Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปริมาณ , then ปรมาณ, ปริมาณ, ปริมาณา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปริมาณ, 48 found, display 1-48
  1. ปริมาณ : [ปะริมาน] น. กําหนดความมากน้อยของจํานวน.
  2. จุ ๑ : ก. มีขนาด ปริมาณ หรือจํานวนบรรจุ เช่น ขวดใบนี้จุน้ำได้ ๑ ลิตร ลิฟต์นี้จุคนได้ ๑๐ คน. ว. มาก เช่น กินจุ.
  3. ใบขนสินค้า : (กฎ) น. เอกสารแสดงรายการสินค้า อันได้แก่ ชนิด คุณภาพ ปริมาณ นํ้าหนัก ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและรายการ อื่นตามที่อธิบดีกรมศุลกากรต้องการ ซึ่งผู้นําของเข้าหรือผู้ส่งของ ออกต้องยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อนําของใด ๆ เข้ามาในประเทศ หรือส่งของใด ๆ ออกนอกประเทศ.
  4. ก้อนเส้า : น. ก้อนดิน ก้อนอิฐ หรือก้อนหินเป็นต้นที่เอามาตั้งต่างเตา; ชื่อดาวฤกษ์ภรณี มี ๓ ดวง. ก. เอามือ ๒ ข้างรวบสิ่งของเข้ามาจนนิ้วก้อยของมือชิดกันแล้วยกขึ้น. น. เรียกของที่กอบขึ้นครั้งหนึ่ง ๆ ว่า กอบหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกปริมาณของของที่กอบขึ้นมาเช่นนั้น เช่น ทรายกอบหนึ่ง ข้าวสาร ๒ กอบ.
  5. กอบ : ก. เอามือ ๒ ข้างรวบสิ่งของเข้ามาจนนิ้วก้อยของมือชิดกันแล้วยกขึ้น. น. เรียกของที่กอบขึ้นครั้งหนึ่ง ๆ ว่า กอบหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกปริมาณของของที่กอบขึ้นมาเช่นนั้น เช่น ทรายกอบหนึ่ง ข้าวสาร ๒ กอบ.
  6. กำ ๑ : ก. งอนิ้วมือทั้ง ๔ ให้จดอุ้งมือ, เอานิ้วมือทั้ง ๕ โอบรอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, อาการที่งอนิ้วมือทั้ง ๕ รวบสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้. น. มือที่กําเข้า; ปริมาณของเต็มมือที่กําเข้า, กำมือ ก็ว่า; มาตราวัดรอบของกลม เมื่อวัดได้เท่าไร แล้วทบกึ่งได้ยาวราว ๑๐ เซนติเมตร เช่น ของกลมวัดรอบได้ยาว ๒๐ เซนติเมตรของกลมนั้นเรียกว่า มีขนาด ๑ กํา, มี ๓ ชนิด คือ ๑. กําสลึง (ยาว ๔ นิ้ว ๑ กระเบียด หรือ ๑๐.๗๕ เซนติเมตร) ๒. กําเฟื้อง (ยาว ๔ นิ้วครึ่งกระเบียด หรือ ๑๐.๕ เซนติเมตร) ๓. กําสองไพ (ยาว ๔ นิ้ว ๒ หุน หรือ ๑๐.๒๕ เซนติเมตร); ลักษณนามเรียกผักหรือหญ้าที่มัดไว้ เช่น ผักกําหนึ่ง หญ้า ๒ กํา.
  7. กำมือ : น. มือที่กําเข้า; ปริมาณของเต็มมือที่กําเข้า; กำ ก็ว่า; มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๔ หยิบมือ = ๑ กำมือ ๔ กำมือ = ๑ ฟายมือ และอีกแบบหนึ่ง ๔ ใจมือ = ๑ กำมือ ๘ กำมือ = ๑ จังออน.
  8. กุลี ๓ : ลักษณนามบอกปริมาณ คือผ้าห่อหนึ่งที่รวมกัน ๒๐ ผืน (ใช้แก่ผ้าลาย ผ้าพื้น ผ้าขาวม้า และโสร่ง เป็นต้น).
