Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปา , then บา, , ปะ, ปา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปา, 5436 found, display 1-50
  1. ปา : ก. ซัดไปด้วยอาการยกแขนขึ้นสูงแล้วเอี้ยวตัว; (ปาก) คําใช้แทน กิริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คําประกอบที่ทําให้รู้ว่าเกินกว่าที่คาดคิด, มักใช้ว่า ปาขึ้นไป หรือ ปาเข้าไป, เช่น ค่าโดยสารปาขึ้นไปตั้ง ๑๐ บาท กว่าจะทำงานเสร็จก็ปาเข้าไปตั้ง ๒ ทุ่ม.
  2. ปาจรีย์, ปาจารย์ : [ปาจะรี, ปาจาน] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป.; ส. ปฺราจารฺย = ปฺราคต + อาจารฺย).
  3. ปารุสกวัน : [ปารุดสะกะ-] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. ปารุสกวน).
  4. ปานีโยทก : ดู ปานีย-, ปานียะ.
  5. ปารุปนะ : [-รุปะนะ] น. ผ้าห่ม. (ป.).
  6. ปาทะ : น. บาท, ตีน. (ป.).
  7. ปานีโยทก : น. นํ้าควรดื่ม. (ป., ส. ปานีย + อุทก).
  8. ปาสาทิกะ : (แบบ) ว. นํามาซึ่งความเลื่อมใส; น่ารัก, น่าชม. (ป.).
  9. กรรบาสิก, กรรปาสิก : [กับบา-, กับปา-] (แบบ) ว. อันทอด้วยฝ้าย. (ส. การฺปาสิก; ป. กปฺปาสิก).
  10. อุปปาติกะ : [อุปะปาติกะ, อุบปะปาติกะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, โอปปาติกะ ก็เรียก. (ป. อุปปาติก, โอปปาติก).
  11. โอปปาติกะ : [โอปะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, อุปปาติกะ ก็เรียก. (ป.).
  12. ปานีย-, ปานียะ : [ปานียะ-] ว. ควรดื่ม, น่าดื่ม, ดื่มได้. (ป., ส.).
  13. จตุปาริสุทธิศีล : [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือ เครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).
  14. อุปาหนา : [อุปาหะนา, อุบปาหะนา] น. รองเท้า. (ป.; ส. อุปานหฺ).
  15. ดอย ๒ : ก. ผูก, มัด, ตอก, ชก, ตี, ปา, ทอย.
  16. : พยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบ ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคําหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤต มักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.
  17. ปะ : ก. มาเจอกัน, มาประเชิญหน้ากัน; เอาวัตถุเช่นผ้าหรือไม้เป็นต้นปิดทับ ส่วนที่ชํารุดเป็นช่องเป็นรู เช่น ปะผ้า ปะว่าว, ปิดทับ เช่น ปะหน้า. ปะว่า สัน. ถ้าว่าเจอ.
  18. จัมปา : น. จำปา, แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจำปาซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน สำหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน.
  19. บา : น. ครู, อาจารย์; ชายหนุ่ม.
  20. ป่า : น. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็น ต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้นเช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า; (กฎ) ที่ดินที่ยัง มิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน; เรียกปลากัดหรือ ปลาเข็มที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติว่า ลูกป่า; (โบ) เรียกตําบล ที่มีของขายอย่างเดียวกันมาก ๆ เช่น ป่าถ่าน ป่าตะกั่ว. ว. ที่ได้มา จากป่าหรืออยู่ในป่า เช่น ของป่า ช้างป่า สัตว์ป่า คนป่า, ที่ห่างไกล ความเจริญ เช่น บ้านป่า เมืองป่า. ก. ตีดะไป ในคําว่า ตีป่า.
  21. เป่า : ก. พ่นลมออกมาทางปาก, อาการที่ลมพุ่งเข้ามาหรือออกไปเช่นนั้น เช่น ตรงหน้าต่างลมเป่าดี, ทําให้เครื่องดนตรีหรือสิ่งอื่นเกิดเสียง โดยใช้ลมปากเช่น เป่าขลุ่ย, ทําให้สิ่งที่อยู่ในลํากล้องเช่นกล้องเป่า เป็นต้น ออกจากลํากล้องโดยวิธีเป่า เช่น เป่ายานัตถุ์ เป่าลูกดอก.
  22. มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก : (สํา) ก. พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลง ไปมาจนจับคําพูดไม่ทัน. น. คนกลับกลอก.
