Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปัด , then บัด, ปด, ปตฺ, ปัด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปัด, 161 found, display 1-50
  1. ปัด : ก. ทําให้หมดไปพ้นไปด้วยการพัดหรือโบกเป็นต้น เช่น ปัดฝุ่น ปัดแมลงวัน ปัดพิษ; เบนไป, เฉไป, เช่น พระอาทิตย์ปัดเหนือปัดใต้ ท้ายรถปัดไปทางหนึ่ง เดินขาปัด; กระทบเสียดไป เช่น กิ่งไม้ปัด หลังคา เดินเอามือปัดศีรษะ.
  2. ปัด : ว. อาการที่โกรธกระฟัดกระเฟียด, อาการที่ดิ้นพราด ๆ อย่างปลาที่ถูกตี.
  3. ปัด : น. เม็ดแก้วเป็นต้นมีรูตรงกลางสําหรับร้อยเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ เรียกว่า ลูกปัด.
  4. ปัดตลอด : ว. มีขนขาวหรือดําเป็นแนวยาวไปตามสันหลังตั้งแต่หัว ตลอดหาง เช่น แมวปัดตลอด; เรียก ''นะ'' ที่เขียนเป็นอักษรขอม สําหรับลงและปลุกเสกให้แคล้วคลาดตลอดปลอดภัยว่า ''นะปัดตลอด''.
  5. ปัดเกล้า : น. ท่ารําชนิดหนึ่งแห่งหมอช้าง รําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จ
  6. ปัดแข้งปัดขา : ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาหลุดพ้นตําแหน่ง หน้าที่หรือไม่ให้ได้เลื่อนฐานะตำแหน่งที่ควรจะได้.
  7. ปัดซาง : ก. เสกเป่าให้ซางหาย.
  8. ปัดเป่า : ก. ทําพิธีเสกเป่าเพื่อให้ความเจ็บไข้หาย, แก้ความลําบาก ขัดข้องให้หมดไป.
  9. ปัดพิษ : ก. เสกเป่าเพื่อให้พิษหมดไป.
  10. ปัดรังควาน : ก. ทําพิธีขับไล่ผี, โดยปริยายหมายถึงขับไล่อัปรีย์จัญไร ให้พ้นไป.
  11. ข้าวต้มปัด : น. ข้าวเหนียวต้มที่ห่อด้วยใบไม้เช่นใบมะพร้าวอ่อน หรือใบเตย มักทําถวายพระในเทศกาลออกพรรษา, ข้าวปัด ก็ว่า.
  12. ข้าวปัด : น. ข้าวเหนียวต้มที่ห่อด้วยใบไม้เช่นใบมะพร้าวอ่อนหรือใบเตย มักทําถวายพระในเทศกาลออกพรรษา, ข้าวต้มปัด ก็ว่า.
  13. หน้าปัด : น. แผ่นที่มีตัวเลขหรือสัญลักษณ์แสดงเวลาหรือปริมาณเป็นต้น เช่น หน้าปัดนาฬิกา หน้าปัดวิทยุ หน้าปัดมาตรวัดนํ้า.
  14. ตะปัดตะป่อง : ว. สะบัดสะบิ้ง, แสนงอน, กระตุ้งกระติ้ง, ตุปัดตุป่อง ก็ใช้.
  15. บัด : น. เวลา, เมื่อ, ครั้ง, คราว; ทันใด.
  16. ปัฏ : [ปัด] (แบบ) น. ผืนผ้า, แผ่นผ้า. (ป. ปฏ).
  17. ปัทม-, ปัทม์ : [ปัดทะมะ-, ปัด] น. ชื่อบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง. (ดู บัว).
  18. กำบัด : ก. ปัด.
