Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปัจจุบัน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปัจจุบัน, 121 found, display 1-50
  1. ปัจจุบัน : น. เวลาเดี๋ยวนี้, ทันที, เวลาไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต เช่น เวลาปัจจุบัน, สมัยใหม่ เช่น แพทย์แผนปัจจุบัน; เรียกโรคภัยที่เกิดขึ้นในทันที ทันใดว่า โรคปัจจุบัน เช่น โรคลมปัจจุบัน. (ป. ปจฺจุปฺปนฺน).
  2. ปัจจุบันทันด่วน : ว. กะทันหัน.
  3. ยาแผนปัจจุบัน : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์.
  4. ไดเรกตริกซ์ : (คณิต) น. เส้นตรงที่ตรึงอยู่กับที่ซึ่งคู่กับจุดโฟกัส ใช้กําหนดบังคับเซต ของจุดชุดหนึ่งให้เรียงกันเป็นเส้นโค้งในระบบภาคตัดกรวย, ปัจจุบัน ใช้ว่า เส้นบังคับ. (อ. directrix).
  5. ธรณีประตู : น. ไม้รองรับกรอบล่างของประตู มีรูครกสําหรับรับเดือยบาน ประตู และมีรูสําหรับลงลิ่มหรือลงกลอน เช่น ธรณีประตูโบสถ์, ปัจจุบัน เรียกไม้กรอบล่างประตูว่า ธรณีประตู.
  6. ไปรษณียบรรณ : [ไปฺรสะนียะบัน, ไปฺรสะนีบัน] (เลิก) น. แผ่น กระดาษที่ผนึกสําหรับใช้เขียนจดหมายส่งทางไปรษณีย์, ปัจจุบัน ใช้ ไปรษณีย์อากาศ.
  7. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  8. คติพจน์ : น. ถ้อยคําที่เป็นแบบอย่าง. คติสุขารมณ์ น. ลัทธิที่ถือว่าความสุขทางผัสสะหรือโลกียสุขในชีวิต ปัจจุบัน เป็นสิ่งสูงสุดหรือเป็นความดีสูงสุดของชีวิต. (อ. hedonism).
  9. ตรีกาล : น. กาลทั้ง ๓ คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต, เวลาทั้ง ๓ คือ เช้า กลางวัน เย็น.
  10. ตะรังกะนู : น. เรียกของบางอย่างที่มาจากเมืองตะรังกะนู เช่น ส้มตะรังกะนู พิมเสนตะรังกะนู. (ปัจจุบัน คือ รัฐตรังกานูในประเทศมาเลเซีย).
  11. ประจุบัน : น. ปัจจุบัน. (ป. ปจฺจุปฺปนฺน; ส. ปฺรตฺยุตฺปนฺน).
  12. ปรัตยุตบัน, ปรัตยุบัน : [ปฺรัดตะยุดบัน, ปฺรัดตะยุบัน] น. ปัจจุบัน. (ส. ปฺรตฺยุตฺปนฺน; ป. ปจฺจุปฺปนฺน).
  13. ปัตตาเวีย ๑ : น. ชื่อเมืองในเกาะชวาสมัยโบราณ เดิมเรียกว่าเมืองกะหลาป๋า ปัจจุบัน คือ จาการ์ตา.
  14. โปรีสภา : [โปรีสะพา] (โบ) น. เรียกศาลชั้นตํ่าในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน คือ ศาลแขวง.
  15. ผ้าลาย : น. ผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มี ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบัน ทําเป็นผ้าถุง.
  16. เฝือก ๒ : น. อุปกรณ์ที่ใช้ดามกระดูกและข้อ มีหลายชนิดตามวัสดุที่ใช้ ปัจจุบัน นิยมทําด้วยปูนปลาสเตอร์ เรียกว่า เฝือกปูน.
  17. มา ๒ : ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย, ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคํากริยาแสดงอดีต เช่น นาน มาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือ แสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึง ปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.
  18. ศาลพระภูมิ : น. ที่สถิตของเทพารักษ์ประจำพื้นที่และสถานที่ ทำด้วยไม้เป็นเรือนหลังคาทรงไทยตั้งอยู่บนเสาเดียว ปัจจุบัน ทำด้วยปูนเป็นรูปปราสาทก็มี.
  19. สังเวชนียสถาน : [สังเวชะนียะสะถาน] น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนา อันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินีปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบัน ได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันไ ด้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ ปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย.