  23. เมงอะปา : ว. ทําไม. (ช.).
  24. ปาป- : [ปาปะ-] น. บาป. (ป., ส.).
  25. บาปกรรม : [บาบกํา] น. บาป. (ส. ปาปกรฺม; ป. ปาปกมฺม).
  26. จุตูปปาตญาณ : [-ตูปะปาตะยาน] (แบบ) น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, ทิพยจักษุญาณ ก็เรียก. (ป.; ส. จฺยุตฺยุตฺปาตชฺ?าน).
  27. บาปมิตร : [บาบปะมิด] น. มิตรชั่ว. (ส. ปาปมิตฺร; ป. ปาปมิตฺต).
  28. ลิว : ก. เอามีดเฉือนหนังทั้งแผ่นให้เป็นเส้นเพื่อทําเชือกหนัง; ร่อน, ขว้าง, ปา.
  29. ปาจนะ : ปาจะ-] (แบบ) น. ประตัก. (ป.; ส. ปฺราชน).
  30. ปายาส : [ปายาด] น. ข้าวชนิดหนึ่งที่หุงเจือด้วยนํ้านมและนํ้าตาล, ข้าวเปียกเจือนม. (ป.).
  31. ปาร- : [ปาระ-] น. ฝั่ง, ฝั่งตรงข้าม; ที่สุด; นิพพาน. (ป., ส.).
  32. ปารมี : [ปาระ-] (แบบ) น. บารมี. (ป.).
  33. ปาวจนะ : [ปาวะจะนะ] (แบบ) น. ปาพจน์. (ป.).
  34. ปาวาร : [ปาวาน] (แบบ) น. ผ้าห่มใหญ่. (ป.; ส. ปฺราวาร).
  35. ปาษาณ : [ปาสาน, ปาสานะ] (แบบ) น. หิน. (ส.; ป. ปาสาณ).
  36. ปา : [ปาสะ, ปาด] (แบบ) น. บาศ, บ่วง. (ป.; ส. ปาศ).
  37. ปาสาณ : [ปาสาน, ปาสานะ] (แบบ) น. หิน. (ป.; ส. ปาษาณ).
  38. ปาหุณ : [ปาหุน, ปาหุนะ] (แบบ) น. ผู้มาหา, แขก. (ป., ส.).
  39. บาจรีย์ : [-จะรี] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป. ปาจริย).
  40. กานน ๑ : [-นน] (แบบ) น. ป่า, ดง, เช่น อันว่าท้องเขาวงกฏกานน. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป., ส.).
  41. ขษีระ : (โบ) น. นํ้านม เช่น ขษีรแปรรูปา. (สมุทรโฆษ). (ส. กฺษีร; ป. ขีร).
  42. จัมบก, จัมปกะ : [จําบก] (แบบ) น. ต้นจําปา เช่น จัมบกตระการกรร- ณิกาแก้วก็อยู่แกม. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
  43. จิตรลดาวัน : น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. จิตฺตลตาวน).
  44. นันทวัน : [นันทะ] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. นนฺทวน).
  45. บาจก : (แบบ) น. พ่อครัว, แม่ครัว ใช้ว่า บาจิกา. (ป. ปาจก).
  46. บาจิกา : (แบบ) น. แม่ครัว. (ป. ปาจิกา). (ดู บาจก).
  47. บาดาล : น. พื้นที่ใต้ระดับผิวดินลงไป, เรียกนํ้าที่สูบจากใต้ดินที่ลึกไม่ตํ่ากว่า ๑๐ เมตรว่า นํ้าบาดาล; นาคพิภพ เป็นที่อยู่ของนาค. (ป. ปาตาล).
  48. บาทบริจาริกา : [บาดบอริ-] น. หญิงที่มีหน้าที่รับใช้ปฏิบัติพระเจ้า แผ่นดิน. (ป., ส. ปาปาริจาริกา).
  49. บาบี : (แบบ) น. คนมีบาป, คนมีความชั่ว, เช่น ชนะแต่บาบีพรรค์ พรั่งพร้อม. (ตะเลงพ่าย). ( ป. ปาปี; ส. ปาปินฺ).
  50. บาลี : น. ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท; คัมภีร์ พระไตรปิฎก, พุทธพจน์, เรียกว่า พระบาลี. (ป., ส. ปาลิ).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5436

(0.2738 sec)