  19. แปรง : [แปฺรง] น. สิ่งของอย่างหนึ่งทําด้วยขนสัตว์ ลวด ฯลฯ สําหรับใช้ปัด หวี สีฟัน หรือขัดถูสิ่งของอื่น ๆ, ลักษณนามว่า อัน; ขนเส้นแข็งที่ ขึ้นบนคอหมูเป็นแถว ๆ. ก. ปัด เช็ด หรือถูด้วยแปรง.
  20. สะบัด : ก. เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวไปมาอย่างเร็วและแรง เพื่อให้ สิ่งที่ติดอยู่หลุดไป เช่น หมาสะบัดขนเพื่อให้นํ้าที่ติดอยู่หลุดกระเซ็น ไป หรือเพื่อให้หมดทางต่อสู้ดิ้นรน เช่น แมวคาบหนูสะบัดไปมา หรือเพื่อให้เข้าที่ ให้กลับเข้ารูปเดิม เป็นต้น เช่น เขาชอบสะบัดผม สะบัดแขนเสื้อ, เอาใบมีดโกนปัดไปปัดมาบนแผ่นหนังเป็นต้นเพื่อ ลับให้คม เรียกว่า สะบัดมีดโกน หรือ สะบัดมีด, เรียกอาการของสิ่ง เช่นธงเมื่อถูกลมพัดกระพือหรือถูกโบกไปมาเป็นต้นให้ปลิวพลิ้ว เกิดเป็นริ้ว ๆ ว่า ธงสะบัด, สลัด ปัด หรือ ฟัด ก็ใช้โดยอนุโลม; โดย ปริยายหมายความว่า อย่างมาก, อย่างยิ่ง, เช่น สวยสะบัดโกงสะบัด; (โบ) ฉ้อโกง, กระบัด ประบัด หรือ ตระบัด ก็ใช้.
  21. นฤปัตนี : [ปัดตะนี] น. พระราชินี. (ส.).
  22. ปัจจันต-, ปัจจันต์ : [ปัดจันตะ-, ปัดจัน] (แบบ) ว. ที่สุดแดน, ปลายเขตแดน. (ป.).
  23. ปัจจุทธรณ์ : [ปัดจุดทอน] (แบบ) น. การถอนคืน. ก. ถอนคืน (ในวินัยใช้คู่กับ อธิษฐาน ซึ่งแปลว่า ตั้งใจ เช่น อธิษฐานสบง คือตั้งใจให้เป็นสบง ครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครองก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง). (ป.).
  24. ปัจจุสกาล, ปัจโจสกาล : [ปัดจุดสะกาน, ปัดโจสะ-] น. เวลาเช้ามืด. (ป.).
  25. ปัจจุส-, ปัจจูสะ : [ปัดจุดสะ-, ปัดจูสะ] (แบบ) น. เช้ามืด, ใกล้รุ่ง. (ป.).
  26. ปัจจุสมัย : [ปัดจุดสะไหฺม] น. เวลาเช้ามืด. (ป. ปจฺจูสสมย).
  27. ปัจเจกบุคคล : [ปัดเจกกะ-] น. บุคคลแต่ละคน.
  28. ปัจเจก, ปัจเจก- : [ปัดเจก, ปัดเจกะ-, ปัดเจกกะ-] (แบบ) ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น ปัจเจกชน. (ป.).
  29. ปัจเจกพุทธะ : [ปัดเจกกะ-] น. ชื่อพระพุทธเจ้าพวกหนึ่งที่ตรัสรู้ เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น. (ป.).
  30. ปัจเจกโพธิ : [ปัดเจกกะโพด] น. ความตรัสรู้เฉพาะตัว คือ ความตรัสรู้ ของพระปัจเจกพุทธเจ้า. (ป.).
  31. ปัจเจกสมาทาน : [ปัดเจกะสะมาทาน] น. การสมาทานศีลทีละ สิกขาบท เรียกว่า ปัจเจกสมาทาน, ถ้าสมาทานรวบท้าย เช่นว่า พุทฺธปญฺ?ตฺตํ อุโปสถํ สมาทิยามิ หรือ อฏฺ? สีลานิ สมาทิยามิ เรียกว่า เอกัชฌสมาทาน. (ป.).
