Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พัง , then พง, พัง, วัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พัง, 162 found, display 1-50
  1. พัง : ก. ทลาย เช่น บ้านพัง ตึกพัง, ทำให้ทลาย เช่น พังบ้าน พังประตู.
  2. พัง : น. ช้างตัวเมีย เรียกว่า ช้างพัง.
  3. พังก๊ำ : น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่จักเป็นเส้น สานควบกับ เส้นปอเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีกรอบทั้ง ๔ ด้าน ใช้ทำเป็นฝากั้นล้อม หรือเป็นแผงหน้าบ้านหรือหน้าต่างสำหรับค้ำยันให้ปิดเปิดได้.
  4. ค้าน : ก. แย้งกัน เช่น ข้อความตอนหน้ากับตอนหลังค้านกัน, กล่าวแย้ง ไม่เห็นด้วย; (โบ; กลอน) หัก, พัง, ทําลาย, เช่น เครื่องบนกระบาล ผุค้าน. (คําฤษฎี), สยงสรเทือนพ้ยงค้าน ค่นเมรุ. (ยวนพ่าย).
  5. จราญ : [จะราน] (กลอน) ก. ผลัก, พัง, ทําลาย, กระจาย, ดับ. (ข. จฺราน ว่า ผลัก).
  6. จำราญ : (กลอน) ก. หัก, พัง, ทําลาย, กระจาย, ดับ. (แผลงมาจาก จราญ).
  7. เปิง : ว. ยับเยิน, พัง, ทลาย, เช่น หลังคาเปิง ด่าเสียเปิง.
  8. พก ๑ : น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุง เล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น; แผ่นดิน. ก. เอา เก็บหรือซ่อนไว้ในพกหรือในสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พกมีด พกนาฬิกา, เรียกสิ่งที่นำติดตัวไปในลักษณเช่นนั้น เช่น มีดพก ปืนพก นาฬิกาพก; พัง, ทําลาย, เช่น ดุจพสุธาพังดังพสุธาพก. (ม. ร่ายยาว มหาราช); ผก, หก, ตก; (กลอน) วก เช่น ภายหลังมา จึงพราหมณ์ชูชก พกมาทวงทอง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  9. กระพังเหิร : น. ชื่อการฟันด้วยขอช้างอย่างหนึ่ง คือฟันให้หยุดอย่างชะงัก. (ตําราขี่ช้าง).
  10. เจตพังคี : [เจดตะ-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Cladogynos orientalis Zipp. ex Span. ในวงศ์ Euphorbiaceae ท้องใบขาว รากใช้ทํายาได้.
  11. ช้างพัง : น. ช้างตัวเมีย; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์สวาดิ มี ๕ ดวง, ดาวงูเหลือม ดาวสวาตี หรือ ดาวสวัสดิ ก็เรียก.
  12. ท้องผุท้องพัง : ว. เรียกท้องปลาทูเป็นต้นที่ไม่ค่อยสด เมื่อทอดแล้ว มีลักษณะแตกโหว่.
  13. ปรักหักพัง : [ปะหฺรัก-] ก. ชํารุด, ทรุดโทรม, (ใช้แก่สิ่งก่อสร้าง).
  14. ทลาย : [ทะ-] ก. อาการที่สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย เช่น กองทรายทลาย, พังหรือทําให้พัง เช่น กําแพงทลาย ทลายกําแพง, มักใช้เข้าคู่กับคำ พัง เป็น พังทลาย, โดยปริยายหมายความว่า ล้มเหลว ไม่ได้ดังหวัง เช่น ความฝันพังทลาย วิมานทลาย.
  15. เภท : น. การแบ่ง, การแตกแยก, การทำลาย, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส, เช่น สามัคคีเภท สังฆเภท; ส่วน, ภาค; ความแตกต่าง, ความแปลก; ชนิด, อย่าง. ก. แตก, หัก, ทําลาย, พัง. (ป., ส.).
  16. กระทู้ ๑ : น. ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลาย เป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสําหรับแผ่นดินสืบมา. (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การสงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); (ไว) ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็น เค้าเงื่อนนําหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้.
  17. กระสือ ๑ : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย; ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของ สารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด; โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, โคมตาวัว ก็ว่า.