  9. ขยุ้ม : [ขะยุ่ม] ก. เอาปลายนิ้วทั้ง ๕ หยิบรวบขึ้นมาเพื่อให้ได้มาก, โดยปริยาย ใช้ในอาการอย่างนั้น เช่น แมงมุมขยุ้มหลังคา. น. ปริมาณของที่ขยุ้มมา ได้ครั้งหนึ่ง ๆ เรียกว่า ขยุ้มหนึ่ง.
  10. ขายเหมา : [-เหฺมา] ก. ขายเป็นจํานวนรวมทั้งหมด. (กฎ) น. การขายซึ่งผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมด ทั้งจํานวนในราคาตามที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชําระราคา และผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ ไม่ว่า ทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคํานวณไว้.
  11. คอนเดนเซอร์ : (ไฟฟ้า) น. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้สําหรับเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้เป็น ปริมาณมากกว่าแผ่นตัวนําธรรมดาที่มีขนาดเท่ากัน. (อ. condenser). (ดู เครื่องควบแน่น ที่ เครื่อง).
  12. คับ : ว. มีขนาดไม่พอดีกัน ทําให้แน่น ตึง หรือ ฝืด สวมหรือใส่ได้โดยยาก เช่น เสื้อคับ หมวกคับ แหวนคับ, ตรงข้ามกับ หลวม. ก. มีลักษณะ หรือปริมาณเกินพอดี เช่น จระเข้คับคลอง ลิ้นคับปาก ฝูงคนคับถนน เสียงคับบ้าน ข้าวคับหม้อ.
  13. ค่า : น. มูลค่าหรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีประโยชน์ในทางใช้สอย แลกเปลี่ยน หรือทางจิตใจเป็นต้น บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินได้ บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินไม่ได้ เช่น ทองคำเป็นของมีค่า เวลามีค่ามาก; จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการ เป็นต้น เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าโดยสาร ค่าอาหาร; (คณิต) จำนวนหรือ ตัวเลขที่ระบุปริมาณหรือขนาดของตัวแปร; (สำ) เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีคุณค่ามากจนไม่อาจประเมินเป็นเงินได้ว่า เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้.
  14. เครื่องควบแน่น : น. เครื่องมือที่ใช้สําหรับทําให้ไอแปรสภาพเป็น ของเหลวโดยวิธีลดอุณหภูมิลง; (ไฟฟ้า) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ สําหรับเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้เป็นปริมาณมากกว่าแผ่นตัวนําธรรมดา ที่มีขนาดเท่ากัน, มักเรียกทับศัพท์ว่า คอนเดนเซอร์. (อ. condenser).
  15. แคลอรี : น. หน่วยวัดปริมาณความร้อน ๑ แคลอรี คือ ปริมาณความร้อน ที่ทําให้นํ้าบริสุทธิ์ ๑ กรัม ร้อนขึ้น ๑?ซ. (อ. calorie).
  16. งอก ๑ : ก. อาการที่เมล็ดผลไม้แตกเป็นต้นขึ้น; ผลิออก, แตกออก, เช่น รากงอก ยอดงอก; เพิ่มปริมาณมากขึ้น (ใช้เฉพาะของบางอย่าง) เช่น เงินงอก แผ่นดินงอก เนื้องอก; เรียกหน้าผากที่กว้างยื่นงํ้าออกไปกว่าปรกติว่า หน้างอก.
  17. เงินฝืด : (เศรษฐ) น. ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศ มีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลง ทําให้ราคาสินค้าตก.
  18. เงินเฟ้อ : (เศรษฐ) น. ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศ มากเกินไปทําให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า.
