Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปรามาส .

Eng-Thai Lexitron Dict : ปรามาส, 2 found, display 1-2
  1. affront : (N) ; คำปรามาส ; Related:คำดูแคลน ; Syn:insult, indignity, offense

Thai-Eng Lexitron Dict : ปรามาส, 5 found, display 1-5
  1. ปรามาส : (V) ; insult ; Related:contempt, defame, slander, condemn, affront ; Syn:ดูถูก, สบประมาท, ดูแคลน, ดูหมิ่น, หยาม ; Samp:้เธอมุมานะทำงานจนสำเร็จเพราะคำพูดที่เขาเคยปรามาสเธอไว้
  2. คำปรามาส : (N) ; contempt ; Related:disdain, scorn, derision ; Syn:คำดูแคลน, คำดูถูก, คำดูถูกดูแคลน ; Ant:คำยกย่องชมเชย ; Samp:คำปรามาสของเขาทำให้ผมมีใจฮึดสู้ขึ้นมาอีกครั้ง ; Unit:คำ
  3. สบประมาท : (V) ; insult ; Related:humiliate, belittle, disparage, despise, look down upon, slight ; Syn:ดูถูก, ดูหมิ่น, ปรามาส, หมิ่นประมาท, ดูแคลน ; Def:แสดงกิริยาวาจาดูถูกกันซึ่งหน้า, ประมาทหน้า ; Samp:เขาชอบสบประมาทคนอื่นอยู่เสมอๆ
  4. หยาม : (V) ; despise ; Related:view with contempt, look down on ; Syn:ดูถูก, ดูหมิ่น, ดูแคลน, ดูถูกดูแคลน, เหยียดหยาม, สบประมาท, ปรามาส, ดูหมิ่นเหยียดหยาม ; Def:แสดงอาการเป็นเชิงดูหมิ่น หรือเหยียดหยาม ; Samp:พวกมาเฟียต่างถือศักดิ์ศรี แบบฆ่าได้แต่หยามไม่ได้
  5. คำสบประมาท : (N) ; contempt ; Related:disdain, scorn ; Syn:คำปรามาส, คำดูถูก ; Samp:การสะสางคดีนี้ของตำรวจทำให้สามารถลบคำสบประมาทว่าไร้น้ำยาได้

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปรามาส, 3 found, display 1-3
  1. ปรามาส : [ปฺรามาด] ก. ดูถูก.
  2. ปรามาส : [ปะรามาด] น. การจับต้อง, การลูบคลํา. (ป.).
  3. เปรต, เปรต- : [เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่าง สูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปาก เท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้อง เสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาส คนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้ โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือใน ทํานองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).

Budhism Thai-Thai Dict : ปรามาส, 7 found, display 1-7
  1. ปรามาส : (ปะรามาด) การจับต้อง, การยึดฉวย, การจับไว้มั่น, การลูบหรือเสียดสีไปมา, ความยึดมั่น; มักแปลกันว่า การลูบคลำ
  2. สกทาคามิผล : ผลที่ได้รับจากการละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง ซึ่งสืบเนื่องมาแต่สกทาคามิมรรค, สกิทาคามิผล ก็เขียน
  3. สกทาคามิมรรค : ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระสกทาคามี, ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง, สกิทาคามิมรรค ก็เขียน
  4. สังโยชน์ : กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่ ๑.สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓.สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต ๔.กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ข.อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่ ๖.รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗.อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๘.มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ ๙.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑๐.อวิชชา ความไม่รู้จริง; พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ; ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.กามราคะ ๒.ปฏิฆะ ๓.มานะ ๔.ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕.วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗.ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘.อิสสา (ความริษยา) ๙.มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา
  5. โสดาปัตติผล : ผลคือการถึงกระแสสู่นิพพาน, ผลที่ได้รับจากการละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ด้วย โสดาปัตติมรรค ทำให้ได้เป็นพระโสดาบัน
  6. โสดาปัตติมรรค : ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือ ความเป็นพระโสดาปัน, ญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
  7. โอรัมภาคิยสังโยชน์ : สังโยชน์เบื้องต่ำ, กิเลสผูกใจสัตว์อย่างหยาบ มี ๕ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ; ดู สังโยชน์

ETipitaka Pali-Thai Dict : ปรามาส, 4 found, display 1-4
  1. ปรามาส : (ปุ.) การจับต้อง, การลูบคลำ, การยึดมั่น, การยึดถือ, การถือมั่น ( หนักไปในทางเชื่อความขลัง เชื่อ บันดาลไม่เชื่อกรรม ), ความจับต้อง, ฯลฯ. ป อาปุพฺโพ, มสฺ อามสเน, ยุ, รฺ อาคโม.
  2. สีลพฺพตปรามาส : (ปุ.) การถือมั่นศีลและพรต, การยึดมั่นศีลและพรต, การจับต้องศีลหรือพรต, สีลัพพตปรามาส คือ ความเชื่อถือความศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วยศีลหรือวัตรปฏิบัติ เป็นการรักษาหรือบำเพ็ญพรตด้วยความเชื่อเรืองบันดาลไม่เชื่อกรรม เชื่อความขลัง.
  3. ทิฏฺฐิปรามาส : ป. การลูบคลำด้วยทิฐิ, ความงมงายเพราะทิฐิ, ความเข้าใจผิดไปจากความจริงเพราะความเห็นผิด
  4. ปรามาส : (วิ.) ผู้มีความยึดมั่น, ฯลฯ. อี ปัจ. ตทัสสัตถิตัท.

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ปรามาส, not found

(0.0429 sec)