  20. กฎข้อบังคับ : (กฎ) น. บทบัญญัติที่เป็นชั้นข้อบังคับซึ่งกําหนดขึ้น ไว้เป็นระเบียบในการปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย, ปัจจุบันนิยมใช้ว่า ข้อบังคับ.
  21. กรรม ๑, กรรม- ๑ : [กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมา ยังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้ กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
  22. กระทรวง ๒ : [-ซวง] (กฎ) น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการ ที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็น กระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไป แพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือ ทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).
  23. กระเบื้อง : น. เครื่องมุงหลังคาหรือปูพื้นเป็นต้น ทําด้วยดิน หรือวัสดุอย่างอื่น โดยปรกติเป็นแผ่น, เครื่องถ้วยชามที่ปั้นด้วยดินประสมอย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็นมัน มีพื้นหรือลวดลาย เป็นสีต่าง ๆ เรียกรวมว่า เครื่องกระเบื้อง, ชิ้นของเครื่องกระเบื้อง ที่แตกออก, กระทะแบน ๆ สําหรับละเลงขนมเบื้องเป็นต้น เดิมทํา ด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันทําด้วยโลหะ; ลักษณนามเรียกจํานวนข้าวเม่า เป็นต้นที่คั่วครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ข้าวเม่ากระเบื้องหนึ่ง งา ๒ กระเบื้อง.
  24. กระเบื้องกาบกล้วย : น. กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็น กระเบื้อง ๒ แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงาย ที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบน เพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้องแผ่นคว่ำและ แผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทนมากขึ้น, กาบู ก็เรียก.
  25. กระสอบทราย : น. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้าง ขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของ นักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้าย ร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.
  26. กระสัง ๒ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบางถิ่นอาจ ใช้เรียกนกชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีใช้, เช่น กระสังกระสาสาว กระสันจับกระลับดู. (เสือโค).
  27. กลอนสด : น. กลอนที่ผูกและกล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยไม่ได้คิดมาก่อน, โดยปริยายหมายความว่า ข้อความที่กล่าวขึ้นในปัจจุบัน โดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดกลอนสด.
  28. กะทันหัน : ว. ทันใด, ปัจจุบันทันด่วน, จวนแจ.
  29. กะลาสี : น. ลูกเรือ. ว. อย่างเครื่องแต่งกายกะลาสีสมัยโบราณหรือ พลทหารเรือปัจจุบัน เช่น หมวกกะลาสี เงื่อนกะลาสี คอเสื้อกะลาสี. (มลายู กะลาสิ จากคำอิหร่าน ขะลาสิ).
  30. กะหลาป๋า ๑ : น. ชื่อเมืองในเกาะชวาสมัยโบราณ ต่อมาเรียก ปัตตาเวีย, ปัจจุบันชื่อ จาการ์ตา; เรียกหมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่ อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไปว่า หมวกกะหลาป๋า; เรียกขวดแก้วสำหรับใช้ใส่น้ำอบ ทรงกระบอกแปดเหลี่ยม มีสีต่าง ๆ มีจุกแก้ว เถาหนึ่งมี ๓ ใบ ว่า ขวดกะหลาป๋า.
  31. ก๊าซเฉื่อย, แก๊สเฉื่อย : น. ธาตุที่เป็นแก๊ส มีสมบัติไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี ได้แก่ ฮีเลียม นีออน อาร์กอน คริปทอน ซีนอน และเรดอน, ปัจจุบันเรียก ก๊าซมีตระกูล, แก๊สมีตระกูล (noble gases) หรือ ก๊าซหายาก, แก๊สหายาก (rare gases). (อ. inert gases).
  32. กาบู : น. กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกระเบื้อง ๒ แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงายที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบนเพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้อง แผ่นคว่ำและแผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทน มากขึ้น, กระเบื้องกาบกล้วย ก็เรียก.
  33. กำลังเทียน : (ฟิสิกส์) น. หน่วยวัดความเข้มของความสว่าง ของแหล่งกําเนิดแสง, แรงเทียน ก็ว่า, ปัจจุบันใช้หน่วยแคนเดลา.
  34. กิโลไซเกิล : น. หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ มีค่าเท่ากับ ๑,๐๐๐ ไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ว่า กิโลเฮิรตซ์. (อ. kilocycle).