  19. ซอง : น. ซอกหรือช่องแคบ เช่น ซองหัวเรือท้ายเรือ เรียกว่า ซองเรือ; ซอกหรือช่องแคบที่ทําขึ้นสําหรับเอาช้างม้าวัวควายเข้าไปไว้ในที่ บังคับ; เครื่องใช้ที่มีลักษณะแคบสําหรับสอดใส่สิ่งของ เช่น ซองธูป ซองพลู ซองจดหมาย ซองบุหรี่, ลักษณนามเรียกว่า ซอง เช่น ธูปซองหนึ่งบุหรี่ ๒ ซอง; หน่วยของปริมาณของแท่งน้ำแข็ง ก้อนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น ๔ กั๊ก; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง รูปร่าง คล้ายกระบอก แต่มีปากบานกว้าง มีงาแซงใส่ ก้นมีฝาทําด้วยไม้ไผ่ เจาะรูปิด; เรียกไหชนิดหนึ่ง รูปร่างสูง ๆ ปากเล็กแคบ สําหรับใส่ หัวผักกาดเค็มเป็นต้น. (รูปภาพ ซอง)
  20. ฐาน ๔ : (คณิต) น. เส้นหรือพื้นที่ซึ่งถือว่าเป็นส่วนรองรับรูปเรขาคณิต เช่น ฐานของสามเหลี่ยม ฐานของกรวย, จํานวนที่ใช้เป็นหลักในการสร้าง จํานวนอื่น ๆโดยการยกกําลังหรือหาค่าของลอการิทึม เช่น จํานวน ๓ ใน ๓๔ (= ๘๑) จํานวน ๗ ใน log7 49 (= ๒), จํานวนที่บอกปริมาณ ในแต่ละหลักของตัวเลข เช่น เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๑๐ ใช้ สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๑๐ ซึ่งแทน ๕ + (๓ x ๑๐) + (๖ x ๑๐๒) เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๗ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๗ ซึ่งแทน ๕ + (๓ x ๗) + (๖ x ๗๒).
  21. ดุลการชำระเงิน : [ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอก ประเทศกับปริมาณเงินที่นําเข้ามาในประเทศ, ถ้าปริมาณเงินที่นําเข้ามาใน ประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศ เรียกว่า ดุลการชําระเงิน เกินดุล, ถ้าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่นําเข้าใน ประเทศ เรียกว่า ดุลการชําระเงินขาดดุล.
  22. ดุลชำระหนี้ : [ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอก ประเทศกับปริมาณเงินที่นําเข้ามาในประเทศ.
  23. ตวง : ก. ตักด้วยภาชนะต่าง ๆ เพื่อให้รู้จํานวนหรือปริมาณ; (โบ) นับ, กะ, ประมาณ, ทําให้เต็ม, เช่น ช่วยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง. (จารึกสยาม).
  24. ทบวง : [ทะ-] (กฎ) น. ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งโดย สภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นกระทรวง อาจสังกัดหรือไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงก็ได้; ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง แต่เรียกชื่อว่า ทบวง เช่น ทบวงมหาวิทยาลัย.
  25. นาฬิกาน้ำ : น. อุปกรณ์ที่ใช้สําหรับวัดเวลาโดยอาศัยการหยดหรือการ ไหลของนํ้าที่มีปริมาณตามที่กําหนดไว้.
  26. ประตูระบาย : น. สิ่งที่สร้างขึ้นในคลองส่งนํ้าเพื่อควบคุมนํ้าในคลอง ให้มีระดับหรือปริมาณตามที่ต้องการ; (กฎ) สิ่งที่สร้างขึ้นในทางนํ้า เพื่อทด กัก กั้น หรือระบายนํ้า ณ ที่อื่นอันมิใช่ที่มาแห่งนํ้าซึ่งจะส่งเข้า สู่เขตชลประทาน โดยมีช่องปิดเปิดได้.
  27. ประมาณการ : น. ปริมาณงานหรือค่าใช้จ่ายที่กะหรือกําหนดไว้อย่าง คร่าว ๆ. ก. กะหรือกําหนดปริมาณงานหรือค่าใช้จ่ายไว้อย่างคร่าว ๆ เช่น ประมาณการในการก่อสร้าง.
