขียวเข้มเป็นมัน หน้า คอ และท้องสีขาว ที่คอมีวงสีดํา ตัวเมียปีกสีนํ้าตาล ลําตัวตอนล่างสีขาว มีจุดกระสีนํ้าตาล ทํารัง ในโพรงไม้.
  31. ค่าง : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cercopithecidae ลักษณะคล้ายลิง ขนสีเทาหรือดํา ลําตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่ว ๆ ไป กินใบไม้ และผลไม้ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ค่างดํา (Presbytis melalophos) ค่างแว่นถิ่นใต้ (P. obscura) ค่างหงอก หรือ ค่างเทา (P. cristata) และ ค่างแว่นถิ่นเหนือ (P. phayrei).
  32. คางคก ๑ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Bufonidae รูปร่างคล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและกระโดดหย่ง ๆ ใน ประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน (Bufo melanostictus) คางคกป่า (B. macrotis).
  33. ค้าว : น. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือน ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๑-๑.๕ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทาง หาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว (Wallagonia attu) และ ค้าวดํา คูน ทุกอีชุก อีทุก หรือ อีทุบ (W. miostoma) ซึ่งมีหนวดยาว กว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก.
  34. คำเมือง : น. ภาษาถิ่นของคนในถิ่นพายัพของประเทศไทย.
  35. โคร่ง ๑ : [โคฺร่ง] น. ชื่อเสือชนิด Panthera tigris ในวงศ์ Felidae เป็นเสือที่ใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย ตัวสีเหลือง มีลายดําตามขวาง ล่าสัตว์ป่าบนพื้นดิน มักอยู่ลําพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ ชอบเล่นนํ้ามากกว่าเสือชนิดอื่น, ลายพาดกลอน ก็เรียก. (เทียบ ข. โครฺง ว่า สูงเกินขนาด, สูงโย่ง).
  36. งอด : น. ชื่องูจําพวกงูปี่แก้วในวงศ์ Colubridae ขนาดเล็กประมาณเท่าดินสอดํา ส่วนใหญ่ลําตัวสีเทา ท้องเป็นจุดสีแดงและดํา ไม่มีพิษ ในประเทศไทย มีหลายชนิด เช่น งอดท้องแดง (Oligodon taeniatus) งอดด่าง (O. cinereus).
  37. เงี้ยว ๑ : น. ชื่อหนึ่งของชนชาวไทยใหญ่ที่ใช้เรียกกันเป็นสามัญในประเทศไทย สมัยก่อน.
  38. จระเข้ : [จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณ ป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของ รูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้ เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้า มีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.
  39. จิ้งจก : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กในวงศ์ Gekkonidae ซึ่งเป็น วงศ์เดียวกับตุ๊กแก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น จิ้งจกบ้าน (Cosymbotus platyurus) ตีนเกาะติดผนังได้, จิ้งจกดิน ลายหินอ่อน (Cyrtodactylus peguensis) ตีนเกาะติดผนัง ไม่ได้, จิ้งจกบิน (Platyurus craspedotus) สามารถร่อนตัว ไปในอากาศได้, พายัพเรียก จั๊กกิ้ม.
  40. จุฬาราชมนตรี : น. ตำแหน่งผู้นำสูงสุดทางด้านการบริหารกิจการมุสลิมในประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาทางราชการเกี่ยวกับกิจการมุสลิมทั้งปวง.
  41. ฉาน ๕ : น. ชื่อรัฐหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ติดต่อกับทาง ภาคเหนือของประเทศไทย, ไทยใหญ่ ก็เรียก.
  42. ช้อนหอย ๒ : น. ชื่อนกหลายชนิดในวงศ์ Threskiornithidae ปากยาวโค้ง ปลายแหลม หากินในนํ้าตื้นกินปลา ปู และสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ช้อนหอยขาว หรือ กุลาขาว (Threskiornis melanocephalus) ช้อนหอยดํา หรือ กุลาดํา (Pseudibis davisoni) ช้อนหอยใหญ่ หรือ กุลาใหญ่ (P. gigantea) และ ช้อนหอยดำเหลือบ(Plegadis falcinellus), กุลา หรือ ค้อนหอย ก็เรียก.