  18. กราน ๒ : [กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคําอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า ค้ำ, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลําพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
  19. กริณี, กรินี : [กะ-] (แบบ) น. ช้างพัง, ใช้ว่า กิริณี หรือ กิรินี ก็มี. (ส. กริณี; ป. กรินี).
  20. กเรณุกา : (แบบ) น. ช้างพัง. (ป.).
  21. กษัยการ : [กะไสยะกาน] น. การที่สิ่งต่าง ๆ ค่อยผุพังและแพร่สะพัด หรือกระจัดกระจายไปเพราะพลังลมพลังน้ำ หรือปฏิกิริยาเคมี. (อ. erosion).
  22. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  23. กะปวกกะเปียก : ว. อ่อนกําลังจนแทบไม่อาจทรงตัวได้ตามลําพัง, ปวกเปียก ก็ว่า.
  24. ก๊าซชีวภาพ, แก๊สชีวภาพ : น. แก๊สที่เกิดจากการเสื่อมสลาย ผุพังของสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งที่สืบเนื่องจากสิ่งมีชีวิต ติดไฟได้ ใช้เป็นเชื้อเพลิงเป็นต้น.
  25. กิริณี : น. ช้างพัง. (โบ เขียนเป็น กิรินี). (ป.).
  26. แกลบ ๒ : [แกฺลบ] น. ชื่อแมลงพวกเดียวกับแมลงสาบ แต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ยาว ๑.๓-๑.๕ เซนติเมตร กว้าง ๕-๑๐ มิลลิเมตร ลําตัวแบน รูปไข่ ขอบหน้าด้านหลังของปล้องอกยื่นออกไปคลุมหัว หนวดยาว ขายาว มีหนามคลุมเต็ม บางชนิดอาศัยอยู่ตามขี้เลื่อย หรือกองแกลบ ที่ผุพัง เช่นชนิด Pycnocelis surinamensis ในวงศ์ Blaberidae แต่บางชนิดอาศัยอยู่ในบ้านเรือน ตามกองกระดาษหรือเศษขยะมูลฝอย เช่น ชนิด Blattella germanica, Supella supellectilium ในวงศ์ Blattellidae.
  27. โกรงเกรง : [โกฺรงเกฺรง] ว. จวนพัง เช่น ศาลาโกรงเกรง.
  28. โกโรโกเต : (ปาก) ว. ไม่แน่นหนา, จวนพัง.
  29. ขนาย : [ขะหฺนาย] น. งาช้างพัง. (ข. ขฺนาย ว่า เขี้ยวหมู).
  30. เขื่อน : น. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลํานํ้า เพื่อกัก เก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดิน หรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์; (โบ) รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง. (ยวนพ่าย).
  31. โขมด ๑ : [ขะโหฺมด] น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสง เรืองวาวในเวลากลางคืน ทําให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์ อธิบายว่า ได้แก่ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้ว ติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. (ข. โขฺมจ ว่า ผี).
  32. ควายปละ : [-ปฺละ] น. ควายที่เจ้าของปล่อยให้เที่ยวไปตามลําพัง.
  33. โคร่ง ๑ : [โคฺร่ง] น. ชื่อเสือชนิด Panthera tigris ในวงศ์ Felidae เป็นเสือที่ใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย ตัวสีเหลือง มีลายดําตามขวาง ล่าสัตว์ป่าบนพื้นดิน มักอยู่ลําพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ ชอบเล่นนํ้ามากกว่าเสือชนิดอื่น, ลายพาดกลอน ก็เรียก. (เทียบ ข. โครฺง ว่า สูงเกินขนาด, สูงโย่ง).
  34. งูเหลือม : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์สวาดิ มี ๕ ดวง, ดาวช้างพัง ดาวสวาตี หรือ ดาวสวัสติ ก็เรียก.
  35. จรจรัล : [จอระจะรัน, จอนจะรัน] (กลอน) ก. เที่ยวไป, เดินไป, เช่น แม่รักลูกรักจรจรัล พลายพังก็กระสัน. (ดุษฎีสังเวย).
  36. จระแคง : [จะระ-] (กลอน) ว. ตะแคง เช่น เท้าล้มจระแคง ทลายพุงพัง. (สุธนู).
  37. จำลอง ๒ : น. อาน, สัปคับ. จำลองทอง น. เครื่องสัปคับจำพวกกูบ ใช้ผูกหลังช้างพัง.