  28. ปริมาตร : [ปะริมาด] น. ขนาดของสิ่งใด ๆ ที่มีรูปทรง ๓ มิติ และระบุ ปริมาณเป็นหน่วยลูกบาศก์ เช่น ลูกบาศก์เมตร ลูกบาศก์ฟุต.
  29. ฝืด : ว. เคลื่อนไหวไม่สะดวกไม่คล่องเพราะแรงต้านทานมีการเสียดสี เป็นต้น เช่น ประตูฝืด กินข้าวฝืดคอ, โดยปริยายหมายถึงอาการ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น การค้าฝืด; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณ เงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลงทำให้ราคา สินค้าตก ว่า เงินฝืด.
  30. ฟุบ : ก. หมอบลง, ยอบลง, เช่น ฟุบตัวลงกราบ เป็นลมฟุบไป, ยุบลงอย่างจมูกยุบ; ลักษณะที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศ มีน้อย ทำให้สินค้าราคาตก เรียกว่า เงินฟุบ, ตรงข้ามกับ เงินเฟ้อ.
  31. เฟ้อ : ก. ฟุ้ง, ฟุ้งซ่าน, เหลิง; อืดขึ้น, พองขึ้น. ว. มากเกินควร, มากเกินไป, เช่น คะแนนเฟ้อ; เรียกอาการที่ลมในกระเพาะตีขึ้นเพราะอาหารไม่ย่อย และเป็นพิษว่า ท้องเฟ้อ; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียน ในประเทศมากเกินไป ทำให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า ว่า เงินเฟ้อ.
  32. มาตรฐาน : [มาดตฺระ-] น. สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ ยังไม่เข้ามาตรฐาน.
  33. เมฆ : [เมก] น. ไอนํ้าที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยอยู่ในอากาศ. (ป., ส.). เมฆคลุ้ม, เมฆมาก (อุตุ) น. ปริมาณเมฆมากกว่า ๗ ใน ๘ ในท้องฟ้า ซึ่งสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ใช้ในการพยากรณ์อากาศ. เมฆา, เมฆินทร์, เมฆี (กลอน) น. เมฆ.
  34. เมตริก : [เมดตฺริก] น. ระบบการใช้หน่วยสําหรับวัดปริมาณต่าง ๆ โดยกําหนดใช้ กรัมเป็นหน่วยของมวลสาร ใช้เซนติเมตร เป็นหน่วยของระยะห่าง และใช้วินาทีเป็นหน่วยของเวลา. (อ. metric).
  35. ยาประสะ : น. ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็น ตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อ ตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่อง ยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึง ครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู.
  36. ลิกไนต์ : น. ถ่านหินชนิดหนึ่ง สีนํ้าตาลเข้มหรือสีดําแกมนํ้าตาล มีปริมาณ สารไฮโดรคาร์บอนสูงกว่าถ่านหินธรรมดา ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ แต่ให้ปริมาณความร้อนตํ่ากว่าถ่านหินธรรมดา. (อ. lignite).
  37. วัด ๓ : ก. สอบขนาดหรือปริมาณของสิ่งต่าง ๆ เช่นวัดส่วนยาว ส่วนกว้าง ส่วนสูง หรือความรู้เป็นต้น.
  38. วิเศษณ, วิเศษณ์ : [วิเสสะนะ, วิเสด] (ไว) น. คําจําพวกหนึ่งที่แต่งหรือขยายคํานาม คํากริยา หรือคําวิเศษณ์เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณเป็นต้น เช่น คนดี นํ้ามาก ทําดี ดีมาก. (ส.).
  39. สมการเคมี : (เคมี) น. สมการที่เขียนขึ้นโดยอาศัยสัญลักษณ์ของธาตุ เพื่อแสดงปฏิกิริยาเคมีและปริมาณของธาตุต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องใน ปฏิกิริยาเคมีนั้น ๆ. (อ. chemical equation).