  43. ชะนี ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่มเดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้ สูง ๆ ร้องเสียงดัง เสียงร้องแสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่ เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว (Hylobates lar) สีดํา และนํ้าตาล, ชะนีหัวมงกุฎ (H. pileatus) ตัวผู้สีดํา ตัวเมีย สีเทา, ชะนีมือดํา (H. agilis) สีดํา นํ้าตาล และเทา. ชะนีร่ายไม้ น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  44. ชะมด ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็น วงศ์เดียวกับอีเห็นและพังพอนหน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดําตามยาวทั่วตัว หางและ ขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้เครื่องเพศ มักออกหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด (Viverricula malaccensis) เป็นชนิดที่ใช้ นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทําเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง (Viverra zibetha), ชะมดแผงสันหางดํา(V. megaspila), อีสานเรียก เห็นอ้ม.
  45. ชาปีไหน : น. ชื่อนกชนิด Caloenas nicobarica ในวงศ์ Columbidae ลําตัวสีเขียวเหลือบเทา ขนหางสีขาว มีสร้อยคอสีเขียวเห็น ได้ชัด ขี้อายมักเกาะหลบตามกิ่งไม้หนาทึบ พบตามหมู่เกาะ ทางภาคใต้ของประเทศไทยเช่น หมู่เกาะอ่างทอง สุราษฎร์ธานี, กะดง ก็เรียก.
  46. แซงแซว : น. ชื่อนกในวงศ์ Dicruridae ขนสีดําหรือเทาเป็นมัน ตาสีแดง หางเรียวยาว กินแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น แซงแซวหางปลา (Dicrurus macrocercus), ชนิดที่มีขนหาง ๑ คู่ เป็นก้านยาวออกไปตรงปลายแผ่ออกเป็นแผ่นขน คือ แซงแซวหางบ่วงเล็ก (D. remifer) และแซงแซวหางบ่วงใหญ่ (D. paradiseus), ๒ ชนิดหลังนี้เรียกกันทั่วไปว่า แซงแซวหางบ่วง; เรียกสิ่งเช่นธงที่มีรูปเป็นแฉกเหมือนหางนกแซงแซวว่า ธงหางแซงแซว.
  47. ฎีกา : น. คําอธิบายขยายความ เช่น ฎีกาพาหุง; ชื่อคัมภีร์หนังสือที่แก้หรือ อธิบายคัมภีร์อรรถกถา; หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์; ใบแจ้ง การขอเบิกเงินจากคลัง; ใบบอกบุญเรี่ยไร; (กฎ) คําร้องทุกข์ที่ ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์; ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุด ของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่าศาลฎีกา; การคัดค้านคําพิพากษาหรือ คําสั่งศาลอุทธรณ์ที่คู่ความยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อเสนอให้ศาลฎีกา พิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด; (โบ) ใบเรียกเก็บเงิน. (ปาก) ก.ยื่นคําร้องขอหรือคําคัดค้านต่อศาลฎีกา เช่น คดีนี้จะฎีกาหรือไม่. (ป. ฏีกา).
  48. ดิน ๒ : น. ชื่องูในวงศ์ Typhlopidae ขนาดเล็กมากประมาณเท่าไส้ดินสอดํา ตัวสีดํา หรือนํ้าตาลเข้มเกล็ดเรียบเป็นมัน อาศัยตามดินร่วนที่มีความชื้น ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น งูดินโคราช (Typhlops khoratensis) งูดิน ตรัง (T. trangensis).
  49. ตะขาบ ๒ : น. ชื่อนกในวงศ์ Coraciidae ตัวป้อม หัวใหญ่ ปากใหญ่สั้นโค้ง เกาะอยู่ ตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยจ้องโฉบแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตาม พื้นดิน อยู่ตามลําพัง ทํารังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง (Coracias benghalensis) ตัวสีนํ้าตาลหัวและปีกสีฟ้า ปากสีดํา และตะขาบดง (Eurystomus orientalis) ตัวสีนํ้าเงินเข้ม หรือเขียวอมน้ำเงินโดยตลอด ปากสีแดง.
  50. ตะโขง : น. ชื่อจระเข้ชนิด Tomistoma schlegelii ในวงศ์ Crocodylidae มีขนาด ใหญ่มากขนาดยาวได้ถึง ๔.๕ เมตร ตัวสีนํ้าตาลแดงมีลายสีนํ้าตาลเข้ม ปากเรียวยาวคล้ายปากปลา เข็มหางแบนใหญ่ใช้ว่ายนํ้า อาศัยตามป่า เลนชายนํ้ากร่อย ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น, จระเข้ ปากกระทุงเหว ก็เรียก.
  51. [1-50] | 51-94

(0.0125 sec)