Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พละ , then พล, พละ, พลา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พละ, 145 found, display 1-50
  1. พละ : [พะละ] น. กําลัง, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พละกําลัง.
  2. พละ : ดู พล, พล.
  3. พล, พล : [พน, พนละ, พะละ] น. กําลัง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็น กำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตํารวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).
  4. ข้อลำ : น. พละกำลัง เช่น ข้อลำอย่างนี้จะสู้งานหนักไหวหรือ.
  5. จตุรพิธพร : [-พิดทะพอน] น. พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ใช้ในการให้พรขอให้มีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ และมีกําลังแข็งแรง.
  6. ผิดเพี้ยน : ว. ผิดแปลกไปเล็กน้อย, คลาดเคลื่อน, เพี้ยน ก็ว่า. ผิดมนุษย์มนา ว. ไม่เหมือนมนุษย์ธรรมดาสามัญ เช่น รูปร่าง ใหญ่โตผิดมนุษย์มนา มีพละกำลังผิดมนุษย์มนา.
  7. วรรณ, วรรณะ : [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  8. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  9. พลขันธ์ : [พนละ] น. กองทัพ.
  10. พลขับ : [พนละ] น. ทหารที่ทำหน้าที่ขับยานพาหนะ.
  11. พลตระเวน : [พน] (โบ) น. พลตํารวจพระนครบาลผู้ตรวจตรา เหตุการณ์.
  12. พลรบ : [พนละ] น. ทหารที่ทำหน้าที่ฝ่ายรบ.
  13. พลสิงห์ : [พนละ] น. พนักบันไดอิฐ.
  14. กรีธาพล : ก. รวมพลเข้าเป็นกระบวน.
  15. คลี่ทัพ, คลี่พล : (โบ) ก. เคลื่อนพล, เคลื่อนกำลังไป, เช่น ยังยโสธรคล้อย คลี่พล. (ยวนพ่าย).
  16. จัตุรงคพล : [จัดตุรงคะ-] น. จตุรงคพล, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).
  17. ประดาพล : ก. ยกพลเรียงหน้าเข้าไป.
  18. พล่า : [พฺล่า] น. เครื่องกับข้าวชนิดหนึ่ง คล้ายยํา มักใช้เนื้อดิบ ทำให้สุก ด้วยของเปรี้ยวเช่นมะนาว.
  19. พิทยาพล : น. กําลังกายสิทธิ์. (ส. วิทฺยาพล).
  20. โพล่ : น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สำหรับใส่เสบียงกรังและของใช้ต่าง ๆ เช่น ข้าวสาร เสื้อผ้า ประกอบด้วยกระชุ ๒ ใบ สานเป็นตาชะลอม กรุด้วย กาบไผ่ กระชุนั้นผูกติดกับคันซึ่งทำเป็นขา ๒ ขา ส่วนบนไขว้กัน มีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ด้านบนมีกัญญาซึ่งสานด้วยไม้ ไผ่เป็นตาชะลอมแล้วกรุด้วยใบไม้ผูกติดกับคันสำหรับกันแดดกันฝน. (รูปภาพ โพล่)
  21. ไพล่ : [ไพฺล่] ก. ไขว้ เช่น เอามือไพล่หลัง, เอี้ยว, หลบไป, หลีกไป; แทนที่จะเป็นอย่างนี้กลับเป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น เคยทำอย่างนี้ ไพล่ไปทำอย่างนั้น.
  22. รวมพล : ก. รวมกำลังพลเข้าด้วยกัน.
  23. เรือยกพลขึ้นบก : น. เรือที่ใช้ในการลำเลียงขนส่งทหาร พัสดุ และอาวุธ ยุทโธปกรณ์ในการรบแบบสะเทินน้ำสะเทินบก มีหลายขนาด เช่น เรือคอมมานโด เรือยกพลจู่โจม.
  24. เลิกพล : ก. ยกพลกลับ.
  25. กำมัชพล : [-มัดชะพน] น. ชื่อเกณฑ์เลขในคัมภีร์สุริยยาตร ซึ่งคํานวณมาจากจุลศักราช.
  26. จตุรงคพล : [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ; หมากรุก.
  27. ระดมพล : ก. เกณฑ์ทหารเข้าประจำกองทัพอย่างรีบด่วน.
  28. อรสุมพล : น. กําลังไอนํ้า.
  29. อำพล : (โบ) ว. อำพน.
  30. พลากร : [พะลากอน] น. กองทหารเป็นจํานวนมาก. (ป. พล + อากร).
  31. พลากร : ดู พล, พล.
  32. พลาดิศัย : ว. มีกําลังยิ่ง. (ส. พล + อติศย).
  33. พลาดิศัย : ดู พล, พล.
  34. พลาธิการ : ดู พล, พล.
  35. พลานามัย : ดู พล, พล.
  36. พลานึก : ดู พล, พล.
  37. มุลู : น. พล. (ช.).
  38. อากร : [กอน] น. หมู่, กอง, เช่น พลากร (พล + อากร); บ่อเกิด, ที่เกิด, เช่น ทรัพยากร ศิลปากร; ค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่รัฐบาลเรียก เก็บ เช่น อากรรังนก อากรมหรสพ; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น ดารากร นรากร ทวิชากร ประชากร หรืออาจมีความหมายคงเดิมก็ได้ เช่น พระปฏิมากร.
  39. กรรหาย : [กัน-] (โบ; กลอน) ก. อยากได้, หิวโหย, เช่น กามกรรหายยั่วข้าง. (ลอ), ให้หยุดพลพักร้อน กรรหายผ่อนเอาทับ. (นิ. พลเสพย์).
  40. กระกัติ : (โบ) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น อย่ายักษ์มลักกรีฑาดล ด้าวอำเภอพลลการกระกัติกามา. (สรรพสิทธิ์).
  41. กระเซอ : ว. เซ่อเซอะ, เร่อร่า, เช่น ผัวเขาจริง ๆ วิ่งกระเซอ. (รามเกียรติ์ พลเสพย์), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเซอะ เป็น กระเซอะกระเซอ.
  42. กระเพลิศ : [-เพฺลิด] (กลอน) ว. ตะพึด เช่น พลพายกระเพลิศพ้าง พายพัด. (เฉลิมพระเกียรติ ร. ๒).
  43. กระเอิก : (กลอน) ว. เอิกเกริก เช่น พลเกรอกกระเออกอึง. (สรรพสิทธิ์).
  44. กรี ๑ : [กะรี] (แบบ) น. ช้าง เช่น ถัดนั้นพลนิกรพวกกรี. (ม. คําหลวง มหาราช).
  45. กเรนทร, กเรนทร์ : (กลอน; แผลงมาจาก กรินทร์) น. ช้าง เช่น พลคชคณหาญหัก กเรนทรปรปักษ์ ปราบประลัย. (สมุทรโฆษ).
  46. กลาโหม : [กะลาโหมฺ] น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ในสมัยโบราณ มีสมุหพระกลาโหมเป็นประธาน; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจาก ภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ; การชุมนุมพลรบ.
  47. กว่า : [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทาง ที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
  48. กอง ๑ : ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  49. กองเกียรติยศ : น. กองทหารหรือตํารวจเป็นต้น ที่จัดขึ้นเพื่อให้ เป็นเกียรติแก่ประมุขของประเทศ บุคคลสําคัญ ศพทหารตํารวจ หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น ธงชัยเฉลิมพล.
  50. ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-145

(0.0623 sec)