  40. สวน ๒ : อาการที่เคลื่อนไปตรงข้ามในเส้นทางเดียวกัน เช่น เดินสวนกัน มีรถสวนมา; เทียบสอบขนาดหรือปริมาณเครื่องตวง เช่น สวนสัด สวนทะนาน; เอาสายสวนใส่ทางช่องปัสสาวะให้เข้าไปในกระเพาะ ปัสสาวะเพื่อให้ปัสสาวะออก, เอาลูกสวนใส่ทวารหนักแล้วบีบนํ้ายา หรือนํ้าสบู่ให้เข้าไปในลําไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้ลําไส้ใหญ่บีบตัวให้ อุจจาระออก.
  41. สังกมทรัพย์ : [สังกะมะ] (กฎ; เลิก) น. สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกติอาจใช้ของอื่น อันเป็นประเภทและชนิดเดียวกันมีปริมาณเท่ากันแทนได้, คู่กับ อสังกมทรัพย์.
  42. สัดส่วน : น. ส่วนผสมของสิ่งต่าง ๆ ตามอัตราที่กําหนด เช่น ในการ ผสมปูนโบกฝาผนังจะใช้ซีเมนต์ ทราย และปูนขาว ตามสัดส่วน ๓ : ๒ : ๑; (คณิต) การเท่ากันของ ๒ อัตราส่วน หมายความว่า อัตราส่วน ของปริมาณที่ ๑ ต่อปริมาณที่ ๒ เท่ากับอัตราส่วนของปริมาณที่ ๓ ต่อ ปริมาณที่ ๔ เช่น ๑ กิโลกรัม, ๒ กิโลกรัม; ๑๐๐ บาท, ๒๐๐ บาท ได้ชื่อว่า เป็นสัดส่วนกันก็เพราะ ๑ กิโลกรัม๒ กิโลกรัม = ๑๒ = ๑๐๐ บาท๒๐๐ บาท = ๑๒ ? ๑ กิโลกรัม : ๒ กิโลกรัม = ๑๐๐ บาท : ๒๐๐ บาท.). (อ. proportion)
  43. หน้าปัด : น. แผ่นที่มีตัวเลขหรือสัญลักษณ์แสดงเวลาหรือปริมาณเป็นต้น เช่น หน้าปัดนาฬิกา หน้าปัดวิทยุ หน้าปัดมาตรวัดนํ้า.
  44. หอบ ๑ : ก. เอาแขนทั้ง ๒ ข้างรวบสิ่งของไป; ขนสมบัติย้ายไป เช่น หอบข้าว หอบของ หอบลูกหอบเต้า; พัดพาไป เช่น ลมหอบเมฆฝนไปหมด. น. ปริมาณของฟืนหรือผักหญ้าเป็นต้นที่พอ ๒ แขนรวบได้ เรียกว่า หอบหนึ่ง.
  45. ห่า ๒ : (โบ) น. หน่วยวัดปริมาณน้ำฝนโดยกำหนดว่า ถ้าตกลงมาเต็มบาตรขนาด กลางที่ตั้งรองไว้กลางแจ้ง เรียกว่า น้ำฝนห่าหนึ่ง; โดยปริยายใช้กับสิ่งที่มา หรือตกลงมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝนตกลงมาห่าใหญ่, บางทีก็ใช้ว่า ห่าฝน เช่น ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มข้าศึกเป็นห่าฝน.
  46. อสังกมทรัพย์ : [อะสังกะมะซับ] (กฎ; เลิก) น. สังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่อาจใช้ของอื่น ที่เป็นประเภทและชนิดเดียวกัน มีปริมาณเท่ากันแทนได้, คู่กับ สังกมทรัพย์.
  47. อัตราส่วน : น. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือ ต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณ หลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณ แรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วน ไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).
  48. ประมาณ : ก. กะหรือคะเนให้ใกล้เคียงจํานวนจริงหรือให้พอเหมาะพอควร เช่น ประมาณราคาไม่ถูก. ว. ราว ๆ เช่น ประมาณ ๓-๔ เดือน. (ส. ปฺรมาณ; ป. ปมาณ).
  49. [1-48]

(0.0646 sec)