  35. กู : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด ในปัจจุบันมักถือกันว่าไม่สุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  36. เกริ่น ๒ : [เกฺริ่น] (ถิ่น-จันทบุรี) น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้ไผ่ผ่าเป็นซีก ๆ ผูกด้วยหวายให้เป็นแผง, ปัจจุบันเรียกว่า เฝือก.
  37. ข้าวซ้อม, ข้าวซ้อมมือ : น. ข้าวที่เอาเปลือกออกโดยใช้วิธีใส่ครกตำ ยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่, ปัจจุบันใช้เครื่องจักรสีข้าวแทน เรียกว่า ข้าวกล้อง.
  38. ขุก ๑ : ว. พลัน, ทันทีทันใด, เช่น ขุกเข็ญ ว่า เกิดความลําบากขึ้นทันที. ก. คิดขึ้นได้ทันที, เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน, เช่น อาวุธอย่าวางไกล ขุกคํ่า คืนแฮ. (โลกนิติ).
  39. : พยัญชนะตัวที่ ๓ เป็นอักษรสูง ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว.
  40. ความถี่ : (ฟิสิกส์) น. จํานวนไซเกิล, การแกว่งกวัด, การสั่นสะเทือนหรือคลื่น ใน ๑ วินาที เช่น ไฟฟ้ากระแสสลับมีความถี่ ๕๐ ไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล; (สถิติ) จํานวนคะแนนในกลุ่มของ ข้อมูลที่มีสมบัติเหมือนกัน. (อ. frequency).
  41. คันฉ่อง : น. เครื่องใช้ทำด้วยโลหะ ขัดจนเป็นเงา มีด้าม ใช้สำหรับ ส่องหน้า; ปัจจุบันเรียกกระจกเงามีกรอบ ๒ ชั้น สําหรับเอนเข้าออกได้ ตั้งบนโต๊ะเครื่องแป้ง.
  42. คับคา : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น คับคาคาบคาร่อน กระแวนว่อนบินบน. (ตะเลงพ่าย), ปัจจุบันเรียก จาบคาหัวเขียว. (ดู จาบคา).
  43. ค่าน้ำนม : น. เงินที่ฝ่ายชายต้องจ่ายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงในการสู่ขอ เพื่อตอบแทนเป็นค่าที่ได้เลี้ยงดูมา, (โบ) นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ข้าวป้อน เป็น ค่าน้ำนมข้าวป้อน เช่น ให้คิดเอาค่าน้ำนมเข้าป้อนค่าเลี้ยงรักษาแก่มัน แลชายซึ่งภาเอาหญิงไปเลี้ยงนั้นให้มันช่วยหญิงเสียกึ่งหนึ่ง.(สามดวง); ปัจจุบันหมายถึงพระคุณของพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงดูมา เช่น บวชตอบแทนค่าน้ำนม.
  44. คุณนาย : น. คํายกย่อง ใช้เรียกภรรยาข้าราชการชั้นสัญญาบัตรที่ยัง มิได้เป็นคุณหญิง, ในปัจจุบันใช้เรียกยกย่องสตรีทั่ว ๆ ไปที่ผู้เรียกนับถือ.
  45. คู่บารมี : น. ผู้ที่เคยร่วมสร้างบุญบารมีกันมาก่อน และมาสนับสนุน เกื้อกูลกันในปัจจุบัน, สิ่งประดับบารมี.
  46. คู่บุญบารมี : น. ผู้ที่เคยร่วมสร้างบุญกุศลกันมาในชาติก่อนและมา สนับสนุนเกื้อกูลกันในปัจจุบัน เช่น พระนางมัทรีเป็นคู่บุญบารมี ของพระเวสสันดร.
  47. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและ บําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้ สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือ ส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึง เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด.
  48. แคว้น : [แคฺว้น] น. ดินแดนอันเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์; เดิมหมายถึงประเทศ เช่น แคว้นมคธ แคว้นโกศล ในปัจจุบันหมายถึงเขตปกครองที่เป็น ส่วนย่อยของประเทศ ใหญ่กว่าจังหวัด, รัฐ, เช่น แคว้นสิบสองจุไทย.
  49. : พยัญชนะตัวที่ ๕ นับเป็นพวกอักษรต่ำ แต่ปัจจุบันนี้เลิกใช้แล้ว.
  50. ฆ้องชัย : น. ฆ้องขนาดใหญ่ สมัยโบราณใช้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ในปัจจุบันใช้ตีในงานพิธีมงคลต่าง ๆ, ฆ้องหุ่ย ก็เรียก.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-121

(0.0119 sec)