  38. ฉกจวัก : [-จะหฺวัก] ก. ชูหัวขึ้นแผ่พังพานทําท่าจะฉก (ใช้แก่งู).
  39. ฉลาย : [ฉะหฺลาย] ก. สลาย, แตกพัง, ทลาย, ละลาย.
  40. ช้าง ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae ตัวสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย ถ้ามีงาสั้นเรียก ช้างสีดอ ตัวผู้เมื่อตกมันมี ความดุร้ายมาก ตัวเมียเรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาปรากฏ ให้เห็น แต่บางตัวมีงาสั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า ขนาย โผล่ออกมา กินพืช อยู่รวมกันเป็นโขลง มีช้างพังอายุมากเป็นจ่าโขลง.
  41. ซะเซาะ : (กลอน) ก. เซาะ, ทําให้แหว่งเข้าไป, ทําให้พังเข้าไป.
  42. ซาก ๑ : น. ร่างของคนหรือสัตว์ที่ตายจนโทรมเหลือแต่เค้า, สิ่งก่อสร้าง ที่ปรักหักพังแล้วเหลือแต่เค้า.
  43. ดุเหว่า : [-เหฺว่า] น. ชื่อนกชนิด Eudynamys scolopacea ในวงศ์ Cuculidae ตัวเล็ก กว่ากาเล็กน้อย ตาแดง หางยาว ตัวผู้สีดํา ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายและจุดสีขาว พาดตลอดตัว วางไข่ให้นกชนิดอื่นฟัก มักหากินตามลําพัง กินแมลงและ ผลไม้, กาเหว่า ก็เรียก.
  44. เดี่ยว : ว. แต่ลําพังตัวโดยไม่มีใครหรืออะไรร่วมด้วย เช่น มาเดี่ยว ทําเดี่ยว ไล่เดี่ยว เทียมเดี่ยว, เรียกการเล่นกีฬาบางชนิดซึ่งมีผู้เล่นข้างละคน เช่น เทนนิส ประเภทเดี่ยว แบดมินตันประเภทเดี่ยว. ก. แสดงฝีมือการเล่นดนตรีคนเดียว เช่น เดี่ยวปี่ เดี่ยวซอ เดี่ยวระนาด. น. ส่วนสูงของเรือนตั้งแต่พื้นถึงเพดาน, โดยปริยายหมายถึงบางสิ่งที่มีลักษณะสูงเช่นนั้น.
  45. เดียวดาย : ว. คนเดียวเท่านั้น, แต่ลําพังผู้เดียว, เช่น อยู่เดียวดาย.
  46. โดดเดี่ยว : ว. เดียวเท่านั้น, อยู่ตามลําพังไม่เกี่ยวข้องกับใคร.
  47. ตบยุง : น. ชื่อนกในวงศ์ Caprimulgidae ขนนุ่มสีนํ้าตาลเทา ลายกระขาว วางไข่ บนพื้นดิน หากินแมลงตามลําพังในเวลากลางคืน กลางวันจะพรางตัว ซ่อนอยู่ตามพื้นดิน มีหลายชนิด เช่น ตบยุงหางยาว (Caprimulgus macrurus) ตบยุงเล็ก (C. asiaticus), กระบ่า หรือ กระบ้า ก็เรียก.
  48. ตะกอน : น. สิ่งที่ละลายปนอยู่ในนํ้าหรือของเหลวอื่นแล้วตกจมลงนอนก้นภาชนะเป็นต้น; (ภูมิ) สารต่าง ๆ ที่ผุพังทําลายโดยทางวิธีกล ทางเคมี หรือทางพัฒนาการของ ชีวิตแล้วตกจมทับถมเนื่องจากการกระทําของนํ้า ลม หรือธารนํ้าแข็ง.
  49. ตะขาบ ๒ : น. ชื่อนกในวงศ์ Coraciidae ตัวป้อม หัวใหญ่ ปากใหญ่สั้นโค้ง เกาะอยู่ ตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยจ้องโฉบแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตาม พื้นดิน อยู่ตามลําพัง ทํารังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง (Coracias benghalensis) ตัวสีนํ้าตาลหัวและปีกสีฟ้า ปากสีดํา และตะขาบดง (Eurystomus orientalis) ตัวสีนํ้าเงินเข้ม หรือเขียวอมน้ำเงินโดยตลอด ปากสีแดง.
  50. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-162

(0.0736 sec)