  32. ปัจฉิมชน : [ปัดฉิมมะ-] น. ชนที่เกิดภายหลัง.
  33. ปัจฉิมทิศ : [ปัดฉิมมะทิด] น. ทิศตะวันตก.
  34. ปัจฉิม, ปัจฉิม- : [ปัดฉิม, ปัดฉิมมะ-] ว. ตะวันตก; ภายหลัง, ทีหลัง, ข้างหลังสุด. (ป. ปจฺฉิม).
  35. ปัจฉิมพรรษา : [ปัดฉิมมะพันสา, ปัดฉิมพันสา] น. ''พรรษาหลัง'', ช่วงระยะเวลาที่ภิกษุเข้าอยู่จำพรรษาหลัง คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, คู่กับ บุริมพรรษา หรือ ปุริมพรรษา. (ป. ปจฺฉิม + ส. วรฺษ).
  36. ปัจฉิมภาค : [ปัดฉิมมะพาก] น. ส่วนเบื้องปลาย.
  37. ปัจฉิมยาม : [ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืน ออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.
  38. ปัจฉิมลิขิต : [ปัดฉิม-] น. ''เขียนภายหลัง'' คือหนังสือที่เขียนเพิ่ม เติมลงท้ายเมื่อเซ็นชื่อแล้ว, ใช้อักษรย่อว่า ป.ล.
  39. ปัจฉิมวัย : [ปัดฉิมมะ-] น. วัยตอนปลาย, วัยชรา. (ป.).
  40. ปัจฉิมวาจา : [ปัดฉิมมะ-] น. วาจาครั้งสุดท้าย. (ป.).
  41. ปัจถรณ์ : [ปัดจะถอน] (แบบ) น. บรรจถรณ์. (ป. ปจฺจตฺถรณ).
  42. ปัจนึก : [ปัดจะหฺนึก, ปัดจะนึก] (แบบ) น. ข้าศึก, ศัตรู. (ป. ปจฺจนีก).
  43. ปัจยาการ : [ปัดจะยา-] (แบบ) น. อาการที่เป็นเหตุต่อเนื่องกัน คือ ปฏิจจสมุปบาท. (ป. ปจฺจยาการ).
  44. ปัจเวกขณ์ : [ปัดจะเวก] (แบบ) น. การเห็นลงจําเพาะ, การพิจารณา. (ป. ปจฺจเวกฺขณ).
  45. ปัชชร : [ปัดชอน] (แบบ) ก. ประชวร. (ป.).
  46. ปัฏนะ : [ปัดตะนะ] (แบบ) น. ท่าเรือ. (ป., ส. ปฏฺฏน).
  47. ปัฐยาวัต : [ปัดถะหฺยาวัด] (แบบ) น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง ซึ่งกําหนดด้วยอักษร ๓๒ คํา มี ๔ บาท บาทละ ๘ คํา, บัฐยาพฤต หรือ อัษฎกฉันท์ ก็เรียก. (ป. ปฐฺยาวตฺต).
  48. ปัตคาด : [ปัดตะคาด] น. ชื่อเส้นในร่างกายของคน ในตําราหมอนวดว่า ตั้งแต่ท้องน้อยถึงโคนขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง.
  49. ปัตถะ : [ปัดถะ] (แบบ) น. ชื่อมาตราตวงในภาษาบาลี แปลว่า แล่ง, กอบ, คือ ๒ ปัตถะ เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน). (ป.).
  50. ปัตนิ, ปัตนี : [ปัดตะหฺนิ, -นี] น. หญิงแม่เรือน, เมีย. (ในตําราหมอดูว่า เนื้อคู่). (ส.; ป. ปตานี).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-161

(0.0648 sec)